สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม ปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 3, 2022 13:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม การกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 63.8

สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว

          อุตสาหกรรมยานยนต์ ดัชนีผลผลิตฯ ขยายตัวร้อยละ 63.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นจากการผลิตรถบรรทุกปิคอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากการขยายตัวของตลาดในประเทศและการส่งออก และจากฐานต่ำในปีก่อน เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทำให้มีแรงงานติดเชื้อจำนวนมาก  อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตฯ ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน จากการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ           ในประเทศ จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดำเนินกิจกรรมการขนส่ง การเดินทาง และการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ดัชนีผลผลิตฯ ขยายตัวร้อยละ 54.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสินค้า จากการเร่งผลิตและส่งมอบสินค้าเพื่อรองรับงานแสดงสินค้าที่จะมีในเดือนกันยายนนี้ รวมถึงปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว

          อุตสาหกรรมHard Disk Drive ดัชนีผลผลิตฯ หดตัวร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตทยอยยกเลิกการผลิตสินค้าบางรุ่นที่มีความต้องการใช้น้อยลง และยังคง    ปรับลดแผนการผลิตลงตามการปรับลดวันทำงาน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว                    ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ความต้องการคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊คลดลง  อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ดัชนีผลผลิตฯ หดตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน        จาก Polyethylene resin (PE) และ Ethylene เป็นหลัก เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ใน              การผลิตและต้นทุนวัตถุดิบปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตบางรายปรับลดการผลิตให้สอดคล้องกับ              การจำหน่ายและความต้องการของตลาดที่ลดลงในขณะนี้  อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ดัชนีผลผลิตฯ หดตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นหลัก ผู้ผลิตปรับลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากการชะลอคำสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งมีสาเหตุจากสถานการณ์เงินเฟ้อและเงินบาทอ่อนค่า ทำให้การลงทุนก่อสร้างมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากค่าพลังงานและค่าวัตถุดิบนำเข้า


ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ