สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัว
ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น รวมถึงตลาดส่งออก
ยังคงขยายตัวได้ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินบาท และดัชนีค่าระวางเรือระหว่างประเทศ
ในเส้นทางสำคัญที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมิถุนายน 2565 การผลิตหดตัว
เล็กน้อยร้อยละ 0.2 เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 6.4 และเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 14.9สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมิถุนายน หดตัว
ร้อยละ 0.3 เดือนกรกฎาคม หดตัวร้อยละ 2.2 และเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 4.1
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 25.98 จากปัญหาการขาดแคลนชิปในปีนี้คลี่คลายลง ผู้ผลิตสามารถทยอยผลิต
และส่งมอบรถยนต์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกขยายตัวดี
? การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 21.68 จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบและการท่องเที่ยว
ฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เติบโตตามไปด้วย นอกจากนี้มีการหยุดซ่อมบำรุง
โรงกลั่นบางรายในปีก่อน ทำให้ฐานการผลิตต่ำ ขณะที่การผลิตในปีนี้ดำเนินการได้ตามปกติ
? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 10.59 ตามตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่มีความต้องการ
ต่อเนื่อง
? รถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 72.69 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
รวมถึงได้รับอานิสงส์จากฐานต่ำในปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างรุนแรง
? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 34.41 เนื่องจากมีผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ในช่วงก่อนหน้า ปาล์มน้ำมันมีราคาสูง เกษตรกรจึงเร่งบำรุงต้นและผลปาล์ม ทำให้ในปีนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างมากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ
เดือนกันยายน 2565 การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่า 1,385.3
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวในตลาดจีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก
จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรสิ่งทอ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้
และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่า 8,886.50
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าอุปกรณ์ ส่วนประกอบ
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เหล็ก เหล็กกล้า
และผลิตภัณฑ์ประเภทเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่น ๆ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช
และสัตว์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 208 โรงงาน เพิ่มขึ้นจาก
เดือนสิงหาคม 2565 ร้อยละ 20.93 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 25.71
(%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่ารวม 9,951
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2565 ร้อยละ 9.42 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 40.9 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2565 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 24 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล
หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 21 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2565 คือ อุตสาหกรรมการทำภาชนะบรรจุ จำนวน
เงินทุน 1,338 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงาน
มาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวนเงินทุน 1,083 ล้านบาท
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกันยายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 92 ราย ลดลงจากเดือนสิงหาคม
2565 ร้อยละ 32.85 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 104.44 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่ารวม 1,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม
2565 ร้อยละ 14.69 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 76.92 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกันยายน 2565 คือ อุตสาหกรรม
การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 17 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 7 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกันยายน 2565 คือ อุตสาหกรรม
การตัดหรือการเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ มูลค่าเงินลงทุน 238 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม
การพิมพ์ การทำแฟ้มเก็บเอกสาร การเย็บเล่ม ทำปก หรือตบแต่งสิ่งพิมพ์ มูลค่าเงินลงทุน 136 ล้านบาท?
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกันยายน 2565
1. อุตสาหกรรมอาหาร
กิจอุตสาหกรรม
ดัช นีผ ล ผ ลิต อุต ส ห ก ร ร ม อ ห ร
เดือนกันยายน 2565 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว
มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 34.4 จากสินค้าสำคัญคือ
1) น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 45.8 และ 2) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
ขยายตัวร้อยละ 23.7 โดยน้ำมันปาล์มดิบที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ผู้ประกอบการเร่งเพิ่มการผลิตเพื่อสต๊อกน้ำมัน เตรียมสำหรับ
การเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มดิบในส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซล
จาก B5 เป็น B7 ที่จะมีผลตั้งแต่วัน ที่ 10 ต.ค. 65 ถึงวัน ที่
31 ธ.ค. 65 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 45.0 จากสินค้าสำคัญคือ
น้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 66.2 เนื่องจากความต้องการ
บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว
ต่อเนื่อง 3) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่
แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 5.9 เนื่องจากมีการผ่อนคลาย
มาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งใน
และต่างประเทศ รวมถึงการที่ไทยมีการส่งออกไปยังตลาดใหม่
อย่างซาอุดีอาระเบีย 4) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 3.3
จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 2.1 เนื่องจาก
ความต้องการบริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน
ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ได้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้
เป็นสินค้าทดแทน ในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง
5) ประมง ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาแช่แข็ง
ขยายตัวร้อยละ 17.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาด
ในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า
อาหารในประเทศเดือนกันยายน 2565 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 0.1
โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่หดตัว เช่น 1) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ หดตัวร้อยละ 49.1
2) ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 44.8 3) สุราขาว หดตัวร้อยละ 42.4
4) กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 18.8
ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนกันยายน 2565
ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
จากสินค้าดังนี้ 1) อาหารทะเล จากสินค้าสำคัญ เช่น อาหารทะเลกระป๋อง
เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกที่ทยอยฟื้นตัว ขยายตัวในตลาด
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สด
แช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น 3) น้ำต ลทราย
และกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย โดยตลาดหลัก คือ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย
คาดการณ์แนวโน้ม ในภาพรวมเดือนตุลาคม 2565 ในภาพรวมมีแนวโน้ม
ขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการ
และนโยบายภาครัฐ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัว รวมถึงภาคการท่องเที่ยว
มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์
ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ชะลอตัว จากสถานการณ์เงินเฟ้อ รวมถึงต้นทุน
การผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ สำหรับมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว
เนื่องจากสถานการณ์การขนส่งในส่วนของค่าระวางเรือระหว่างประเทศ และตู้คอน
เทนเนอร์ปรับตัวลดลง
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
100.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล
เค รื่อ ง ป รับ อ ก ศ ค อ ม เพ ร ส เซ อ ร์ พัด ล ม ต ม บ้า น
และหม้อหุงข้าว เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน
และ มอเตอร์ไฟฟ้า ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้า
ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,602.9
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่
หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.8
ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และ อาเซียน พัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ
38.7 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เตาอบไมโครเวฟ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 ในตลาดไต้หวัน จีน และสหรัฐอเมริกา
แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6
ในตลาดสิงคโปร์ ยุโรป และจีน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากตลาดเวียดนาม ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
และเครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
ในตลาดเวียดนาม และญี่ปุ่น ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่
สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ลดลงร้อยละ 56.3 ในตลาดสหรัฐอเมริกา
สิงคโปร์และญี่ปุ่น มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลดลงร้อยละ
15.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และออสเตรเลีย ตู้เย็น
ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 8.6 ในตลาดแคนาดา
เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา และเครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า
ลดลงร้อยละ 3.9 ในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ และเม็กซิโก
?คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2565 อุตส ห กรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-8.0
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจ
ในประเทศขยายตัวจากการเปิดประเทศ และการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า?
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
98.9 ป รับ ตัวลด ลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบ กับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD,
PWB และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลง
ร้อยละ 24.2, 23.0 และ 1.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย
ในประเทศลดลงและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่
สิน ค้า ที่ป รับ ตัว เพิ่ม ขึ้น ได้แ ก่ Integrated circuits (IC)
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาด
ในประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,775.2
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์
กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 322.8 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.9 ในตลาดจีน และสหรัฐอเมริกา HDD
มีมูลค่า 1,590.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ในตลาด
ยุโรป เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า
792.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในตลาดอาเซียน
และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่
วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 129.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.2
ในตลาดยุโรป และอาเซียน
?คาดการณ์การผลิตเดือนตุลาคม 2565 อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงทรงตัวโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.1-1.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
ในปีที่ผ่านมามีฐานการผลิตค่อนข้างสูง? 3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ การผลิตรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2565 มีจำนวน
179,237 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 4.37
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.99
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ
1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี 2565
มีจำนวน 74,150 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 8.71
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.06
(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
เนื่องจาก เศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวจากการผ่อนคลาย
ให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกขึ้น
ตลอดจนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และมาตรการประกันรายได้
เกษตรกร
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2565 มีจำนวน
100,389 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 36.91
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.97
(%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย
ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกากลางและใต้
?ค ด การณ์แน วโน้ม ของอุต ส ห กรรม การผ ลิต รถยน ต์
ในเดือนตุลาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2564
เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
จากการคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2565
มีจำนวน 197,450 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ
4.08 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
79.47 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์
แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน
ปี 2565 มียอดจำหน่ายจำนวน 150,297 คัน ลดลงจากเดือน
สิงห ค ม ปี 2 5 65 ร้อย ล 1 2 .53 (%MoM) แต่เพิ่ม ขึ้น
จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 36.78 (%YoY) จากการ
เพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี,
111-125 ซีซี และ 126-250 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนกันยายน ปี 2565
มีจำนวน 40,399 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ
21.29 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
66.12 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศจีน
สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนตุลาคม ปี 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม
ปี 2564 เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ
และตลาดส่งออก จากการคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของเชื้อไวรัสโควิด-19? 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
ลดลงร้อยละ 0.74 จากการชะลอตัวของการผลิตยางแผ่น
และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.64 จากการลดลง
ของการผลิตยางรถยนต์นั่งและยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 19.50 ตามความต้องการ
ถุงมือยางทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปรับลดลง
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
ลดลงร้อยละ 6.71 เป็นผลจากความต้องการยางแผ่น
และยางแท่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 ตามการขยายตัว
ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 28.11 จากความต้องการใช้
ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)
มีมูลค่าลดลงร้อยละ 7.66 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออก
ยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดจีน และน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.27 จากการชะลอตัว
ของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 43.04 สาเหตุหลัก
จากราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2565
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากแนวโน้ม
ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง
ประกอบกับฝนที่ตกชุกในหลายพื้นที่ช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผล
ให้มีปริมาณน้ำยางสดเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิต
ยางรถยนต์คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง
อุปสงค์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัว
ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ในส่วนของ
การผลิตและจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะชะลอตัว
ตามความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ลดลง
อย่างต่อเนื่อง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง
และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง สาเหตุจากจีน
ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของทั้งผลิตภัณฑ์ยางแผ่น ยางแท่ง
และน้ำยางข้น มีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
จากไทย สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะกลับมา
มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดรอง
อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย และฟิลิปปินส์
ที่มีแนวโน้มความต้องการยางรถยนต์จากไทยเพิ่มขึ้น ในส่วนของ
การส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากฐานตัวเลขการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง
และราคาของถุงมือยางที่ปรับลดลงอย่างมากจากในช่วงที่ผ่านมา 5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ระดับ 88.73
หดตัวร้อยละ 5.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนี
ผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น ท่อและข้อต่อพลาสติก
หดตัวร้อยละ 18.47 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 16.02
และพลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 11.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ระดับ 87.28
หดตัวร้อยละ 6.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์
ที่หดตัว เช่น พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 23.56 ท่อและข้อต่อพลาสติก
หดตัวร้อยละ 21.91 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 18.02
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกันยายนปี 2565 มีมูลค่า 394.54
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายร้อยละ 2.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ผลิตภัณ ฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น
กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 77.55
ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) ขยายตัว
ร้อยละ 10.72 และผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก (HS 3926)
ขยายตัวร้อยละ 4.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนกันยายน 2565 มีมูลค่า 441
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ หดตัวร้อยละ 1.85 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว
เช่น ผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 20.53
ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ
14.01 และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ
ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 11.24 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนตุลาคม 2565 ทิศทาง
ราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งน้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบตั้งต้น
ของเม็ดพลาสติก ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมพลาสติกมีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า 6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า
ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ระดับ 90.57
ห ด ตัว ร้อ ย ล 6.85 เ มื่อ เ ทีย บ กับ ช่ว ง เ ดีย ว กัน
ของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 11.24
ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ
26.92 น้ำยาล้างจาน หดตัวร้อยละ 21.20 แป้งฝุ่น หดตัว
ร้อ ย ล 20.14 สีน้ำ พ ล ส ติก ห ด ตัว ร้อ ย ล 41.40
สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 30.11 และสบู่และเครื่องบำรุงผิว
หดตัวร้อยละ 28.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 8.83
ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว คือ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ
72.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น กัน ย ย น 2565
อยู่ที่ระดับ 91.86 หดตัวร้อยละ 7.62 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัว
ร้อยละ 8.87 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี
หดตัวร้อยละ 26.05 สีน้ำมัน หดตัวร้อยละ 23.37 และน้ำยา
ล้างจาน หดตัวร้อยละ 19.76 และกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
หดตัวร้อยละ 2.79 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่
คลอรีน หดตัวร้อยละ 10.36 โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 7.85
และกรดเกลือ หดตัวร้อยละ 7.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
การส่งออก เดือนกันยายน 2565 มูลค่าการส่งออก
922.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการส่งออก 545.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.08
อย่างไรก็ตามกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 376.73
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 22.04 และสี หดตัวร้อยละ 5.14
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนกันยายน 2565 มีมูลค่าการนำเข้า
รวม 1,645.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 0.19
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน
มีมูลค่าการนำเข้า 1,128.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว
ร้อยละ 3.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม
เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 517.16 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนตุลาคม 2565
ทิศทางราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทาง
การฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้า
เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีต้นทุน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น 7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 95.93 หรือหดตัวร้อยละ
16.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลง
ร้อยละ 11.58 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Toluene หดตัวร้อยละ
26.03 และ 22.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS resin และ PP resin
หดตัวร้อยละ 50.35 และ 25.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 93.31 หดตัวร้อยละ
19.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ
9.34 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน
ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 32.89 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่
PS resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 37.69 และ 27.97
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนกันยายน ปี 2565 มีมูลค่า
940.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 26.16
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 16.8
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น และหดตัว
ในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene
เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนกันยายน ปี 2565 มีมูลค่า
492.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 7.52
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ
20.14 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี
ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene เป็นต้น และหดตัวในกลุ่ม
ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PP resin เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนตุลาคม ปี 2565
คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการส่งออก
โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ
Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคา
น้ำมัน ดิบ ที่เป็น ผ ล ก ระท บ จ ก การห ยุด การผ ลิต
ในหลายประเทศ จากความขัดแย้งยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ
ความขัดแย้งของจีน-ไต้ห วัน การประท้วงหยุดงาน
ในเกาหลีใต้และการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง
ประกอบกับประเทศกลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับขึ้น
ปริมาณการผลิต อีกทั้งประเทศรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตพลังงานโลก
รายสำคัญ หยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ประเทศในยุโรป
นอกจากนี้ความต้องการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เกี่ยวกับ
โควิด-19 ชะลอตัวลงตามสถานการณ์การระบาดที่ลดลง
ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลง 8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก
และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายน
2565 มีค่า 86.5 หดตัวร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบ กับ
ช่ว ง เดีย ว กัน ข อ ง ปีก่อ น เนื่อ งจ ก ก ร ช ล อ ตัว
ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง
ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชน และอุตสาหกรรม
ผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ ประกอบกับมีการนำเข้าเหล็ก
จากต่างประเทศซี่งมีราคาลดลง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก
พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาว
และเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 81.6 หดตัวร้อยละ 6.0 ผลิตภัณฑ์
ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 29.7 รองลงมาคือ ลวดเหล็ก
หดตัวร้อยละ 17.4 และลวดเหล็กแรงดึงสูง หดตัวร้อยละ
14.7 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรม 87.0 หดตัวร้อยละ 27.9 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิต
หดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 40.9
รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 26.6
และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 25.3
การบริโภคในประเทศ ในเดือนกันยายน 2565
มีปริมาณการบริโภค 1.1 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 19.7
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก
ทรงแบนมีปริมาณ 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 32.0 จากการ
บริโภคเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 40.1
รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 39.8
และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 31.3 ในขณะที่
การบริโภคเหล็กทรงยาวมีปริมาณ 0.4 ล้านตัน ขยายตัว
ร้อยละ 10.1 จากการบริโภคเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 23.8
และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 5.2
การนำเข้า ในเดือนกันยายน 2565 มีปริมาณ
การนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มเหล็กทรงแบน
มีปริมาณ การนำเข้า 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 35.0
กลุ่มเหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าหดตัว เข่น เหล็กแผ่นรีดเย็น
ชนิด Alloy steel หดตัวร้อยละ 40.1 (ประเทศหลักที่ไทย
น เข้า คือ ญี่ปุ่น เกาห ลีใต้ แ ล จีน ) รอ งล งม คือ
เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 33.1
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเวียดนาม)
และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี โดยวิธีจุ่มร้อน หดตัวร้อยละ
31.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน)
ในขณะที่กลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน
ขยายตัวร้อยละ 9.1 เหล็กทรงยาวที่มีการนำเข้าขยายตัว
เช่น เหล็กเส้น ชนิด Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 37.2
(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้)
รองลงมาคือ เหล็กเส้น ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ
33.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้)
และลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.8 (ประเท ศหลัก
ที่ไทยนำเข้า คือ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2565
คาดการณ์ว่า ดัชนีการผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
และการลงทุนก่อสร้าง รวมถึงราคาเหล็กต่างประเทศมีแนวโน้ม
ลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ทั้งนี้
มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจ
และการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนิน
นโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค
และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณ
การผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย? 9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน หดตัวร้อยละ
2.92 และ 9.40 (%YoY) โดยการผลิตเส้นใยสิ่งทอหดตัว
จากกลุ่มเส้นด้ายฝ้าย ขณะที่การผลิตผ้าผืนหดตัว จากกลุ่ม
ผ้าทอ (ฝ้าย)
การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 8.30
(%YoY) จาก ก ลุ่ม เสื้อ ผ้าชั้น น อ ก บุรุษ เสื้อ ผ้ากีฬ
ชุดออกกำลังกาย และเสื้อผ้าเด็ก ด้วยปัจจัยหลักเพื่อรองรับ
คำสั่งซื้อในตลาดหลัก อย่าง สหรัฐอเมริกา และเบลเยียม
ซึ่ง เป็น Port ข อ ง ต ล ด ยุโรป ร ว ม ทั้ง ก ร บ ริโภ ค
ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น จากภาคการท่องเที่ยว
หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด
ของโรคโควิด-19
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว
ร้อยละ 4.08 และ 11.07 (%YoY) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุน
จากสถาน การณ์ท งเศรษ ฐกิจภายใน ป ระเท ศและ
ภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวกลับมาเป็นปกติ ประกอบกับ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ
ให้กับประชาชน
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 14.92 (%YoY)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใย ขยายตัวร้อยละ 44.02 (%YoY)
ในตลาดสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น และเวียดนาม กลุ่มผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ 3.84
(%YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อินเดีย
อินโดนีเซีย และมาเลเซีย สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 46.39 (%YoY) ในตลาด
สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อิตาลี กัมพูชา และ
บังกลาเทศ
การส่งออก
กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวตลอด
ทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 1.70 4.24 และ
12.69 (%YoY) ในตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา
เวียดนาม อินเดีย กัมพูชา และเมียนมา
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2565
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมทั้ง
ความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักที่มีอย่างต่อเนื่อง
และคำสั่งซื้อที่มากขึ้นเพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำหรับเทศกาล
ปลายปี อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความผันผวน
ของเศรษฐกิจและการเงินโลกจากความไม่แน่นอน
ของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การดำเนิน
นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งราคาพลังงาน
และวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัสดุที่ใช้
ในการผลิตปรับตัวสูงตาม ซึ่งกระทบต่อต้นทุนภาคการผลิต
ของอุตสาหกรรม
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน ปี 2565
มีจำนวน 6.53 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2565
ร้อยละ 3.57 (% MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 3.51 (%YoY)
การจำห น่ายปูน ซีเม น ต์รวมใน ป ระเท ศ
ในเดือนกันยายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.06
ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 5.00
(% MoM) จากภ วะที่เกิดน้ำท่วมขังในห ลายพื้น ที่
ของประเทศ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ขยายตัว ร้อยละ 6.11 (%YoY) โดยมีการก่อสร้างโครงการ
ขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน
ในประเทศ รวมถึงนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล
ทำให้ภาคเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้น
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกันยายน
ปี 2565 มีจำนวน 0.47 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม
ปี 2565 ร้อยละ 47.61 (%MoM) และลดลงเมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.88 (%YoY) โดยเป็นการ
ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ และกัมพูชา
ร้อยละ 97.31 76.15 และ 38.10 ตามลำดับ เนื่องจาก
ได้รับผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ต่อเนื่องจากความขัดแย้ง
ของรัสเซีย-ยูเครน
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต
ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนตุลาคม 2565 คาดว่าจะปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่ยังคงมีอยู่ และเศรษฐกิจโลก
ส่งสัญญาณชะลอตัว
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกันยายน
ปี 2565 มีจำนวน 3.34 ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม
ปี 2565 ร้อยละ 3.79 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 9.48 (%YoY)
การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ในเดือนกันยายน ปี 2565 มีปริมาณการจำหน่าย 3.06
ล้านตัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 5.00
(%MoM) จากภาวะน้ำท่วม แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ขยายตัว ร้อยละ 6.02 (% YoY) ตามการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการเปิดประเทศของรัฐบาล
หลังภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เบาบางลง
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน
กันยายน ปี 2565 มีจำนวน 0.18 ล้านตัน ลดลงจากเดือน
สิงหาคม ปี 2565 ร้อยละ 35.48 (%MoM) และเมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 38.47 (%YoY) จากการ
ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา
ร้อยละ 34.83 16.63 และ 14.69
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม ปี 2565 คาดว่าจะยังปรับตัว
ลดลงต่อเนื่องจนกว่าปัญหาจากภาวะน้ำท่วมจะคลี่คลาย
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม