สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรก ปี 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 22, 2022 14:04 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว

อุตสาหกรรมยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 26.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เป็นการเพิ่มขึ้นจากรถบรรทุกปิคอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นหลัก

เนื่องจากความต้องการสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเบนซิน 95 เนื่องจากในปีก่อน

มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของผู้ผลิตบางราย และสถานการณ์การท่องเที่ยวทั้งในประเทศ

และต่างประเทศที่กลับมาฟื้นตัวมากขึ้น ภายหลังจากที่มีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 10.6 เมื่อ

เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากแผงวงจรรวม

(Integrated circuit : IC) และชุดแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board Assembly : PCBA)

เป็นหลัก เนื่องจากตลาดโลกยังคงมีความต้องการในทิศทางที่ขยายตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม

การกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกันยายน 2565

อยู่ที่ร้อยละ 63.2

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรก ปี 2565

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th Office of Industrial Economics (OIE)

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

MPI -2.4 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.0 -2.0 -0.2 6.4 14.9 3.4

อุตสาหกรรมยานยนต์ -5.2 5.0 7.5 291.9 151.4 92.0 31.5 -9.8 -5.4 6.0 -0.9 9.1 5.1 2.2 3.3 12.8 -9.3 4.3 23.8 63.1 26.0

อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม -10.6 -18.1 -12.0 6.2 3.7 -1.6 -4.8 -6.1 -2.7 6.0 11.9 6.7 9.3 15.9 18.1 12.5 13.1 18.4 13.0 17.6 21.7

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ -0.0 16.4 6.7 10.8 34.0 33.8 19.1 10.3 13.5 12.4 21.0 14.3 17.3 5.7 3.2 6.0 6.8 1.8 9.5 18.9 10.6

อุตสาหกรรมสาคัญที่ขยายตัว

(การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน, %YOY)

2564 2565

อุตสาหกรรม Hard Disk Drive ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 34.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่าย Hard Disk Drive ลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง

เทคโนโลยีที่ผู้ผลิตทยอยยกเลิกการผลิตสินค้ารุ่นที่มีความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลง รวมถึง

การผลิตสินค้ารุ่นใหม่ที่มีความจุข้อมูลสูงขึ้นต้องใช้เวลานานและได้ปริมาณที่ลดลง

อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากสหรัฐอเมริกาส่งออกมากขึ้นจากการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับจีน

มีการส่งออกมากขึ้น เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากเงินหยวนที่อ่อนค่าลง ส่งผลทำให้ผู้ผลิตในไทย

จำเป็นต้องปรับลดปริมาณการผลิตและจำหน่าย เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนการผลิตได้

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 34.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

จากสินค้าเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้และโลหะ ตลาดสหรัฐอเมริกาชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อควบคุม

ปริมาณสต็อกไม่ให้สูงมากเกินไป สำหรับตลาดจากยุโรปมีคำสั่งซื้อเข้ามาน้อยตามภาวะ

เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับมีผู้บริโภคบางส่วนหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนมากขึ้น

สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว

อัตราการใช้กำลังการผลิต เดือน กันยายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 63.2

กันยายน 2565

กันยายน 2563

กันยายน 2564

อัตราการใช้กำลังการผลิต ร้อยละ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2565

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th Office of Industrial Economics (OIE)

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

MPI -2.4 -1.2 5.8 18.2 26.0 18.6 3.7 -4.9 0.4 2.7 4.6 6.7 2.0 2.5 0.4 -0.0 -2.0 -0.2 6.4 14.9 3.4

อุตสาหกรรม Hard Disk Drive 7.8 4.7 9.6 21.7 8.9 10.1 -10.9 -1.7 -2.7 -17.0 -12.8 -0.4 -20.0 -11.3 -8.9 -28.1 -29.7 -30.6 -29.4 -31.9 -34.9

อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก 9.4 15.7 5.9 3.1 12.1 9.9 12.7 7.4 3.7 -0.9 14.1 3.9 4.0 0.8 -2.2 -2.9 -15.9 -15.7 -7.6 -8.5 -16.9

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 21.6 25.1 43.4 20.6 33.9 22.3 20.9 -4.4 18.8 34.1 17.2 33.0 6.1 14.0 -15.5 -18.1 -24.1 -19.3 -13.3 -4.5 -34.4

อุตสาหกรรมสาคัญที่หดตัว 2564

(การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน, %YOY)

2565

สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว

อุตสาหกรรม Hard Disk Drive ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน การผลิตปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ปรับลดแผนการผลิตลง รวมถึงสินค้า

ที่มีความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลง

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมปลายน้ำที่หดตัว

รวมถึงผลจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้น

การผลิตภาคอุตสาหกรรม 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรม

การกลั่นปิโตรเลียม อัตราการใช้กำลังการผลิตใน 9 เดือนแรก ปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 63.4

อุตสาหกรรมยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากรถบรรทุกปิคอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นหลัก เนื่องจากในปีนี้

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์

สามารถดำเนินการผลิตได้มากขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศขยายตัว

อุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ของเชื้อโควิด-19 คลี่คลายลง

ไปมาก ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศหลังจากการเปิดประเทศ

รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น

สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว

อัตราการใช้กำลังการผลิต 9 เดือนแรก ปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 63.4

ดาวน์โหลดเอกสาร

9 เดือนแรก ปี 2565

9 เดือนแรก ปี 2564

อัตราการใช้กำลังการผลิต ร้อยละ

ข้อมูลเพิ่มเติม : นายนเรศ กิจจาพัฒนพันธ์ กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6806

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2565

www.oie.go.th

9 เดือนแรก ปี 2563

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ