อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย (ไม่รวมทองคำ) เดือนกันยายน ปี 2565 World +7.9% หมายเหตุ : อาเซียน (5) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตะวันออกกลาง (15) ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต โอมาน บาห์เรน เลบานอน จอร์แดน ซีเรีย อิรัก เยเมน อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส และอิสราเอล เดือนกันยายน 2565 การส่งออกรวมมูลค่า 24,919.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 7.9 (YOY) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22 การส่งออกสินค้า อุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 7.5 (YOY) จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ อัญมณีประเภทพลอย รถยนต์และส่วนประกอบ โดยเฉพาะรถปิคอัพ ด้านการส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าขยายตัวทั้ง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27) ตะวันออกกลาง (15) อินเดีย ออสเตรเลีย อาเซียน (5) และ CLMV ขณะที่จีนและญี่ปุ่นหดตัวลง ภาพรวม 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2565 การส่งออกมีมูลค่ารวม 221,366.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.6 (YOY) โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 166,955.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.0 (YOY) US A +29.4 % MidEast (15) +39.8 % EU (27 ) exBR +18.7 % India +16.7 % CN -1 2.1 % JP -7 .1 % C LMV +15.9 % AU +1 2.0 % Asea n (5) +12.7 % สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th Office of Industrial Economics (OIE) สถานการณ์ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรก ปี 2565 ดาวน์โหลดเอกสาร ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ประมวลผลโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เดือนกันยายน 2565 การส่งออกรวมมีมูลค่า 24,919.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยการส่งออกใน หมวดสินค้าสำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่า 2,005.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.7 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่า 1,734.6 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.8 สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 20,234.5 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 19,710.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.9 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) มีมูลค่า 19,535.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ 9 เดือนแรก ปี 2565 สินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศ ยานรบ) มีมูลค่า 164,481.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.2 (YOY) เดือนกันยายน 2565 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 25,772.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยสินค้า เชื้อเพลิงมีมูลค่า 5,925.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 80.2 สินค้าทุนมี มูลค่า 5,229.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.8 หดตัวจากเครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 8,886.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.6 จากเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ทองแดง อลูมิเนียม และผลิตภัณฑ์ 9 เดือนแรก ปี 2565 การนำเข้ารวม มีมูลค่า 236,351.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 60.3 (YOY) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) และ 9 เดือนแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.8 (YOY) โดยการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกยังคงเติบโตต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเดือนนี้ ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งกระทบ ต่อต้นทุนการนำเข้า ผู้ผลิตบางรายจึงชะลอการนำเข้าสินค้าลง การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญเดือนกันยายนและ 9 เดือนแรก ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 4,775.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยขยายตัวจาก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นสำคัญ ขยายตัวร้อยละ 15.7 จากการส่งออกไปประเทศ สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ และเวียดนาม ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากการส่งออก ไปประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไอร์แลนด์ มูลค่าการส่งออก 3,256.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยขยายตัวจากรถยนต์นั่งและ รถปิคอัพเป็นสำคัญ ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากการส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก และซาอุดิอาระเบีย ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 หดตัวร้อยละ 1.9 โดยหดตัวจากรถปิคอัพ เป็นสำคัญ จากการส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม มูลค่าการส่งออก 2,602.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) ขยายตัวจากเครื่องปรับอากาศ เป็นสำคัญ ขยายตัวร้อยละ 23.4 จากการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากสินค้า เครื่องปรับอากาศเป็นสำคัญ โดยส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสิงคโปร์ มูลค่าการส่งออก 595.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) เป็นการขยายตัวในสินค้ากลางน้ำและ ปลายน้ำ โดยผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 4.2 จากการส่งออกไปประเทศเวียดนาม เมียนมา ศรีลังกา และอินเดีย เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 12.7 จากการส่งออก ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ส่วนด้ายและเส้นใยประดิษฐ์หดตัว ร้อยละ 5.5 จากการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม และบังคลาเทศ ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากการส่งออกไป ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย มูลค่าการส่งออก 823.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.1 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) จากการส่งออกไปประเทศจีน อินเดียอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ทั้งนี้การส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือน ก.ย. 2565 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะด้านราคา โดยดัชนีราคาส่งออกเม็ด พลาสติกขยายตัวร้อยละ 2.7 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกหดตัว ร้อยละ 17.5 ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากการส่งออกไป ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และบังคลาเทศ เป็นต้น มูลค่าการส่งออก 1,013.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 89.6 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) จากการส่งออกอัญมณีประเภทพลอยไป ยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และอินเดีย ขณะที่การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าการส่งออก 1,536.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 99.4 จากการ ส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปไปยังประเทศกัมพูชา ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ภาพรวม 9 เดือนแรก ปี 2565 อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 43.3 ซึ่งเป็นอัญมณีประเภทเพชรและพลอยเป็นสำคัญ โดย ส่งออกไปประเทศอินเดีย สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ข้อมูลเพิ่มเติม : นางสาวอัมพร สุวรรณรัตน์ และ นางสาวชุติมา ชุติเนตร กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0-2430-6806 อุตสาหกรรม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม