หมายเหตุ : N/A = ไม่ปรากฏข้อมูล
ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2566
ประมาณการ ปี 2566 : GDP ประเทศไทย โดย สศช. (พฤศจิกายน 2565), GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ. (ธันวาคม 2565)
จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th
สอบถามข้อมูล : นางสาวอัมพร สุวรรณรัตน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680611 ดาวน์โหลดข้อมูล
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปัจจัยสนับสนุน
ปัจจัยก ดดัน
การบริโภคในประเทศฟื้นตัว ตามการท่องเที่ยว
และภาคบริการ
การลงทุนภาครัฐและเอกชนขยายตัว
ปัญหาห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลง
เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทย
อยู่ในภาวะถดถอย
ราคาพลังงานและภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง
ปี 2566 MPI และ GDP การผลิตอุตสาหกรรม ประมาณการว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 2.5 - 3.5 เติบโตตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัว
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ตลอดปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY)
ปัจจัยส่วนหนึ่งจากช่วงปลายปีโรงงานผลิตน้ำมันปิโตรเลียมปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ประกอบกับการส่งออกช่วงปลายปีชะลอตัว
ส่งผลให้ MPI ขยายตัวในกรอบที่จำกัด อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและ
การท่องเที่ยวโตต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นฟันเฟืองหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งนี้ สศอ. ประมาณการ ปี 2566 MPI
และ GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 (YOY) โดยอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อาทิ
ยานยนต์ไฟฟ้า (xEV), Smart Electronics, Functional Food และเภสัชภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ปี 2565
อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)
รถยนต์ +11.51 %
- ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลง
- การจำหน่ายในประเทศและการส่งออกขยายตัวดี
การกลั่นปิโตรเลียม +8.75 %
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวฟื้นตัว
- การผลิตน้ำมันเครื่องบินขยายตัวหลังเปิดประเทศ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +7.31 %
- การผลิตขยายตัวใน IC, แผงวงจรไฟฟ้า (PCBA)
- อุปสงค์เติบโตตามเทรนด์โลก
อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง -29.14 %
- หดตัวในผลิตภัณฑ์ HDD เป็นหลัก
- โดยเปลี่ยนไปผลิต HDD ที่มีความจุขนาดใหญ่ขึ้น
พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น -10.28 %
เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการลดลง
เหล็กและเหล็กกล้า -10.71 %
การผลิตปรับลดลง เนื่องจากปีก่อนมีการเร่งผลิต
เพื่อเก็บสต็อกขายทำกำไรเนื่องจากราคาปรับตัวสูง
อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI ปี 2565
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม