อก. เผยดัชนี MPI เดือน ม.ค. ขยายตัวร้อยละ 6.61 รับเศรษฐกิจ - ท่องเที่ยวฟื้นตัว
สศอ. คาด MPI และ GDP ภาคอุตฯ ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมกราคม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.61 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน ตอบรับการบริโภคในประเทศฟื้นตัวหลังเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวขยายตัว ด้านสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม ปี 2566 ขยายตัว ร้อยละ 1.5 - 2.5
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมกราคมปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.61 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน โดยมีอัตราการใช้กาลังการผลิตที่ร้อยละ 62.31 มาจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ การกลั่นน้ามัน รถยนต์ จักรยานยนต์ รองเท้า กระเป๋า และเครื่องดื่ม ถึงแม้อุปสงค์ในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศสาคัญของโลกทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา และฐานในปีก่อนอยู่ในระดับสูง
นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ระดับ 99.82 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2566 ได้แก่ น้ามันปิโตรเลียม จากการเดินทางที่ขยายตัวขึ้นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและการเดินทางในเทศกาลปีใหม่ ยานยนต์ จากรถยนต์นั่งขนาดกลางและรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ตลาดส่งออกขยายตัว และน้ามันปาล์ม จากปริมาณผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดจานวนมากกว่าปีก่อนและการส่งออกที่ขยายตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ดัชนี MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังได้รับ แรงส่งของภาคการท่องเที่ยวจากจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลาดับ รวมถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช้อปดีมีคืน หนุนการบริโภคในประเทศ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ามันที่อยู่ในระดับสูง การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตของชาติมหาอานาจที่ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานและกระทบต่อการนาเข้า-ส่งออกสินค้า
ทั้งนี้ สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2566 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวทั้งภายในและ
ต่างประเทศประกอบกับประเทศจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวโดยเฉพาะในภาคบริการ และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น ช้อปดีมีคืน เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ รวมถึงในปีนี้จะมีการเลือกตั้งที่จะเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยง ที่ควรเฝ้าระวังและติดตามในปีนี้ ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทิศทางราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนมกราคม 2566 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
น้ามันปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.96 จากผลิตภัณฑ์น้ามันเครื่องบิน น้ามันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ามันเบนซิน 95 เพื่อใช้ในการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่
ยานยนต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.79 จากรถยนต์นั่งขนาดกลางและรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น
น้ามันปาล์ม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.23 จากผลิตภัณฑ์น้ามันปาล์มดิบ และน้ามันปาล์มบริสุทธิ์ โดยปีนี้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ามันออกสู่ตลาดจานวนมาก รวมถึงการเร่งผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
น้าตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.94 เนื่องจากปีนี้มีผลผลิตอ้อยเข้าหีบปีนี้มากกว่าปีก่อน
เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.83 เนื่องจาก มีความต้องการยาที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวทาให้ความต้องการบริโภคยา ในพื้นที่ท่องเที่ยวมีเพิ่มมากขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)
Index
2565
2566
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค. ม.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
104.36
101.65
109.66
90.91
97.87
97.64
95.36
99.34
97.50
93.39
95.32
93.63 99.82
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %
2.04
-2.60
7.88
-17.10
7.66
-0.23
-2.34
4.17
-1.85
-4.22
2.07
-1.77 6.61
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %
1.90
2.34
0.20
-0.37
-2.28
-0.49
6.00
14.60
3.01
-4.27
-5.30
-8.45 -4.35
อัตราการใช้กาลังการผลิต
65.90
64.83
69.57
58.48
62.48
62.64
60.84
63.87
63.57
60.07
61.34
59.56 62.31
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม