สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2565

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 16, 2023 14:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2

สารบัญ

หน้า

บทสรุปผู้บริหาร 3

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2565 5

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2565

และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2566 15

2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 16

2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 17

2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 18

2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 19

2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 20

2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 21

2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 22

2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 23

2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 24

2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 25

2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 26

2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 27

2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 28

2.14 อุตสาหกรรมยา 29

2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 30

2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 31

2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 32

2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 33

3

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2565

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4/2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

ร้อยละ 5.8 จากไตรมาสที่ 3/2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตเพื่อส่งออกในหลายอุตสาหกรรม

หดตัว จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในอัตราที่เร็วและแรงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี

อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้

อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 4/2565 อาทิ Hard Disk Drive จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตทยอย

ยกเลิกการผลิตสินค้าที่มีความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลง อีกทั้งความต้องการในสินค้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การจัดเก็บ

ลดลงต่อเนื่อง การกลั่นปิโตรเลียม เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานของโรงกลั่นบางรายในช่วงเดือนตุลาคมและ

เดือนพฤศจิกายน 2565 เม็ดพลาสติก จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น และการชะลอการผลิต

เพื่อการระบายสินค้าคงคลังซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง สำหรับอุตสาหกรรมที่มี

การขยายตัวดีในไตรมาสที่ 4/2565 อาทิ รถยนต์ เป็นการเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออก โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นในรถยนต์

ทุกประเภท น้ำมันปาล์ม เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล

อุตสาหกรรมอาหาร ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงการที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันในปีนี้มีจำนวนมาก

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2566

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุน

พลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ความต้องการใช้

เหล็กชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐ

มีความต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้

ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ

ในตลาดโลกได้

? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 490,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อ

จำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 525,000 คัน โดย

แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์

จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการบริโภคในประเทศและตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับ

เยื่อกระดาษ จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง หลังจากประเทศจีนได้กลับมาทยอยเปิดประเทศ

? สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ

ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ รวมถึงการประกาศเปิด

ประเทศของจีนจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยัง

เปราะบาง ปัญหาค่าครองชีพสูง และความผันผวนของราคาวัตถุดิบและพลังงาน

4

? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการ

ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง

คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ

ฐานตัวเลขการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ที่อยู่ในระดับสูง

? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภค

สินค้าลดลง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานและเงินบาทที่มีทิศทางผันผวน อาจส่งผลกระทบต่อภาคการ

ส่งออกของไทย รวมถึงจากการที่ฐานของไตรมาสเดียวกันในปีก่อนสูง จากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวหลังการคลี่คลาย

ของโรคไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว

5

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2565

6

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

GDP

ขยายตัวร้อยละ 1.4 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

ไตรมาส 4 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 โดย

ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่ง

ขยายตัวร้อยละ 4.6 และชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

GDP ภาคอุตสาหกรรม

หดตัวตัวร้อยละ 4.9 (%YoY)

GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ของปี 2565 หดตัว

ร้อยละ 4.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า

ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.0 และหดตัวจากช่วงเดียวกันของ

ปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.5

ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.6

การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.9

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 5.7

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.9

การส่งออกสินค้าและบริการ

หดตัวร้อยละ 0.7

ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.2

ที??มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ผลผลิตมวลรวมภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4

ของปี 2565 หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าถดถอยเร็วกว่า

ที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้สินค้าเพื่อการส่งออกลดลง

เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วน

และอุปกรณ์ยานยนต์ รถยนต์นั่งและรถกระบะ

เป็นต้น รวมทั้งการลดลงของการผลิตน้ำมัน

เนื่องจากมีโรงกลั่นน้ำมันบางโรงกลั่นมีการ

ปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ประจำปี

7

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 5.8

(%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวร้อยละ 4.7

(%YoY)

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

อยู่ที่ระดับ 94.39 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.75)

ร้อยละ 3.44 และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน

ของปี 2564 (100.17) ร้อยละ 5.77

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์

ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตพลาสติกและ

ยางสังเคราะห์ขั้นต้น การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบ

ไนโตรเจน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564

ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตพลาสติก

และยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่

ระดับ 97.19 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.77)

ร้อยละ 2.58 และลดลงจากไตร มาส เดียว กัน

ของปี 2564 (101.98) ร้อยละ 4.69

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจาก

ไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิต

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า

ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่ การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติกและ

ยางสังเคราะห์ขั้นต้น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ

กลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

8

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

หดตัวร้อยละ 6.1

(%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ร้อยละ 60.20

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

อยู่ที่ระดับ 135.16 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (139.31)

ร้อยละ 2.98 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564

(144.00) ร้อยละ 6.14

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป

คงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตน้ำตาล

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป

คงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่

การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต

ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน

เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.20 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา

(ร้อยละ 62.61) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน

ของปี 2564 (ร้อยละ 64.51)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต

ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์

ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตพลาสติกและยาง

สังเคราะห์ขั้นต้น การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจร

อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง

การผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ได้แก่

การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม

การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต

พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

9

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ไตรมาส 4 อยู่ที่ระดับ 93.07

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ดัชนีความเชื่อมั่น

ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.07 เพิ่มขึ้นจาก

ไตรมาสที่ผ่านมา (90.43) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่น

คาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 98.57 ลดลง

จากไตรมาสที่ผ่านมา (100.00)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความ

เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 4 ปี 2565

มาจากกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศยกเลิก

โควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้

เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565

เป็นต้นไป ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวตามการ

ขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ และมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจของภาครัฐ และการขยายตัวของนักท่องเที่ยว

ปี 2565 (11.8 ล้านคน) ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2564 (0.4 ล้าน

คน) ร้อยละ 2,850 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเทียว

ในทวีปเอเซีย เช่น มาเลเซีย อินเดีย สปป.ลาว กัมพูชา

สิงคโปร์ เป็นต้น

น อ ก จ ก นี้ ภ ค ก ร ผ ลิต มีกา รขย ยตัว

อย่างต่อเนื่องตามการบริโภคภายในประเทศและ

ปัญหาการขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ดี

ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต

ที่ปรับเพิ่มขึ้นจากค่าพลังงานและค่าไฟฟ้า

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10

การค้าต่างประเทศของไทย

?การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY)

เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการปิดประเทศของจีนทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอโดยเฉพาะ

ในตลาดส่งออกสำคัญของไทย จึงส่งผลให้การนำเข้าและส่งออกของไทยหดตัวลง อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมที่เน้น

ตลาดในประเทศรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ อุตสาหกรรมการกลั่น

น้ำมัน ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น?

การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 134,571.00 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 65,799.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) และมูลค่าการนำเข้า 68,771.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ขาดดุล 2,972.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 65,799.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า

เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 5,942.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.97 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม

การเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 4,991.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.04 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า

การส่งออก 52,524.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.38 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก

2,341.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 22.04 (YOY)

11

ตลาดส่งออกสินค้า

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ไทยมีสัดส่วนการส่งออก

สินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน

สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ)

ร้อยละ 69.92 และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ

ร้อยละ 30.08 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้ ประเทศ

คู่ค้าหลักของไทยหดตัวลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน สหรัฐอเมริกา

จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ร้อยละ 24.21,

16.87, 11.81, 8.85 และ 8.18 ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการส่งออก 65,799.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) โดย จีน หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 13.37 ถัดมา คือ อาเซียน หดตัวร้อยละ 10.88 ญี่ปุ่น

หดตัว ร้อยละ 7.14 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 4.77 และสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 1.32

ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 68,771.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ

3.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่า

การนำเข้า 13,538.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.33 (YOY) สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,700.28

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.50 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 27,336.64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.81 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 8,043.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หดตัวร้อยละ 6.39 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,251.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 6.06 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 901.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 2,222.32 (YOY)

12

ตลาดนำเข้าสินค้า

ไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ไทยมีสัดส่วนการ

นำเข้าสินค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา

จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ร้อยละ 67.06

และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 32.94 ของการ

นำเข้าทั้งหมด โดยตลาดนำเข้าหลักของไทยส่วนใหญ่

หดตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) อาทิ

จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ)

ยกเว้น สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น

สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และ

มีสัดส่วนร้อยละ 24.27, 18.09, 11.75, 6.54 และ 6.41

ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 68,771.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) โดย ญี่ปุ่น หดตัวสูงสุด ร้อยละ 8.62 รองลงมา คือ จีน หดตัวร้อยละ 6.58 และ

สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 6.40 ขณะที่สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 18.18 และอาเซียน

ขยายตัวร้อยละ 2.97

13

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

?ภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก

สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต ราคา

เชื้อเพลิง และอาหารเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารกลาง

ในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการใช้มาตรการ Zero-Covid ของจีน

ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การผ่อนปรนมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศของ

ประเทศต่าง ๆ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ภาคการท่องเที่ยว

ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง?

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

Quarterly Growth (%YoY)

GDP Inflation MPI Export Import Unemp.

Rate

Policy

Rate

สหรัฐฯ ? 1.0 ? 7.1 ? 2.4 ? 9.0 ? 3.1 At 3.4 At 4.25-4.50

จีน ? 2.9 ? 1.8 ? 2.8 ? -6.9 ? -6.7 At 5.5 At 3.65

ญี่ปุ่น ? 0.6 ? 3.9 ? -0.2 ? -4.6 ? 7.6 At 2.4 At -0.10

เกาหลีใต้ ? 1.4 ? 5.2 ? -4.0 ? -10.0 ? 3.1 At 2.6 At 3.25

สิงคโปร์ ? 2.1 ? 6.6 ? -2.7 ? -4.4 ? -1.7 At 1.8 n.a.

ไทย ? 1.4 ? 5.8 ? -5.8 ? -8.5 ? -3.3 At 1.2 At 1.25

ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://tradingeconomics.com

หมายเหตุ: n.a. = ไม่ปรากฏข้อมูล

ภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของ

เศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากการ

ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ รวมทั้งเศรษฐกิจจีน

ที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากการ

ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม

และการส่งออกสินค้าของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการเปิด

ให้มีการเดินทางระหว่างประเทศของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

จากการดำเนินมาตรการเปิดประเทศเร็วขึ้นกว่าที่คาด ส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัว

สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงมีความผันผวน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากไตรมาส

ก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้

มีสาเหตุมาจาก (1) แนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก

ทำให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบที่ซื้อขายในสกุล

เงินดอลลาร์ สรอ. มีราคาถูกลง (3) กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (โอเปกพลัส) มีมติปรับลดกำลังการผลิต

2 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 ถือเป็นการปรับลดกำลังการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของโอเปก

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2563 และเป็นการปรับลดอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 และ (4) ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น สหรัฐฯ

พยายามเพิ่มอุปทานน้ำมัน แต่เผชิญสถานการณ์ที่กลุ่มโอเปกปรับลดกำลัง การผลิตจึงไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้

14

ตามต้องการ สหรัฐฯ จึงประกาศระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดความร้อนแรงของราคา

น้ำมัน

ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด อาทิ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

อย่างต่อเนื่อง กดดันการส่งออกและการลงทุน เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลาง วิกฤต

พลังงานที่ยืดเยื้อ และนโยบายการเงินที่เข้มงวดทั่วโลก ส่งผลให้บางประเทศหลักมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต ส่งผลให้

ภาคการผลิตชะลอตัวลง

15

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 4/2565

และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2566

16

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

การผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มีค่า 84.6 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 (%YoY)

แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.7 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 13.2 ผลิตภัณฑ์

ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 28.9 รองลงมา

คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 20.5

และ 10.0 ตามลำดับ และการผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 13.5

โดยผลิตภัณฑ์ที่การผลิตมีการหดตัว คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 26.4

รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และลวดเหล็ก หดตัว

ร้อยละ 20.2 และ 16.0 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

มีปริมาณ 3.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 12.3 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.4 (%QoQ)

โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคเหล็กทรงแบน

หดตัวร้อยละ 16.6 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัว

ร้อยละ 34.9 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นบาง

รีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 19.4 17.6

และ 14.2 ตามลำดับ และการบริโภคเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ

4.5 จากการบริโภคเหล็กลวด และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง

รีดร้อน หดตัวร้อยละ 13.1 และ 1.3 ตามลำดับ

การนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 2.6

พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 22.2 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 20.8

(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า

เหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 26.2 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัว

มากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ชนิด EG หดตัวร้อยละ 64.6

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน)

รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น

ประเภท Carbon steel หดตัวร้อยละ 55.7 และ 37.1 และเหล็ก

ทรงยาว หดตัวร้อยละ 9.2 โดยผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมาก

ที่สุด คือ เหล็กลวด ประเภท Stainless steel หดตัวร้อยละ 52.3

(ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้)

รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ประเภท Alloy steel และ

ประเภท Stainless steel หดตัวร้อยละ 44.6 และ 40.2

ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ปี 2566

คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้ม

ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ความต้องการ

ใช้เหล็กชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้าง

พื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความ

ต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มเหล็กทรงยาว

และเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน ลวดเหล็ก เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เป็นต้น

17

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก

การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอยู่

ที่ 89.8 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 8.5

(%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 9.0 (%YoY) โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง

ได แก่ ต เ ย น เ ตา อบไ มโ ค รเวฟ ม อเ ต อร์ไ ฟฟ้า

เครื่องซักผ้า พัดลมตามบ้าน สายเคเบิ้ล สายไฟฟ้า และ

เครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ 29.0, 23.1, 21.6, 15.0,

14.6, 14.5, 3.1 และ 0.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาพลังงาน

ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อหุงข้าว คอมเพรสเซอร์ กระติก

น้ำร้อน และหม้อแปลงไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4, 6.9, 4.7

และ 3.3 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2565 สินค้าที่มี

การปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน มอเตอร์ไฟฟ้า และ

พัดลม ลดลงร้อยละ 19.5, 17.0, 12.6, 7.2 และ 1.7

ตามลำดับ ในขณะที่ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ

หม้อหุงข้าว และ คอมเพรสเซอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 871.4,

12.2, 11.4 และ 1.2 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า

4,644.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ

2.8 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 0.1 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่

หม้อหุงข้าว ตู้เย็น และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5, 13.2

และ 10.6 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2565 มีมูลค่า

การส่งออก 6,915.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลง

จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 10.3 (%QoQ) และลดลงจาก

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 (%YoY) จากตลาด

จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน ลดลงร้อยละ 9.3, 7.0 และ 0.8

ตามลำดับ โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ตู้เย็น มอเตอร์

ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 31.4,

14.9, 14.8 และ3.9 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการขยายตัวประมาณ ร้อยละ 3.0 และคาดว่ามูลค่า

การส่งออกจะมีการขยายตัว ร้อยละ 5.0 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดส่งออก

หลักของไทยซึ่งส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพ

มากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 และป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะเครื่องฟอกอากาศ และเครื่องปรับอากาศ

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ลดลงร้อยละ 9.0 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก

ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า

พัดลมตามบ้าน สายเคเบิ้ล สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ และมีการส่งออกลดลงในตลาดจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน

18

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้

ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วน

อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดโลกได้ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณ

ร้อยละ 4.0 เนื่องจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตไม่เพียงพอต่อความ

ต้องการของตลาดโลก และภาวะเงินเฟ้อยังส่งผลให้ราคาวัตถุดิบในการผลิตกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก

อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มี

ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 88.7 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.4 (%QoQ)

และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.6 (%YoY)

โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, แผงวงจร

(PWB), Printer และ Semiconductor devices transistor

โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 45.0, 30.9, 13.7 และ 8.0

ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ได้แก่ วงจรพิมพ์ (PCBA) และ วงจรรวม (IC) โดยปรับตัว

เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 และ 5.5 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่ HDD,

แผงวงจร (PWB), Printer และ Semiconductor devices

transistor มีการปรับตัวลดลงเนื่องจาก สถานการณ์

การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์

และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ

ต่อความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก

แต่อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็น

ต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ

ผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคง

มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4

ปี 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 10,732.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 10.0 (%QoQ) และลดลง

ร้อยละ 12.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์

ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และวงจรพิมพ์

ปรับตัวลดลงร้อยละ 42.8, 35.7 และ 16.8 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4

ปี 2565 มีมูลค่าการส่งออก 11,358.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.8 (%QoQ) และลดลง

ร้อยละ 0.1 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

โดยส่งออกลดลงในตลาดจีน อาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่น ลดลง

ร้อยละ 24.6, 12.7, 6.4 และ 5.4 ตามลำดับ โดยสินค้าหลัก

ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์

อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ HDD วงจรพิมพ์

(PCBA) และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ

ปรับตัวลดลงร้อยละ 55.9, 40.2, 16.2 และ 11.5

ตามลำดับ

98.6 99.0 96.0 101.5 100.0 94.0 93.8 88.7

0

20

40

60

80

100

120

140

Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

10,012.8 10,535.6 10,691.7

12,217.4 11,754.0

11,552.9

11,923.4

10,732.2

9,917.8 10,018.6 10,177.0

11,364.7 11,017.6 10,796.7

11,684.4 11,358.1

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

Q1-2564 Q2-2564 Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.6 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความ

ต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, แผงวงจร (PWB), Printer และ

Semiconductor devices transistor และมีมูลค่าการส่งออกลดลงในตลาดจีน อาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่น

19

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 490,000 คัน

โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อ

ส่งออกร้อยละ 45-50

การผลิตรถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 519,478 คัน

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 5.17

(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน

ร้อยละ 9.65 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น

การผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตันและ

อนุพันธ์ ร้อยละ 63 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 215,701 คัน

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 4.51

(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 5.06 (%YoY)

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 293,812 คัน

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 14.41

(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 4.29 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น

การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 33 รถกระบะ 1 ตัน

ร้อยละ 57 และรถ PPV ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 2,343.81 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 6.11

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 3.46 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ

ของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่

สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

ยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 2,074.95 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ

3.20 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 22.16 (%YoY) โดยตลาด

นำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์

ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

473,759 480,078

390,033

390,033 519,478

227,188 231,189

196,107 206,391 215,701

281,713

243,124

206,520

256,806

293,812

4Q 2564 1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

2,427.83

2,595.34 2,397.34 2,496.42 2,343.81

2,665.80

2,030.95 2,021.29 2,143.63 2,074.95

4Q 2564 1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการ

เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออก โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นในรถยนต์ทุกประเภท ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV อย่างไรก็ดี ตลาด

ในประเทศมีการชะลอตัวเนื่องจากฐานสูงในปีก่อน

20

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์

กว่า 525,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ

80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 541,158 คัน เพิ่มขึ้น

จากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 0.15 (%QoQ) และ

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 7.98

(%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 429,444 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ5.81 (%QoQ)

แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 6.23

(%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 272,638 คัน

(เป็นการส่งออก CBU 138,468 คัน และ CKD 134,170

ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 4.11

(%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 11.00 (%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 222.08 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 1.74

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 10.60 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ

ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิล และ

ญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 257.47 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 5.26

(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 2.60 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น

จีน และสหรัฐอเมริกา

501,160 489,238

445,217

540,327 541,158

404,276

448,147

458,478

455,947 429,444

245,626

266,098

235,355 261,869 272,638

4Q 2564 1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต การจำหน่าย การส่งออก

248.41 264.59

217.40 226.02 222.08

250.94

327.04

292.81 271.77

257.47

4Q 2564 1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565

มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและ

อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้ง

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น และอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง

21

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มหดตัว

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น

การผลิตสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ชะลอตัว ผู้ประกอบการชะลอการผลิตเพื่อรอดู

สถานการณ์ราคาต้นทุนวัตถุดิบและผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อเท่านั้น

การตลาดและการจำหน่าย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง

พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 77.05 หดตัว

ร้อยละ 12.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ดัชนีผลผลิตที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี สีน้ำมัน และยาสระผม

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 18.71

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ

76.50 หดตัวร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี

สีน้ำมัน และยาสระผม และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

(%QoQ) หดตัวร้อยละ 17.02

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 2,355.03

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.99 เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้

มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อินทรีย์

และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

(%QoQ) หดตัวร้อยละ 11.32

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่ารวม

4,544.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.29 เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลัก

ที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อนินทรีย์

เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และปุ๋ยเคมี และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

(%QoQ) หดตัวตัวร้อยละ 28.56

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าลดลง การส่งออกและการนำเข้าหดตัว

เนื่องจากตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศชะลอตัว โดยการส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น อินเดีย เวียดนาม

อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า

22

อุตสาหกรรมพลาสติก

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 83.12

หดตัวร้อยละ 9.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่

บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ กระสอบพลาสติก และ

แผ่นฟิล์มพลาสติก และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

(%QoQ) หดตัวร้อยละ 7.33

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ

85.75 หดตัวร้อยละ 9.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด

ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ กระสอบพลาสติก และ

แผ่นฟิล์มพลาสติก เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ)

หดตัวร้อยละ 5.08

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า

1,011.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.14

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด ได้แก่

กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และ

แถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัว

ร้อยละ 25.03 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

(%QoQ) หดตัวร้อยละ 14.69

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า

1,234.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.69

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวสูงสุด ได้แก่

ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ

ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 18.25 และ

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%QoQ) หดตัวร้อยละ 9.36

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง

พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จากสถานการณ์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย

มากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัว ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลาสติกเริ่มกลับมา

ดีขึ้น อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

สินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกมีต้นทุนที่สูงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 4 ปี 2565 การส่งออกหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการ

ของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน การผลิตหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบกับต้นทุนการผลิตทำให้ผู้ประกอบการบางรายชะลอดู

ทิศทางตลาดและผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น

23

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 89.22 ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.83 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี

ผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP และ PE resin ส่วนหนึ่ง

มาจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น และการชะลอการผลิตจากการระบายสินค้าคงคลัง

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 88.89 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.70 โดยสินค้าที่ส่งผลให้

ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PE resin

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 2,529.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

31.26 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของ

กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin และลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene, Toluene เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 1,452.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.98

โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลง

ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง เช่น PS resin และ

PET resin เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2566

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวจากสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก

ที่เป็นผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาธัญพืช-อาหารปรับตัวสูงขึ้น

ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศจะปรับชะลอตัวลง ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศตัวเลขของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

และการเปิดประเทศของจีน จะส่งผลต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.83

และ 20.26 (%YoY) การนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ร้อยละ 0.45 และการส่งออกสินค้าปรับลดลงร้อยละ 6.38 (%QoQ)

ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์

เงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้การผลิต และการส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลง

24

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์

กระดาษ เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YOY) ลดลง

(-5.75%) และ (-9.19%) ตามลำดับ ลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

(เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟท์ กระดาษลูกฟูก

และกล่องกระดาษ) ยกเว้นกระดาษพิมพ์เขียนที่การผลิตยัง

เติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก เมื่อเปรียบเทียบ

(%QoQ) การผลิตเพิ่มขึ้น (+4.50%) ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2

และ 3 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะขยายตัวได้จนถึงไตรมาสที่ 1

ปี 2566 ซึ่งมีคำสั่งซื้อหลักจากเกาหลีใต้และเวียดนาม เป็นหลัก

การส่งออก

การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่ารวม 604.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลง (-7.64%) เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ซึ่งลดลงทั้งกลุ่ม

เยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและ

สิ่งพิมพ์ (-8.43%) (-7.37%) และ (-6.36%) ตามลำดับ และเมื่อ

เปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกลดลง (-3.06%) จากกลุ่ม

เยื่อกระดาษลดลง (-3.67%) กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์

กระดาษ (-3.19%) ในขณะที่กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ (+8.79%)

โดยมีฮ่องกง กัมพูชา และ สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศส่งออก

หลัก

การนำเข้า

การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่ารวม 798.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) ร้อยละ (-16.15%) และ (-6.47%) ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตในประเทศลดลง

ค่อนข้างมาก การนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนชะลอตัวลง โดยเฉพาะเยื่อกระดาษ กระดาษหรือกระดาษแข็งที่นำกลับมาใช้ได้อีก สำหรับ

กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์ ลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) อาทิ กระดาษหนังสือพิมพ์

กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษคราฟต์ และกระดาษแข็ง ในส่วนกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ

(%YoY) ร้อยละ (-9.60%) และ (-3.60%) ตามลำดับ

แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2566

แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น

ตามการบริโภคในประเทศและตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สำหรับเยื่อกระดาษ จะกลับเป็นบวกได้อีกครั้ง หากจีน

ได้กลับมาเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และกลับมาฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก สำหรับกลุ่มสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะขยายตัวไม่มากนักในภาวะ

ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในส่วนการส่งออกในปีนี้ คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องถึงทรงตัวและจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

เมื่อเศรษฐกิจจีนกลับมาฟื้นตัว

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลิตอุตสาหกรรมรวมของอุตสาหกรรม

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ เมื่อเปรียบเทียบ (%QOQ) และ (%YOY) ลดลง (-5.75%) และ (-9.19%) ตามลำดับ สำหรับการส่งออก

ในภาพรวม (-7.64%) และ (-3.06%) ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าในภาพรวมลดลง (-16.15%) และ (-6.47%) ตามลำดับ อย่างไรก็ดี แม้ว่า

อุตสาหกรรมนี้จะชะลอตัวในไตรมาสนี้ แต่ภาคส่วนอื่นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว

25

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน

และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด

กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต

27.69 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 18.30

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.44 (%YoY)

เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและคำสั่งซื้อของตลาดคู่ค้า สำหรับ

เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.35 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 3

ปี 2565 ร้อยละ 22.97 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 34.31

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ

การจำหน่าย 36.55 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565

ร้อยละ 3.22 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

0.54 (%YoY) ส่วนการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.80 ล้านชิ้น

ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 4.19 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.68 จากมาตรการกระตุ้นตลาดและการเร่ง

ส่งมอบอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการในช่วงปลายปี

การส่งออก ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง

มีมูลค่า 23.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565

ร้อยละ 15.30 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.43

เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่ม

ประเทศกลุ่มประเทศ CLMV ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 39.89

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง จากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 22.36 และ

ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 43.61

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น

ตามความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าหลัก ส่วนการ

ส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกันตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศหลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย โดยตลาดหลัก

ในการส่งออก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สถานการณ์

เงินเฟ้อ การปรับขึ้นของต้นทุนการผลิตจากราคาพลังงาน ปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบ

ภาคการส่งออก

ปริมาณการผลิตและการส่งออกกระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ลดลงจากการชะลอตัวของ

เศรษฐกิจในประเทศตลาดคู่ค้าหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV ส่วนการจำหน่ายในประเทศ

เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ

26

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565

มีจำนวน 10.15 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ

2.42 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 1.72 (%YoY) เพื่อรองรับการขยายตัวของ

ภาคอสังหาริมทรัพย์หลังผ่อนคลายจากแพร่ระบาดของโรคไวรัส

โควิด-19

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 8.79 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาส

ที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ 5.75 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 5.56 (%YoY) เมื่อเปรียบเทียบจากฐาน

ที่สูงกว่าก่อนเกิดภาวะความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน จนส่งผล

กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศและของโลก

การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4

ปี 2565 มีมูลค่าจากการส่งออก 38.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 4.67 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2565

แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออก

เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.51 จากตลาดเมียนมา ร้อยละ

22.93 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบทาง

เศรษฐกิจที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 19.03

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ร้อยละ

17.50 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

24.98 โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศจีน และ สปป.ลาว

ร้อยละ 51.93 และ 28.27 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ

การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราที่ลดลง เนื่องจากแม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะมีปัจจัยหนุนจากการเปิดประเทศ

ทั้งของไทยและจีน แต่กลับได้รับแรงกดดันของภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้น

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ใหม่ของภาครัฐให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคน้อยกว่ามาตรการเดิมที่หมดอายุไปเมื่อสิ้นปี 2565 ปัจจัยเหล่านี้

อาจส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่เติบโตมากเท่าที่ควร

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิต ปรับตัวสูงขึ้นรองรับการขยายตัว

ของภาคอสังหาริมทรัพย์หลังการผ่อนคลายจากภาวะการแพร่ระบาดของโรค แต่การจำหน่ายปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบจากฐานปีก่อน

ที่สูงกว่าก่อนเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน การส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น

27

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต

ดัชนีผลผลิตผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 6.19 (YoY) จากการ

ผลิตเส้นใยประดิษฐ์และการปั่นด้ายจากเส้นใยธรรมชาติ การทอผ้า

หดตัวร้อยละ 20.64 (YoY) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หดตัวร้อยละ 9.12

(YoY) เป็นผลมาจากแนวโน้มคำสั่งซื้อที่ลดลงจากประเทศคู่ค้าในตลาด

สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม ฮ่องกง จึงทำให้ผู้ประกอบการ

ลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับ

ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (QoQ) พบว่า ดัชนีการทอผ้าขยายตัวร้อยละ

0.98 ในกลุ่มการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยอื่น ๆ เนื่องจาก

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ผู้ประกอบการจึงเริ่มปรับตัวในการ

ผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 4.69 จากเส้นด้ายฝ้าย เส้นด้ายจากเส้นใย

ประดิษฐ์ ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 19.80 จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และ ผ้าทอ

(ใยสังเคราะห์) สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ขยายตัวร้อยละ 10.64 (YoY)

จากนโยบายการเปิดประเทศ หลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ส่งผลให้มี

จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมาตรการ

สนับสนุนจากภาครัฐ ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัว

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (QoQ) พบว่า เสื้อผ้า

เครื่องแต่งกาย มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 0.26

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวมหดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

โดยมีมูลค่า 1,547.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.77 (YoY)

หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 976.17 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.43 กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 570.99 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.81 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา เบลเยียม ฮ่องกง

และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว จากการใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในหลาย ๆ ประเทศ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรม

ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค

การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,294.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.82 (YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และเสื้อผ้า

สำเร็จรูป โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 308.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.65 โดยมีการนำเข้าสินค้าราคาถูก

ถึงราคาปานกลางจำนวนมากจากจีนเข้ามาจำหน่ายของกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ และการนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลกและระดับภูมิภาคมาจำหน่าย

ตามทิศทางความต้องการ

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2566

ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์ภายในประเทศ จากการฟื้นตัวของ

ภาคการท่องเที่ยว การประกาศเปิดประเทศของจีน หลังจากดำเนินนโยบาย Zero-COVID มานานกว่า 3 ปี เป็นสัญญาณที่ดีต่อการส่งออก

ไปยังตลาดจีน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น ช็อปดีมีคืน โครงการเราเที่ยวด้วยกัน (ระยะที่ 5) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยง

จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังเปราะบาง จากปัญหาค่าครองชีพสูง ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและพลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น

อาจส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศมากขึ้น อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เป็นผล

มาจากแนวโน้มคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หากเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสก่อน ดัชนีการทอผ้าขยายตัวในกลุ่มการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยอื่น ๆ เนื่องจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก

ผู้ประกอบการจึงเริ่มปรับตัวในการผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

97.33 94.84 96.27 96.64 91.31

60.97

62.18

51.06 47.92 48.39

75.24

78.99

71.43 70.69 68.40

20

40

60

80

100

120

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ??งทอและเครื??องนุ่งห่ม

ผลติ ภัณฑ์เส้นใยสิง?? ทอ

การทอผ้า

การผลิตเสือ?? ผ้าเคร??อื งแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสือ?? ผ้า)

-

200.00

400.00

600.00

800.00

1,000.00

1,200.00

1,400.00

150

350

550

750

950

1150

ล้านเหรียญฯ

มูลค่าการส่งออก นำเข้า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ส่งออกลุ่มสิ่งทอ (MUSD) ส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

นำเข้ากลุ่มสิ่งทอ (MUSD) นำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

28

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ใน

ประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 1.70

ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 14.14 และ 44.81 จากไตรมาสที่ผ่านมา

และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากปริมาณ

คำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 4

ปี 2565 มีจำนวน 0.27 ล้านชิ้น ลดลงในอัตราที่เท่ากันร้อยละ

12.90 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

จากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้

ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าที่ชะลอการซื้อได้

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่ารวม

970.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.47 และ 11.60 จาก

ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และ

ผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 269.86 34.89 และ 666.23

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน

ลดลงร้อยละ 18.36 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ ลดลงร้อยละ

18.42 และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ แผ่นไม้ลดลง

ร้อยละ 8.12 ทั้งนี้ ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์

ไม้ปรับลดลงทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ จากอุปสงค์ความต้องการของ

ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ลดลงและฐานตัวเลขการส่งออก

เมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงชะลอตัวตามความต้องการของตลาด

ต่างประเทศที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัว

จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะมีมูลค่าลดลง

จากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องและฐานตัวเลขการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565

ที่อยู่ในระดับสูง

3.08

2.65

1.68

1.98

1.70

0.31 0.29 0.28 0.31 0.27

0

1

2

3

4

Q4 2021 Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022

การผลิต การจำหน่ายในประเทศ

1,098.43 1,147.85

1,082.48 1,016.39 970.98

0

200

400

600

800

1,000

1,200

1,400

Q4 2021 Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022

เครื??องเรือนและชิ??นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้

ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มูลค่ารวม

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีปริมาณลดลง

จากปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าลดลง จากอุปสงค์

ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ลดลงและฐานตัวเลขการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูง

29

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: มีการปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2564

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

การผลิตยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีปริมาณ 13,254.42 ตัน

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.24 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน จากการขยายตัวของการผลิตยาครีม ยาเม็ด และ

ยาน้ำ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.95 23.05 และ 18.59

ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อจากร้านขายยาและโรงพยาบาล

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีปริมาณ 11,194.74 ตัน

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.11 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ

ปีก่อน จากการขยายตัวของการจำหน่ายยาผง ยาครีม ยาเม็ด

และยาน้ำ มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.91 32.46 31.48 และ

8.95 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะ

ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 116.73

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.20 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ

ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย

สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 451.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 2.13 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่า จะมีแนวโน้ม

การขยายตัว เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน

ตำรับยา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย จะเป็นกระบวนการหนึ่ง

ที่ช่วยคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนและส่งเสริมการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยสร้าง

ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตยาตลอดห่วงโซ่

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs

ที่มีจำนวนมากขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกมีทิศทางการขยายตัวที่ดีในตลาดกัมพูชา เวียดนามและมาเลเซีย

30

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์

และถุงมือยาง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์

และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 0.46 ล้านตัน 16.31 ล้านเส้น

และ 6,515.42 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง

ร้อยละ 11.54 จากการลดลงของการผลิตยางแผ่น และน้ำยางข้น

การผลิตยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 5.12 จากการลดลงของการผลิต

ยางรถยนต์นั่ง ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

และการผลิตถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ 23.57 จากความ

ต้องการถุงมือยางในตลาดต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีจำนวน 0.11 ล้านตัน 10.17 ล้านเส้น

และ 569.00 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณ

ลดลงร้อยละ 8.33 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ที่ลดลง การจำหน่ายยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 10.08

ตามการชะลอตัวของตลาด REM (Replacement Equipment

Manufacturing) ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยาง มีปริมาณ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.23 จากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกัน

โรคในประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 959.92 1,497.32 และ 320.57

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 36.84 12.28 และ 39.09 ตามลำดับ จาก

อุปสงค์ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการผลิต

เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง คาดการณ์ว่าจะยังคง

ชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องประกอบกับฐานตัวเลขการผลิตในไตรมาสที่ 1

ของปี 2565 ที่อยู่ในระดับสูง

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

0

5

10

15

20

Q4 2021 Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022

ยางแปรรูปขัน?? ปฐม (ลา นตัน) ยางรถยนต (ลา นเสน้ )

ถุงมือยาง (ล้ นชิ?? น)

5.92

-7.40 -4.32 -6.88

-25.98

-40

-20

0

20

40

60

80

100

0

500

1,000

1,500

2,000

Q4 2021 Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022

ลา นเหรียญสหรัฐฯ

ยางแปรรูปขัน?? ปฐม ยางรถยนต

ถุงมือยาง อัตราการขยายตัว (YOY)

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง มีปริมาณลดลงทั้งสามผลิตภัณฑ์

จากอุปสงค์ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลงเป็นหลัก โดยมูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงจากการชะลอตัวของ

ตลาดจีน มูลค่าการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางลดลงจากการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา

31

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

3. ปี 2564 เพิ่มผลิตภัณฑ์และปรับค่าถ่วงน้ำหนัก

การผลิต

ไตรมาส 4 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีดัชนี

การผลิตลดลงร้อยละ 17.01 จากการส่งออกที่ลดลง

สำหรับการผลิตกระเป๋า และการผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 13.42 และ 13.10 จากการจำหน่ายในประเทศ

และการส่งออกที่เพิ่มขึ้น

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก ไตรมาส 4 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หนังและ

ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด และรองเท้าและชิ้นส่วน

มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 5.14 และ 0.31 สำหรับ

เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.09 โดยมี

มูลค่าส่งออก 152.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออก

ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สวิตเซอร์แลนด์

ญี่ปุ่น และอินเดีย เนื่องจากหลายประเทศผ่อนคลาย

มาตรการโควิด-19 แต่จากสถานการณ์ความขัดแย้ง

ทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ยังส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน

การขนส่ง กระทบราคาสินค้า และภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก

การนำเข้า ไตรมาส 4 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนังฟอก

มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.84 กระเป๋ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 56.27 สำหรับรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.49 โดย

กระเป๋ามีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี จีน ฝรั่งเศส

สเปน และเกาหลีใต้ เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจ เพิ่มกำลังซื้อของประชาชน และเริ่มมี

นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 1 ปี 2566 เทียบกับปีก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ การฟอก

และตกแต่งหนังฟอก การผลิตกระเป๋าและรองเท้า เนื่องจากการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน

จากการที่หลายประเทศเริ่มเปิดประเทศเข้าสู่สภาวะปกติ แต่คงต้องจับตามองสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อและ

เริ่มตึงเครียดได้ส่งผลกระทบ โดยเฉพาะราคาพลังงานมีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคา

สูงขึ้น เกิดภาวะเงินเฟ้อกระทบกำลังซื้อของประชาชนและกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลก

117.52 122.24

144.86

134.56

97.53

80.77

64.06 59.88 61.97

79.94 79.79 80.26 80.03 91.62

90.41

40.00

60.00

80.00

100.00

120.00

140.00

160.00

Q4/2564 Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565

ดัชนีผลผลิต

การฟอกและตกแต่งหนงั ฟอก การผลติ กระเป๋ เดนิ ทาง

การผลติ รองเท้า

107.22 112.06

127.70

152.43 152.32

140.70 157.90 171.29 198.66 219.87

162.14004.40 165.34 162.20 174.54 161.90

128.20

147.61

184.00

171.73

185.30

200.29 204.02

220.52

175.78

178.70 171.49 177.84

222.19

208.79

0.00

50.00

100.00

150.00

200.00

250.00

Q4/2564 Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565

มลู ค่าการส่งออก การนำเขา

การส่งออก เครอ?? งใชส้ หรับเดินทาง การนำเขา กระเป๋

การส่งออก รองเทา และชน?? ส่วน การนำเขา รองเทา

การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด การนำเขา หนังดิบและหนังฟอก

ไตรมาส 4 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีการผลิตที่ลดลง

สำหรับการผลิตกระเป๋า และการผลิตรองเท้ามีการผลิตเพิ่มขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการส่งออกและการจำหน่าย

ในประเทศ จากการที่ทั่วโลกได้มีมาตรการที่ผ่อนคลายหลายประเทศได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย

แต่ยังคงต้องจับตาดูสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน หากยังยืดเยื้อจะส่งผลกระทบราคาพลังงานและภาวะเงินเฟ้อไปทั่วโลก

32

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 4

ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ปรับลดลงร้อยละ 24.66 จากการผลิตในทุกผลิตภัณฑ์ เพชร

เครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 4.10

26.95 และ 12.55 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกที่ลดลง

ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า อย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย

ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์

การจำหน่าย

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4

ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ปรับลดลงร้อยละ 25.81 จากทุกผลิตภัณฑ์ เพชร เครื่องประดับแท้

และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 24.33 27.18 และ 11.27

ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากภาวะ

เงินเฟ้อ และการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดในหลาย

ประเทศ ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค

การส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาสที่ 4

ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

มีมูลค่ารวม 1,898.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.09

จากมูลค่าการส่งออก พลอย เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.43 ส่วนเพชร

เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 1.62

1.68 และ 6.68 ตามลำดับ หากพิจารณาการส่งออก อัญมณีและ

เครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 2,644.92 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.06 โดยมูลค่าการส่งออกทองคำ

ยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 746.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ

22.87 ในตลาดที่ลดลง ได้แก่ กัมพูชา ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้

และญี่ปุ่น

ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ

ภาพรวมปรับลดลงจากการส่งออกที่ลดลงตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า อย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย และ

สวิตเซอร์แลนด์ ด้วยแรงกดดันของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จากภาวะเงินเฟ้อ และการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด

ในหลายประเทศ ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังตึงเครียด การชะลอตัวของ

เศรษฐกิจโลก จากภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2566

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 1 ปี 2566 คาดว่าจะมีทิศทางชะลอตัวตามการลดลงของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบของปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากภาวะเงินเฟ้อ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงเปราะบาง อย่างไร

ก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่เน้นการ

ช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายภายในประเทศ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยัง

ตึงเครียด การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง อาจกระทบต่อภาคการผลิตและการ

ส่งออกของประเทศ

97.27

88.29

90.83 92.66

73.28

90.15 92.80

96.02

74.99

40.00

60.00

80.00

100.00

Q4/64 Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65

ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า

1,878 1,916 1,968 2,254 1,899

2,846

5,505

3,242

3,715

2,645

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

Q4/64 Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65

มูลค่าการส่งออก

(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ไม่รวมทองคำ รวมทองคำ

33

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

4Q25631Q25642Q2564 3Q2564 4Q25641Q25652Q25653Q2565

ดัช นีผล ผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้า อุตสาหก รรม

อาหารไตม ส 3 ปี 2565

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐนำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จำหน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

ปริมาณจำหน่าย (พันตัน)

ดัชนีผลผลิต (MPI)

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 98.5 หดตัวร้อยละ

1.3 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหาร

ที่หดตัว ได้แก่ ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 15.6 จากสินค้าสำคัญคือ ผัก

ผลไม้อบแห้ง หดตัวร้อยละ 33.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและ

ต่างประเทศของสินค้าดังกล่าวลดลง รองลงมาคือ ประมง หดตัวร้อยละ 8.3

จากสินค้าสำคัญคือ กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 6.9 จากต้นทุนอาหารกุ้งที่สูงขึ้น

ส่งผลต่อต้นทุนการเพาะเลี้ยงและราคาจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้น และ

มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 10.9 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง หดตัว

ร้อยละ 11.1 เนื่องจากปริมาณผลผลิตหัวมันสำปะหลังน้อยลง จากการที่ฝนตก

ต่อเนื่อง ส่งผลให้เนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย

อย่างไรก็ตามยังมีดัชนีสินค้าบางรายการขยายตัว ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ขยายตัว

ร้อยละ 32.5 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์

เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล

อุตสาหกรรมอาหาร ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการที่ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ในปีนี้มีจำนวนมาก น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาล

ทรายขาว เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และ

ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น

เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการขยาย

การส่งออกไปยังตลาดใหม่ อย่างซาอุดีอาระเบีย

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

ม ป ริม ณ 56,474.27 พัน ตัน หด ต วร อย ล 17.7 ( % YoY)

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภค

ในประเทศลดลง ได้แก่ ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 46.3

รองลงมาคือ กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 20.5 เครื่องปรุงรสประจำ

โต๊ะอาหาร หดตัวร้อยละ 20.3 และแป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ

17.8

การส งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีม ลค 8,400.54

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.7 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน จากสินค้าสำคัญ เช่น ปศุสัตว์ จากไก่สดแช่เย็น

แช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ไขมันและน้ำมัน

จากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญ คือ น้ำมันปาล์ม โดยตลาด

ส่งออกหลัก คือ อินเดีย

การนำเข ไตรมาสท 4 ป 2565 มีม ลค 4,309.92

ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.4 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน จากเมล็ดพืชน้ำมัน (ถั่วเหลือง) หดตัวเนื่องจาก

ราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกมีราคาสูง ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น

ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองที่ไม่มีวัตถุดิบทดแทน

คนจึงหันไปบริโภคสินค้าทดแทนอย่างน้ำมันปาล์มซึ่งมีราคาถูกกว่า

รองลงมาคือ ธัญพืข หดตัวเนื่องจากปริมาณธัญพืชที่ผันผวนจาก

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่าย

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 คาดว่า

ดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัวเล็กน้อย

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก

และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการ

บริโภคสินค้าลดลง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาพลังงาน และ

เงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย

รวมถึงจากการที่ฐานของไตรมาสเดียวกันในปีก่อนสูง จากภาวะ

เศรษฐกิจขยายตัวหลังการคลี่คลายของโรคไวรัสโควิด-19 อย่างไร

ก็ตาม อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น จากภาคการท่องเที่ยว

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2565 หดตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของ

เศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ ราคาพลังงาน ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงฐาน

ของปีก่อนค่อนข้างสูง จากการที่สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นหลังการคลี่คลายของโรคไวรัสโควิด-19 ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ แม้เศรษฐกิจ

ของประเทศคู่ค้าหลักจะส่งสัญญาณชะลอตัว

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

1Q2564 2Q2564 3Q2564 4Q2564 1Q2565 2Q2565 3Q2565 4Q2565

ดัชนีผล ผลิต จำห น่าย ส่งออก และนำเข้า อุตส หก รรม

อาหารไตรม ส 4 ปี 2565

ส่งออก (มลู ค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จำหน่าย (ปริมาณ : พัตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

ปริมาณจำหน่าย (พันตัน)

ดัชนีผลผลิต (MPI)

34

รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ

หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์

? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย

ไตรมาสที่ 4/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2566

? อุตสาหกรรมรายสาขา

กว. 0-2430-6806

? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

กร. 1

กร. 1

0-2430-6804

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2430-6805

กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ