1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2564 2565 2565 2566 %YoY Year Year ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
MPI
5.8
0.4
1.9
2.3
0.2
-
0.4
-
2.3
-
0.5
6.0
14.6
3.0
-
4.3
-
5.3
-
8.5
-
4.4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ การกลั่นน้ำมัน รถยนต์ จักรยานยนต์ รองเท้า กระเป๋า และเครื่องดื่ม
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนตุลาคม 2565 หดตัวร้อยละ 4.3 เดือนพฤศจิกายน หดตัวร้อยละ 5.3 และเดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 8.5
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนตุลาคม หดตัว ร้อยละ 4.2 เดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 2.1 และเดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 1.8
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมกราคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
? Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 48.83 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ
? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 23.34 ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมามีความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์สูง ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ทำให้ความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ลดลง ส่งผลให้การผลิตเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์การแพทย์ลดลงตามไปด้วย ประกอบกับผู้ผลิตชะลอการผลิตลงเพื่อดูทิศทางตลาด รวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่
? เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 48.58 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะเป็นหลัก โดยการผลิต เครื่องเรือนทำด้วยไม้ลดลง จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ยางพารารายใหญ่ที่ปรับลดลง ซึ่งเป็นการปรับลดลงเข้าสู่สภาวะปกติก่อนการระบาดของโควิด 19 ในประเทศจีน ซึ่งในช่วงดังกล่าว จีนไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ โดยจีนเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนไม้อันดับที่ 1 ของโลก ส่วนเครื่องเรือนทำด้วยโลหะ การผลิตกลับเข้าสู่ระดับปกติหลังจากปีก่อนได้รับคำสั่งซื้อพิเศษ
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมกราคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
? การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 8.96 ตามการเดินทางเข้าประเทศมากขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงเทศกาลปีใหม่
? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 6.79 เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น ในรถยนต์ หลาย ๆ รุ่น ทำให้สามารถทำการผลิตได้เพิ่มขึ้น Indicators 2565 2566 %MoM ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.
MPI
2.0
-2.6
7.9
-
17.1
7.7
-
0.2
-
2.3
4.2
-
1.8
-
4.2
2.1
-1.8
6.6
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ
เดือนมกราคม 2566
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมกราคม 2566
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 1,491.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้า เครื่องจักร ที่ใช้ในการแปรรูปไม้ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 9,158.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้าประเภทเหล็ก ผ้าผืน เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 126 โรงงาน ลดลงจาก เดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 30.39 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.22 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่ารวม 9,050 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 9.5 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.85 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 13 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 12 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์โลหะสำเร็จรูปด้วยวิธีเคลือบ หรือลงรัก จำนวนเงินทุน 1,770 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ จำนวนเงินทุน 512 ล้านบาท
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมกราคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 31 ราย ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 22.5 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 58.11 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่ารวม 272 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ร้อยละ 83.16 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 93.03 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 9 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว จำนวน 2 โรงงาน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมกราคม 2566 คือ อุตสาหกรรม การทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก มูลค่าเงินลงทุน 62 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 41 ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมกราคม 2566
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนมกราคม 2566 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 69.2 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 84.8 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 54.2 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้น ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีจำนวนมาก ประกอบกับการที่ตลาดต่างประเทศอย่างอินเดีย มีความต้องการนำเข้าจากไทย เพิ่มมากขึ้น 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 8.9 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 14.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่ยังคงเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และน้ำตาลทรายดิบ ขยายตัวร้อยละ 13.0 3) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 5.9 เนื่องจากความต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และการขยาย การส่งออกไปยังตลาดใหม่อย่างซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการชะลอตัว ดังนี้ 1) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 23.2 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 23.7 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับมีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ 2) ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 12.5 จากสินค้าสำคัญคือ ผักผลไม้อบแห้ง หดตัวร้อยละ 28.4 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศลดลง และสับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 10.3 เนื่องจากภาวะภัยแล้ง เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง ผลผลิตลดลง รวมถึงต้นทุนการเพาะปลูกที่สูงขึ้น 3) ประมง หดตัวร้อยละ 10.6 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 15.8 เนื่องจากต้นทุนค่าอาหารกุ้งที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการเพาะเลี้ยงและราคาจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคของตลาด ในประเทศลดลง
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนมกราคม 2566 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 0.4 โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว เช่น 1) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 56.7 2) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 52.4 3) อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง ขยายตัวร้อยละ 20.9 4) เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร ขยายตัวร้อยละ 17.7
ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนมกราคม 2566 ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดย ตลาดหลัก ได้แก่ จีน มาเลเซีย 2) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือ ข้าว โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐอเมริกา 3) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม โดยตลาดส่งออกน้ำมันปาล์มที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย เมียนมา
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวในประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากมาตรการของภาครัฐในการขยายการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพ ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและการที่จีนเปิดประเทศ ส่งผลบวกต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่ยังคงชะลอตัว
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 78.6 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น, เตาไมโครเวฟ, กระติกน้ำร้อน และ พัดลมตามบ้าน โดยลดลงร้อยละ 42.8, 32.2, 22.0 และ 19.7 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้า ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้า ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า และ สายไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 และ 30.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,300.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต
?คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.0 -- 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าเริ่มทยอยฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 83.9 ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ PWB, Printer และ Semiconductor devices Transistors โดยลดลงร้อยละ 41.3, 37.3 และ 21.7 ตามลำดับ เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,277.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเข้าสู่ภาวะถดถอย
?คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 3.0 -- 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย สถานการณ์ work from home ลดลงทำให้มีความต้องการสินค้าน้อยลง รวมถึงการขยายตัวของการก่อสร้าง Data Center ใหม่ ๆ มีแนวโน้มลดลง?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีจำนวน
162,327 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2565 ร้อยละ 2.35
(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.97
(%YoY) เนื่องจาก ได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นในรถยนต์
หลาย ๆ รุ่น ทั้งนี้ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง และ
รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2566
มีจำนวน 65,579 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2565 ร้อยละ 20.80
(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.58 (%YoY)
เนื่องจาก รถยนต์นั่งบางรุ่นยังขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ โดย
เป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน
และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
ก รส่งอ อ ก รถ ย น ต์ ใน เดือ น ม ก ราค ม ปี 2 5 6 6
มีจำนวน 86,786 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปี 2565 ร้อยละ
22.24 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
24.28 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย
ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ
?ค ด ก รณ์แ น วโน้ม ข อ งอุต ส ห ก รรม ก รผ ลิต รถ ย น ต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 เนื่องจาก แนวโน้ม การขยายตัวของตลาดส่งออก
การคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และ
การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2566
มีจำนวน 193,910 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2565
ร้อยละ 7.44 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อ ย ล 1 4 .6 2 (%YoY) จ ก ก ร เพิ่ม ขึ้น ข อ ง ก ร ผ ลิต
รถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2566
มียอดจำหน่ายจำนวน 159,257 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม
ปี 2565 ร้อยละ 10.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ข อ งปีก่อ น ร้อ ย ล 9 .7 6 (%YoY) จ ก ก ร เพิ่ม ขึ้น ข อ ง
ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี,
126-250 ซีซี และ 251-399 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2566
มีจำนวน 43,663 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2565 ร้อยละ
16.13 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 0.08 (%YoY)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์
ปี 2565 เนื่องจาก การคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโควิด-19?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) ลดลงลงร้อยละ 16.42 จากการชะลอตัวของการผลิตทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.75 จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 17.18 จากความต้องการ ถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 จากความต้องการยางแท่งและน้ำยางข้น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 2.88 จากการชะลอตัวของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 จากความต้องการใช้ ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่อยู่ในระดับสูง
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.56 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน และน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 13.47 จากการ ชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 26.62 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2566
การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ในต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะ ในตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซียสำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่า จะกลับมาขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM ที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทางด้านการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะชะลอตัว จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงเป็นหลัก แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของทั้งผลิตภัณฑ์ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น มีแนวโน้มชะลอ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย สำหรับการส่งออก ยางรถยนต์ คาดว่าจะกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่คาดว่า จะกลับมาฟื้นตัว ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะยังคงมีมูลค่าลดลงจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกและราคา ที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ผลิตภัณฑ์ เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 20.53 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 12.77 และถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 8.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 7.12 โดยผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 20.50 แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.57 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 12.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนมกราคมปี 2566 มีมูลค่ารวม 317.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 10.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 24.41 ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 24.34 และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 14.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนมกราคม 2566 มีมูลค่ารวม 434.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 13.45 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 24.48 กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 27.61 ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัว ร้อยละ 28.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดการณ์ว่าการผลิตหดตัว เนื่องจากผู้ประกอบการมีสินค้า คงคลังที่มีปริมาณมากพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ การส่งออกมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากการซื้อขายในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักมีการซื้อขายชะลอตัว
ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า
ปริมาณและมูลค่าการส่งออก--นาเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า
ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 5.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 8.05 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 8.34 คลอรีน หดตัวร้อยละ 3.21 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 2.39 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 20.88 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัว ร้อยละ 69.26 น้ำยาทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 12.57 และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 9.67 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 13.43 กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 9.57 และเอทานอล หดตัวร้อยละ 6.62 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 21.04 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 12.78 น้ำยาทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 11.01 และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หดตัวร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
การส่งออก เดือนมกราคม 2566 มูลค่าการส่งออกรวม 732.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.71 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 410.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ
23.19 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 321.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 28.38 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 26.52 และสารลดแรงตึงผิว หดตัวร้อยละ 13.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า ในช่วงเดือนมกราคม 2566 มูลค่า การนำเข้ารวม 1,595.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัว ร้อยละ 7.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,134.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 11.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 461.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้น ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ การผลิตและการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ชะลอตัว ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ผู้ประกอบการผลิตตามความต้องการของลูกค้าเท่านั้น
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 92.36 หรือหดตัวร้อยละ 22.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Toluene หดตัวร้อยละ 44.57 และ 34.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 26.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการ หยุดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซ แต่เริ่มกลับมาผลิตได้ บางสายการผลิต และการชะลอตัวของการผลิตตามความต้องการที่ชะลอตัวลง
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 86.45 หดตัวร้อยละ 24.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 40.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE resin และ PP resin หดตัวร้อยละ 23.95 และ 20.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนมกราคม ปี 2566 มีมูลค่า 794.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 26.98 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดมีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคาปรับลดลง ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง ประกอบกับการที่สหรัฐได้มุ่งส่งออกมายังตลาดเอเซียที่เป็นตลาดของไทยทดแทนจากการชะลอตัวของความต้องการจากสหภาพยุโรป
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนมกราคม ปี 2566 มีมูลค่า 612.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.59 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน เช่น Toluene และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น จากความต้องการใช้พลาสติก ที่ลดลง ทั้งจากการชะลอการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้ง ยูเครน--รัสเซียที่ยืดเยื้อ
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2566 มีค่า 85.2 หดตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋อง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 82.7 หดตัวร้อยละ 9.0 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว มากที่สุด คือ เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 37.6 รองลงมา คือ ลวดเหล็ก ลวดเหล็กแรงดึงสูง และเหล็กข้ออ้อย หดตัว ร้อยละ 16.0 14.0 และ 0.1 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 82.0 หดตัวร้อยละ 13.9 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 30.4 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 28.8 19.8 10.1 และ 0.5 ตามลำดับ
การบริโภคในประเทศ ในเดือนมกราคม 2566 มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก ทรงยาวมีปริมาณ 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 13.9 จากการบริโภคเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ส่วนการบริโภคเหล็ก ทรงแบน มีปริมาณ 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 9.0
จากการบริโภคเหล็กแผ่นรีดร้อน (Plate/Coil/Sheets) และเหล็กแผ่นเคลือบประเภทอื่น ๆ
การนำเข้า ในเดือนมกราคม 2566 มีปริมาณการนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณการนำเข้าขยายตัว ทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 6.68 เหล็กทรงยาวที่มีการหดตัว เช่น เหล็กเส้น ชนิด Alloy Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้) เหล็กลวด ชนิด Alloy Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 22.6 เหล็กทรงแบนที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Alloy Steel (ตลาดหลัก ที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเยอรมนี) เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม) เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ชนิด Carbon Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก รวมถึงการยุติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุน (AD) ของสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศบราซิล อิหร่าน และตุรกี และเหล็กแผ่นรีดเย็น เคลือบโลหะเจือของอลูมิเนียม (GL) จากเวียดนาม เนื่องจากส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
การผลิตหดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเส้นใย สิ่งทอหดตัวร้อยละ 14.52 ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 18.65 สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 24.92 จากเสื้อผ้าทอและเสื้อผ้าถัก ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่ากลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ขยายตัวร้อยละ 12.35 โดยได้รับอานิสงค์จากภาวะขาดแคลนฝ้ายในอินเดียเพื่อนำไปใช้ต่อยอดการผลิตเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปของอินเดีย พร้อมทั้งตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกที่ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้วัสดุ ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 16.40 ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 18.48 สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขยายตัวร้อยละ 49.04 ในกลุ่มเสื้อผ้าทอและเสื้อผ้าถัก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และตรุษจีน อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่าเส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 8.79 กลุ่มผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ 4.94 เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของเทรนด์รักษ์โลก และแนวโน้มการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใยหดตัวร้อยละ 9.06 ผ้าผืนหดตัว ร้อยละ16.09 ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และไต้หวัน
เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 28.60 ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม เพื่อใช้ในการมอบ เป็นของขวัญปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออก
เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 20.12 ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 13.75 จากตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน เวียดนาม และเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 17.63 จากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม เยอรมนี เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ มาจากเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้าเครื่องแต่งกายจากประเทศในแถบเอเชียลดลง และมีความต้องการเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลเพิ่มขึ้น และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2566
การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และการประกาศเปิดประเทศของจีน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น ช้อปดีมีคืน น่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม คาดว่าการผลิตจะหดตัวเล็กน้อย จากปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจและการเงินโลกยังคงชะลอตัว
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2566
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีจำนวน 6.39 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.51 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.22 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.7 (%YoY) เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ยังฟื้นตัวได้ไม่เท่ากับก่อนเกิดความขัดแย้งรัสเซีย--ยูเครน
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีจำนวน 0.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 48.36 (%YoY) โดยเป็นการ ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจากตลาดบังกลาเทศ ร้อยละ 333.75
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ โดยได้รับปัจจัยบวกจากการเดินหน้าก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึงการขยายตัวของตลาดส่งออกในบางประเทศ
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีจำนวน 3.41 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 7.39 (%YoY) การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.22 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.7 (%YoY) เนื่องจากในเดือนนี้เป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย--ยูเครน และมีผลต่อ การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2566 มีจำนวน 0.22 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อนลดลง ร้อยละ 25.82 (%YoY) จากการปรับลดคำสั่งซื้อ ในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ร้อยละ 95.53 85.11 และ 40.43 คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้เล็กน้อย โดยแม้จะได้รับผลกระทบ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ก็ได้รับปัจจัยบวก จากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเดินหน้าก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม