สศอ. เผยเศรษฐกิจโลกเปราะบาง กดดันดัชนี MPI เดือน ก.พ. หดตัวร้อยละ 0.45 ชี้การบริโภคในประเทศ – ท่องเที่ยว หนุนอุตฯ เกี่ยวข้องยังขยายตัวต่อเนื่อง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 29, 2023 09:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ. เผยเศรษฐกิจโลกเปราะบาง กดดันดัชนี MPI เดือน ก.พ. หดตัวร้อยละ 0.45

ชี้การบริโภคในประเทศ ? ท่องเที่ยว หนุนอุตฯ เกี่ยวข้องยังขยายตัวต่อเนื่อง

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน รับผลกระทบอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลง หลังสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง ด้านอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง พร้อมคาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2566 จะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 98.89 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.87 โดยอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ รถยนต์ ร้อยละ 6.64 การกลั่นน้ำมัน ร้อยละ 7.33 รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 27.99 รองเท้า ร้อยละ 6.7 และกระเป๋า ร้อยละ 34.71 แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 ได้แก่ น้ำตาล ขยายตัว ร้อยละ 23.46 จากน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ประกอบกับผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานปีนี้มีปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 6.64 จากการได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นในรถยนต์หลายรุ่น ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น และการกลั่นน้ำมัน ขยายตัว 7.33 จากการผลิตน้ำมันเครื่องบิน และแก๊สโซฮอล์ที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม ปี 2566 จะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอุปสงค์สินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจประเทศสำคัญของโลกทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้จากอานิสงส์ของภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ และค่าระวางเรือปรับตัวลง ทำให้ต้นทุนในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางลดลง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ รายจ่ายของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น วิกฤตการเงินและเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา และสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และประเทศพันธมิตร

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ได้แก่

น้ำตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.46 เนื่องจากมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบปีนี้มากกว่า

ปีก่อน

ยานยนต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.64 จากรถยนต์นั่งขนาดกลางและรถยนต์นั่ง

ขนาดเล็ก ที่มีการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและส่งออก หลังได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในรถยนต์บางรุ่น

มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.33

จากผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องบินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพื่อใช้ในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเดินทาง

ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าสู่ประเทศมากขึ้น

น้ำมันปาล์ม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 44.57 จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบ

และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยในปีนี้มีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมาก รวมถึงมีการผลิตเพื่อ

รองรับความต้องการของประเทศคู่ค้า เช่น อินเดีย จีน เป็นต้น

จักรยานยนต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.99 จากความต้องการของตลาดใน

ประเทศ และการส่งออก ประกอบกับปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตคลี่คลายมากกว่าปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต (รายเดือน)

Index 2565 2566

ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรม

101.65 109.66 90.91 97.87 97.64 95.36 99.34 97.50 93.39 95.32 93.63 99.34 98.89

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง

(MOM) %

-2.60 7.88 -17.10 7.66 -0.23 -2.34 4.17 -1.85 -4.22 2.07 -1.77 6.10 -0.45

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง

(YOY) %

2.34 0.20 -0.37 -2.28 -0.49 6.00 14.60 3.01 -4.27 -5.30 -8.45 -4.81 -2.71

อัตราการใช้

กำลังการผลิต

64.83 69.57 58.48 62.48 62.64 60.84 63.87 63.57 60.07 61.34 59.56 62.16 61.87

ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม

2566

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ