ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 24, 2023 13:25 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2564 2565 2565 2566

%YoY Year Year ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.

MPI 5.8 0.4 2.3 0.2 -0.4 -2.3 -0.5 6.0 14.6 3.0 -4.3 -5.3 -8.5 -4.8 -2.7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัว

ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

หลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ การกลั่นน้ำมัน จักรยานยนต์ รองเท้า และกระเป๋า

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ

5.3 เดือนธันวาคม 2565 หดตัวร้อยละ 8.5 และเดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 4.8

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม 2565 และเดือนมกราคม 2566 ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือน

พฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 2.1 เดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 1.8 และเดือนมกราคม 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.1

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

? Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 35.35 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิต

น้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State

Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD

ในประเทศ

? เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 56.55 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะเป็นหลัก โดยการผลิต

เครื่องเรือนทำด้วยไม้ลดลง จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ยางพารารายใหญ่ที่ปรับ

ลดลง ซึ่งเป็นการปรับลดลงเข้าสู่สภาวะปกติก่อนการระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ซึ่งในช่วงดังกล่าว

จีนไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ ส่วนเครื่องเรือนทำด้วยโลหะ การผลิตกลับเข้าสู่ระดับ

ปกติหลังจากปีก่อนได้รับคำสั่งซื้อพิเศษ

? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.47 ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์ความต้องการยังไม่กลับมาเป็นปกติ

โดยเฉพาะจากประเทศจีน และระดับราคายังชะลอตัวตามความต้องการในตลาด ประกอบกับผู้ผลิตชะลอ

การผลิตลงเพื่อดูทิศทางตลาด รวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 23.46 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายดิบ และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ประกอบกับผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงาน ปี 65/66 มีปริมาณ

มากกว่าปีที่ผ่านมา

? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 6.64 เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น ทำให้สามารถ

ทำการผลิตได้เพิ่มขึ้น

Indicators 2565 2566

%MoM ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.

MPI -2.6 7.9 -17.1 7.7 -0.2 -2.3 4.2 -1.8 -4.2 2.1 -1.8 6.1 -0.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ

เดือนกุมภาพันธ์ 2566

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2566

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่า 1,307.50

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้า เครื่องจักร

ที่ใช้ในการแปรรูปไม้ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรสิ่งทอ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่า 8,024.00

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภท

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 157 โรงงาน เพิ่มขึ้น

จากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 24.6 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.27

(%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่ารวม

10,275 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 13.53 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98.03 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 21 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 13 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คือ อุตสาหกรรมการทำน้ำตาลทรายดิบ หรือ

น้ำตาลทรายขาว จำนวนเงินทุน 2,230 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการหั่น ผสม รีดให้เป็นแผ่น หรือตัด

แผ่นยางธรรมชาติซึ่งมิใช่การทำสวนยางหรือป่า จำนวนเงินทุน 1,440 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 82 ราย เพิ่มขึ้น

จากเดือนมกราคม 2565 ร้อยละ 164.52 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ

26.15 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่ารวม 1,564 ล้านบาท เพิ่มขึ้น

จากเดือนมกราคม 2565 ร้อยละ 473.19 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 83.47

(%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คือ

อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 20 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์

คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 8 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คือ อุตสาหกรรม

การทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ มูลค่าเงินลงทุน 220 ล้านบาท รองลงมาคือ

อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 183 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกุมภาพันธ์ 2566

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือน

กุมภาพันธ์ 2566 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว

มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 44.6 จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 58.1 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์

ขยายตัวร้อยละ 30.6 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นใน

อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรม

อาหาร รวมถึงผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีจำนวนมาก ประกอบกับอินเดีย

มีการนำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น 2) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 23.5

จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทรายดิบ ขยายตัวร้อยละ 30.7 และ

น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 19.7 เนื่องจากผลผลิตอ้อย

เข้าสู่โรงงาน ปี 65/66 มีปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงความ

ต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม

อาหารและเครื่องดื่ม โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย และ

เกาหลีใต้ 3) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่

แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 9.2 เนื่องจากความต้องการของ

ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการขยายการส่งออกไปยังตลาด

ใหม่อย่างซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหาร

บางรายการชะลอตัว ดังนี้ 1) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 19.6 จาก

สินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 20.0 เนื่องจาก

ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผล

ให้มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง 2) ผักและผลไม้แปรรูป

หดตัวร้อยละ 22.5 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง หดตัว

ร้อยละ 47 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ

ลดลง 3) ประมง หดตัวร้อยละ 4.2 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่า

กระป๋อง หดตัวร้อยละ 3.4 4) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 13.8 จาก

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หดตัวร้อยละ 3.5 จากน้ำดื่มให้กำลังงาน

น้ำโซดา และเครื่องดื่มเกลือแร่

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 1.8 จาก

การผลิตกลุ่มสินค้าอาหาร เช่น 1) น้ำตาลทรายดิบ ขยายตัวร้อยละ 94.1

2) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 71.7 3) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์

ขยายตัวร้อยละ 36.1 4) อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง ขยายตัวร้อยละ 5.9

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2566

ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือ ข้าว โดยตลาดหลัก

คือ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐอเมริกา 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ

ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน มาเลเซีย 3) น้ำตาลทรายและ

กากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

เกาหลีใต้ 4) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำมันปาล์ม โดยตลาดหลักคือ อินเดีย

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมีนาคม 2566 ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวในประเทศยังคง

เติบโตอย่างต่อเนื่อง และการเปิดประเทศของจีน ที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนกลับเข้ามา

เที่ยวในประเทศไทย อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้การบริโภค

ในประเทศขยายตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจาก

มาตรการของภาครัฐในการขยายการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึง

ค่าระวางเรือที่ปรับลดลง ทำให้ต้นทุนในการผลิตมีทิศทางลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคง

ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังคงชะลอตัว

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

100.4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ

มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลมตามบ้าน กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้า หม้อหุง

ข้าว และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 26.4, 18.3, 18.3, 18.1,

13.4, 10.2, 8.8 และ 3.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการ

สินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่

สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า

สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4, 28.6 5.2

และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,502.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ มอเตอร์และ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 29.4 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

และเยอรมนี สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ลดลงร้อยละ 19.0 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ ลดลง

ร้อยละ 17.1 ในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น และยุโรป เครื่องซักผ้า

เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 9.0 ในตลาดเวียดนาม

ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ลดลง

ร้อยละ 8.3 ในตลาดจีน เวียดนาม และสิงคโปร์ และเครื่องตัดต่อ

และป้องกันวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 2.4 ในตลาดเกาหลีใต้ จีน และ

สิงคโปร์ ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า

และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา

และอาเซียน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ

8.2 ในตลาดอินเดีย และเยอรมนี พัดลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.3

ในตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป และเตาอบไมโครเวฟ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 5.9 ในตลาดจีน เวียดนาม และแคนาดา

?คาดการณ์การผลิตเดือนมีน คม 2566 อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 2.0 - 3.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ

ในหลายประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับสูง?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

78.4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, Printer, PWB,

Semiconductor devices Transistors, IC และ PCBA โดย

ลดลงร้อยละ 35.5, 30.9, 29.4, 16.3, 8.8 และ 5.5 ตามลำดับ

เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจาก

ต่างประเทศลดลง

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,264.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD

มีมูลค่า 516.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 45.1 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 111.9

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น และเวียดนาม ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่

อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 350.0

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.5 ในตลาดอาเซียน และ

สหรัฐอเมริกา และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 752.8 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และ

ญี่ปุ่น

?คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2566 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0 - 4.0

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการ

สิน ค้าใน ป ระเทศ แล ค สั่งซื้อจากต่างป ระเทศ ลด ล ง

จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเข้าสู่ภาวะถดถอย?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ก.พ.

65

ม. ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

ม. ย.

65

ก.ค.

65

ส.ค.

65

ก.ย.

65

ต.ค.

65

พ.ย.

65

ธ.ค.

65

ม.ค.

66

ก.พ.

66

คนั ขอ้ มลู รายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์

ปรมิ ณการจำหนา ย ปรมิ ณการสง่ ออก

ปรมิ ณการผลติ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 มีจำนวน

165,612 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2566 ร้อยละ 2.02

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.39

(%YoY) เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) มากขึ้น ทั้งนี้

เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 มีจำนวน 71,551 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2566

ร้อยละ 9.11 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

3.94 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ

1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566

มีจำนวน 88,525 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2566 ร้อยละ

2.00 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

11.42 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย

โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และอเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน

มีนาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2565

เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก และการคลี่คลาย

สถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ก.พ.

65

ม.ค.

65

เม.ย.

65

พ.ค.

65

ม.ย.

65

ก.ค.

65

ส.ค.

65

ก.ย.

65

ต.ค.

65

พ.ย.

65

ธ.ค.

65

ม.ค.

66

ก.พ.

66

คนั ขอ้ มูลรายเดอื นอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์

ปรมิ ณการจำหน่าย ปรมิ ณการส่งออก

ปรมิ ณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566

มีจำนวน 188,272 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2566 ร้อยละ

2.91 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

32.96 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์

แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 มียอดจำหน่ายจำนวน 162,847 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

มกราคม ปี 2566 ร้อยละ 2.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.20 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของ

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี,

126-250 ซีซี, 251-399 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 มีจำนวน 46,276 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2566

ร้อยละ 5.98 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 29.77 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศ

ญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลีย

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนมีนาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม

ปี 2565 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 1.56 จากการชะลอตัวของการผลิต

ยางแผ่น และน้ำยางข้น

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.50 จากการลดลงของการผลิต

ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 9.10 จากความต้องการ

ถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น)

เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 จากความต้องการยางแผ่นและน้ำยางข้น

ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.35 จากการชะลอตัวของ

ตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.72 จากความต้องการใช้

ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออก

ยางแปรรูป ขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 32.98 เป็นผลจากการลดลง

ของการส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดจีนและญี่ปุ่น และ

น้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย

ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 8.10 จากการชะลอตัว

ของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 25.07 จากความ

ต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2566

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง

ความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศเป็นหลัก

สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่าจะ

กลับมาขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์

ในประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและความต้องการยางรถยนต์

ในตลาด REM ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลหยุดยาว

ช่วงต้นเดือนเมษายน ในส่วนการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะยัง

ชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลง

แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะ

ขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศ

ที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เป็นผลจากจีนซึ่งเป็นตลาด

ส่งออกสำคัญของทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น มีแนวโน้ม

ชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย ในส่วนของการ

ส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะยังชะลอตัวจากฐานตัวเลข

การส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ความต้องการ

ยางรถยนต์ในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ

ลดลงตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 ด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่า

จะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการถุงมือยาง

ในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2566 หดตัวร้อยละ 6.03

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ

ผลิตภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 17.54

กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 11.92 และพลาสติกแผ่น หดตัว

ร้อยละ 8.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ 2566 หดตัวร้อยละ 12.38

โดยผลิตภัณฑ์ที่หดตัว เช่น กระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 24.46

บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 22.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ปี 2566 มีมูลค่ารวม

342.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 11.67 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น

ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) หดตัวร้อยละ 22.81 ผลิตภัณฑ์แผ่น

แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3920)

หดตัวร้อยละ 16.99 และผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก

(HS 3926) หดตัวร้อยละ 13.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่ารวม 360.29

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 12.16 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว

เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 54.22

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 45.75

และผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ

43.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมีนาคม 2566

คาดการณ์ว่าการผลิตหดตัวลดลง เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่

หลีกเลี่ยงการสำรองสินค้าคงคลังจากความต้องการสินค้า

ปลายทางยังไม่ฟื้นตัว การส่งออกชะลอตัวในตลาดฟิลิปปินส์

มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือน กุม ภาพัน ธ์ 2566 ขยายตัว

ร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม

เคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 7.56 ผลิตภัณฑ์ที่มีการ

ผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ 36.76

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย

หดตัวร้อยละ 2.18 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำยา

ทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 17.77 ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ

13.48 และยาสระผม หดตัวร้อยละ 10.98 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัช นีก ร ส่ง สิน ค้า เดือ น กุม ภ พัน ธ์ 2566

หดตัวร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 4.89 โดยผลิตภัณฑ์

ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ คลอรีน หดตัวร้อยละ 12.39

เอทานอล หดตัวร้อยละ 11.35 และกรดเกลือ หดตัวร้อยละ

9.78 กลุ่มเค มีภัณ ฑ์ขั้น ป ลาย ขยายตัวร้อยล 1.02

โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ

20.27 สีน้ำพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 16.31 และน้ำยา

ล้างจาน ขยายตัวร้อยละ 15.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มูลค่าการส่งออก

รวม 783.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.94 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า

การส่งออก 433.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 24.44

กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 350.39 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์

อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 46.08 สี หดตัวร้อยละ 7.49 และสาร

ลดแรงตึงผิว หดตัวร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

การนำเข้า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มูลค่า

การนำเข้ารวม 1,436.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัว

ร้อยละ 11.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่ม

เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 979.89 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 13.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน แต่เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 456.54

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมีนาคม 2566

คาดการณ์ว่าการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมีการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออก

ชะลอตัวจากความต้องการของคู่ค้าหลัก เช่น จีน อินเดีย และ

เวียดนาม เป็นต้น

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 92.34 หรือหดตัวร้อยละ

14.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัว

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Toluene หดตัวร้อยละ

22.66 และ 34.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 21.05

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการหยุดซ่อม

บำรุงโรงแยกก๊าซ และการชะลอตัวของการผลิตตามความ

ต้องการที่ชะลอตัวลง

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 86.52 หดตัวร้อยละ

22.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ

0.70 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 37.46 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE

resin และ PP resin หดตัวร้อยละ 22.48 และ 25.71

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 มีมูลค่า

831.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 27.39

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์

ตลาดมีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคาปรับลดลง

ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำ

ลดลง รวมถึงการที่สหรัฐอเมริกาได้มุ่งส่งออกมายังตลาดเอเซีย

ที่เป็นตลาดของไทยทดแทนการชะลอตัวของความต้องการ

จากสหภาพยุโรป

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 มีมูลค่า

489.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 10.63

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 20.13

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

เช่น Toluene และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE

resin เป็นต้น

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนมีนาคม ปี 2566

คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปิดซ่อมบำรุงของ

โรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น จากความต้องการใช้พลาสติก

ที่ลดลง ทั้งจากการชะลอการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับ

ราคาที่ปรับขยายตัวตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบ

จากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้ง

ยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์

2566 มีค่า 90.5 หดตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

เช่น อุต ส ห กรรม ก่อ สร้าง อุตส ห กรรมก รผ ลิต

เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋อง

เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณ ฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน

โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มีค่า 84.1 หดตัวร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัว

มากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 50.0 รองลงมา

คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กลวด และลวด

เหล็ก หดตัวร้อยละ 30.9 18.4 และ 16.1 ตามลำดับ

สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมมีค่า 91.3 หดตัวร้อยละ 8.1 ผลิตภัณ ฑ์

ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัว

ร้อยละ 36.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่น

เคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ

18.8 18.8 และ 4.9 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.7

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก

ทรงยาวมีปริมาณ 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 18.9 จากการ

บริโภคเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ส่วนการบริโภคเหล็ก

ทรงแบน มีปริมาณ 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 5.9

จากการบริโภคเหล็กเคลือบชนิดอื่น ๆ เหล็กแผ่นเคลือบ

สังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อน (Plate/Coil/Sheets)

การนำเข้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีปริมาณ

การนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณ การนำเข้าขยายตัว

ทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์

ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน

ขยายตัวร้อยละ 15.0 เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัว เช่น เหล็ก

โครงสร้างรูปพรรณ ชนิด Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทย

นำเข้าเพิ่มขึ้น คือ เยอรมนี โอมาน และตุรกี) ท่อเหล็ก

ไร้ตะเข็บ (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ สาธารณรัฐเช็ก

ออสเตรีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สำหรับกลุ่มเหล็ก

ทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ

11.2 เหล็กทรงแบนที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน

ชนิด Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน

และเกาหลีใต้) ท่อเชื่อมตะเข็บ (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า

เพิ่มขึ้น คือ สิงคโปร์ จีน และเดนมาร์ก)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม

2566 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาพลังงานที่มี

แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดู

ทิศทางราคา อย่างไรก็ตาม ภาคการก่อสร้างน่าจะได้รับ

อานิสงส์จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ มีประเด็น

สำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก

ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรม

เหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็ก

รายใหญ่ของโลก รวมถึงการยุติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด

และอุดหนุน (AD) ของสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศ

บราซิล อิหร่าน และตุรกี และเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบโลหะเจือ

ของอลูมิเนียม (GL) จากเวียดนาม เนื่องจากอาจส่งผลต่อ

ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ

1 1 .3 6 2 3 .0 2 แ ล 1 4 .0 2 (YoY) ต ม ล ดับ

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่าผ้าผืนและ

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 3.19 และ 3.15 โดยได้รับ

อานิสงค์เชิงบวกจากบรรยากาศการหาเสียงและการเตรียม

ตัวเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งมีความ

ต้องการใช้วัตถุดิบจากอุตสาหกรรมสิ่งทอในการผลิตสื่อ

สิ่งพิมพ์ เช่น ป้ายผ้าโฆษณา และการผลิตเสื้อผ้าเพื่อใช้ในการ

หาเสียงเลือกตั้ง อีกทั้งยังได้รับอานิสงค์จากกระแส

ชุดนักเรียนไทยที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่นจีน และ

กระแสกางเกงช้างที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและ

นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งกำลังเป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์

ของไทยในขณะนี้

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 8.48 และ 26.42 (YoY)

เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เป็นเดือนที่ 9 ขยายตัวร้อยละ 18.54 (YoY) ในกลุ่ม

เสื้อผ้าทอ โดยได้รับอานิสงค์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ของภาครัฐ ได้แก่ โครงการช้อป ดีมีคืน การเปิดรับ

นักท่องเที่ยว และกระแสกางเกงช้างที่กำลังได้รับความนิยม

ส่งผลให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใย หดตัวร้อยละ 11.79 (YoY) ในตลาด

สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ผ้าผืน หดตัว

ร้อยละ 22.99 ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และ

ไต้หวัน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 27.30 (YoY)

ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม เพื่อรองรับ

การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภายในประเทศ

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 24.39 (YoY)

จากตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย ผ้าผืน

หดตัวร้อยละ 18.82 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่

เวียดนาม กัมพูชา บังกลาเทศ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

หดตัวร้อยละ 18.69 (YoY) จากคำสั่งซื้อที่ลดลงของ

ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

เบลเยียม และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคง

ชะลอตัว ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

พบว่าผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ

5.50 และ 7.64 จากกระแสแฟชั่นชุดนักเรียนไทย

และกางเกงช้างที่กำลังได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทย

และชาวต่างชาติ

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2566

คาดว่าภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและ

เครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเล็กน้อยจากเศรษ ฐกิจ

ภายในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม

ยังต้องติดตามปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก

การขึ้นอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์ความขัดแย้งทาง

ภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ความผันผวนของอัตรา

แลกเปลี่ยนซึ่งกระทบต่อภาคการส่งออก การขาดแคลน

พลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 มีจำนวน 6.97 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อนร้อยละ 2.64 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.27 ล้านตัน

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.96

(%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 มีจำนวน 0.80 ล้านตัน ลดลงเมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.32 (%YoY) โดยเป็นการ

ปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดส่งออกหลักหลายตลาด ได้แก่

ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และบังกลาเทศ ร้อยละ

100 48.89 36.19 28.33 และ 22.02

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิต

ปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะสามารถ

ขยายตัวได้เล็กน้อยแม้จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก

ชะลอตัว โดยได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยการก่อสร้าง

โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึง

เพื่อ รอ งรับ ก รส่งออ กไป ยังต ล ด อื่น น อ กเห นือ

ตลาดส่งออกหลักเพิ่มเติม

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ใน เดือน

กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีจำนวน 3.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.35 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.27

ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ

1.96 (%YoY) โดยเป็นการลดในอัตราที่น้อยลงเนื่องจาก

ภาวะตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังมีการผ่อนคลายจากมาตรการ

ควบคุมโควิด-19 เกิดการลงทุนในโครงการใหม่ในส่วนของ

บ้านแนวราบราคาระดับกลาง และในกลุ่มของคอนโดมิเนียม

จากชาวต่างชาติที่เริ่มกลับเข้ามาสนใจซื้อขายเพิ่มขึ้น

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีจำนวน 0.21 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 27.72 (%YoY) จากการ

ปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์

เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ร้อยละ 100 48.89 37.70

และ 28.73

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้อีก

เล็กน้อย โดยนอกจากจะขยายตัวจากการก่อสร้างโครงการ

สาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐแล้ว ยังขยายตัวจากภาค

อสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ