สศอ. เผยดัชนี MPI เดือนเม.ย. 2566 หดตัวร้อยละ 8.14 เหตุเศรษฐกิจโลกชะลอตัว พร้อมปรับประมาณการ GDP ภาคอุตสาหกรรมปีนี้ คาดขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 31, 2023 13:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ. เผยดัชนี MPI เดือนเม.ย. 2566 หดตัวร้อยละ 8.14 เหตุเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

พร้อมปรับประมาณการ GDP ภาคอุตสาหกรรมปีนี้ คาดขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0

สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน ปี 2566 หดตัวที่ร้อยละ 8.14 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่หดตัวลง ต้นทุนการผลิต - การเงินเพิ่มขึ้น กดดันภาคการส่งออก และขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมไทยลดลง พร้อมปรับประมาณการดัชนี MPI และ GDP ภาคอุตสาหกรรม ปีนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 ? 1.0

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัวร้อยละ 8.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และหดตัวร้อยละ 20.79 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน ด้านอัตราการใช้กาลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 53.82 และช่วง 4 เดือนแรก ปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 61.31 ส่งผลให้ดัชนี MPI 4 เดือนแรก ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 96.87 หดตัวร้อยละ 4.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยลดลง ทั้งนี้ ต้องจับตาอุตสาหกรรมที่เคยเติบโตดี แต่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวจากความต้องการทั้งในประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในรถกระบะ 1 ตัน อย่างไรก็ดี การบริโภค ในประเทศยังขยายตัวจากเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัวและปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ ทาให้ประเทศคู่ค้าชะลอคาสั่งซื้อสินค้าในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและต้นทุนทางการเงินจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้ปรับลดลง และมีผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้น้อยลง ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม ปี 2566 ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคและการท่องเที่ยว อีกทั้ง การลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องจับตาดูการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิตการเกษตร อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

?จากการที่ดัชนี MPI 4 เดือนแรก ปี 2566 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรก ปี 2566 หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สศอ. จึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมปี 2566 โดยคาดว่า MPI ปี 2566 จะขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 - 1.0 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2566 จะขยายตัวที่

ร้อยละ 0.0 - 1.0 จากประมาณการครั้งก่อน คาดดัชนี MPI จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ? 2.5 และ GDP

ภาคอุตสาหกรรม จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ? 2.5? นางวรวรรณ กล่าว

สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนเมษายน 2566 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

น้าตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 19.15 จากผลิตภัณฑ์น้า ตาลทรายขาวและน้า ตาล

ทรายขาวบริสุทธิ์ เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงผลผลิตของน้า ตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.87

จากผลิตภัณฑ์น้ามันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ มันเครื่องบิน เป็ นหลัก ตามปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น

โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เช่นเดียวกับการเดินทาง

ในประเทศที่กลับสู่ระดับปกติ

มอลต์และสุราที่ทาจากข้าวมอลต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.58

เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มากขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้า

ประเทศมากขึ้น

น้ามันปาล์ม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 7.92 จากผลิตภัณฑ์น้ามันปาล์มบริสุทธิ์

โดยในปี นี้มีปริมาณผลปาล์มเข้าสู่โรงงานพร้อมกันจา นวนมาก ซึ่งปี นี้ผลปาล์มมีมากกว่าปี ก่อน ส่งผลให้ราคา

น้า มันปาล์มปรับลดลง ความต้องการในประเทศจึงปรับเพิ่มขึ้นตาม

ผลิตภัณฑ์ที่ทาจากกระดาษและกระดาษแข็ง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.14

จากผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียน เป็นหลัก เนื่องจากปี นี้สามารถเปิ ดเรียน Onsite เต็มรูปแบบ ทา ให้มีการใช้

กระดาษพิมพ์เขียนมากขึ้น ประกอบกับอานิสงส์จากการใช้กระดาษในกิจกรรมการเลือกตั้ง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)

Index 2565 2566

เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรม

90.91 97.87 97.64 95.36 99.34 97.50 93.39 95.32 93.63 99.34 99.22 105.42 83.51

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง

(MOM) %

-17.10 7.66 -0.23 -2.34 4.17 -1.85 -4.22 2.07 -1.77 6.10 -0.12 6.25 -20.79

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง

(YOY) %

-0.37 -2.28 -0.49 6.00 14.60 3.01 -4.27 -5.30 -8.45 -4.81 -2.38 -3.86 -8.14

อัตราการใช้

กาลังการผลิต

58.48 62.48 62.64 60.84 63.87 63.57 60.07 61.34 59.56 62.16 62.77 66.49 53.82

ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สา นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ