ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 12, 2023 13:43 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2564 2565 2565 2566 %YoY Year Year มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.

MPI

5.8

0.4

0.2

-

0.4

-

2.3

-

0.5

6.0

14.6

3.0

-

4.3

-

5.3

-

8.5

-

4.8

-

2.4

-

4.6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวจากผลกระทบของการชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น อาทิ การกลั่นน้ำมัน รองเท้า กระเป๋า เภสัชภัณฑ์ และสินค้าในกลุ่มอาหารแปรรูป

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนธันวาคม 2565 หดตัวร้อยละ 8.5 เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 4.8 และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 หดตัวร้อยละ 2.4

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนธันวาคม 2565 เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 1.8 เดือนมกราคม 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.1 และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

? Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 30.83 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ

? เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 39.11 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และโลหะเป็นหลัก ทั้งนี้เครื่องเรือน ทำด้วยโลหะ การผลิตกลับเข้าสู่ระดับปกติหลังจากปีก่อนได้รับคำสั่งซื้อพิเศษ

? เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 11.72 เนื่องจากการส่งออกลดลง ประกอบกับผู้ผลิตชะลอการผลิตลงเพื่อดูทิศทางตลาด รวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมีนาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 8.18 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออก ในตลาดเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา ในขณะที่ตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว

? การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 6.15 ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งทางอากาศและการขนส่งทางบก หลังการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

Indicators 2565 2566 %MoM มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค..

MPI

7.9

-

17.1

7.7

-

0.2

-

2.3

4.2

-

1.8

-

4.2

2.1

-1.8

6.1

-

0.1

5.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ

เดือนมีนาคม 2566

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมีนาคม 2566

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่า 1,670.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภทเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องจักรสิ่งทอ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่า 10,129.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.38 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภท เคมีภัณฑ์ อะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ทำจากอะลูมิเนียม วัสดุทำจากยาง เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 155 โรงงาน ลดลง จากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 1.27 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.76 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่ารวม 8,313 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 19.09 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 25.50 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2566 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 19 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 17 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการสร้าง ประกอบ ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนต์ จำนวนเงินทุน 1,416 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น จำนวนเงินทุน 970 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมีนาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 56 ราย ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 31.71 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.45 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่ารวม 595 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 61.94 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 51.14 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมีนาคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 4 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมีนาคม 2566 คือ อุตสาหกรรม ผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องจักร เฉพาะที่ใช้ไฟฟ้า มูลค่าเงินลงทุน 101 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 65 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมีนาคม 2566

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนมีนาคม 2566 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตชะลอตัว มีดังนี้ 1) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 30.2 จากสินค้าสำคัญคือ แป้ง มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 31.2 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังลดลง รวมถึงมีมันเน่าในหลายพื้นที่จากการระบาดของไรแดงในช่วง อากาศร้อน ส่งผลให้มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง 2) ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 18.6 จากสินค้าสำคัญคือ สับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 39.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศลดลง 3) ประมง หดตัวร้อยละ 10.8 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 15.8 4) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 7.0 จาก สุราขาว เบียร์ น้ำดื่มบริสุทธิ์ และน้ำดื่มให้กำลังงาน 5) น้ำตาล ชะลอตัวร้อยละ 1.6 จากน้ำตาลทรายดิบ หดตัวร้อยละ 16.8 จากปัจจัยการผลิตปุ๋ยมีราคาสูง ทำให้เกษตรกรไม่มีการบำรุง อ้อยมากเท่าที่ควร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงาน ปี 65/66 น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงการเก็บเกี่ยวอ้อยสดโดยใช้รถตัด ทำให้ผลผลิตเสียหายมากกว่าการใช้แรงงานคนตัด อย่างไร ก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการขยายตัว ดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 11.6 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 10.8 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 12.5 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงผลผลิต ปาล์มน้ำมันที่มีจำนวนมาก ประกอบกับอินเดียมีการนำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น 2) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนมีนาคม 2566 หดตัวจากการชะลอตัวของกลุ่มสินค้าอาหาร (%YoY) ร้อยละ 7.8 เช่น 1) น้ำตาลทรายดิบ หดตัวร้อยละ 62.7 2) สับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 61.6 3) สุราขาว หดตัวร้อยละ 23.4 4) เบียร์ หดตัวร้อยละ 12.7

ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนมีนาคม 2566 ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือ ข้าว โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐอเมริกา 2) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน มาเลเซีย 3) น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล จากสินค้าสำคัญคือ น้ำตาลทราย ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ 4) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์ม โดยตลาดหลักคือ อินเดีย

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนเมษายน 2566 ในภาพรวมจะมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของ ภาคการท่องเที่ยวในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการสินค้าอาหารจากประเทศคู่ค้า และการขยาย การส่งออกไปยังตลาดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงต้นทุนพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

122.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า

เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0, 21.9

และ 6.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศ

และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัว

ลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น และเตาไมโครเวฟ ลดลง

ร้อยละ 31.9 22.9 และ 11.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย

ในประเทศลดลง

การส่งอ อกเครื่องใช้ไฟ ฟ้า มีมูลค่า 2,938.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่

หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 380.1 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

มีมูลค่า 849.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 พัดลม

มีมูลค่า 56.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เครื่อง

ตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 181.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

มีมูลค่า 258.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในขณะที่

สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ

มีมูลค่า 187.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.8 มอเตอร์

และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 82.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 12.6 สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 93.7 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.8 เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 19.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.2 และเครื่องซักผ้า เครื่อง

ซักแห้งและส่วนประกอบ มีมูลค่า 121.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงร้อยละ 3.4

?คาดการณ์การผลิตเดือน เมษายน 2566 อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน

ทำให้ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศของคนในประเทศไทย

สูงมากขึ้น?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ

86.5 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, Printer, PWB

และ PCBA โดยลดลงร้อยละ 31.9, 25.8, 19.1 และ 10.8

ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสิน ค้าในประเทศและ

คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,592.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่

อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 466.2

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.5 ในตลาดอาเซียน และ

สหรัฐอเมริกา ในขณะที่ สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD

มีมูลค่า 1,410.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.8 ในตลาด

สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 124.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.5 ในตลาดจีน ญี่ปุ่น และ

สหรัฐอเมริกา และแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 810.5 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 ในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนเมษายน 2566 อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแนวโน้มต้นทุนการผลิต

ที่สูงขึ้น และการแบ่งส่วนการตลาดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น

มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น?

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

0

20

40

60

80

100

120

140

160

180

200

Mar-65

Apr-65

May-65

Jun-65

Jul-65

Aug-65

Sep-65

Oct-65

Nov-65

Dec-65

Jan-66

Feb-66

Mar-66

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

0

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

0

20

40

60

80

100

120

Mar-65

Apr-65

May-65

Jun-65

Jul-65

Aug-65

Sep-65

Oct-65

Nov-65

Dec-65

Jan-66

Feb-66

Mar-66

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีจำนวน

179,848 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 ร้อยละ 8.60

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.16

(%YoY) เนื่องจาก ได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) มากขึ้น

ทั้งนี้ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือน มีนาคม

ปี 2566 มีจำนวน 79,943 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 ร้อยละ 11.73 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 8.37 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการ

จำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

ก ร ส่ง อ อ ก ร ถ ย น ต์ ใน เดือ น มีน ค ม ปี 2 5 6 6

มีจำนวน 98,381 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน กุมภาพันธ์ปี 2566

ร้อ ย ล 1 1 .1 3 (%MoM) แ ล เพิ่ม ขึ้น จ ก เดือ น เดีย ว กัน

ของปีก่อน ร้อยละ 4.84 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้น

ในตลาดเอเชีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกากลาง

และใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน

เมษายน ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ปี 2565

เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก และการคลี่คลาย

สถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม ปี 2566

มีจำนวน 198,496 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566

ร้อยละ 5.43 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อ ย ล 1 1 .2 2 (%YoY) จ ก ก ร เพิ่ม ขึ้น ข อ ง ก ร ผ ลิต

รถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

ก รจ ห น่าย รถ จัก รย น ย น ต์ ใน เดือ น มีน ค ม

ปี 2566 มียอดจำหน่ายจำนวน 184,462 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

กุมภาพันธ์ ปี 2566 ร้อยละ 13.27 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.84 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้น

ของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 126-250

ซีซี, 251-399 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนมีนาคม

ปี 2566 มีจำนวน 45,851 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์

ปี 2566 ร้อยละ 0.92 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 48.67 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้น

ในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนเมษายน ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน

ปี 2565 เนื่องจาก แนวโน้มการขยายตัวของตลาดในประเทศและ

ตลาดส่งออก?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.05 จากการขยายตัวของการผลิตยางแท่ง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 2.96 จากการลดลงของ การผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและ รถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 8.39 จากความต้องการ ถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.42 จากความต้องการน้ำยางข้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 7.08 จากการชะลอตัวของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer)

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.88 จากความต้องการใช้ ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และ น้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.27 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไปตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปตลาดจีนและมาเลเซีย

ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.00 จากการชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 25.83 จากความต้องการและราคาถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจาก ช่วงที่ผ่านมา

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2566

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนอง ความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศเป็นหลัก สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ คาดว่า จะกลับมาขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลที่มี วันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ในส่วนการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะยังชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลง แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศ ที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย มีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ความต้องการ ยางรถยนต์ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัว และความต้องการยางรถยนต์ในตลาดเกาหลีใต้ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกและราคาที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคม 2566 หดตัวร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 23.83 ถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.70 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 13.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม 2566 หดตัวร้อยละ 13.30 โดยดัชนีการส่งสินค้าหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นพลาสติก หดตัวร้อยละ 26.30 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 20.15 และถุงพลาสติก หดตัวร้อยละ 17.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนมีนาคมปี 2566 มีมูลค่ารวม 327.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 24.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 40.10 ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 20.15 และผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 19.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า เดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่ารวม 457.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 1.58 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 15.58 ผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 7.96 ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิด ยึดติดในตัว (HS 3919) หดตัวร้อยละ 6.93 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนเมษายน 2566 คาดการณ์ว่าการผลิตชะลอตัวลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ผันผวน การซื้อขายในตลาดเบาบาง และความกดดันจากความต้องการปลายทางยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป การส่งออก หดตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เป็นต้น

ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า

ปริมาณและมูลค่าการส่งออก--นาเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า

ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนมีนาคมปี 2566 หดตัว ร้อยละ 11.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 4.30 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ คลอรีน หดตัวร้อยละ 9.00 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 5.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายหดตัวร้อยละ 13.16 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 38.31 สีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 15.69 และแป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 8.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมีนาคม 2566 หดตัวร้อยละ 8.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 8.17 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 15.44 คลอรีน หดตัวร้อยละ 12.76 และเอทานอล หดตัวร้อยละ 7.63 กลุ่มเคมีภัณฑ์ ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 8.20 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 33.83 แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 14.08 และสีอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 12.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนมีนาคม 2566 มูลค่าการส่งออกรวม 835.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 19.13 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 482.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ

22.58 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 353.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 35.18 ปุ๋ย หดตัวร้อยละ 30.13และ สี หดตัวร้อยละ 18.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า ในช่วงเดือนมีนาคม 2566 มูลค่า การนำเข้ารวม 1,784.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัว ร้อยละ 13.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,162.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 16.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 621.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.22 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนเมษายน 2566 คาดการณ์ว่าการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวจากทิศทางราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวน ราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ในส่วนของการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ หดตัวจากตลาดหลัก เช่น จีน อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมีนาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 103.85 หรือหดตัวร้อยละ 11.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 20.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS resin และ PS resin หดตัวร้อยละ 43.60 และ 15.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซ และการชะลอตัวของการผลิตตามความต้องการที่ชะลอตัวลง

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 97.76 หดตัวร้อยละ 14.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 26.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 14.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน

การส่งออก เดือนมีนาคม ปี 2566 มีมูลค่า 984.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 17.89 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี ขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดมีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคาปรับลดลง ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง รวมถึงการที่สหรัฐได้มุ่งส่งออกมายังตลาดเอเชีย ที่เป็นตลาดของไทยทดแทนจากการชะลอตัวของความต้องการจากสหภาพยุโรป

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนมีนาคม ปี 2566 มีมูลค่า 564.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 12.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Toluene และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin เป็นต้น

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนเมษายน ปี 2566 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น จากความต้องการใช้พลาสติก ที่ลดลง ทั้งจากการชะลอการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับขยายตัวตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบ จากการหยุดการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้งยูเครน--รัสเซียที่ยืดเยื้อ

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม 2566 มีค่า 92.9 หดตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋อง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็ก ทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก ทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 89.5 หดตัวร้อยละ 14.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 38.3 รองลงมา คือ เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 33.4 29.1 17.1 และ 16.7 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 88.6 หดตัวร้อยละ 19.5 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่น เคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 34.3 รองลงมา คือ เหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่น เคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 26.3 20.2 และ 13.0 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนมีนาคม 2566 มีปริมาณการบริโภค 1.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก ทรงยาวมีปริมาณ 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.9 จากการบริโภคท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ส่วนการบริโภคเหล็กทรงแบน มีปริมาณ 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 27.5 จากการบริโภค

เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นรีดร้อน (Plate/Coil/Sheets)

การนำเข้า ในเดือนมีนาคม 2566 มีปริมาณ การนำเข้า 1.3 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 40.5 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณการนำเข้าขยายตัว ทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 33.1 เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) เหล็กลวด ชนิด Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน เวียดนาม และเกาหลีใต้) สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 1.04 ขยายตัวร้อยละ 42.2 เหล็กทรงแบนที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นหนา รีดร้อน ชนิด Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี) เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และจีน)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2566 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาพลังงานที่มีความผันผวน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา อย่างไรก็ตาม ภาคการก่อสร้างน่าจะได้รับอานิสงส์จากการกระตุ้นโครงการภาครัฐและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก รวมถึงการยุติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุน (AD) ของสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน จากประเทศบราซิล อิหร่าน และตุรกี และเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบโลหะเจือของอลูมิเนียม (GL) จากเวียดนาม เนื่องจากอาจส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศไทย?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 0.60 28.31 และ 24.05 (YoY) ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่าเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืน ขยายตัวร้อยละ 9.24 และ 8.09 จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าสำคัญ อีกทั้งยังได้รับอานิสงค์เชิงบวกจากบรรยากาศการหาเสียงและการเตรียมตัวเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งมีความต้องการใช้วัตถุดิบ จากภาคอุตสาหกรรมในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ป้ายผ้าโฆษณา และการผลิตเสื้อผ้าเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง และการเตรียมผลิตสินค้าเพื่อรองรับกับความต้องการ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน 2566 โดยเฉพาะ เสื้อลายดอกที่เป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 3.67 และ 27.73 (YoY)

เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 10 ขยายตัวร้อยละ 19.57 (YoY) โดยได้รับ อานิสงค์จากบรรยากาศการหาเสียงและการเตรียมตัวเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม 2566 รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน 2566

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใยหดตัวร้อยละ 11.32 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ผ้าผืนหดตัว ร้อยละ 13.05 ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และไต้หวัน

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 30.81 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม เพื่อรองรับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 16.21 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน บังกลาเทศ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 20.66 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บังกลาเทศ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 15.53 (YoY) จากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2566

คาดว่าภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก การขึ้นอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกระทบต่อภาคการส่งออก การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2566

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีจำนวน 7.55 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.47 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.61 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.32 (%YoY) โดยแม้การฟื้นตัวของตลาดในเดือนนี้จะดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เท่ากับช่วงก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย--ยูเครน

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีจำนวน 0.52 ล้านตัน ลดลงเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.52 (%YoY) โดยตลาด ศรีลังกาไม่มีคำสั่งซื้อ และตลาดส่งออกหลักหลายตลาด ปรับลดคำสั่งซื้อ ได้แก่ บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนเมษายน 2566 คาดว่าจะเริ่ม ทรงตัว เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวและผลกระทบ ที่ต่อเนื่องจากวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีจำนวน 3.90 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.28 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.61 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.32 (%YoY) เนื่องจากถึงแม้ในเดือนนี้ตลาดจะฟื้นตัวอยู่ในระดับที่ดีขึ้น แต่การฟื้นตัวยังไม่เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีฐานสูงและยังไม่ได้ผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย--ยูเครน

การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม ปี 2566 มีจำนวน 0.24 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 27.84 (%YoY) จากการไม่มีคำสั่งซื้อในตลาดบังกลาเทศ และศรีลังกา และเป็นการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2566 คาดว่าจะเริ่มทรงตัวจากความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง แต่ยังได้ปัจจัยบวกจากการขยายตัวของการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ของภาครัฐ และจากความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ