2
สารบัญ
หน้า
บทสรุปผู้บริหาร 3
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2566 5
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2566
และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566 14
2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15
2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16
2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17
2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18
2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19
2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20
2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21
2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22
2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23
2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24
2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25
2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26
2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27
2.14 อุตสาหกรรมยา 28
2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29
2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 30
2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31
2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32
3
บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2566
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว
ร้อยละ 3.9 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4/2565 ที่หดตัวร้อยละ 6.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิต
เพื่อส่งออกในหลายกลุ่มหดตัวลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เน้นตลาด
ในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว
ในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ Hard Disk Drive ปัจจัยหลักจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องและกำลังซื้อของ
ผู้บริโภคที่ปรับลดลงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เฟอร์นิเจอร์ จากสินค้าเครื่องเรือนทำด้วยไม้และเครื่องเรือน
ที่ทำด้วยโลหะ เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าชะลอตัวลง เม็ดพลาสติก เนื่องจากการส่งออกลดลง ประกอบกับผู้ผลิต
ชะลอการผลิตลง เพื่อดูทิศทางตลาดรวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่ สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการ
ขยายตัวดีในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ รถยนต์ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของตลาดส่งออก ในขณะที่ตลาดในประเทศ
ยังคงชะลอตัว การกลั่นน้ำมัน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากการเปิดประเทศ
รับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่กลางปีก่อนเป็นต้นมา ทำให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศเพื่อการเดินทางขนส่ง
สามารถฟื้นตัวขึ้นกลับสู่ระดับใกล้ปกติ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2566
? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุน
พลังงานที่มีความผันผวน ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัว และอาจส่งผลต่อความต้องการ
ใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความ
ต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
? อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัว เนื่องจากสถานการณ์
โควิด-19 ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดส่งออกหลักของไทย ส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงมีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพมากขึ้น อาทิ เครื่องฟอก
อากาศ และเครื่องปรับอากาศ
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ยังคง
ผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ
? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อ
จำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 510,000 คัน
โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์
จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ และการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ ตลอดจนการเลือกตั้ง
ในเดือนพฤษภาคมจะเป็นอานิสงส์ให้ผลิตภัณฑ์กระดาษในกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องขยายตัว
4
? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการ
ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง
คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
? อัญมณีและเครื่องประดับ การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อย โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดรับนักท่องเที่ยว
อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้น
ให้ประชาชนเกิดการจับจ่ายใช้สอย และคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากประเทศคู่ค้าสำคัญที่กลับมาเติบโตอีกครั้ง จากการ
ส่งเสริมการตลาดในหลายพื้นที่ อาทิ ฮ่องกง และกาตาร์ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับและ
จัดแคมเปญเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและภาคธุรกิจ สร้างแรงจูงใจให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา
? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากฐานของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม
ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ในส่วนของน้ำมันปาล์มและ
น้ำตาลยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
5
ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2566
6
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
GDP
ขยายตัวร้อยละ 2.7 (%YoY)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ห รือ GDP
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.7
เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.4
ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP
GDP ภาคอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 3.1 (%YoY)
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566
หดตัวร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 5.0
ในไตรมาสก่อนหน้า
ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 3.1
การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน
ขยายตัวร้อยละ 5.4
การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.1
การส่งออกสินค้าและบริการ
ขยายตัวร้อยละ 3.0
ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 5.2
ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1
ของปี 2566 ลดลงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากการลดลงของ
การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อการบริโภค
ภายในประเทศ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ต่อพ่วง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตพลาสติก
และยางสังเคราะห์ขั้นต้น
7
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
หดตัวร้อยละ 3.9
(%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้า
หดตัวร้อยละ 4.2
(%YoY)
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 101.07 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(94.11) ร้อยละ 7.40 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2565 (105.22) ร้อยละ 3.9
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565
ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต
เฟอร์นิเจอร์ และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์
ขั้นต้น เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่
ระดับ 99.46 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.04)
ร้อยละ 2 . 5 0 แ ต่ล ด ล ง จ ก ไ ต ร ม ส เ ดีย ว กัน
ของปี 2565 (103.80) ร้อยละ 4.2
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิต
เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่ การผลิต
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติกและ
ยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ขยายตัวร้อยละ 2.4
(%YoY)
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ร้อยละ 63.66
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
อยู่ที่ระดับ 140.52 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(133.18) ร้อยละ 5.51 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2565 (137.26) ร้อยละ 2.4
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล
การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิต
ยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป
คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่
การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิต
เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวด
ประเภทอื่น ๆ เป็นต้น
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.66 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
(ร้อยละ 60.32) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี
2565 (ร้อยละ 66.77)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการ
ผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่ การผลิต
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติก
และยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตชิ้นส่วนและ
แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 95.97
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 95.97 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่ผ่านมา (93.07) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปี 2565 (87.97) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์
ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 103.53 เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปี 2565 (97.70)
ปัจจัยที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่น
ภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 มาจาก
การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว
มีการฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการขยายตัวของจำนวน
นักท่องเที่ยวต่างชาติ การเปิดประเทศของจีน รวมทั้ง
มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังมีความกังวล
ต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบ
และค่าไฟฟ้า ความผันผวนของราคาพลังงาน อีกทั้ง
อุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง ตามภาวะถดถอยของ
เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการ
ส่งออกของไทย อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และการ
ปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าเงินบาท
ที่แข็งตัวขึ้นส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของราคา
สินค้าส่งออกของไทย
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
10
การค้าต่างประเทศของไทย
?การค้าต่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัวลงร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (YOY) เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ เศรษฐกิจของ
ประเทศคู่ค้าหลักที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ดี การเปิดประเทศของจีน การท่องเที่ยวที่ขยายตัวเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัว ก็เป็นปัจจัยบวก
ให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัว?
การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 143,604.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อย 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY)
และมูลค่าการนำเข้า 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY)
ดุลการค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ขาดดุล 3,044.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกสินค้าของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว
ร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า
เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 5,891.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.23 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม
การเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,942.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.65 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม
มีมูลค่าการส่งออก 55,911.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.82 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่า
การส่งออก 2,534.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.68 (YOY)
11
ตลาดส่งออกสินค้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาด
คู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
(27 ประเทศ) และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70.60 และสัดส่วนการส่งออก
ไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.40 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้
ประเทศคู่ค้าหลักของไทยหดตัวลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (YOY) มีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่น ร้อยละ
24.40, 16.30, 11.00, 9.70 และ 9.20 ตามลำดับ
? ไทยมีมูลค่าการส่งออก 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน (YOY) โดย จีน หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 7.38 รองลงมา คือ อาเซียน หดตัวร้อยละ 3.92 สหรัฐอเมริกา
หดตัวร้อยละ 3.88 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 1.45 และ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 0.23
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
การนำเข้าสินค้าของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.48
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่า
การนำเข้า 14,299.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.47 (YOY) สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 16,661.18
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.82 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 28,732.16
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.31 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 8,649.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 1.33 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,835.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 27.56 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 1,145.97
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.96 (YOY)
12
ตลาดนำเข้าสินค้า
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลัก รวม
5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และ
สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 65.90 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ
คิดเป็นร้อยละ 34.10 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยตลาดนำเข้าหลักของ
ไทยส่วนใหญ่ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
(YOY) อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และอาเซียน
ยกเว้น จีน และญี่ปุ่น ที่หดตัวเล็กน้อย มีรายละเอียด ดังนี้
? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน
ร้อยละ 23.80, 18.40, 10.80, 6.50 และ 6.40 ตามลำดับ
? ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน (YOY) โดย ญี่ปุ่น หดตัวสูงสุด ร้อยละ 4.30 รองลงมา คือ จีน หดตัวร้อยละ 0.73 ขณะที่
สหรัฐอเมริกา ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 13.55 รองลงมา คือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ
3.62 และอาเซียน ขยายตัวร้อยละ 2.86
13
เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของ
การบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวสูงสุด
ในรอบ 4 ไตรมาส ภายหลังการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด (Zero-COVID policy) และการเปิดประเทศ
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนมีทิศทางชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการผลิต
ภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกสินค้าที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
Quarterly Growth (%YoY)
GDP Inflation MPI Export Import
Unemp.
Rate
Policy
Rate
สหรัฐฯ ? 1.6 ? 5.8 ? 0.9 ? 6.9 ? -2.2 At 3.8 At 4.75-5.00
จีน ? 4.5 ? 1.3 ? 3.9 ? 0.1 ? -6.2 At 5.3 At 3.65
ญี่ปุ่น N.A. ? 3.6 ? -1.4 ? -8.0 ? -2.3 At 2.6 At -0.10
มาเลเซีย ? 5.6 ? 3.6 ? 2.8 ? -1.7 ? -0.9 At 3.5 At 2.75
เวียดนาม ? 3.3 ? 4.2 ? -2.0 ? -11.7 ? -15.3 At 2.3 At 3.5
ไทย ? 2.7 ? 3.9 ? -3.9 ? -4.6 ? -0.5 At 1.1 At 1.75
ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://tradingeconomics.com
หมายเหตุ: n.a. = ไม่ปรากฏข้อมูล
เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2565 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
อันเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของ
อุปสงค์ภายในประเทศ และการค้าโลกที่ยังคงมีแนวโน้มที่เผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จีนกับไต้หวัน และรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอน
ปัญหาเงินเฟ้อ และผลพวงจากการคุมเข้มนโยบายการเงินของหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกในช่วง
ครึ่งหลังของปีคาดว่ามีแนวโน้มที่ดีจากการฟื้นตัวของภาคบริการท่องเที่ยว อันเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ภาพรวมมีความผันผวนลดลง แต่ยังคงได้รับผลกระทบจาก
ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การเปิดประเทศของจีนซึ่งเป็นปจจัยบวกใหกับความตองการน้ำมันโลก (2) เศรษฐกิจที่ชะลอ
ตัวของสหรัฐและยุโรป ส่งผลใหอุปสงคของน้ำมันโลกฟนตัวไม่เต็มที่ (3) อุปทานน้ำมันของโลกจากสถานการณ์ความ
ขัดแย้งระหวางรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ (4) จากกการประชุมโอเปกพลัสครั้งที่ 34 มีมติให้ลดกกำลังการผลิต
เปน 2 ลานบารเรลตอวัน จนถึงสิ้นป 2566 และ (5) กำลังการผลิตของโรงกลั่นทั่วโลกเริ่มคงที่ คาดวาจะสามารถ
ชดเชยกำลังการผลิตที่ลดลงของรัสเซียได้
14
ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2566
และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566
15
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มีค่า 89.5 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.9 (%YoY)
แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 14.0
ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัว
ร้อยละ 33.6 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อน
ชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 22.6 และ 12.3 ตามลำดับ และการผลิตเหล็ก
ทรงยาว หดตัวร้อยละ 12.4 โดยผลิตภัณฑ์ที่การผลิตมีการหดตัว คือ
เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 31.9 รองลงมา คือ เหล็กเส้นกลม และเหล็ก
โครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน 27.1 และ 21.2 ตามลำดับ
การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
มีปริมาณ 4.5 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 12.5 (%YoY) และขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 21.6
(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภค
เหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 14.9 จากการบริโภคเหล็กแผ่น
เคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 19.0 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบาง
รีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบประเภทอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ
16.6 และ 16.3 ตามลำดับ และการบริโภคเหล็กทรงยาว
ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง
รูปพรรณ เป็นหลัก ขยายตัวร้อยละ 28.8
การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 3.1 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 1.6 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 16.8
(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้าเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 1.6 ผลิตภัณฑ์
ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัว
ร้อยละ 45.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน เกาหลีใต้ และ
เยอรมนี) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา
ประเภท Alloy Steel และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ประเภท
Carbon Steel หดตัวร้อยละ 38.4 32.8 และ 22.8 ตามลำดับ
และเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 1.7 โดยผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัว
มากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ประเภท Stainless Steel
หดตัวร้อยละ 78.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ อินเดีย ญี่ปุ่น
และจีน) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ประเภท Alloy
Steel เหล็กลวด ประเภท Stainless Steel และเหล็กเพลาขาว
หดตัวร้อยละ 55.9 35.6 และ 22.2 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2
ปี 2566 คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่มีความผันผวน ซึ่งอาจส่งผล
ให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัว และอาจส่งผลต่อ
ความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้าง
พื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความ
ต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัว จากการผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน
16
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิต
อยู่ที่ 100.4 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 11.8
(%QoQ) แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.1 (%YoY) โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัว
ลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ
กระติกน้ำร้อน พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า คอมเพรสเซอร์
และหม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 31.5, 30.4, 20.5, 17.9,
16.0, 11.4, 8.9 และ 4.6 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ
ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงทั่วโลก และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
ห ม อ แ ป ล ง ไ ฟ ฟ ส ย เ ค เ บ ล ส ย ไ ฟ ฟ แ ล
เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1, 20.1, 12.6 และ
0.6 ตามลำดับ
การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2566 สินค้าที่มี
การปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ได้แก่ พัดลม เครื่องซักผ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน
คอมเพรสเซอร์ และ หม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 24.4, 22.7,
20.1, 7.1, 6.5 และ 2.7 ตามลำดับ ในขณะที่เตาอบ
ไมโครเวฟ และ เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 184.4 และ
1.4 ตามลำดับ
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า
4,868.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ
4.8 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.9 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่
หม้อแปลงไฟฟ้า เตาอบไมโครเวฟ และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 56.3, 31.5 และ 8.7 ตามลำดับ
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2566 มีมูลค่า
การส่งออก 8,194.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 18.5 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.1 (%YoY) โดยสินค้าที่
ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ
เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1, 27.3, และ 26.4
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4.0 และคาดว่ามูลค่า
การส่งออกจะมีการขยายตัว ร้อยละ 6.0 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดส่งออก
หลักของไทยซึ่งส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพ
มากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 และป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะเครื่องฟอกอากาศ และเครื่องปรับอากาศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมี
ประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ และนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
112.6
91.3 98.8
109.3 107.8
98.1
89.8
100.4
0
20
40
60
80
100
120
140
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิต
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตรา
เงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงทั่วโลก และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น
เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน พัดลมตามบ้าน เครื่องซักผ้า คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว
17
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้
ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี
5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก
อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง
สหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มาตรการควบคุมการ
ส่งออกเทคโนโลยีชิปของสหรัฐฯ ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
และปรับสัดส่วนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีน
ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก
อิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มี
ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 83.0 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 6.5 (%QoQ)
และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.0 (%YoY)
โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer, แผงวงจร
(PWB), HDD, Semiconductor devices transistor, วงจร
รวม (IC) และ วงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ
31.5, 30.1, 27.6, 15.8, 7.6 และ 2.4 ตามลำดับ โดย
สาเหตุที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการสินค้า
ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง จากเศรษฐกิจ
ของประเทศคู่ค้าเข้าสู่ภาวะถดถอย
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1
ปี 2566 มีมูลค่าการนำเข้า 11,347.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.7 (%QoQ) และลดลง
ร้อยละ 3.5 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องพิมพ์
ปรับตัวลดลงร้อยละ 22.3, 1.5 และ 0.9 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1
ปี 2566 มีมูลค่าการส่งออก 10,776.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.1 (%QoQ) และลดลง
ร้อยละ 2.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยส่งออกลดลงในตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป และ
สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 70.8, 54.6, 50.2, 49.4 และ
49.1 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่
HDD ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และ
ส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ (PCBA) เครื่องพิมพ์ เครื่อง
ทำสำเนา และส่วนประกอบ และวงจรรวม ปรับตัวลดลง
ร้อยละ 65.6, 59.5, 56.9, 56.5 และ 49.8 ตามลำดับ
99.0 96.0 101.5 100.0 94.0 93.8 88.7 83.0
0
20
40
60
80
100
120
140
Q2-2564 Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566
ดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิต
10,535.6 10,691.7
12,217.4
11,754.0 11,552.9 11,923.4
10,732.2
11,347.3
10,018.6 10,177.0
11,364.7 11,017.6 10,796.7
11,684.4
11,358.1
10,776.7
0
2,000
4,000
6,000
8,000
10,000
12,000
14,000
Q2-2564 Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้า มูลค่าการส่งออก
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.0 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer, แผงวงจร (PWB), HDD, Semiconductor devices transistor,
วงจรรวม (IC) และวงจรพิมพ์ (PCBA) และมีมูลค่าการส่งออกลดลงในตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
18
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็น
การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ
45-50
? การผลิตรถยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 507,787 คัน
ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 2.25
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ร้อยละ 5.77 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น
การผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตันและ
อนุพันธ์ ร้อยละ 63 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
อื่น ๆ ร้อยละ 2
? การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 217,073 คัน
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 0.64
(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 6.11 (%YoY)
? การส่งออกรถยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 273,692 คัน
ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 6.85
(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 12.57 (%YoY) โดยมีสัดส่วน
แบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 33
รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 57 และรถ PPV ร้อยละ 10
มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 2,460.16
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565
ร้อยละ 4.96 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 5.21 (%YoY) โดยตลาดส่งออก
ที่สำคัญของส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 2,133.15
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4
ปี 2565 ร้อยละ 2.80 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.03 (%YoY) โดย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
480,078
390,033
493,872 519,478 507,787
231,189 196,114 206,391 215,701 217,073
243,124
206,520
256,806
293,812 273,692
1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566
การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)
การผลิต การจาหน่าย การส่งออก
2,595.34
2,397.34 2,496.42
2,343.81 2,460.16
2,030.95 2,021.29 2,143.63 2,074.95 2,133.15
1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566
มูลค่าการส่งออกและนาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการ
เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออก โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นในรถยนต์ทุกประเภท ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV อย่างไรก็ดี ตลาดในประเทศ
มีการชะลอตัวเนื่องจากการผลิตรถกระบะเพื่อการขนส่งขาดแคลนชิ้นส่วน
เซมิคอนดักเตอร์
19
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์
กว่า 510,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ
80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
? การผลิตรถจักรยานยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 686,087 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 26.78 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 40.24
(%YoY)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 506,566 คัน เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 17.96 (%QoQ) และ
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 13.04
(%YoY)
? การส่งออกรถจักรยานยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 241,199 คัน
(เป็นการส่งออก CBU 135,790 คัน และ CKD 105,409
ชุด) ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 11.53
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 9.36 (%YoY)
? มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 213.57 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 3.83
(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 19.28 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ
ของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล กัมพูชา
และญี่ปุ่น
? มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน
? ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 294.18 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 14.26
(%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 10.05 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน
489,238
445,217
540,327 541,158
686,087
448,147 458,478 455,947 429,444
506,566
266,098 235,355 261,869 272,638 241,199
1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566
การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)
การผลิต การจาหน่าย การส่งออก
264.59
217.40 226.02 222.08 213.57
327.04
292.81 271.77 257.47
294.18
1Q 2565 2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566
มูลค่าการส่งออกและนาเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งดัชนีผลผลิต
สินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น
20
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
การตลาดและการจำหน่าย
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.04
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ
16.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ดัชนีผลผลิตที่หดตัว ปุ๋ย น้ำยาทำความสะอาด และแป้งฝุ่น
เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.81
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัว
ร้อยละ 11.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)
ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น ปุ๋ย กรดเกลือ และ คลอรีน
เป็นต้น
การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า
2,354.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 16.34
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลัก
ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ปุ๋ย
และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่ารวม
4,816.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.98 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่หดตัวร้อยละ 10.83
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย
ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัว เช่น
เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องสำอาง และปุ๋ย
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มหดตัว
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้า
เพิ่มขึ้น การผลิตหดตัวลดลงจากสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ชะลอตัว ผู้ประกอบการชะลอ
การผลิตเพื่อดูสถานการณ์ราคาต้นทุนวัตถุดิบ และผลิตสินค้าตามความต้องการเท่านั้น
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ผู้ประกอบการผลิตสินค้าตามความต้องการ
ปลายทาง การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า
21
อุตสาหกรรมพลาสติก
?
การผลิต และการตลาด
ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ
4.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่
หดตัวร้อยละ 7.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด
คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัว
ร้อยละ 0.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)
และหดตัวร้อยละ 11.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว
มากที่สุด คือ กระสอบพลาสติก
มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า
987.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.40
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว
ร้อยละ 16.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด
คือ ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และ
แถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920)
มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า
1,253.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.53
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว
ร้อยละ 9.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
(%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวสูงสุด
คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง
พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติก
คาดว่าลดลงในประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และ จีน เป็นต้น อีกทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
ยังคงผันผวน ส่งผลให้การผลิตชะลอตัวลงเพื่อรอดูสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบ
อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณการส่งออกหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน การผลิตลดลงเนื่องจากราคา
น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการรอดูสถานการณ์ด้านราคาวัตถุดิบและ
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
22
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 95.97 ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.50 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี
ผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP และ PE resin ส่วนหนึ่ง
มาจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น และการชะลอการผลิตจากการระบายสินค้าคงคลัง
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 90.56 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.03 โดยสินค้าที่ส่งผลให้
ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PE resin
การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 2,610.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
23.94 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงของ
กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin และลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene, Toluene เป็นต้น
การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 1,665.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.84
โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลงของกลุ่ม
ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง เช่น PS resin และ PET
resin เป็นต้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2566
ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวตามจากสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก
ที่ได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
หลายประเทศ ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศตัวเลขของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะส่งผลต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.50
และ 20.03 (%YoY) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐ
ที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้การผลิต และการส่งออก ปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลง
23
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
?
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ดัชนีฯ เพิ่มขึ้น (+2.65%) ในกลุ่ม
เยื่อกระดาษ กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกล่องกระดาษ
แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ ลดลง (-7.87%) ในทุกกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ (กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกล่อง
กระดาษ) ยกเว้นเยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียน ที่การผลิต
ยังเติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก และคาดว่าจะขยายตัวได้
จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ซึ่งมีคำสั่งซื้อหลักจากประเทศจีน
การส่งออก
การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1
ปี 2566 มีมูลค่ารวม 650.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น (+7.71%) เมื่อ
เปรียบเทียบ (%QoQ) เพิ่มขึ้นทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ (+15.00%) (+4.43%) และ
(+17.59%) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออก
เพิ่มขึ้น (+11.97%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ (+45.85%) กลุ่มกระดาษและ
ผลิตภัณฑ์ (+1.29%) กลุ่มหนังสือ และสิ่งพิมพ์ (+ 20.87%)
โดยในไตรมาสนี้มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา ฮ่องกง และ
สหรัฐอเมริกา
การนำเข้า
การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่ารวม 836.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ร้อยละ (+4.83%) เนื่องจากการผลิตในประเทศเริ่มกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น และต้องนำเข้าวัตถุดิบบางส่วน
โดยเฉพาะเยื่อกระดาษ กระดาษหรือกระดาษแข็งที่นำกลับมาใช้ได้อีก และสิ่งพิมพ์ แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ลดลง (-1.17%) ในกลุ่ม
เยื่อกระดาษ กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และกลุ่มสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง (-0.04%) (-1.54%) และ (-7.81%) ตามลำดับ
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2566
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการ
บริโภคในประเทศ และการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ ตลอดจนการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม และการเปิดภาคการศึกษา
จะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40
ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
55
65
75
85
95
105
115
125
135
145
Q1-65 Q2-65 Q3-65 Q4-65 Q1-66
846.75
894.97
952.04
798.26
836.83
581.15 586.69
654.13
604.14
650.71
0
100
200
300
400
500
600
700
800
900
1000
Q1-65 Q2-65 Q3-65 Q4-65 Q1-66
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ)
ดัชนีฯ (+2.65%) และเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ (-7.87%) สำหรับการส่งออกในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)
มีมูลค่าการส่งออก (+7.71%) และ (+11.97%) ตามลำดับ ในส่วนการนำเข้าในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการนำเข้า
(+4.83%) แต่ลดลง (-1.17%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY)
24
อุตสาหกรรมเซรามิก
การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน
และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน
2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด
กระทรวงพาณิชย์
การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต
30.79 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 9.04 (%YoY) และเครื่องสุขภัณฑ์
มีปริมาณการผลิต 1.50 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 22.03 (%YoY) เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดในประเทศ
ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และ
ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดส่งออก
การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ
การจำหน่าย 39.49 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 8.52 (%YoY) เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ตามภาวะ
เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาของสินค้า ส่วนการ
จำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.91 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.96 (%YoY) จากการเร่งก่อสร้างโครงการ
ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ เช่น หมู่บ้านจัดสรร คอนโด
การส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่า
การส่งออก 26.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.59 (%YoY)
และเครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 47.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
26.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อ
ที่ลดลงจากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ
กลุ่มประเทศ CLMV
แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 2 ของปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามความ
ต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมด้านการตลาดของภาคเอกชน ส่วนการส่งออก
มีแนวโน้มทรงตัวจากความแน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ
อาเซียน แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาพลังงาน วัตถุดิบ อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ที่อาจจะส่งผล
ต่อการผลิตและการจำหน่ายภายในประเทศ
ปริมาณการผลิตและการส่งออกกระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัวจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศและคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดคู่ค้าหลัก ส่วนการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากการเร่งก่อสร้างโครงการ
ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่
25
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566
? มีจำนวน 10.92 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565
ร้อยละ 8.05 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 3.49 (%YoY)
?
? การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 10.12 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 13.49 แต่ลดลงจากไตรมาส
เดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 4.90 (%YoY)
การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1
ปี 2566 มีมูลค่าจากการส่งออก 44.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.22 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2565
แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนมีมูลค่าส่งออกลดลง
ร้อยละ 18.72 จากตลาดบังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
กัมพูชา และเมียนมา ร้อยละ 100 84.59 65.06 21.28 และ
19.26 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบ
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์
(ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 8.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ร้อยละ 5.60 และเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 34.00 โดยการนำเข้า
เพิ่มขึ้นจากตลาด จีน สปป.ลาว และไต้หวัน ร้อยละ 85.02
43.24 และ 26.08 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ
การผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยนอกจากในไตรมาส 2 ของทุกปีจะอยู่ในช่วงเข้าฤดูฝนที่เป็น
อุปสรรคต่อการก่อสร้างแล้ว ยังจะได้รับแรงกดดันอื่น ๆ อีก เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบต่อเนื่อง
จากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แนวโน้มการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่
ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกอีกครั้ง
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายยังคงปรับตัวลดลง
เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่เพิ่งเริ่มต้น การส่งออกปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
โลกที่ชะลอตัวลง ส่วนการนำเข้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
26
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิต
ด ชน ผลผล ตเ ส น ใย ส ง ทอ ห ด ต วร อ ย ละ 10.98 ( YoY)
จากการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ การปั่นด้ายจากเส้นใยธรรมชาติ และการ
เตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ การทอผ้าหดตัวร้อยละ 25.32 (YoY)
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หดตัวร้อยละ 22.98 (YoY) จากการผลิตเสื้อผ้า
เครื่องแต่งกาย และเครื่องแต่งกายจากผ้าถัก เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อ
ที่ลดลงจากประเทศคู่ค้าในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
เบลเยี่ยม ฮ่องกง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่
ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4
ปี 2565 (QoQ) พบว่าดัชนีการทอผ้าขยายตัวร้อยละ 1.65 ในกลุ่ม
การทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยอื่น ๆ โดยผู้ประกอบการเริ่ม
ปรับตัวในการผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามกระแส
ความต้องการของผู้บริโภค
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 10.17 (YoY) จากเส้นด้ายฝ้าย เส้นด้ายจาก
เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 25.99 (YoY) จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และ
ผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายขยายตัวร้อยละ 26.21
(YoY) จากนโยบายการเปิดประเทศหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด -19
ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐช่วยหนุนให้เศรษฐกิจภายในประเทศ
ฟื้นตัว
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่
อุปทาน โดยมีมูลค่า 1,513.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.19
(YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่า 1,1011.51
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.45 กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 501.64
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.64 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของ
ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา
เบลเยียม ฮ่องกง และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว จากการใช้
นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในหลาย ๆ ประเทศ ส่งผลกระทบ
ต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค
การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,301.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.29 (YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และผ้าผืน
สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 322.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.96 โดยมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกถึงราคาปานกลาง
จำนวนมากจากจีนเข้ามาจำหน่ายของกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ และการนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลกและระดับภูมิภาคมาจำหน่าย
ตามทิศทางความต้องการ อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาในเรื่องมาตรฐานสินค้านำเข้าจากจีนซี่งอาจกระทบด้านสุขอนามัยของผู้บริโภคได้
คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2566
ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
การประกาศเปิดประเทศของจีน ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
(ระยะที่ 5) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังเปราะบาง จากปัญหาค่าครองชีพสูง ความผันผวนของราคาวัตถุดิบและ
พลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อ นโยบายการเงินของ
หลายประเทศ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เป็นผล
มาจากแนวโน้มคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หากเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ดัชนีการทอผ้าขยายตัวในกลุ่มการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยอื่นๆ โดยผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวในการผลิตวัตถุดิบที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค
94.78 96.40 97.14
87.75
84.37
62.41
50.73
47.93 45.86
46.61
78.96
72.05 70.87
64.56
60.67
20
40
60
80
100
120
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ
การทอผ้า
การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า)
-
200.00
400.00
600.00
800.00
1,000.00
1,200.00
1,400.00
150
350
550
750
950
1150
ล้านเหรียญฯ
มูลค่าการส่งออก นาเข้า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ส่งออกลุ่มสิ่งทอ (MUSD) ส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)
นาเข้ากลุ่มสิ่งทอ (MUSD) นาเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)
27
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้
ในประเทศ (ล้านชิ้น)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 1.15
ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 25.32 และ 53.82 จากไตรมาสที่ผ่านมา
และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากปริมาณ
คำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง
? การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
มีจำนวน 0.14 ล้านชิ้น ลดลงในอัตราที่เท่ากันร้อยละ 12.50 จาก
ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากภาวะ
ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภค
ระมัดระวังในการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าที่ชะลอการซื้อได้
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566
มีมูลค่ารวม 1,067.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ที่ผ่านมาร้อยละ 9.96 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน พบว่า การส่งออกลดลงร้อยละ 6.98 แบ่งเป็น เครื่องเรือน
และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า
252.20 36.78 และ 778.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหาก
เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่า
การส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วนลดลงร้อยละ 26.96 มูลค่า
การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ลดลงร้อยละ 7.00 ในขณะที่มูลค่า
การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 ทั้งนี้
ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปรับลดลง
ต่อเนื่อง 3 ไตรมาส จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ลดลง
โดยเฉพาะความต้องการเครื่องเรือนไม้ในตลาดสหรัฐอเมริกา
แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะยังคงชะลอตัวตามความต้องการของตลาด
ต่างประเทศที่ปรับลดลง ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศคาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการฟื้นตัว
ของกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะมีมูลค่าลดลงจากอุปสงค์
ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการ
ไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 วงเงิน 604 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง
จากการที่ไม่สามารถส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมา โดยผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องเป็นผู้ประกอบการ
แปรรูปไม้ยางและผลิตภัณฑ์ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
1.15
0.14
-
0.05
0.10
0.15
0.20
0.25
-
0.50
1.00
1.50
2.00
2.50
3.00
Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023
การผลติ การจาหน่ายในประเทศ
1,147.85
1,082.48
1,016.39 970.98
1,067.69
0
200
400
600
800
1,000
1,200
1,400
Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023
เครื่องเรือนและชนิ้ ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม
ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม มูลค่ารวม
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณลดลง
จากปริมาณคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ในภาพรวมมีมูลค่า
ลดลง จากการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ไม้
28
อุตสาหกรรมยา
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: ปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2565
มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ: ปรับเพิ่มฐานข้อมูลส่งออก-นำเข้า โดยใช้ HS3001 3002 3003 3004
การผลิตยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณ 12,346.62 ตัน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.15 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน จากการขยายตัวของการผลิตยาครีม ยาน้ำ ยาเม็ด
และยาแคปซูล ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.25 14.30 14.23
และ 0.97 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อจากร้านขายยาและ
โรงพยาบาลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณ 10,990.69 ตัน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.96 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน จากการขยายตัวของการจำหน่ายยาครีม ยาเม็ด
ยาน้ำ และยาแคปซูล มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.96 16.88
14.81 และ 2.19 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ยา
เพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่ว ย
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และรองรับสถานการณ์การระบาด
ของโรคโควิด-19
การส่งออกยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 118.46 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 10.28 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน จากความต้องการที่ลดลงของตลาดประเทศเพื่อนบ้าน
อาทิ เมียนมา มาเลเซีย และเวียดนาม
การนำเข้ายา ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 777.60 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 23.34 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เป็นผลมาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่รุนแรงลดลงในช่วง
ต้นปี และการขยายตัวของการผลิตยาทดแทนการนำเข้า
แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น สำหรับทิศทางการส่งออกคาดว่า
จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงรายการและอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖
(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย และการดำเนินงาน
ในปัจจุบัน ตามที่ สธ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้ สธ.
รับความเห็นของ กษ. อก. และ สงป. ที่เห็นควรให้มีมาตรการควบคุมราคาเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเภสัชภัณฑ์ในราคา
ที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาสำหรับสัตว์ ซึ่งถือเป็นต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ เน้นส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
พัฒนาตำรับยาและต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาใหม่เชิงอุตสาหกรรมในประเทศ รวมทั้งสร้างการรับรู้และความเข้าใจ
เกี่ยวกับการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs
ขณะที่ภาคการส่งออกมีทิศทางหดตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงลดลง
29
อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์
และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
? การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 0.49 ล้านตัน 18.04 ล้านเส้น
และ 7,683.17 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง
ร้อยละ 5.17 จากการลดลงของการผลิตยางแผ่นและน้ำยางข้น
การผลิตยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 1.80 จากการลดลงของการผลิตยาง
รถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยาง
รถแทรกเตอร์ และการผลิตถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ
8.39 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดต่างประเทศที่ลดลง
? การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 0.13 ล้านตัน 11.87
ล้านเส้น และ 642.07 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม มีปริมาณ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.18 จากความต้องการใช้น้ำยางข้น
ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น การจำหน่ายยางรถยนต์
มีปริมาณลดลงร้อยละ 4.88 ตามการชะลอตัวของตลาด
REM (Replacement Equipment Manufacturing) ขณะท การ
จำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97 จากความต้องการ
ใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่อยู่ในระดับสูง
? การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 947.69 1,663.22 และ 327.12
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 36.94 9.02 และ 25.86 ตามลำดับ จาก
อุปสงค์ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยางคาดการณ์ว่าจะยังคง
ชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในกรณีที่ราคายางพาราตกต่ำ โดยรัฐบาลจะประกันรายได้ให้เกษตรกรรายละไม่เกิน 25 ไร่ ราคา
ประกันยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/ก.ก. น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/ก.ก. และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/ก.ก.
18.04
7.68
0.49
0.38
0.40
0.42
0.44
0.46
0.48
0.50
0.52
0.54
-
3.00
6.00
9.00
12.00
15.00
18.00
21.00
24.00
Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023
ยางรถยนต์ (ลา นเสน้ ) ถุงมือยาง (พันลา นชนิ้ )
ยางแปรรูปขัน้ ปฐม (ลา นตัน)
947.69
1,663.22
327.12
0
500
1,000
1,500
2,000
Q1 2022 Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023
ลา นเหรียญสหรัฐฯ
ยางแปรรูปขั นปฐม ยางรถยนต ถุงมือยาง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง มีปริมาณลดลงทั้งสามผลิตภัณฑ์
จากอุปสงค์ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลงเป็นหลัก โดยมูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงจากการชะลอตัวของ
ตลาดจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น ส่วนมูลค่าการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางลดลงจากการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา
30
อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตลดลง
ร้อยละ 4.76 การผลิตกระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.78
จากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและการผลิต
รองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 จากการจำหน่ายภายในประเทศ
การส่งออก-นำเข้า
การส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์
หนังฟอกและหนังอัด และรองเท้า ลดลงร้อยละ 5.91 และ 9.45
สำหรับเครื่องใช้สำหรับเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.17 หนัง
และผลิตภัณฑ์มีมูลค่าส่งออก 200.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เยอรมนี
และเมียนมา เนื่องจากหลายประเทศได้ผ่อนคลายและเปิดประเทศ
เข้าสู่ภาวะปกติ ประชาชนมั่นใจมีการเดินทางท่องเที่ยวและใช้จ่าย
เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนังฟอกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
11.76 รองเท้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.90 สำหรับกระเป๋า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.60 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเยียวยาและ
กระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภค
ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาสที่ 2 ปี 2566
การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 2 ปี 2566
เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก คาดว่า
จะลดลงจากการส่งออกที่ลดลง ส่วนการผลิตกระเป๋าและรองเท้า
มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ
ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้ง
ในภูมิรัฐศาสตร์ ความตึงเครียดสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งได้ส่งผล
กระทบต่อราคาพลังงาน น้ำมันและก๊าซและส่งผลต่อต้นทุนการ
ผลิต รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
อาจกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนและเศรษฐกิจทั่วโลก
122.24
144.86
134.56
97.23
116.43
64.06
59.88
91.59 88.05
81.22
79.79 80.26
88.52 90.84
86.62
40
60
80
100
120
140
160
Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566
ดัชนีผลผลิต
การฟอกและตกแต่งหนงั ฟอก การผลติ กระเป๋ เดนิ ทาง
การผลติ รองเทา
112.06
127.70
152.43 152.32 153.7
157.90 171.29 198.66 219.87 228.3
165.34 162.20
174.54
159.30 149.7
128.20
147.61
184.00
171.73
193.5
200.29 204.02
220.52
175.78
171.49 188.5
177.84
222.19
208.79
191.6
0.00
50.00
100.00
150.00
200.00
250.00
Q1/2565 Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566
มูลค่าการส่งออก การนาเขา
การส่งออก เครื่องใชส้ หรับเดินทาง
การนาเขา กระเป๋
การส่งออก รองเทา และชนิ้ ส่วน
การนาเขา รองเทา
การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด
การนาเขา หนังดิบและหนังฟอก
ไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีการผลิตลดลง จากการส่งออกที่ลดลง
สำหรับการผลิตกระเป๋าและรองเท้าผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกและการจำหน่ายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการที่ผ่อนคลายจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลายประเทศได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายให้เศรษฐกิจกลับสู่
สภาวะปกติ แต่ยังคงต้องจับตาดูสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก
31
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก
ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์
การผลิต
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 1
ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลง
ร้อยละ 12.75 โดยการผลิตเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม
ลดลงร้อยละ 10.74 และ 25.94 เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง
ประเทศคู่ค้าลดลง จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างกัมพูชา
ออสเตรเลีย อินเดีย และสหราชอาณาจักร ส่วนการผลิตเพชร
เจียระไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.56
การจำหน่าย
การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1
ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ลดลง
ร้อยละ 12.16 จากทุกผลิตภัณฑ์ โดยการจำหน่ายเพชร เครื่องประดับ
แท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 1.95 10.30 และ 28.09
ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้
ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การส่งออก
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาสที่ 1
ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า
รวม 2,342.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.26 จากมูลค่าการ
ส่งออกพลอย และเครื่องประดับแท้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 144.74 และ
34.70 ส่วนเพชรและเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 24.16 และ
13.96 หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
ในภาพรวม มีมูลค่ารวม 4,251.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 22.76 โดยมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 1,908.98
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 46.80 ในตลาดกัมพูชา
ออสเตรเลีย อินเดีย และสหราชอาณาจักร
ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ
ภาพรวมปรับลดลง จากการส่งออกที่ลดลงตามอุปสงค์ของตลาดคู่ค้า อย่างสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา
ด้วยแรงกดดันของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งนี้
ยังต้องติดตามความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2566
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 2 ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับปัจจัย
สนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศ
เพิ่มขึ้น รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการจับจ่ายใช้สอย และคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากประเทศคู่ค้าสำคัญ
ที่กลับมาเติบโตอีกครั้ง จากการส่งเสริมการตลาดในหลายพิ้นที่ อาทิ ฮ่องกง และกาตาร์ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณี
และเครื่องประดับและจัดแคมเปญเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและภาคธุรกิจ สร้างแรงจูงใจให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตาม
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากภาวะเงินเฟ้อ ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการ
ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง อาจกระทบ
ต่อภาคการผลิตและการส่งออกของประเทศ
88.25
90.79
92.66
71.85
77.00
90.13
92.80
96.02
74.17
79.17
40.00
60.00
80.00
100.00
Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66
ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า
1,916 1,968
2,254
1,899
2,342.58
5,505
3,242
3,715
2,645
4,251.56
1,000
2,000
3,000
4,000
5,000
6,000
Q1/65 Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66
มูลค่าการส่งออก
(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ไม่รวมทองคา รวมทองคา
32
0
20
40
60
80
100
120
140
0
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
80,000
4Q25631Q25642Q25643Q25644Q25641Q25652Q25653Q2565
ดัช นีผ ล ผ ลิต จา ห น่า ย ส่ง ออก แล นา เ ข้า อุต ส ห ก ร ร ม
อา ห ร ไ ต ร ม ส 3 ปี 2 5 6 5
ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จา หน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)
ปริมาณจาหน่าย (พันตัน)
ดัชนีผลผลิต (MPI)
อุตสาหกรรมอาหาร
ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.
ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 101.1 ขยายตัวร้อยละ
0.8 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้า
อาหารที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 37.2 จากน้ำมัน
ปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 43.8 และ 30.0 ตามลำดับ
เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการที่ผลผลิต
ปาล์มน้ำมันมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงการที่
อินเดียนำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากน้ำตาล
ทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำตาลทรายดิบ และน้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ
20.5 , 12.6 และ 1.8 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นตามการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน และ
ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 5.2
เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังมี
ดัชนีสินค้าบางรายการชะลอตัว ได้แก่ ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ
18.1 จากสับปะรดกระป๋อง เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและ
ต่างประเทศของสินค้าดังกล่าวลดลง รองลงมาคือ ประมง หดตัวร้อยละ 8.6
จากกุ้งแช่แข็ง เนื่องจากต้นทุนอาหารกุ้งที่สูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการเพาะเลี้ยง
และราคาจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้น และมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 24.2 จาก
แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากปริมาณผลผลิตหัวมันสำปะหลังน้อยลง จากการ
ที่ฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้เนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังบางส่วนได้รับ
ความเสียหาย
การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีปริมาณ
66,202.67 พันตัน ชะลอตัวร้อยละ 2.8 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภคในประเทศลดลง ได้แก่
สับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 59.3 รองลงมาคือ น้ำตาลทรายดิบ
หดตัวร้อยละ 24.1 แป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 19.2 และกุ้ง
แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 10.8
การส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 9,044.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 11.0 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำตาลทราย และกากน้ำตาล จากน้ำตาล
ทรายดิบ โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ รองลงมาคือ ข้าว
และธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือข้าว โดยตลาดหลัก คือ อิรัก และ
สหรัฐอเมริกา ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญ คือ
น้ำมันปาล์ม โดยตลาดส่งออกหลัก คือ อินเดีย และ ปศุสัตว์ จากไก่สด
แช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น
การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 5,074.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 13.6 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
จากการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมัน เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมัน
ตามความต้องการใช้น้ำมันที่มากขึ้น รองลงมาคือ กากพืชน้ำมัน และ
ธัญพืช เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 คาดว่า
ดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานของปีก่อนค่อนข้างสูง
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การ
นำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ในส่วนของน้ำมันปาล์มและน้ำตาล
ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในประเทศ ตามการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงการขยายตัวของกลุ่มน้ำมันปาล์มและน้ำตาล จากความต้องการนำเข้าจาก
ตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี แม้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักจะส่งสัญญาณชะลอตัว
80
85
90
95
100
105
110
0
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
80,000
2Q25643Q25644Q25641Q25652Q25653Q25654Q25651Q2566
ดัชนีผล ผลิต จำ หน่ำ ย ส่ง อ อ ก แ ล นำ เข้ำ อุต ส หก ร ร ม อ หำ ร
ไ ต ร ม ส 1 ปี 2566
ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
จา หน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)
ปริมาณจาหน่าย (พันตัน)
มูลค่าส่งออก/นาเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ดัชนีผลผลิต (MPI)
33
รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ
หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์
? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย
ไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566
? อุตสาหกรรมรายสาขา
กว. 0-2430-6806
? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
กร. 1
กร. 1
0-2430-6804
0-2430-6804
? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2430-6804
? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2430-6805
? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2430-6805
กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1
กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม