1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2564 2565 2565 2566 %YoY Year Year เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
MPI
5.8
0.4
-
0.4
-
2.3
-
0.5
6.0
14.6
3.0
-
4.3
-
5.3
-
8.5
-
4.8
-
2.4
-
3.9
-
8.1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบ ของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมกราคม 2566 หดตัวร้อยละ 4.8 เดือนกุมภาพันธ์ หดตัวร้อยละ 2.4 และเดือนมีนาคม หดตัวร้อยละ 3.9
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เดือนกุมภาพันธ์ หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 และเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 6.2
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
? Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 41.59 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ
? เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 23.36 ลดลงจากเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระป๋อง รวมทั้งมีการชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากความผันผวนของราคา
? เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 36.03 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และทำด้วยโลหะ โดยการผลิตเครื่องเรือน ทำด้วยไม้ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ผลิตเครื่องเรือน ทำด้วยไม้ยางพาราที่ปรับลดลง
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนเมษายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
? น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 19.15 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงปีนี้ผลผลิตของน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย
? การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 1.87 ตามปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เช่นเดียวกับการเดินทางในประเทศที่กลับสู่ระดับปกติเช่นกัน
Indicators 2565 2566 %MoM เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
MPI
-
17.1
7.7
-
0.2
-
2.3
4.2
-
1.8
-
4.2
2.1
-1.8
6.1
-
0.1
6.2
-
20.8
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ
เดือนเมษายน 2566
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนเมษายน 2566
? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 1,439.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.36 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภทเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 8,632.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภท เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 101 โรงงาน ลดลง จากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 34.84 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 37.65 (%YoY)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่ารวม 8,674 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 4.34 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 68.43 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2566 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 11 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2566 คือ อุตสาหกรรมการผลิตวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ จำนวนเงินทุน 2,254 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำแป้งสาลี จำนวนเงินทุน 2,250 ล้านบาท
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนเมษายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 17 ราย ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 69.64 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 64.58 (%YoY)
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่ารวม 35,797 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 5,912.06 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2,135 (%YoY)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2566 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 2 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือการแปรรูปไม้ จำนวน 2 โรงงาน เท่ากัน
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนเมษายน 2566 คือ อุตสาหกรรม การทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ มูลค่าเงินลงทุน 35,601 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว มูลค่าเงินลงทุน 70 ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนเมษายน 2566
1. อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนเมษายน 2566 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตชะลอตัว มีดังนี้ 1) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 35.6 จากแป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 31.2 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังลดลง ส่งผลให้ มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง 2) ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 16.8 จากสับปะรดกระป๋อง หดตัวร้อยละ 36.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศลดลง 3) อาหารสัตว์สำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 15.5 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 25.5 เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 4) ประมง หดตัวร้อยละ 10.0 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 21.9 อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีสินค้าอาหารบางรายการขยายตัว ดังนี้ 1) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 19.1 จากน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 40.6 และน้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 40.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงปีนี้ผลผลิตของน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย 2) เบียร์ ขยายตัวร้อยละ 17.6 เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มากขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น 3) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 18.8 และน้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 0.1 เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันในปีนี้มีจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ปรับตัวลดลง และทำให้ตลาด ในประเทศมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนเมษายน 2566 ขยายตัวจากกลุ่มสินค้าอาหาร (%YoY) ร้อยละ 3.2 เช่น 1) น้ำอัดลม ขยายตัวร้อยละ 36.6 2) น้ำมัน ปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 32.6 3) เบียร์ ขยายตัวร้อยละ 24.7 4) น้ำตาลทรายขาว ขยายตัวร้อยละ 15.5 5) น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 9.5
ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าอาหารเดือนเมษายน 2566 ในภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ผักและผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ฮ่องกง 2) ข้าวและธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือ ข้าว โดยตลาดหลัก คือ อิรัก แอฟริกาใต้ 3) ปศุสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น 4) น้ำตาล จากสินค้าสำคัญ คือ น้ำตาลทราย โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนพฤษภาคม 2566 ในภาพรวมจะมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการขยายตัว ของการบริโภคในประเทศ รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่า การส่งออกคาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการสินค้าอาหารของประเทศคู่ค้า และจากการฟื้นตัวของตลาดจีน รวมถึงการขยายการส่งออก ไปยังตลาดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังคงชะลอตัว
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? อุตสาหกรรมไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
93.5 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า
ตู้เย็น และหม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 34.6, 33.6, 20.3 และ 17.1
ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศลดลง ในขณะที่
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และเครื่อง
ซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และ 3.5 ตามลำดับ เนื่องจากมีความ
ต้องการสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งอ อกเครื่องใช้ไฟ ฟ้า มีมูลค่า 2,545.7
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม
มีมูลค่า 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในตลาด
ญี่ปุ่น และอาเซียน และหม้อแปลงไฟฟ้า มีมูลค่า 5.40
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในตลาดจีน ในขณะที่
สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ ตู้เย็น มีมูลค่า 117.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.7 ในตลาดอาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่น
เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 14.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
22.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และเครื่องปรับอากาศ
มีมูลค่า 460.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.3 ในตลาด
อาเซียน
?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2566 อุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน สภาพอากาศร้อน
น้อยลง ทำให้ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศลดลง?
? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
70.5 ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยสิน ค้าที่ป รับ ตัว ลดลง ได้แก่ HDD, PWB,
Semiconductor devices Transistors และ PCBA โดยลดลง
ร้อยละ 57.5, 21.5, 18.4 และ 13.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีความ
ต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 2,718.4
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD
มีมูลค่า 189.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.2 ในตลาด
อาเซียน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น วงจรพิมพ์ (Printed Circuit)
มีมูลค่า 99.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.7 ในตลาด
สหรัฐอเมริกา อาเซียน และยุโรป ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์
กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ มีมูลค่า 54.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 14.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น
และวงจรรวม มีมูลค่า 715.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
0.8 ในตลาดอาเซียน
?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2566 อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และ
การแบ่งส่วนการตลาดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย
เวียดนาม และอินเดีย เป็นต้น?
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
0
20
40
60
80
100
120
140
Apr-65
May-65
Jun-65
Jul-65
Aug-65
Sep-65
Oct-65
Nov-65
Dec-65
Jan-66
Feb-66
Mar-66
Apr-66
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดัชนีผลผลิต
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต
0
500
1,000
1,500
2,000
2,500
3,000
3,500
4,000
4,500
5,000
5,500
0
20
40
60
80
100
120
Apr-65
May-65
Jun-65
Jul-65
Aug-65
Sep-65
Oct-65
Nov-65
Dec-65
Jan-66
Feb-66
Mar-66
Apr-66
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ดัชนีผลผลิต
ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2566 มีจำนวน
117,636 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2566 ร้อยละ 34.59
(%MoM) และลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
0.13 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์กระบะ
1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากวันทำงานน้อยลง
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายน
ปี 2566 มีจำนวน 59,530 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2566 ร้อยละ
25.53 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.14
(%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์
กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จากการเข้มงวดในการ
อนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในอัตราสูง
และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ก รส่งอ อ ก รถ ย น ต์ ใน เดือ น เม ษ ย น ปี 2 5 6 6
มีจำนวน 79,940 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคมปี 2566 ร้อยละ
18.74 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
43.53 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย
โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป เนื่องจากฐานปีก่อน
ต่ำ จากการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือน
พฤษภาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปี 2565
เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก และการคลี่คลาย
ของสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์?
? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
0
20,000
40,000
60,000
80,000
100,000
120,000
140,000
160,000
180,000
200,000
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2566
มีจำนวน 140,444 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2566 ร้อยละ
29.25 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
7.42 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ
อเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
การจำห น่ายรถ จักรยาน ยน ต์ ใน เดือน เมษ ยน
ปี 2566 มียอดจำหน่ายจำนวน 123,959 คัน ลดลงจากเดือน
มีนาคม ปี 2566 ร้อยละ 32.80 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.73 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของยอด
จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี และ 251-399 ซีซี
การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนเมษายน
ปี 2566 มีจำนวน 34,526 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2566
ร้อยละ 24.70 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 28.58 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการเพิ่มขึ้นในประเทศ
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2566 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม
ปี 2565 เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดในประเทศและ
ตลาดส่งออก?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 13.37 จากการชะลอตัวของการผลิต ยางแผ่น และน้ำยางข้น
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.18 จากการลดลงของการผลิตยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 13.42 จากความต้องการ ถุงมือยางทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปรับลดลง
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 2.20 จากความต้องการยางแท่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.42 จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 8.88 จากความต้องการใช้ ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคในประเทศที่ปรับลดลง
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 39.91 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกยางแผ่นไปตลาดญี่ปุ่น ยางแท่งไปตลาดสหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 13.16 จากการ ชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 34.44 จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ในตลาดโลกที่ปรับลดลง
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2566
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการ ทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ในต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และจีน สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ ในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากความต้องการ ยางรถยนต์ในตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturer) เป็นหลัก ในส่วนการผลิตถุงมือยาง คาดว่า จะยังชะลอตัวจากฐานตัวเลขการผลิตเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ ในระดับสูงและความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลง แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูฝนที่มีการแพร่ระบาดของโรค ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยเฉพาะไข้หวัดได้ง่าย
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย มีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทย ในส่วนของการส่งออก ยางรถยนต์ คาดว่าจะกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดรอง อาทิ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และออสเตรเลีย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงจากความต้องการ ถุงมือยางในตลาดโลก และราคาที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน 2566 หดตัวร้อยละ 10.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 28.72 พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 21.50 และกระสอบพลาสติก หดตัว ร้อยละ 15.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2566 หดตัวร้อยละ 8.54 โดยดัชนีการส่งสินค้าหดตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น พลาสติกแผ่น หดตัวร้อยละ 27.95 แผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.14 และกระสอบพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนเมษายนปี 2566 มีมูลค่ารวม 280.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 26.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 42.40 ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 31.71 และผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 31.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนเมษายน 2566 มีมูลค่ารวม 391.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 9.52 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 27.28 ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) หดตัวร้อยละ 24.24 และผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 23.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤษภาคม 2566 คาดการณ์ว่าการผลิตชะลอตัวลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่ผันผวนส่งผลให้การซื้อขายในตลาดเบาบาง ราคาพลาสติกบางชนิด เริ่มทรงตัว การซื้อขายในภูมิภาคยังซบเซา ผู้ซื้อรอดูสถานการณ์และราคาของผู้ผลิต การส่งออกหดตัวตามตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน เป็นต้น
ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า
ปริมาณและมูลค่าการส่งออก--นาเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต--ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า
ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิต เดือนเมษาย 2566 หดตัว ร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ ขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 4.24 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 12.06 เอทานอล หดตัวร้อยละ 8.13 และโซดาไฟ หดตัวร้อยละ 2.61 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 21.78 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ น้ำยา ทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 56.27 ปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 49.30 และแป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 39.71 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2566 หดตัวร้อยละ 2.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 3.27 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กรดเกลือ หดตัวร้อยละ 17.64 โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 8.70 และคลอรีน หดตัวร้อยละ 8.17 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 2.36 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ น้ำยา ทำความสะอาด หดตัวร้อยละ 49.11 แป้งฝุ่น หดตัวร้อยละ 37.96 และน้ำยาล้างจาน หดตัวร้อยละ 13.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนเมษายน 2566 มูลค่าการส่งออกรวม 722.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.11 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 410.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.92 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 311.95
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 42.57 สี หดตัวร้อยละ 20.51 และเคมีเบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 16.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
การนำเข้า ในช่วงเดือนเมษายน 2566 มูลค่า การนำเข้ารวม 1,539.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัว ร้อยละ 22.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,026.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 20.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 512.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 27.40 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤษภาคม 2566 คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวน และความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้การผลิตสินค้าชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ หดตัวจากตลาดหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนเมษายน ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 104.48 หรือหดตัวร้อยละ 4.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 6.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS resin และ PS resin หดตัวร้อยละ 26.46 และ 18.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซ และการชะลอตัวของการผลิตตามความต้องการที่ชะลอตัวลง
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 86.59 หดตัวร้อยละ 10.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 10.81 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 11.92 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE resin หดตัวร้อยละ 16.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
การส่งออก เดือนเมษายน ปี 2566 มีมูลค่า 865.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 27.47 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 12.05 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin เป็นต้น และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ PET เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาด มีลักษณะการเก็งกำไรและรอให้ราคาปรับลดลง ประกอบกับความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง รวมถึงการที่สหรัฐอเมริกาได้มุ่งส่งออกมายังตลาดเอเซียที่เป็นตลาดของไทยทดแทนจากการชะลอตัวของความต้องการจากสหภาพยุโรป
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า เดือนเมษายน ปี 2566 มีมูลค่า 469.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 18.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 16.72 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Styrene และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE PP resin เป็นต้น
คาดการณ์แนวโน้ม เดือนพฤษภาคม ปี 2566 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้พลาสติกที่ลดลง ทั้งจากการชะลอการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับ ผันผวนตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการหยุด การผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้งยูเครน--รัสเซีย ที่ยืดเยื้อ
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2566 มีค่า 74.4 หดตัวร้อยละ 23.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ การชะลอคำสั่งซื้อจากความผันผวนของราคา และการนำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกกว่า เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 69.1 หดตัวร้อยละ 28.6 ผลิตภัณฑ์ ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด หดตัวร้อยละ 51.4 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็ก เส้นกลม ลวดเหล็ก และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 47.0 36.4 19.3 และ 17.5 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 74.3 หดตัวร้อยละ 27.9 ผลิตภัณฑ์ ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 45.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 25.1 23.6 และ 7.8 ตามลำดับ
การบริโภคในประเทศ ในเดือนเมษายน 2566 มีปริมาณการบริโภค 1.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคเหล็ก ทรงยาวมีปริมาณ 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 13.2 จากการบริโภคที่ลดลงของเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ และเหล็กลวด ส่วนการบริโภคเหล็กทรงแบน มีปริมาณ 0.8
ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.5 จากการบริโภคที่ลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อน (Coil/Sheets)
การนำเข้า ในเดือนเมษายน 2566 มีปริมาณ การนำเข้า 0.95 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณการนำเข้าขยายตัวในกลุ่มเหล็กทรงยาว ส่วนเหล็กทรงแบนมีการหดตัวเล็กน้อย โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.26 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 29.8 เหล็กทรงยาวที่มีการขยายตัว เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด Carbon Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ มาเลเซีย จีน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา) เหล็กเส้น ชนิด Alloy Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) เหล็กลวด ชนิด Alloy Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีนและไต้หวัน) ส่วนกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.69 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 0.7 เหล็กทรงแบนที่มีการหดตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) เหล็กแผ่นรีดเย็น ชนิด Carbon Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย) เหล็กแผ่นรีดร้อน (Coil/Sheets) ชนิด Stainless Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) และเหล็กแผ่นหนา รีดร้อน ชนิด Stainless Steel (ตลาดหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2566 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (บิลเล็ต และเศษเหล็ก) ในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอ การสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ประกอบกับคาดว่าจะมีการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ การดำเนินการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็ก รายใหญ่ของโลก?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 1.17 26.02 และ 20.48 (YoY) ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่าผลิตภัณฑ์เส้นใย โพลีเอสเตอร์ ขยายตัวร้อยละ 1.24 เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของเทรนด์รักษ์โลกและแนวโน้มการใส่ใจสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค รวมถึงใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับสิ่งทอเทคนิคที่มีคุณสมบัติพิเศษตามการ ใช้งานและมีมูลค่าสูง เช่น ผ้าทอกันน้ำ กันไฟ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 6.70 และ 34.13 (YoY)
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 11 ขยายตัวร้อยละ 12.05 (YoY) ในกลุ่มเสื้อผ้าทอ และเสื้อผ้าถัก โดยได้รับอานิสงค์จากเทศกาลสงกรานต์ ในเดือนเมษายน 2566 บรรยากาศการหาเสียง และการเตรียมตัวเลือกตั้ง รวมถึงการเตรียมความพร้อม เปิดภาคเรียนของนักเรียนในเดือนพฤษภาคม 2566
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใยหดตัวร้อยละ 10.22 (YoY) ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 19.49
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 2.79 (YoY) ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม เพื่อรองรับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจากอุปสงค์ภายในประเทศ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามรายได้ภาคประชาชนที่ฟื้นตัว ตามสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงช่วยให้การบริโภคเพิ่มขึ้น
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การส่งออก
เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 19.85 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ผ้าผืนหดตัว ร้อยละ 29.63 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 11.49 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกาย ในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้า เครื่องแต่งกายจากประเทศในแถบเอเชียลดลง ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยหดตัวตลอดห่วงโซ่อุปทานประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อ กำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค ทั่วโลก
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2566
คาดว่าภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกระทบต่อภาคการส่งออก อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของไทย
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือน เมษายน ปี 2566 มีจำนวน 6.78 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.30 (%YoY) เนื่องจากในเดือนนี้ มีวันทำงานน้อยกว่าเดือนปกติจากการมีวันหยุดยาว ในเทศกาลสงกรานต์ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.03 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว ร้อยละ 0.03 (%YoY) ตามการกระเตื้องขึ้นของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลดีจากการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้อย่างเต็มรูปแบบ
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2566 มีจำนวน 0.66 ล้านตัน ลดลงเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 37.43 (%YoY) โดยตลาดศรีลังกาไม่มีคำสั่งซื้อ และตลาดส่งออกหลักหลายตลาด ปรับลดคำสั่งซื้อ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา และบังคลาเทศ ร้อยละ 98.50 66.96 54.95 39.49 และ 36.78 ตามลำดับ
คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่า จะทรงตัว จากปัจจัยบวกคือ จำนวนวันทำงานกลับมาปกติ ในขณะที่ปัจจัยลบคือ ตลาดส่งออกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน เมษายน ปี 2566 มีจำนวน 3.49 ล้านตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.85 (%YoY) การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 3.03 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว ร้อยละ 0.03 (%YoY) ตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศ อย่างเต็มรูปแบบให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้
การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2566 มีจำนวน 0.15 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 56.08 (%YoY) จากการไม่มีคำสั่งซื้อในตลาดบังคลาเทศและศรีลังกา และเป็นการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และ เมียนมา ร้อยละ 66.96 55.10 และ 40.02 ตามลำดับ คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะทรงตัว จากปัจจัยบวกคือ จำนวนวันทำงานกลับมาปกติ และการเดินหน้าก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในขณะที่ปัจจัยลบคือ ตลาดส่งออกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะรอดูนโยบายของรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งก่อนการตัดสินใจลงทุนเพิ่ม
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม