สศอ. จับมือจุฬาฯ เดินหน้าศึกษาอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง เจาะลึกอุตสาหกรรมมองศักยภาพเทียบคู่แข่ง หวังใช้ฐานข้อมูลหาช่องทางเร่งการขยายตัว คาดเสร็จสิ้นกันยายน ปี 51
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง โดยเน้นเจาะลึก 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หนังฟอกแต่ง รองเท้าหนังชาย รองเท้ากีฬา กระเป๋าหนังสตรีและเครื่องใช้สำหรับเดินทาง โดยเทียบกับประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐ อินเดีย จีน บราซิล ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ซึ่งล้วนมีศักยภาพและขีดความสามารถที่แตกต่างกัน ตลอดจนทิศทางการขยายตัวที่มีทั้งขยายตัวได้ดี และขยายตัวได้ใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมต่อไป
" อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในระดับหนึ่ง และยังสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นได้อีก จากการวิเคราะห์ภาวะการผลิตรองเท้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีการผลิตเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าการส่งออกลดลงจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนโดยรวมทั้งปี 2550 ก็ยังมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมรองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7, 13.8 และ 19.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งรายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนธันวาคม 2550 มีมูลค่ารวม 1,744 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ด้วยศักยภาพที่ยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องเร่งศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศทั้งด้านการผลิต การตลาด บุคคลากร การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และระบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการหาช่องทางเพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการให้เป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ทุกรูปแบบและทุกสภาพ”
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ในการประเมินศักยภาพอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป เช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬา ซึ่งไทยถือเป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์สินค้าดังหลายยี่ห้อ แต่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต ซึ่งต้องรับคำสั่งจากบริษัทแม่ในต่างชาติเท่านั้น และเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง ทำให้สูญเสียโอกาส ส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้จึงต้องเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อรับทราบสถานการณ์ที่ชัดเจนและหากลยุทธ์ใหม่เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ส่วนกระเป๋าถือหนังสตรี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันสูงเช่นกัน โดยไทยยังมีจุดแข็งด้านผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ในการหาแนวทางการขยายตัวนั้น จึงเปรียบเทียบกับประเทศประเทศจีน ที่มีอัตราการเติบโตของการส่งออกสูง
โครงการศึกษาดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ปี 2551 ซึ่งผลการศึกษาที่ได้เชื่อว่าจะมีความสมบูรณ์มีข้อมูลเชิงลึกรอบด้านและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางการพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเกิดการขยายตัวได้ในอนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ. ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง โดยเน้นเจาะลึก 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หนังฟอกแต่ง รองเท้าหนังชาย รองเท้ากีฬา กระเป๋าหนังสตรีและเครื่องใช้สำหรับเดินทาง โดยเทียบกับประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐ อินเดีย จีน บราซิล ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ซึ่งล้วนมีศักยภาพและขีดความสามารถที่แตกต่างกัน ตลอดจนทิศทางการขยายตัวที่มีทั้งขยายตัวได้ดี และขยายตัวได้ใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมต่อไป
" อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในระดับหนึ่ง และยังสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นได้อีก จากการวิเคราะห์ภาวะการผลิตรองเท้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีการผลิตเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าการส่งออกลดลงจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนโดยรวมทั้งปี 2550 ก็ยังมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมรองเท้าและชิ้นส่วน, เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7, 13.8 และ 19.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งรายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนธันวาคม 2550 มีมูลค่ารวม 1,744 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ด้วยศักยภาพที่ยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องเร่งศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศทั้งด้านการผลิต การตลาด บุคคลากร การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และระบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการหาช่องทางเพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการให้เป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ทุกรูปแบบและทุกสภาพ”
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ในการประเมินศักยภาพอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังของไทยทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป เช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬา ซึ่งไทยถือเป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์สินค้าดังหลายยี่ห้อ แต่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต ซึ่งต้องรับคำสั่งจากบริษัทแม่ในต่างชาติเท่านั้น และเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง ทำให้สูญเสียโอกาส ส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันลดลง ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้จึงต้องเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อรับทราบสถานการณ์ที่ชัดเจนและหากลยุทธ์ใหม่เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ส่วนกระเป๋าถือหนังสตรี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันสูงเช่นกัน โดยไทยยังมีจุดแข็งด้านผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ในการหาแนวทางการขยายตัวนั้น จึงเปรียบเทียบกับประเทศประเทศจีน ที่มีอัตราการเติบโตของการส่งออกสูง
โครงการศึกษาดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ปี 2551 ซึ่งผลการศึกษาที่ได้เชื่อว่าจะมีความสมบูรณ์มีข้อมูลเชิงลึกรอบด้านและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางการพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเกิดการขยายตัวได้ในอนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-