แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อรรชกา สีบุญเรือง
กระทรวงอุตสาหกรรม
การนำเข้า
เคมีภัณฑ์
สศอ. ประสานมือกับ มธ.ศึกษาความเป็นไปได้ พืชตระกูลน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน หนุนอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ หวังกระตุ้นให้เกิดการทดแทนการนำเข้าเคมีภัณฑ์
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดำเนินการศึกษา “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ระยะที่ 2” โดยใช้ระยะเวลา 10 เดือน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ จากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาผลิตผลการเกษตร รวมทั้งสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกร และทดแทนการนำเข้าเคมีภัณฑ์ อันจะเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ยกระดับเทคโนโลยี รวมทั้งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมได้หลากหลายยิ่งขึ้น
“ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ทุกปีโดยในส่วนของเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสามารถผลิตได้เอง โดยเฉพาะสารเคมีที่สกัดหรือสังเคราะห์ได้จากกรดไขมันต่างๆ ที่สามารถผลิตได้จากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง และอื่นๆ โดยที่ผ่านมาพืชกลุ่มดังกล่าว ถูกนำไปแปรรูปเพื่อการบริโภคและใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งในปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชกลุ่มที่ให้น้ำมันเพื่อเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ซึ่งหากมีการปรับแต่งเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย จะเป็นการสร้างทางเลือกด้านการผลิต จากผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคขั้นต้นไปสู่ผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องจากพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาลที่สศอ.ได้ทำการศึกษาไปแล้ว โดยผลการศึกษาจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการผลิตและการตลาดภายในและต่างประเทศของอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากกลุ่มพืชที่ให้น้ำมัน แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในตลาดโลก ตลอดจนปัญหา อุปสรรค รวมทั้งความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมันในประเทศ
ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมในอนาคตของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดำเนินการศึกษา “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ระยะที่ 2” โดยใช้ระยะเวลา 10 เดือน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ จากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาผลิตผลการเกษตร รวมทั้งสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกร และทดแทนการนำเข้าเคมีภัณฑ์ อันจะเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ยกระดับเทคโนโลยี รวมทั้งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมได้หลากหลายยิ่งขึ้น
“ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ทุกปีโดยในส่วนของเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสามารถผลิตได้เอง โดยเฉพาะสารเคมีที่สกัดหรือสังเคราะห์ได้จากกรดไขมันต่างๆ ที่สามารถผลิตได้จากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง และอื่นๆ โดยที่ผ่านมาพืชกลุ่มดังกล่าว ถูกนำไปแปรรูปเพื่อการบริโภคและใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งในปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชกลุ่มที่ให้น้ำมันเพื่อเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ซึ่งหากมีการปรับแต่งเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย จะเป็นการสร้างทางเลือกด้านการผลิต จากผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคขั้นต้นไปสู่ผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆต่อไป”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นโครงการศึกษาต่อเนื่องจากพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาลที่สศอ.ได้ทำการศึกษาไปแล้ว โดยผลการศึกษาจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการผลิตและการตลาดภายในและต่างประเทศของอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากกลุ่มพืชที่ให้น้ำมัน แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในตลาดโลก ตลอดจนปัญหา อุปสรรค รวมทั้งความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมันในประเทศ
ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากพืชกลุ่มที่ให้น้ำมัน ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมในอนาคตของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-