สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ก.พ.ยังขยายตัว เน้นตามติดบางกลุ่มที่ติดลบ หวั่นผลกระทบยาว ชี้กระเป๋าเดินทาง-เฟอร์นิเจอร์-เหล็ก-มอร์เตอร์ไซด์ เจอปัญหากระหน่ำ บริษัทแม่หนี กำลังซื้อหดหาย คู่แข่งไล่บี้ เตือนผู้ประกอบการเร่งปรับตัว
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12.02 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Hard Disk Drive) แต่ยังพบปัญหาในบางอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวที่ติดลบ เช่น การผลิตกระเป๋าเดินทาง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การผลิตโลหะขั้นมูลฐาน การผลิตรถจักรยานยนต์
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตกระเป๋าเดินทาง ดัชนีผลผลิตติดลบถึงร้อยละ 54.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบชัดเจนคือ บริษัทแม่จากต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูง อีกทั้งยอดการจำหน่ายลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเด็นนี้ สศอ.จะได้เร่งหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ในกลุ่มนี้ทั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้และเหล็ก ติดลบร้อยละ 2.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัญหาสำคัญคือ ประเทศผู้นำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งปัญหาซับไพร์ม ทำให้คำสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจำหน่ายในประเทศผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่าย เนื่องจากกังวลในภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งในระยะยาวผู้ประกอบการต้องเร่งหาช่องทางจำหน่ายใหม่ เน้นการขายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งมองหาช่องทางการทำตลาดใหม่ ซึ่งภาครัฐได้เตรียมหารือผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อหาทางออกเรื่องนี้ต่อไป
การผลิตโลหะขั้นมูลฐาน ซึ่งประกอบด้วย เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งกลุ่มติดลบร้อยละ 5.31 ซึ่งประสบปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาด้านการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็เหล็กแผ่นรีดร้อน และรีดเย็นที่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีการขยายตัวตามทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นบวก
ส่วน การผลิตจักรยานยนต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ติดลบร้อยละ 3.75 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อย่างไรก็ตามยังมีสัญญาณฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดในประเทศผู้ประกอบการดำเนินการกระตุ้นยอดขายจากการเปิดตัวรถจักรยานต์รุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่วนส่งออกที่สำคัญ เช่น เวียดนาม ยังคงมีช่องทางการจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจได้ว่าภายในหนึ่งถึงสองเดือนนี้ การขยายตัวน่าจะกลับมาเป็นบวก
ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเป็นบวก ประกอบด้วย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนเครื่องปรับอากาศ มีการเร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัว จึงส่งผลต่อการขยายตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเร่งปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 181.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.02 จาก 162.10 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.74 จาก 163.25 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 178.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83 จาก 156.95 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 218.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.28 จาก 175.72 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 จาก 112.50 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.89 จากระดับ 140.09 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 184.11 ลดลงร้อยละ 0.59 จาก 185.20 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.29
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12.02 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Hard Disk Drive) แต่ยังพบปัญหาในบางอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวที่ติดลบ เช่น การผลิตกระเป๋าเดินทาง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การผลิตโลหะขั้นมูลฐาน การผลิตรถจักรยานยนต์
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตกระเป๋าเดินทาง ดัชนีผลผลิตติดลบถึงร้อยละ 54.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบชัดเจนคือ บริษัทแม่จากต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูง อีกทั้งยอดการจำหน่ายลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเด็นนี้ สศอ.จะได้เร่งหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ในกลุ่มนี้ทั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้และเหล็ก ติดลบร้อยละ 2.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัญหาสำคัญคือ ประเทศผู้นำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งปัญหาซับไพร์ม ทำให้คำสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจำหน่ายในประเทศผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่าย เนื่องจากกังวลในภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งในระยะยาวผู้ประกอบการต้องเร่งหาช่องทางจำหน่ายใหม่ เน้นการขายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งมองหาช่องทางการทำตลาดใหม่ ซึ่งภาครัฐได้เตรียมหารือผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อหาทางออกเรื่องนี้ต่อไป
การผลิตโลหะขั้นมูลฐาน ซึ่งประกอบด้วย เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งกลุ่มติดลบร้อยละ 5.31 ซึ่งประสบปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาด้านการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็เหล็กแผ่นรีดร้อน และรีดเย็นที่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีการขยายตัวตามทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นบวก
ส่วน การผลิตจักรยานยนต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ติดลบร้อยละ 3.75 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อย่างไรก็ตามยังมีสัญญาณฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดในประเทศผู้ประกอบการดำเนินการกระตุ้นยอดขายจากการเปิดตัวรถจักรยานต์รุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่วนส่งออกที่สำคัญ เช่น เวียดนาม ยังคงมีช่องทางการจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมั่นใจได้ว่าภายในหนึ่งถึงสองเดือนนี้ การขยายตัวน่าจะกลับมาเป็นบวก
ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเป็นบวก ประกอบด้วย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนเครื่องปรับอากาศ มีการเร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัว จึงส่งผลต่อการขยายตัวเช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเร่งปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 181.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.02 จาก 162.10 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.74 จาก 163.25 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 178.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83 จาก 156.95 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 218.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.28 จาก 175.72 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 116.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 จาก 112.50 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.89 จากระดับ 140.09 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 184.11 ลดลงร้อยละ 0.59 จาก 185.20 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.29
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-