ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 16, 2024 13:15 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รายงาน

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2565 2566 2566 2567 %YoY Year Year ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.

MPI

1.3

-3.8

-0.6

-2.8

-8.0

-2.8

-4.2

-3.9

-5.9

-5.9

-2.5

-1.5

-4.7

-2.9

-2.8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น อาเซียน (5) CLMV และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนพฤศจิกายน หดตัวร้อยละ 1.5 เดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 4.7 และเดือนมกราคม หดตัวร้อยละ 2.9

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม 2566 และเดือนมกราคม 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 2.8 เดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 4.9 และเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 7.6

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 16.83 จากบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก เครื่องยนต์ดีเซล และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ (-27.24%) กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัว สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ

? ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 18.66 จาก Integrated circuits (IC) และ PCBA ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง

? น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 27.23 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากภาวะภัยแล้งส่งผลให้มีผลปาล์มดิบลดลงจากปีก่อน ซึ่งหดตัวจากตลาดในประเทศ (-16.19%) และตลาดส่งออก (-85.91%)

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.59 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเบนซิน 91 และ แก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก ตามความต้องการบริโภคในภาคขนส่งและเดินทางท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

? ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน ขยายตัวร้อยละ 39.82 จากการกระตุ้นยอดขายของราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดอยู่ในเกณฑ์ดี และราคาสินค้าปรับลดลงตามราคาวัตถุดิบแม่ปุ๋ยที่ต่ำกว่าปีก่อน

? เครื่องประดับเพชรพลอยแท้ ขยายตัวร้อยละ 24.56 ในทุกรายการสินค้า (กำไล ต่างหู สร้อย แหวน และจี้) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งออกไปประเทศคู่ค้าสำคัญมากขึ้น เช่น กาตาร์ เบลเยี่ยม อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา Indicators 2566 2567 %MoM ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค ก.พ.

MPI

0.01

7.4

-20.4

14.4

-2.1

-2.8

2.0

-1.2

-1.6

2.8

-4.9

7.6

0.1

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ

เดือนกุมภาพันธ์ 2567

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2567

?

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 1,524.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.61 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยางหรือพลาสติก เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้และส่วนประกอบ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 8,502.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.95 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวจากการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 156 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 7.59 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.64 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่ารวม 21,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 5.82 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 106.66 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิบซัม หรือผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 27 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทราย หรือดิน จำนวน 25 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 10,374 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ยกเว้นที่ติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า จำนวนเงินทุน 4,475 ล้านบาท?

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

?

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 116 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 27.47 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 41.46 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่ารวม 2,326 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 40.15 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 48.70 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 17 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิบซัม จำนวน 9 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 คือ อุตสาหกรรมการหั่น ผสม รีดให้เป็นแผ่น หรือตัดแผ่นยาง ยางธรรมชาติ มูลค่าเงินลงทุน 504 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการพิมพ์ การทำแฟ้มเก็บเอกสาร การเย็บเล่ม ทำปก หรือตบแต่งสิ่งพิมพ์ มูลค่าเงินลงทุน 258 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนกุมภาพันธ์ 2567

1.

อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตชะลอตัว มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 27.2 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ หดตัวร้อยละ 37.5 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ชะลอตัวร้อยละ 6.8 เนื่องจากปริมาณผลปาล์มที่น้อยลงจากสภาวะภัยแล้งและความต้องการทั้งในและต่างประเทศลดลง จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการบริโภคและเพื่อพลังงานทดแทนลดลง 2) น้ำตาล ชะลอตัวร้อยละ 6.3 จากน้ำตาลทรายดิบ หดตัวร้อยละ 17.2 และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ชะลอตัวร้อยละ 7.0 เนื่องจากภาวการณ์ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ลดน้อยลง รวมถึงความต้องการนำเข้าน้ำตาลทรายที่ลดลง โดยเฉพาะจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ 3) ปศุสัตว์ ชะลอตัวร้อยละ 0.5 จากสินค้าสำคัญ คือ เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง ชะลอตัวร้อยละ 7.1 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว ส่งผลต่อความต้องการบริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ตามยังมีดัชนีผลผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่ขยายตัว ได้แก่ 1) ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากสินค้าสำคัญคือ ผักผลไม้อบแห้ง ขยายตัวร้อยละ 23.6 และน้ำผักน้ำผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 16.4 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 2) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 10.9 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 12.8 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ประสบภัยแล้ง รวมถึงการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังและความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศ (จีน อินโดนีเซีย ไต้หวัน) และ 3) ประมง ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 27.0 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 9.5 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ เบียร์ สุราขาว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำอัดลม และน้ำดื่มบริสุทธิ์ เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งสภาพอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลต่อความต้องการบริโภคเครื่องดื่มเพิ่มมากขึ้น

ตลาดในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 0.9 เช่น 1) น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 24.5 2) น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ 28.0 3) กากน้ำตาล หดตัวร้อยละ 22.0 และ 4) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็นชะลอตัวร้อยละ 4.1

ตลาดต่างประเทศ การส่งออกสินค้าอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ในภาพรวม ชะลอตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้ากลุ่มน้ำตาลทรายและน้ำมันปาล์ม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าว โดยมีตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีตลาดหลัก คือ เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม

?คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมีนาคม 2567 ในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งในส่วนของภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังมีปริมาณน้อยกว่าที่ควรจะเป็น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงอาหาร ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ?

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

?

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 98.6 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากชะลอตัวตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ และกระติกน้ำร้อน ลดลงร้อยละ 42.6, 29.1, 25.1, 18.6, 14.3 และ 9.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.2, 40.9, 21.7, 6.9, 5.0 และ 4.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและสายไฟฟ้าที่ขยายตัวจากความต้องการผลิตและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,406.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 14.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.4 ในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และแคนาดา เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 647.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.3 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 145.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.8 ในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน พัดลม มีมูลค่า 44.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และโปรตุเกส และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 80.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.6 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์ ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 398.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 119.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 230.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์และจีน และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 89.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

?คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2567 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่า จะยังคงชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการชะลอตัวลงตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก?

?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 62.5 ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices Transistors, IC, PCBA และ HDD โดยลดลงร้อยละ 31.2, 20.8, 19.8 และ 19.4 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer และ PWBโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และ 4.0 ตามลำดับ โดย Printer ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์มีความหลากหลายของฟังก์ชั่นการใช้งานส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศในกลุ่มผู้ประกอบการ SME สำหรับ PWB ขยายตัวตามความต้องการใช้งานชิ้นส่วนและส่วนประกอบในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,679.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 626.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 จากสินค้าคงคลัง ในตลาดสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 404.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และญี่ปุ่น ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 653.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.2 ในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 103.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.8 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม

?คาดการณ์การผลิตเดือนมีนาคม 2567 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความต้องการของตลาดโลกดิจิทัล?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

?

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 133,690 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.28 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน ทั้งนี้ การผลิตลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 5.92 (%MoM)

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 52,843 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.15 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลต่ออุปสงค์ในประเทศ รวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนมีการชะลอการซื้อเพื่อรอโปรโมชั่นพิเศษในงาน Motor show ซึ่งจัดในช่วงวันที่ 25 มีนาคม ถึง 7 เมษายน 2567 ทั้งนี้ การจำหน่ายลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 3.60 (%MoM)

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 88,720 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.22 (%YoY) จากการเริ่มฟื้นตัวของตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 2.31 (%MoM)

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?

?

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 175,770 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.64 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์และสปอร์ต ทั้งนี้ การผลิตลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 1.15 (%MoM)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มียอดจำหน่ายจำนวน 143,663 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.78 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี และ 126-250 ซีซี ทั้งนี้ การจำหน่ายลดลงจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 6.71 (%MoM)

การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 44,646 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.52 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ปี 2567 ร้อยละ 23.72 (%MoM)

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 3.60 จากการชะลอตัวของการผลิตทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.52 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.37 จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.70 จากความต้องการยางแท่ง และน้ำยางข้น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มสูงขึ้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 จากความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลัก

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.31 จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.96 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางแท่งไปตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.34 จากการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.60 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2567

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่า จะกลับมามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะขยายตัว จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ ความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะยังขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลัก ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะขยายตัว จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2566

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีแนวโน้มสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยางแท่ง ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกและฐานตัวเลขการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับต่ำ

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือ จากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 5.16 พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 4.87 กระสอบพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.18 โดยผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น กระสอบพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 47.85 ถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 20.41 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่ารวม362.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 5.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 187.70 ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 152.81 และผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติดในตัว (HS 3919) ขยายตัวร้อยละ 46.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่ารวม 413.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 14.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 93.44 ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 92.12 ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 77.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

?แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมีนาคม 2567 คาดการณ์ว่า สถานการณ์การผลิตเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน?

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า

ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นาเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.51 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน ขยายตัวร้อยละ 43.51 โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 12.42 และคลอรีน ขยายตัวร้อยละ 11.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 7.29 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 39.82 น้ำยาทำความสะอาด ขยายตัวร้อยละ 27.52 และแป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 14.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 หดตัวร้อยละ 7.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานหดตัวร้อยละ 7.52 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เมทิลเอสเตอร์ (ไบโอดีเซล) หดตัวร้อยละ 17.28 คลอรีน หดตัวร้อยละ 17.14 และกรดเกลือ หดตัวร้อยละ 8.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 2.98 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 33.28 สีน้ำพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 9.18 สบู่และเครื่องบำรุงผิว ขยายตัวร้อยละ 6.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกเคมีภัณฑ์ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มูลค่าส่งออกรวม 762.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกของกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 383.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.89 ในส่วนของเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 379.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.17 เมื่อ

เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีเบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 20.81 สารลดแรงตึงผิว หดตัวร้อยละ 6.85 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 6.84 เป็นต้น

การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,169.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 18.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 659.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 32.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 509.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น เคมีเบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 17.00 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 13.67 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 13.26 เป็นต้น

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมีนาคม 2567 คาดการณ์ว่าการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เคมีบางชนิดขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกลดลงเนื่องจากการชะลอตัวของตลาดหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม?

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 77.39 หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 3.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin และ PE resin หดตัวร้อยละ 9.92 และ 7.21 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Propylene หดตัวร้อยละ 32.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานเมื่อปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตภาพรวมปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.38 ส่วนการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 75.05 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene หดตัวร้อยละ 21.36 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 1.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.53

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่า 769.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 7.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin ร้อยละ 7.70 เป็นต้น และปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene ร้อยละ 32.63 เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดต่างประเทศมีความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง และ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน การส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.01

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

การนำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่า 487.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene ร้อยละ 66.61 เป็นต้น และปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PET resin ร้อยละ 25.20 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำกลับมาใช้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนการนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 1.83

?แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมีนาคม ปี 2567 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลับมาผลิตได้หลังจากซ่อมบำรุงในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปี แต่ความต้องการใช้พลาสติกที่ลดลงจากการชะลอตัวของการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ปรับผันผวนตามราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลกระทบจากการชะลอการผลิตในหลายประเทศ จากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ยังทำให้การผลิตยังคงชะลอตัว?

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีค่า 82.8 หดตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยการผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 5.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด การผลิตเหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 11.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และการผลิตท่อเหล็กกล้าหดตัวร้อยละ 23.4

การบริโภคในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การบริโภคหดตัวในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง และเหล็กลวด ขณะที่เหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม

การนำเข้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณการนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10.7 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน) และเหล็กแผ่นรีดเย็นประเภท Stainless Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน) ขณะที่เหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 26.0 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น) เหล็กเส้นประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ประกอบกับคาดว่าจะมีการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการผลิตและบริโภคเหล็กของไทย?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยขยายตัวร้อยละ 27.03 (YoY) ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ และกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยเรยอน จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์

ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 12.35 (YoY) ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 11.39 (YoY) ในกลุ่มเสื้อผ้าทอและเสื้อผ้าถัก ในขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต โดยขยายตัวร้อยละ 4.50 1.98 และ 8.81 ตามลำดับ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยขยายตัวร้อยละ 11.84 (YoY) ในกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้ายฝ้าย และเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์

ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 15.21 (YoY) เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 16.47 (YoY) เป็นผลจากการปรับลดกำลังการผลิต ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนมากขึ้น

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใย หดตัวร้อยละ 8.99 (YoY) และผ้าผืนหดตัวร้อยละ 18.46 (YoY) จากคำสั่งซื้อผ้าผืนและเสื้อผ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง จึงลดปริมาณนำเข้าวัตถุดิบต้นน้ำและกลางน้ำ ประกอบกับมีการใช้เส้นด้ายและเส้นใยสิ่งทอในประเทศทดแทนเพิ่มขึ้น

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 26.22 (YoY) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน ตามพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยลดการซื้อของฟุ่มเฟือย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยขยายตัวร้อยละ 8.55 (YoY) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ในส่วนผ้าผืน หดตัวร้อยละ 4.90 (YoY)

สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน โดยขยายตัวร้อยละ 8.57 (YoY) จากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวตลอดทั้งห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยขยายตัวร้อยละ 1.66 8.15 และ 11.14 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้น

?แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมีนาคม 2567 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม อาจจะประสบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลง รวมถึงการนำเข้าสินค้าราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ กดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าในไทย?

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2567

10.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รวม

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 6.44 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.35 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการและคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกกับประเทศคู่ค้าสำคัญ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.95 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวร้อยละ 6.74 (%YoY) ตามความต้องการที่ลดลงของปูนซีเมนต์เป็นหลัก เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในส่วนโครงการก่อสร้างภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 0.63 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 21.05 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากคำสั่งซื้อปูนเม็ดที่ลดลงในตลาดส่งออกหลักหลายประเทศ เช่น กัมพูชา เวียดนาม และบังคลาเทศ

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนมีนาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากการเร่งก่อสร้างโครงการของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นตลาดของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม?

?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 3.41 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.60 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการลดลงของตลาดภายในประเทศ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.95 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.41 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีจำนวน 0.18 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 13.89 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปประเทศ สปป.ลาว ที่ลดคำสั่งซื้อลงอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและสาธารณูปโภคพื้นฐานชะลอตัว ?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมีนาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการเร่งก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม เพื่อกระตุ้นยอดคำสั่งซื้อและการส่งเสริมในมาตรการต่าง ๆ จากรัฐบาล?

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ