สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรก ปี 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 4, 2024 13:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : N/A = ไม่ปรากฏข้อมูล

ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2567

ประมาณการ ปี 2567 : GDP ประเทศไทย โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.

จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th

สอบถามข้อมูล : นางสาวอัมพร สุวรรณรัตน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680611 ดาวน์โหลดข้อมูล

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปัจจัยสนับสนุน

ปัจจัยก ดดัน

ปี 2567 MPI และ GDP อุตสาหกรรม ประมาณการว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 - 3.0 (YOY)

โดยเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ส่งผลให้การผลิตรองรับอุปสงค์ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2567 หดตัวร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน (YOY) ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 60.45 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้า ผลจาก

หนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ลดทอนกำลังซื้อผู้บริโภค อีกทั้งภาคธุรกิจขนาดเล็กเผชิญภาวะการเงินตึงตัวจากดอกเบี้ยสูง

ส่งผลให้การผลิตรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ ประกอบกับความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์หลายภูมิภาค ทำให้

อุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมในตลาดโลกซบเซา อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวและบริการขยายตัวดี เป็นอานิสงส์ให้การผลิต

สินค้าที่เกี่ยวข้องยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ไตรมาสแรก ปี 2567

อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)

การกลั่นปิโตรเคมี +2.11 %

การเติบโตของภาคท่องเที่ยวที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อน

เกิดโควิด ทำให้การใช้น้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้น

ปุ๋ยเคมี +40.96 %

การผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีบางบริษัทหยุดการผลิต

เพราะมีสต๊อกสินค้าสูง รวมทั้งปีนี้แม่ปุ๋ยมีราคาลดลง

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ +8.15 %

สภาพอากาศร้อนจัดทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น และ

ผู้ผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด

อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)

ยานยนต์ -16.75 %

จากรถปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก โดยกำลังซื้อผู้บริโภค

อ่อนแรง ผู้บริโภคบางส่วนหันไปซื้อรถยนต์มือสองแทน

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -17.18 %

ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

กระทบต่อการตัดสินใจลงทุนและการบริโภค

น้ำมันปาล์ม -20.62 %

สภาพอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน ทำให้ปริมาณ

ผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลง

อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2567

ดอกเบี้ยสูงยาวนาน กดดันการลงทุนและการบริโภค

ราคาน้ำมันผันผวน กระทบต้นทุนการผลิต

ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง

ภาคการลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวกว่าปีก่อน

โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ