รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 11, 2024 13:21 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รายงาน

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2

สารบัญ หน้า

บทสรุปผู้บริหาร 3

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2567 5

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2567

และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567 14 2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15 2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16 2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17 2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18

2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19 2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20 2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21 2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22 2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23 2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24 2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25 2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26 2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27 2.14 อุตสาหกรรมยา 28 2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29 2.16 อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า 30 2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31 2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32

3

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2567

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีค่าอยู่ที่ 100.93 ลดลงร้อยละ 3.58 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นการปรับตัวลดลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน ตามการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตเพื่อส่งออกยังคงชะลอตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งมีการปรับตัวลดลงในสินค้าที่มีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรม หลังจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง และรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นน้อย สวนทางกับภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อาทิ ยานยนต์ จากสินค้ารถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เป็นหลัก จากกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัวลง หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกระทบต่อการออกรถยนต์ใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนหันไปซื้อรถยนต์มือสองที่มีราคาถูกกว่า ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัว และ น้ำมันปาล์ม จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม จากการเติบโตของภาคท่องเที่ยวที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ทิศทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางมีมากขึ้น ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน เป็นการผลิตเพื่อรองรับการเพาะปลูกในช่วงถัดไป ประกอบกับสามารถนำเข้าแม่ปุ๋ยได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงเดียวกันของปีก่อนเกิดปัญหาขาดแคลนแม่ปุ๋ยและ มีราคาแพง และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่ และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากสินค้าเกือบทุกรายการ ยกเว้นเครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูป จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2567

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์การผลิตจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็ก ในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อ ความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

?

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการหดตัวประมาณร้อยละ 1.57 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก อาจจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและอาจทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.96 เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ Smart Electronics รวมทั้ง แนวโน้มการขยายตัวของ Smart City

?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 9.06 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 7.57 จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การผลิตชิปขั้นสูง และการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน รวมทั้ง การส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ

?

รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 425,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60

4

?

รถจักรยานยนต์ จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 525,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และ การผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

?

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า เยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวตามการบริโภคในประเทศ และจะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไปยังจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ จะชะลอตัวต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดนำเข้า เช่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา

?

ไม้และเครื่องเรือน คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ จะขยายตัว จากแนวโน้มความต้องการเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ความต้องการ ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ขยายตัวโดยเฉพาะความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้

?

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัว ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจาก ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

?

อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกไปยังประเทศ คู่สำคัญ และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั้งในและต่างประเทศเพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้า รวมทั้งผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและต้นทุนพลังงานที่อยู่ในระดับสูง

?

อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ ในส่วนของภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว จากความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้า เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย

5

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2567

6

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

GDP

ขยายตัวร้อยละ 1.5 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดย

ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่ง

ขยายตัวร้อยละ 1.7 และขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) ขยายตัวร้อยละ 2.6

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

ในไตรมาส 1 ของปี 2567 การผลิตภาคเกษตรหดตัว

ร้อยละ 3.5 การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ

3.0 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.6 การใช้จ่ายอุปโภค

และบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.9 การลงทุน

รวมหดตัวร้อยละ 4.2 การส่งออกสินค้าและบริการ

ขยายตัวร้อยละ 2.5

GDP ภาคอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 3.0 (%YoY)

GDP ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

หดตัวร้อยละ 3.0 หดตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่

หดตัวร้อยละ 2.4 และหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) หดตัวร้อยละ 2.6

ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5

การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 3.0

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 6.9

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.2

การส่งออกสินค้าและบริการ

ขยายตัวร้อยละ 2.5

ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.6

ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส

ที่ 1 ของปี 2567 หดตัวร้อยละ 3.0 โดยหดตัว

ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 เป็นการลดลงของกลุ่ม

การผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ เช่น การผลิต

ยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจร

อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

ต่อพ่วง เป็นต้น

7

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 3.7 (%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวร้อยละ 5.0 (%YoY)

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.85 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (94.42) ร้อยละ 6.8 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (104.67) ร้อยละ 3.7

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ ระดับ 98.80 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.08) ร้อยละ 1.8 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (103.98) ร้อยละ 5.0

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตน้ำตาล และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ การผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

8

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

หดตัวร้อยละ 2.6 (%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ร้อยละ 60.45

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 105.02 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.59) ร้อยละ 5.5 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (107.78) ร้อยละ 2.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล สตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุ ขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การแปรรูปและการ ถนอมผลไม้และผัก และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 60.45 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 57.38) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (ร้อยละ 64.19)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตสตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง การผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ในทางการแพทย์และทางทันตกรรม เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

9

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 91.0

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 91.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา (89.37) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (95.97) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 99.73 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (103.53)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 มาจาก ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศจากค่าครองชีพและ หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำและการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคาร แห่งประเทศไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนดำเนินกิจการและภาระหนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกด้านการส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นแต่ยังคงมี ความไม่แน่นอนของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ อีกทั้งมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากมาตรการฟรีวีซ่า (Free Visa) ให้กับนักท่องเที่ยวจีน อินเดียและไต้หวัน เป็นต้น และมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2567

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10

การค้าต่างประเทศของไทย

?การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.81 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า? เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจหลักเริ่มฟื้นตัว และปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ทำให้ปริมาณการค้าโลกปรับตัวดีขึ้น และส่งผลให้การผลิตและการส่งออก ของหลายประเทศมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศสำคัญ ๆ ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายนโยบายการเงิน รวมทั้งไทยยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบ ต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย และการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลกระทบ ของการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวช้า

การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 146,465.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 70,995.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และมูลค่าการนำเข้า 75,470.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ดุลการค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขาดดุล 4,475.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 70,995.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 6,290.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.75 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,588.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.01 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 56,645.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.26 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,469.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.35 (YOY)

11

ตลาดส่งออกสินค้า

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยัง ตลาดคู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 52.50 และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 47.50 ของการส่งออกทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

?

ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่น ร้อยละ 16.10, 15.60, 7.30, 7.00 และ 6.50 ตามลำดับ

?

ไทยมีมูลค่าการส่งออก 70,995.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดย ญี่ปุ่น หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 11.86 รองลงมา คือ อาเซียน (9) หดตัวร้อยละ 5.21 ส่วนประเทศที่การส่งออก ขยายตัว คือ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 8.78 จีน ขยายตัว ร้อยละ 1.48 และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 0.93

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 75,470.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 13,055.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.25 (YOY) สินค้าทุนมีมูลค่า การนำเข้า 19,243.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.50 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมี มูลค่าการนำเข้า 30,085.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.69 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่า การนำเข้า 8,779.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.10 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมี

12

มูลค่าการนำเข้า 3,154.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 17.77 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธยุทธปัจจัย และสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 1,151.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.55 (YOY)

ตลาดนำเข้าสินค้า

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ)และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 62.50 และการนำเข้าจากตลาด อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 37.50 ของการนำเข้าทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

?

ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 24.10, 16.60, 9.40, 6.30 และ 6.10 ตามลำดับ

?

ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 75,470.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดย จีน การนำเข้าขยายตัว ร้อยละ 4.24 ส่วนประเทศที่การนำเข้า หดตัว ได้แก่ ญี่ปุ่น หดตัวสูงสุด ร้อยละ 16.36 อาเซียน หดตัวร้อยละ 5.42 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 2.04 และสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 1.31

13

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป จากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจจีนขยายตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออก แม้อุปสงค์ภายในประเทศยังชะลอตัวท่ามกลางปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในเศรษฐกิจหลักที่อาจเป็นข้อจำกัดต่อ การดำเนินนโยบายการเงิน และการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

Quarterly Growth (%YoY)

GDP

Inflation

MPI

Export

Unemp. Rate

Policy Rate สหรัฐฯ ? 3.0 ? 3.3 ? -0.3 ? -1.2 4.1 5.25-5.50

จีน

? 5.3

? 0.4

? 4.5

? 1.5

5.2

3.45 ญี่ปุ่น ? -0.2 ? 2.8 ? -3.9 ? -3.0 2.5 0.10

มาเลเซีย

? 4.2

? 1.7

? 3.3

? -5.0

3.3

3.0 เวียดนาม ? 5.7 ? 3.8 ? 5.2 ? 16.8 2.2 3.0

ไทย

? 1.5

? -0.8

? -3.6

? -1.0

N.A.

2.5

ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://tradingeconomics.com

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ความยืดเยื้อของการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน (2) การขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตของ กลุ่มโอเปคพลัส และ (3) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี แนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2567 ยังมีความผันผวนและไม่แน่นอน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดว่า ความต้องการน้ำมันจะสูงกว่าการผลิตในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่อง มาจนถึงปี 2567 เป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันในปี 2567 อยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากปัจจัยทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความเสี่ยงต่อภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Ni?o) สงครามรัสเซีย-ยูเครนและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดย สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก นอกจากนี้ การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงในหลายประเทศในช่วงปี 2566-2567 จะกระทบต้นทุนและภาระหนี้ของภาครัฐและเอกชน ยังส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงจากปี 2566

14

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 1/2567

และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567

15

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 86.5 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 2.8 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 17.8 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด รีดร้อน หดตัวร้อยละ 9.4 และ 5.9 ตามลำดับ การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 3.9 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 15.4 และ 1.4 ตามลำดับ และการผลิต ท่อเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 17.4

การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณ 4.0 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคหดตัวทั้ง ในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดย การบริโภคเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 13.7 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง และเหล็กลวด การบริโภคเหล็ก ทรงแบนหดตัวร้อยละ 12.2 จากการบริโภคเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ

การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณ 2.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.8 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 3.5 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 44.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ และเหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 17.5 และ 17.3 ตามลำดับ เหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 12.9 ผลิตภัณฑ์ที่ การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 34.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Stainless Steel และเหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 33.3 และ 20.5 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดการณ์การผลิตจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และ อาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 จากการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น เหล็กเส้นกลม และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี การบริโภคในประเทศ หดตัวจากการบริโภคเหล็ก เช่น เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง เหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

16

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2567 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 100.7 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 29.8 (%QoQ) และลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.3 (%YoY) โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ลคอมเพรสเซอร์ เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 37.5, 29.1, 25.3, 25.1, 16.1, และ 15.4 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการตลาดโลกลดลงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7, 47.3, 15.3, 8.3, 7.2 และ 5.1 ตามลำดับ เนื่องจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2567 สินค้าที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น ลดลงร้อยละ 42.1, 39.6, 25.0, 10.3 และ 9.9 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.7, 17.1 และ 17.0 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 4,474.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 19.4 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.1 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า เครื่องซักผ้า และแผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 25.0, 17.9, 11.5, 8.5, และ 3.5 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2567 มีมูลค่า การส่งออก 7,383.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.0 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9 (%YoY) โดยส่งออกลดลง ในตลาดสหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 11.1, 4.9, 2.2 และ 1.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าที่ปรับตัวลดลงได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ และพัดลม ลดลงร้อยละ 27.9, 15.8 และ 0.9 ตามลำดับ จากการชะลอตัวลงตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการหดตัวประมาณร้อยละ 1.57 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก อาจจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและอาจทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.96 เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ Smart Electronics รวมทั้ง แนวโน้มการขยายตัวของ Smart City 108.8

93.0 85.4

102.1 97.2

77.7 77.6

100.7

0

20

40

60

80

100

120

140

Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566 Q3-2566 Q4-2566 Q1-2567

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต

1,668.2 1,496.9

930.4

823.6

1,953.7

1,462.0

1,329.9

973.8

1,175.9 1,311.2

2,299.5

2,924.3

2,146.2

2,548.6

3,924.7

388.4 380.8 366.5

328.2 454.7

5.7 3.8 1.7 1.8 3.3

422.6

449.6

384.9 331.3 380.6

225.4 115.5 132.3 95.4 136.1

669.9

454.9 553.9 554.8 502.2

-100.0

400.0

900.0

1,400.0

1,900.0

2,400.0

2,900.0

3,400.0

3,900.0

4,400.0

Q1-66 Q2-66 Q3-66 Q4-66 Q1-67

ปริมาณการจาหน่ายในประเทศ (พันเครื่อง)

เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องซักผ้า

เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น กระติกน้าร้อน หม้อหุงข้าว

4,471.7 4,465.9 4,518.9 4,644.4 4,868.9

4,408.3 4,432.1

5,550.3

4,474.9

7,582.3 7,211.4

7,709.7

6,915.3

8,194.4 7,710.9

7,069.7

6,477.7

7,383.8

0

2,000

4,000

6,000

8,000

Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566 Q3-2566 Q4-2566 Q1-2567

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนาเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ความต้องการตลาดโลกลดลงประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล คอมเพรสเซอร์ เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า และมีการส่งออกลดลงในตลาดสหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน

17

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 62.4 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.7 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.1 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistor, HDD, วงจรรวม (IC), วงจรพิมพ์ (PCBA) และแผงวงจร (PWB) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 31.3, 26.7, 23.3, 9.7 และ 5.1 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์มี ความหลากหลายของฟังก์ชั่นการใช้งานส่งผลต่อความต้องการของผู้ประกอบการ SME และผู้บริโภคในประเทศ

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่าการนำเข้า 15,572.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 23.2 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนา วงจรรวม วงจรพิมพ์ และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนาและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5, 29.9, 6.8 และ 5.6 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่าการส่งออก 11,549.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก ไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.8 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกเพิ่มขึ้น ในตลาดจีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5, 11.1 และ 10.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรรวมวงจรพิมพ์ และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9, 9.4 และ 2.1 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ฟื้นตัวตามตลาดโลก ประกอบกับความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 9.06 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่มูลค่า การส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 7.57 จากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การผลิตชิปขั้นสูง และการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน รวมทั้ง การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม ต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ

85.4 87.6

79.3 75.3 73.4 66.9 64.2 62.4

0

20

40

60

80

100

120

140

Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566 Q3-2566 Q4-2566 Q1-2567

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต

11,754.0 11,552.9

11,923.4

10,732.2

11,347.3

10,809.1

11,421.2

12,644.6

15,572.7

11,017.6 10,796.7

11,684.4

11,358.1 10,776.7

10,876.1

12,027.3

12,004.4 11,549.4

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

16,000

Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566 Q3-2566 Q4-2566 Q1-2567

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนาเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกโดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistor, HDD, วงจรรวม (IC), วงจรพิมพ์ (PCBA) และแผงวงจร (PWB) และมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ในตลาดจีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

18

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 425,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60

?

การผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 414,123 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 9.12 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.44 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 37 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 60 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 3

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 163,756 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 13.31 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.56 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 40 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 55 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 270,525 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 8.50 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.16 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 29 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 57 และรถ PPV ร้อยละ 14

? มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 2,484.30 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 1.36 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 1 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 1,870.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 9.69 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.30 (%YoY) โดยตลาดนำเข้า ที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา 507,787

413,725

464,459 455,692

414,123

217,073

189,058 180,739 188,910 163,756

273,692 255,124 293,083 295,640 270,525

1Q 2566 2Q 2566 3Q 2566 4Q 2566 Q1 2567

การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต การจาหน่าย การส่งออก

2,460.16 2,414.71

2,665.46

2,518.40 2,484.30

2,133.15 2,032.32 2,126.26 2,071.50 1,870.80

1Q 2566 2Q 2566 3Q 2566 4Q 2566 1Q 2567

มูลค่าการส่งออกและนาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย เป็นการลดลงของตลาดในประเทศ เนื่องจากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของตลาดส่งออกขยายตัวในรถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์ PPV

19

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 525,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 533,398 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 10.51 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.26 (%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 447,604 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 9.05 (%QoQ) แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 11.64 (%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 253,728 คัน (เป็นการส่งออก CBU 127,343 คัน และ CKD 126,385 ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 14.88 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.19 (%YoY)

?

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 236.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 17.98 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.60 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา ญี่ปุ่นและบราซิล

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 215.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ร้อยละ 3.20 (%QoQ) แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.64 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น

686,087

546,926

493,494 482,687

533,398

506,566 487,415 452,357 410,476

447,604

241,199

186,435 190,482 220,857 253,728

1Q 2566 2Q 2566 3Q 2566 4Q 2566 1Q 2567

การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต การจาหน่าย การส่งออก

213.57 191.36 195.13 200.20

236.20

294.18

241.90

206.26 209.10

215.80

1Q 2566 2Q 2566 3Q 2566 4Q 2566 1Q 2567

มูลค่าการส่งออกและนาเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกมีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มมีการฟื้นตัว

20

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

การตลาดและการจำหน่าย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว เช่น ปุ๋ย น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาล้างจาน เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว ร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น สีน้ำพลาสติก ปุ๋ย เมทิลเอสเตอร์ (ไบโอดีเซล) และคลอรีน เป็นต้น

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 2,329.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเครื่องสำอาง

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 4,575.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 4.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เคมีภัณฑ์อนินทรีย์

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่าการผลิตเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัวจากความต้องการ ใช้ของผู้บริโภคภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การส่งออกคาดว่าขยายตัวจากประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม จากคำสั่งซื้อที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าแล้ว

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการสินค้าปลายทางเพิ่มมากขึ้น การส่งออกขยายตัวจากคู่ค้าสำคัญ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน เป็นต้น

มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า

21

อุตสาหกรรมพลาสติก

?

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัว ร้อยละ 4.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 9.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่ขยายตัวมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัว ร้อยละ 3.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้า ที่ขยายตัวมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 1,083.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว ร้อยละ 5.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัวสูงสุด คือ เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922)

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 1,286.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว ร้อยละ 2.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าขยายตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวต่อเนื่อง การผลิตและการส่งสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ความต้องการใช้สินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น

22

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา : กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง หมายเหตุ * คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 81.38 ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.09 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Propylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP และ PE resin ส่วนหนึ่งมาจากการกลับมาผลิตหลังหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิต ปิโตรเคมีขั้นต้น และการชะลอการผลิตจากการระบายสินค้าคงคลัง

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 78.00 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.39 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PE resin

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 2,394.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.25 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลง ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin และลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene, Toluene เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 1,572.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.59 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น , จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลง ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Ethylene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายลดลง เช่น PE resin และ PET resin เป็นต้น ส่วนหนึ่งจากการเพิ่มการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศหลังมีการอนุมัติให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล สัมผัสอาหารได้

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2567

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่า ในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวตามจากสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกที่ผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งในหลายภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หลายประเทศ ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศตัวเลขของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ และการเติบโตในระดับต่ำของประเทศของจีน จะส่งผลต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2567 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มทรงตัว โดยทั้งการผลิต การส่งสินค้า และการส่งออก จะปรับชะลอตัวลง จากการชะลอคำสั่งซื้อจากระดับราคาที่มีการชะลอตัวตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 3.09 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และดัชนีการส่งสินค้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.39 (%YoY) การนำเข้าและการส่งออกปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.59 และ 8.25 (%YoY) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลง

23

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์

กระดาษในภาพรวมเมื่อเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้น (+6.45%)

ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษ

คราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษพิมพ์เขียน ขยายตัวได้ (+5.04%)

(+20.40%) (+17.00%) (+7.00%) และ (+2.22%) ตามลำดับ โดย

ขยายตัวต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งมีคำสั่งซื้อหลักจากจีน

และประเทศในอาเซียน ในขณะที่กล่องกระดาษหดตัวร้อยละ (-2.50%)

จากคำสั่งซื้อที่ลดลงในอาเซียน

การส่งออก การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษใน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 692.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

(+6.98%) เมื่อเทียบ (%YoY) เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยื่อกระดาษ

(+15.59%) กว่าร้อยละ 99.0 ส่งออกไปจีน สำหรับกลุ่มกระดาษและ

ผลิตภัณฑ์กระดาษ ขยายตัวร้อยละ (+3.73%) มีตลาดส่งออกหลัก

ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย ในขณะที่กลุ่มหนังสือและ

สิ่งพิมพ์ ส่งออกลดลง เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ร้อยละ(-8.05%)

มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เมียนมา และสหรัฐอเมริกา

การนำเข้า การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษใน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 849.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

เล็กน้อยเมื่อเทียบ (%YOY) ร้อยละ (+1.57%) จากกลุ่มเยื่อกระดาษ

และเศษกระดาษ ส่วนใหญ่ที่นำเข้าเป็นกระดาษใช้แล้วเพื่อนำมา

รีไซเคิลใหม่ ในขณะที่กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและ

สิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลงต่อเนื่อง กำลังซื้อในประเทศลดลงจาก

ภาวะเศรษฐกิจและต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่กระดาษ

อนามัย บรรจุภัณฑ์กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ มีการนำเข้า

เพิ่มขึ้น

`

แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567

แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่า เยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวตาม

การบริโภคในประเทศ และจะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไปยังจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ขยายตัว

ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ จะชะลอตัวต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดนำเข้า เช่น ฮ่องกง และ

สหรัฐอเมริกา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

สินค้าควบคุมมาตรฐานที่จะบังคับใช้ภายในปี 2567 โดย สมอ. สำหรับกระดาษสัมผัสอาหารที่ปรุงอาหารด้วยความร้อน

ครอบคลุมถึงกระดาษที่ใช้ในการทำอาหารที่ต้องผ่านความร้อน เช่น กระดาษที่ใช้กับหม้ออบลมร้อน ถุงชา กระดาษกรองกาแฟ กระดาษ

รองเบเกอรี่ในเตาอบ เป็นต้น โดยกำหนดให้กระดาษต้องทำจากเยื่อบริสุทธิ์หรือเยื่อบริสุทธิ์ผสมเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ใส่สีในเนื้อกระดาษ

ใช้เพื่อกรองของเหลวร้อน อุ่นอาหาร หรือปรุงอาหาร ที่อุณหภูมิไม่เกิน 220 องศาเซลเซียส โดยในมาตรฐานมีข้อกำหนดในการควบคุม

การปนเปื้อนของสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม ปรอท ฯลฯ เมื่อกระดาษโดนความร้อนต้อง

มีการปนเปื้อนไม่เกินเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด และต้องไม่มีสารฟอกนวลและสารต้านจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

40

50

60

70

80

90

100

110

120

Q1-66 Q2-66 Q3-66 Q4-66 Q1-67

836.83

859.14

798.73 782.98

840.67

647.70

622.13

653.05

696.32 707.71

200

300

400

500

600

700

800

900

1000

Q1-66 Q2-66 Q3-66 Q4-66 Q1-67

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม เมื่อเทียบ (%QoQ) ชะลอตัว

เล็กน้อย (-0.23%) และเมื่อเทียบ (%YoY) ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น (+2.83%) สำหรับภาพรวมในการส่งออกเมื่อเทียบ (%QoQ) และ (%YoY)

มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น (+6.63%) และ (+15.26%) ตามลำดับ ในส่วนภาพรวมการนำเข้าเมื่อเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) มีมูลค่า

การนำเข้าลดลง (-1.97%) และ (-1.91%) ตามลำดับ และคาดว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 จะปรับตัวเป็นบวกได้ ตามการใช้จ่ายในประเทศ และ

ภาคส่วนต่าง ๆ จะได้รับการกระตุ้นตลาดช่วงต้นปี

24

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด

กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง

มีปริมาณการผลิต 28.83 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 8.52

(%YoY) จากการชะลอตัวของตลาดภายในประเทศที่ได้รับ

ผลกระทบจากค่าครองชีพและคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดส่งออก

สำคัญ ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.41 ล้านชิ้น หดตัว

ร้อยละ 6.50 (%YoY) ลดลงทั้งตลาดในประเทศและประเทศส่งออก

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง

มีปริมาณการจำหน่าย 37.27 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 6.37

(%YoY) จากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับ

ผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น การปรับขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะ

ค่าวัสดุและค่าแรงการก่อสร้าง ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ

การจำหน่าย 0.78 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 13.82 (%YoY) จาก

ความต้องการในกลุ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม

การส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้น

บุผนัง มีมูลค่าการส่งออก 23.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 11.79 (%YoY) และเครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 43.29

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 9.60 (%YoY) จาก

คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน

ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวได้

จากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล โดยการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่

1 พฤษภาคม 2567 เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบางตามนโยบายรัฐบาล ให้มีเงิน

เหลือเพียงพอในการดำรงชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวทั้งกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์

โดยตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม

อย่างใกล้ชิด คือ ราคาพลังงาน วัตถุดิบ อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นที่อาจจะส่งผลต่อการผลิตและ

การจำหน่ายภายในประเทศ

31.52 31.88

30.73

27.13

28.83

39.80

38.19 37.20

34.34

37.27

26.40

26.13

26.74

23.77

23.29

21.00

22.00

23.00

24.00

25.00

26.00

27.00

28.00

0.00

5.00

10.00

15.00

20.00

25.00

30.00

35.00

40.00

45.00

Q1Y66 Q2Y66 Q3Y66 Q4Y66 Q1Y67

1.50

1.45 1.48 1.48

1.41

0.91

0.76 0.80

0.81 0.78

47.89

45.42

44.27

45.40

43.29

40.00

41.00

42.00

43.00

44.00

45.00

46.00

47.00

48.00

49.00

0.00

0.20

0.40

0.60

0.80

1.00

1.20

1.40

1.60

Q1Y66 Q2Y66 Q3Y66 Q4Y66 Q1Y67

ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวจากการชะลอตัวของ

เศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ ปริมาณการผลิต การจำหน่าย

และการส่งออก หดตัวจากความต้องการภายในประเทศของกลุ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม และคำสั่งซื้อ

ที่ลดลงจากตลาดกลุ่ม CLMV

25

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาส

ที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 10.24 ล้านตัน หดตัวเมื่อ

เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.64

(%YoY) จากความต้องการที่ลดลงของตล ด

ในประเทศและประเทศคู่ค้าสำคัญ

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวม

ปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 9.24 ล้านตัน

หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

11.05 (%YoY) จากการชะลอตัวของโครงการก่อสร้าง

ภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน เช่น บ้านที่อยู่

อาศัย คอนโดมิเนียม

การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาส

ที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่าการส่งออก 42.84 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 3.60 (%YoY) จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

โลก ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลงในตลาดหลักอย่างกลุ่ม

ประเทศ CLMV และ บังคลาเทศ

การนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 20.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวเมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.50 โดยปรับตัวลดลงจากตลาด สปป.ลาว จีน และบังคลาเทศ

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการผลิตและการจำหน่าย คาดว่า จะขยายตัวได้ตามความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลัก จาก

ภาคก่อสร้างทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับ

พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าและเส้นทางคมนาคมสายใหม่ ๆ

สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว ตามความต้องการใช้ในการพัฒนาประเทศของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะ

กลุ่มประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้ามีแนวโน้มชะลอตัวจากความต้องการปูนซีเมนต์คุณภาพพิเศษจาก

เนเธอร์แลนด์

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

25.0

0.0

10.0

20.0

30.0

40.0

50.0

60.0

70.0

80.0

90.0

100.0

Q1-66 Q2-66 Q3-66 Q4-66 Q1-67

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิต

และการจำหน่ายในประเทศลดลงจากการชะลอตัวของโครงการก่อสร้างภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนการส่งออก

ปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

คาดว่าจะขยายตัวจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนจากการกระตุ้น

ตลาดด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้

26

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต ดัชนีผลผลิตเส้นใยสิ่งทอ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน (YoY) ขยายตัวร้อยละ 11.00 จากการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น เส้นใย เรยอน และการปั่นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นเส้นใยและเส้นด้ายที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น สำหรับผ้าผืนหดตัวร้อยละ 14.34 ในขณะที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหดตัวร้อยละ 11.60 จากการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ผ้าทอ) ประเภทเสื้อผ้าชั้นในทั้งบุรุษและสตรี และเครื่องแต่งกายจากผ้าถักนิตและโครเชต์ เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 (QoQ) พบว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 7.57 จากการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ผ้าทอ) จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ เส้นใยสิ่งทอ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขยายตัวตัวร้อยละ 8.81 ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้แก่ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เส้นใยประดิษฐ์อื่น ๆ เส้นด้ายฝ้าย และเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ในส่วนของผ้าผืนหดตัวร้อยละ 15.36 จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) และฟอกย้อมผ้าและเส้นด้าย สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหดตัวร้อยละ 15.55 ทั้งในกลุ่มเสื้อผ้าทอ และเสื้อผ้าถัก เป็นผลจากการปรับลดกำลังการผลิต ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนมากขึ้น

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า 1,529.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากหดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส โดยขยายตัวร้อยละ 1.07 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออก 995.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.59 ในกลุ่มผ้าผืนจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้า ได้แก่ เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสินค้ารายสินค้าพบว่าเส้นใยประดิษฐ์ยังคงขยายตัวร้อยละ 7.95 กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 533.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.43 จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม

การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า 1,286.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.15 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผลิตภัณฑ์พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่าการนำเข้า 895.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.50 ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และผ้าผืน กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าการนำเข้า 390.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.13 โดยมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกถึงราคาปานกลางจำนวนมากจากจีนเข้ามาจำหน่ายของ กลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ ซึ่งประชาชนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยลดการซื้อของฟุ่มเฟือย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน

แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2567

การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การฟื้นตัวจาก ภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการผลิตเส้นใยสิ่งทอประเภทเส้นใยประดิษฐ์มีแนวโน้มที่จะขยายตัว อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการผลิตสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมของตลาดโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ภาวะต้นทุนการผลิตรวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังคงส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ของไทย ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกเส้นใยสิ่งทอเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากการผลิต เส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยอื่น ๆ) จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มี ความหลากหลาย และมีคุณสมบัติพิเศษ ในขณะที่ดัชนีการผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยังคงหดตัวจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากประเทศคู่ค้า แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

87.25 92.04 97.26 98.83 96.86

85.78 72.33 74.76 74.12 73.48

76.83

72.45 65.68 63.14

67.92

20

40

60

80

100

120

ดัช ท

ภั ฑ ใ ท

995.48

533.88

895.26

390.93

150

350

550

750

950

1150

ญฯ

ท (MUSD) (MUSD)

ท (MUSD) (MUSD)

27

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ในประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 1.58 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.39 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 24.41 เป็นผลจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศเป็นหลัก

?

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 0.34 ล้านชิ้น อยู่ในภาวะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 30.77 เป็น ผลจากฐานตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับต่ำ และคำสั่งซื้อของร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 1,143.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 และ 7.09 จากไตรมาสที่ผ่านมาและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 248.35 35.80 และ 859.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ไม้ ลดลงร้อยละ 1.53 และ 2.66 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34 ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นผลจากอุปสงค์ความต้องการไม้แปรรูป ในตลาดจีนที่เพิ่มสูงขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ จะขยายตัว จากแนวโน้มความต้องการเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ขยายตัวโดยเฉพาะความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้

1.58

0.34

-

0.05

0.10

0.15

0.20

0.25

0.30

0.35

0.40

-

0.50

1.00

1.50

2.00

2.50

3.00

Q1 2023 Q2 2023 Q3 2023 Q4 2023 Q1 2024

ใ ทศ

1,067.69 1,063.34 1,086.08

1,128.74 1,143.34

0

200

400

600

800

1,000

1,200

1,400

Q1 2023 Q2 2023 Q3 2023 Q4 2023 Q1 2024

เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้

ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มูลค่ารวม

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ในภาพรวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น

28

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: ปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2566

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ: ปรับเพิ่มฐานข้อมูลส่งออก-นำเข้า โดยใช้ HS3001 3002 3003 3004

การผลิตยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณ 9,661.88 ตัน ลดลงร้อยละ 13.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวของการผลิตยาผง ยาเม็ด ยาฉีด ยาน้ำ และ ยาแคปซูล โดยมีปริมาณลดลงร้อยละ 25.88 15.50 15.27 12.83 และ 10.71 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการผลิตยาครีม ขยายตัวร้อยละ 8.07 ซึ่งเป็นไปตามปริมาณคำสั่งซื้อจาก ร้านขายยาและโรงพยาบาล

การจำหน่ายยาในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณ 8,589.22 ตัน ลดลงร้อยละ 13.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวของการจำหน่ายยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีด ยาผง และยาแคปซูล โดยมีปริมาณลดลงร้อยละ 15.68 14.44 12.55 6.28 และ 4.22 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยาครีม ขยายตัวร้อยละ 1.15 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 116.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ตามแนวโน้มความต้องการที่หดตัวลงของตลาดสำคัญ ทั้งในเอเชีย เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน และสหรัฐอเมริกา

การนำเข้ายา ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 701.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาในประเทศที่ปรับตัวลดลง โดยเป็นการหดตัวของการนำเข้ายาจากแหล่งประเทศในสหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย เช่น สหราชอาณาจักร เบลเยียม เยอรมนี เดนมาร์ก เปอร์โตริโก จีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยารักษาโรคที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากสถานการณ์โรคระบาดในฤดูร้อนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งประชาชนมีกิจกรรมเล่นน้ำ เดินทางกลับภูมิลำเนา และพบปะสังสรรค์ ส่งผลให้โรคโควิด-19 กลับมาระบาด โรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคภูมิแพ้ ติดต่อแพร่กระจายได้มากขึ้น รวมทั้งโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ประกอบกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ตลอดจนภัยต่อสุขภาพจากอากาศร้อนจัด สำหรับทิศทางการส่งออกคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากยังมีความต้องการของตลาดหลักในกลุ่มอาเซียน

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามปริมาณคำสั่งซื้อและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับการส่งออกยา คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่ขยายตัวของตลาดสำคัญในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศกลุ่มอาเซียน

29

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ ถุงมือยาง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 0.96 ล้านตัน 22.85 ล้านเส้น และ 11,570.25 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง ร้อยละ 4.57 จากการลดลงของการผลิตทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น การผลิตยางรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.21 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางรถกระบะ ในส่วนของ การผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.44 จาก ความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีจำนวน 0.34 ล้านตัน 9.00 ล้านเส้น และ 1,030.59 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.72 จากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น การจำหน่ายยางรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.59 จากความต้องการของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.13 จากความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 1,185.03 1,887.29 และ 351.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.04 13.47 และ 7.40 ตามลำดับ จากการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปตลาดสำคัญ

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัว ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการวิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพาราและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการแปรรูปผลผลิตยางที่มาจากเกษตรกร และสนับสนุนการลงทุนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมด้านยางพารา 22.85

11.57

0.96

-

0.20

0.40

0.60

0.80

1.00

1.20

-

3.00

6.00

9.00

12.00

15.00

18.00

21.00

24.00

Q1 2023 Q2 2023 Q3 2023 Q4 2023 Q1 2024

ยางรถยนต์ (ล้านเส้น) ถุงมือยาง (พันล้านชิ้น)

ยางแปรรูปขั นปฐม (ลา นตนั )

1,185.03

1,887.29

351.32

0

500

1,000

1,500

2,000

Q1 2023 Q2 2023 Q3 2023 Q4 2023 Q1 2024

ยางแปรรูปขั นปฐม ยางรถยนต ถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงจากการชะลอตัวของการผลิตยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น การผลิตยางรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตยางรถกระบะ ในส่วนของถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง

30

อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.71 เพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังฟอกที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเบาะรถยนต์ สำหรับการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ และรองเท้า มีการผลิตลดลง ร้อยละ 28.18 และ 15.11 ตามลำดับ เนื่องจากการจำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค

การส่งออก-นำเข้า การส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ลดลงร้อยละ 1.32 โดยลดลงในกลุ่มถุงมือหนังสำหรับกีฬา ที่ส่งไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์หนังโคฟอก หนังสุกรฟอก มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย สำหรับการส่งออกเครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 7.05 โดยขยายตัวในกลุ่มกระเป๋าถือ ที่ส่งออกไปยัง จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ในส่วนการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน มีมูลค่า การส่งออกลดลงร้อยละ 15.28 ในกลุ่มรองเท้าหนัง และรองเท้ากีฬา ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มูลค่าการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก ลดลงร้อยละ 3.44 จากความต้องการวัตถุดิบประเภทหนัง ที่นำไปใช้ผลิตกระเป๋า และรองเท้าลดลง สำหรับการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปกลุ่มกระเป๋า และรองเท้า มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.42 และ 4.69 จากการนำเข้ากระเป๋าถือพลาสติก/วัสดุทอ จากจีน และกลุ่มรองเท้ากีฬา รองเท้าที่ทำจากพลาสติกหรือยาง จากเวียดนามเพิ่มขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในประเทศส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกซื้อรองเท้าราคาถูกที่นำเข้าจากจีน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ภาพรวมการผลิตและการส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าปรับตัวลดลง โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปกลุ่มกระเป๋า และรองเท้า ที่มีการผลิตลดลงตามคำสั่งซื้อของคู่ค้าต่างประเทศ และผู้บริโภค ในประเทศบางส่วนเลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีดัชนีผลผลิตขยายตัวจาก การผลิตเพื่อนำไปใช้สำหรับผลิตเบาะรถยนต์ รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์หนังโคฟอก หนังสุกรฟอก มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 2 ปี 2567

การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะขยายตัว เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอื่น เช่น เบาะรถยนต์ สำหรับการผลิตกระเป๋า และรองเท้า คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง ประกอบกับการนำเข้าสินค้าบางส่วน เช่น รองเท้าแตะ รองเท้าพลาสติก ที่ราคาถูกกว่าสินค้าในประเทศเข้ามาจำหน่ายทดแทน สำหรับการส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าในภาพรวม คาดว่าจะลดลง อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางกลุ่มที่มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น หนังโคฟอก กระเป๋าถือ/กระเป๋าสะพาย เป็นต้น ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิต รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและเศรษฐกิจทั่วโลก

99.22

78.89

79.16 69.59

104.89

158.27

136.69 128.22

112.40

124.? 113.66

103.23 105.98

86.80

105.35

50.00

70.00

90.00

110.00

130.00

150.00

170.00

Q1/2566 Q2/2566 Q3/2566 Q4/2566 Q1/2567

ดัช ท

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิตกระเป๋าเดินทาง

188.49

158.49

171.13

171.79

186.00

191.64

212.01

225.26

157.35

185.06

153.66

166.05

186.61

160.63

164.49

227.96

224.78

207.43

208.89

233.47

149.67

153.27

137.40

134.57

126.80

193.53

196.27

180.78

184.80

202.61

0.00

200.00

400.00

Q1/2566 Q2/2566 Q3/2566 Q4/2566 Q1/2567

( ญ ฐฯ)

ส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด นา เข้า หนังดิบและหนังฟอก

ส่งออก เครื่องใช้สา หรับเดินทาง นา เข้า กระเป๋

ส่งออก รองเท้าและชิ้นส่วน นา เข้า รองเท้า

31

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ดัชนีการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส ที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.24 จากเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.00 และ 25.13 ตามลำดับ จากการส่งออกตามความต้องการของประเทศคู่ค้า และการจำหน่ายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตเพชร ลดลง ร้อยละ 30.12 เนื่องจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

การจำหน่าย อัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.88 จากเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.18 และ 23.91 ตามลำดับ ซึ่งมีปัจจัยจากการจับจ่ายช่วงเทศกาลต้นปี ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนเพชร มีการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 39.88 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวจากความกังวลต่อค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ ในระดับสูง จึงหันมาเลือกซื้อเครื่องประดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก

การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป) ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.82 20.60 2.44 และ 15.39 ตามลำดับ โดยส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อิตาลี เบลเยียม และการ์ต้า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศอย่างฮ่องกง และการ์ต้า ซึ่งช่วยดึงดูดการบริโภคมากขึ้น รวมทั้งการจับจ่าย ช่วงเทศกาลต้นปี หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 4,115.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.20 สำหรับมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 1,601.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 16.11 เป็นผลจากการถือครองทองคำภายในประเทศเพื่อเก็งกำไรมากขึ้น

การนำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป) ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.51 จากมูลค่าการนำเข้าพลอย และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.00 และ 45.60 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าเพชร และเครื่องประดับแท้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.57 และ 5.40 ตามลำดับ หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 4,465.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.78 สำหรับมูลค่าการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 2,776.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น ร้อยละ 95.40 ซึ่งเป็นการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าเครื่องประดับ ประกอบกับราคาทองคำที่มีความผันผวนและอยู่ในระดับสูง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2567

การผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากการส่งออกไปยังประเทศคู่สำคัญ และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั้งในและต่างประเทศเพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้า รวมทั้งผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและต้นทุนพลังงานที่อยู่ ในระดับสูง

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับภาพรวมขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น จากการจับจ่ายช่วงเทศกาลต้นปี ประกอบกับภาค การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้า รวมทั้งผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและต้นทุนพลังงานที่อยู่ในระดับสูง 91.36 93.01

104.43

98.26

107.11

92.24 92.66

106.70

98.18

109.65

40.00

60.00

80.00

100.00

120.00

Q1/66 Q2/66 Q3/66 Q4/66 Q1/67

ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่งสินค้า

2,343

2,006

2,445

2,014

2,514

4,252

3,260

3,767

3,508

4,115

1,601

1,290

1,567

1,175

1,689

3,022

3,317

3,606 3,608

4,465

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

Q1/66 Q2/66 Q3/66 Q4/66 Q1/67

-

( ว : ญัฐฯ)

ส่งออกไม่รวมทองคา ส่งออกรวมทองคา

นา เข้าไม่รวมทองคา นา เข้ารวมทองคา

32

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

4Q25631Q25642Q25643Q25644Q25641Q25652Q25653Q2565

ดัช

ไ 3 2 5 6 5

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จา หน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

(พั )

ดัช (MPI)

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 117.4 ชะลอตัวร้อยละ 0.2 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหาร ที่ชะลอตัว ได้แก่ น้ำมันปาล์ม หดตัวร้อยละ 20.0 จากน้ำมันปาล์มดิบ หดตัว ร้อยละ 26.0 เนื่องจากปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลงจากสภาพอากาศที่แล้งเป็นเวลานาน รองลงมาคือ น้ำตาล ชะลอตัวร้อยละ 7.8 จากน้ำตาลทรายดิบ หดตัวร้อยละ 21.1 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และปศุสัตว์ชะลอตัวร้อยละ 0.1 จากเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ชะลอตัวร้อยละ 5.3 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว ส่งผล ต่อความต้องการบริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป จากแนวโน้ม ความนิยมเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประมง ขยายตัวร้อยละ 0.8 จาก กุ้งแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 3.8 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 19.8 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 21.5 ภาวะการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น จากความต้องการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของตลาดในประเทศ ที่เพิ่มขึ้น (อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม) รวมทั้งความต้องการนำเข้าสินค้า ทั้งจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน และความต้องการจากตลาดใหม่อย่างอินโดนีเซีย ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากสินค้าสำคัญคือ ผักผลไม้อบแห้ง ขยายตัวร้อยละ 18.2 เนื่องจากความต้องการบริโภคจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากสุราขาว เบียร์ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และน้ำดื่มบริสุทธิ์

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีปริมาณ 95,464.05 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 7.4 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกรแช่เย็นแช่งแข็ง ขยายตัวร้อยละ 22.1 อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 18.8 นมพร้อมดื่ม ขยายตัวร้อยละ 14.2 และแป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 7.1

การส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 8,676.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวร้อยละ 4.1 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามสินค้าที่ยังคงมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว เนื่องจากความต้องการนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

การนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่า 4,746.02 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวร้อยละ 6.5 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ชะลอตัว ได้แก่ เมล็ดพืชน้ำมัน กากพืชน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (อาหารสัตว์เลี้ยง)

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ ในส่วนของ ภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว จากความต้องการสินค้า ของประเทศคู่ค้า เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร

มาตรการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) 7% สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท โดยผู้ที่สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เหมือนที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าทั่วไปในประเทศ เริ่มเดือนพฤษภาคม 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ชะลอตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเศรษฐกิจที่ ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลต่อวัตถุดิบทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม ความต้องการบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยว มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุน ในส่วนของภาคการส่งออก สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ข้าว จากความกังวลเรื่องความมั่นคงอาหารของประเทศต่าง ๆ 0

20

40

60

80

100

120

140

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

2Q2565 3Q2565 4Q2565 1Q2566 2Q2566 3Q2566 4Q2566 1Q2567

ดัช

ไ 1 2 5 6 7

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จา หน่าย (ปริมาณ : หม่นื ตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

( ) / ( ญัฐฯ)

ดัช (MPI)

33

รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ

หัวข้อ

กองประสานงาน

โทรศัพท์

?ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566

?อุตสาหกรรมรายสาขา

กว.

0-2430-6806

? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

กร. 1

กร. 1

0-2430-6804

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมพลาสติก

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมเซรามิก

กร .2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยา

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอาหาร

กร. 2

0-2430-6805

กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ