สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเมษายน ปี 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 11, 2024 13:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

การผลิต เม.ย. 2567 ม.ค.-เม.ย. 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

(MPI, %YOY) +3.43 -2.06

อัตราการใช้กำลังการผลิต

(CAP-U, ร้อยละ) 55.26 59.13

(%YOY)

2566 2567 ประมาณการ

Q2 Q3 Q4 Q1 ปี 2567

GDP +1.8 +1.4 +1.7 +1.5 2.0 - 3.0

GDP อุตสาหกรรม -3.5 -4.4 -2.4 -3.0 0.5 - 1.5

MPI -4.93 -5.25 -2.88 -3.58 0.0 - 1.0

การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th

สอบถามข้อมูล : นางสาวอัมพร สุวรรณรัตน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680614 ดาวน์โหลดข้อมูล

ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2567

ประมาณการ ปี 2567 : GDP โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.

ปี 2567 ประมาณการ MPI จะขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 และ GDP อุตสาหกรรม จะขยายตัวร้อยละ 0.5 - 1.5

โดยปัจจัยหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2567 ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศต่อจากนี้

เช่นเดียวกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว

เดือนเมษายน ปี 2567

? MPI เดือนเมษายน 2567 เป็นบวกครั้งแรกหลังหดตัวต่อเนื่อง 18 เดือน

สอดคล้องกับภาคการส่งออกที่พลิกกลับมาขยายตัวตามเศรษฐกิจโลก

ที่ทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

? MPI 4 เดือนแรก ปี 2567 ยังคงหดตัวร้อยละ 2.06 ซึ่งได้รับแรงกดดัน

จากภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.43 (YOY)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI เดือนเมษายน 2567

อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)

เครื่องปรับอากาศ +24.19 %

ขยายตัวตามการบริโภคที่มีมากกว่าปกติทั้งภายในและ

ต่างประเทศ จากอากาศที่ร้อนจัดและผู้ผลิตมีการพัฒนา

สินค้า เช่น การกรองฝุ่น PM 2.5

กลั่นปิโตรเลียม +4.78 %

จากน้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้ม และแก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่ง

ขยายตัวตามภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์

ที่มีการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น

อาหารสัตว์สำเร็จรูป +18.11 %

จากอาหารสัตว์เลี้ยง (สุนัขและแมว) อาหารไก่และสุกร

โดยอาหารสัตว์เลี้ยงมีคำสั่งซื้อจากยุโรปเพิ่มขึ้น ด้านอาหารไก่

และสุกรการผลิตเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงของเกษตรกร

อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -17.16 %

จาก Integrated Circuits (IC) และ PCBA ซึ่งสินค้า

เทคโนโลยีใหม่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้มูลค่าต่อหน่วย

เพิ่มขึ้น จึงกระทบปริมาณการผลิต

ยานยนต์ -6.82 %

จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็กและใหญ่ ตาม

การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ

ลดลง ทำให้การจำหน่ายในประเทศและการส่งออกลดลง

ปูนซีเมนต์ -7.39%

จากพื้นสำเร็จรูปและเสาเข็มคอนกรีต เป็นหลัก ตาม

การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และลูกค้ากลุ่ม

โมเดิร์นเทรด

การท่องเที่ยวขยายตัว

ต่อเนื่อง

การลงทุนมีแนวโน้ม

ปรับตัวในเกณฑ์ดี

IMF ปรับคาดการณ์

เศรษฐกิจโลกดีขึ้น โดยคาด

ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2

ปัจจัยสนับสนุน

อัตราดอกเบี้ยสูง

หลายภูมิภาคทั่วโลก

ต้นทุนพลังงานและ

ค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น

ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

ยืดเยื้อ

ปัจจัยกดดัน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ