สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม ปี 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 11, 2024 13:23 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

(%YOY)

2566 2567 ประมาณการ

Q2 Q3 Q4 Q1 2567

GDP +1.8 +1.4 +1.7 +1.5 2.0 - 3.0

GDP อุตสาหกรรม -3.5 -4.4 -2.4 -3.0 0.5 - 1.5

MPI -4.93 -5.25 -2.88 -3.58 0.0 - 1.0

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI เดือนพฤษภาคม 2567

อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)

น้ำมันปาล์ม +19.88 %

ตามปริมาณผลปาล์มเข้าสู่โรงงานเพิ่มขึ้น และอุปสงค์

ในน้ำมันปาล์มเพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ผลิต

เน้นส่งออก เนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าในประเทศ

อาหารสัตว์สำเร็จรูป +10.55 %

ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าตะวันออกกลาง

บาห์เรน ญี่ปุ่น และการรับจ้างผลิตให้กับลูกค้า

ต่างประเทศ

เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน +8.18 %

จีนชะลอการส่งออกไป ลูกค้าจึงหันมาสั่งซื้อเหล็ก

จากผู้ผลิตในประเทศไทยแทน รวมทั้งมีคำสั่งซื้อจาก

ภาครัฐเพิ่มขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ

อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)

ยานยนต์ -14.22 %

จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ตามการหดตัว

ของตลาดภายในประเทศ ที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้ออ่อนแอ

สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -17.16 %

จาก Integrated Circuits ตามการชะลอตัวของตลาด

อิเล็กทรอนิกส์โลก ขณะที่ผู้ประกอบการผลิตสินค้าที่มี

มูลค่าต่อหน่วยสูงขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณการผลิตลดลง

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต -11.97 %

จากเสาเข็มคอนกรีต พื้นสำเร็จรูปคอนกรีต คอนกรีต

ผสมเสร็จ เนื่องจากลูกค้ากลุ่มโมเดิร์นเทรดและตัว

แทนจำหน่ายมีสต๊อกอยู่ในระดับสูง จึงชะลอคำสั่งซื้อ

การผลิต พ.ค. 2567 ม.ค.-พ.ค. 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

(MPI, %YOY) -1.54 -2.08

อัตราการใช้กำลังการผลิต

(CAP-U, ร้อยละ) 59.77 59.30

ประมาณการภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th

สอบถามข้อมูล : นางสาวดุสิตา เนตรโรจน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680615 ดาวน์โหลดข้อมูล

ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2567

ประมาณการ 2566-2567 : GDP โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.

เดือนพฤษภาคม ปี 2567

? เศรษฐกิจการผลิตยานยนต์ลดลง เป็นเดือนที่ 10 โดยหดตัวจาก

ภายในประเทศ เนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลง เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือน

แต่ตลาดส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี

? หนี้ภาคครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุน

ทางการเงินและภาระหนี้ของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น

? ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบ

ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่ง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2567 หดตัวร้อยละ 1.54 (YOY)

ต้นทุนการผลิตสูง จากหนี้

สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น

สงครามการค้าระหว่าง

สหรัฐฯ ? จีน

สินค้านำเข้าล้นตลาด

ปัจจัยกดดัน

การท่องเที่ยวขยายตัว

อย่างต่อเนื่อง

การเบิกจ่ายงบประมาณ

ของภาครัฐ

เศรษฐกิจและการค้าโลก

ทยอยฟื้นตัว

ปัจจัยสนับสนุน

ปี 2567 ประมาณการ MPI จะขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 และ GDP อุตสาหกรรม จะขยายตัวร้อยละ 0.5 - 1.5

โดยปัจจัยหนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2567 ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ รวมถึงท่องเที่ยวขยายตัว

และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ