สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 14, 2024 15:18 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

(%YOY)

2566

2567

ประมาณการ

Q2

Q3

Q4

Q1

2567

GDP

+1.8

+1.4

+1.7

+1.5

2.0 - 3.0

GDP อุตสาหกรรม

-3.5

-4.4

-2.4

-3.0

0.5 - 1.5

MPI

-4.93

-5.25

-2.88

-3.58

0.0 - 1.0

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI เดือนมิถุนายน 2567

อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)

น้ำมันปาล์ม +41.90 %

ปริมาณผลปาล์มเข้าสู่โรงงานเพิ่มขึ้น และจากราคาในตลาดโลกสูงกว่าในประเทศ ส่งผลให้ตลาดส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การกลั่นปิโตรเลียม +3.58 %

ตามการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนในประเทศ

อาหารสัตว์สำเร็จรูป +14.43 %

ตามคำสั่งซื้อที่ขยายตัวจากลูกค้าบาห์เรน ญี่ปุ่น และรับจ้างผลิตให้กับลูกค้าต่างประเทศ ประกอบกับการปรับลดราคาสินค้าหลังปลาทูน่าป่นมีราคาลดลง

อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)

ยานยนต์ -18.05 %

ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคกำลังซื้อลดลง หนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินคงความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -20.08 %YOY

ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยหดตัวทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์จากกลุ่มลูกค้าผู้ผลิตรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น

จักรยานยนต์ -23.42 %YOY

ตลาดในประเทศหดตัวจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ตลาดส่งออกลดลง จากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าหลังมีสินค้าคงเหลือในสต๊อกจำนวนมาก

การผลิต

มิ.ย. 2567

ม.ค.-มิ.ย. 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

(MPI, %YOY)

-1.71

-2.01

อัตราการใช้กำลังการผลิต

(CAP-U, ร้อยละ)

58.41

59.11

ประมาณการภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th สอบถามข้อมูล : นางสาวดุสิตา เนตรโรจน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680615 ดาวน์โหลดข้อมูล

ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2567

ประมาณการ 2567 : GDP โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.

มิถุนายน 2567

?เศรษฐกิจการผลิตยานยนต์ลดลง เป็นเดือนที่ 11 โดยหดตัวจากภายในประเทศ เนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลง เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่ตลาดส่งออกยังคงขยายตัวได้

?ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จากหนี้ภาคครัวเรือนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น

?สินค้านำเข้าจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้านำเข้ามากขึ้น เนื่องจากราคาถูกกว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมิถุนายน 2567 หดตัวร้อยละ 1.71 (YOY)

ต้นทุนการผลิตสูงจากหนี้สินครัวเรือน และค่าพลังงาน

สินค้านำเข้าล้นตลาด

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ ? จีน ปัจจัยกดดัน

การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี

การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้น

ปัจจัยสนับสนุน

ปี 2567 ประมาณการ MPI จะขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 และ GDP อุตสาหกรรม จะขยายตัวร้อยละ 0.5 - 1.5

โดยปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัว จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ