รายงาน
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
1
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2565 2566 2566 2567 %YoY Year Year มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.
MPI
1.3
-3.8
-4.2
-3.9
-5.9
-5.9
-2.5
-1.5
-4.7
-2.9
-2.8
-4.9
2.7
-1.5
-1.7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ระดับ 96.08 หดตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากการผลิตรถยนต์หดตัวจากตลาดภายในประเทศ ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง กำลังซื้อลดลง รวมถึงความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับอานิสงส์ดีต่อเนื่องด้วย เช่น อาหารและเครื่องดื่ม การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนมีนาคม หดตัวร้อยละ 4.9 เดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 2.7 และเดือนพฤษภาคม หดตัวร้อยละ 1.5
สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.0 เดือนเมษายน หดตัวร้อยละ 14.0 และเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 9.7
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 18.05 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล ตามการหดตัวของตลาดภายในประเทศจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง หนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินคงความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ
? ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 20.08 จาก PCBA และ Integrated Circuits (IC) เป็นหลัก ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยหดตัวทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
? จักรยานยนต์ หดตัวร้อยละ 23.42 ตามการหดตัวของตลาดในประเทศ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินเข้มงวดอนุมัติสินเชื่อ
อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 41.90 จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นหลัก ตามปริมาณผลปาล์มเข้าสู่โรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาดส่งออกไป อินเดีย จีน ปากีสถาน และยุโรป ขยายตัวต่อเนื่อง
? ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 3.58 จากน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันเบนซิน เป็นหลัก ตามการขยายตัวต่อเนื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนในประเทศ
? อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 14.43 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปเป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่ขยายตัวจากลูกค้าบาห์เรน ญี่ปุ่น และการรับจ้างผลิตให้กับลูกค้าต่างประเทศ ประกอบกับการปรับลดราคาสินค้าหลังปลาทูน่าป่นมีราคาลดลง Indicators 2566 2567 %MoM มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.
MPI
-2.1
-2.8
2.0
-1.2
-1.6
2.8
-4.9
7.6
0.2
5.0
-14.0
9.7
-2.4
2
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ
เดือนมิถุนายน 2567
3
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมิถุนายน 2567
?
การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 1,402.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภทเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เป็นต้น
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 9,229.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าขยายตัวในสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี และอุปกรณ์ ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
?
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 183 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 44.09 (%YoY) และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 7.02 (%MoM)
มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่ารวม 20,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.30 (%YoY) และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 23.57 (%MoM)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2567 คือ การนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวน 20 โรงงาน รองลงมาคือ โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 20 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2567 คือ โรงงานที่นำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ จำนวนเงินทุน 10,805 ล้านบาท รองลงมาคือ โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 1,745 ล้านบาท?
5
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
?
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนโรงงานที่เลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 100 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.66 (%YoY) และมีจำนวนโรงงานที่เลิกกิจการเท่ากับเดือนพฤษภาคม 2567
เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่ารวม 2,521 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.84 (%YoY) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2567 ร้อยละ 3.13 (%MoM)
?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2567 คือ การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิบซัม จำนวน 10 โรงงาน รองลงมาคือ การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 8 โรงงาน?
?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2567 คือ โรงงานทำเชื้อเพลิงก้อนหรือเชื้อเพลิงสำเร็จรูปจากถ่านหิน หรือลิกไนต์ มูลค่าเงินลงทุน 202 ล้านบาท รองลงมาคือ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฎิกูล มูลค่าเงินลงทุน 197 ล้านบาท?
6
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมิถุนายน 2567
1.
อุตสาหกรรมอาหาร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนมิถุนายน 2567 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว ได้แก่ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 41.9 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 55.9 และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 19.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มที่เข้าโรงงานมากขึ้น (สภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้ผลปาล์มสุกไวขึ้น) และความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการที่ตลาดหลัก เช่น อินเดียมีความต้องการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มมากขึ้น 2) อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 14.4 จากสินค้าสำคัญคือ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 26.0 เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย 3) น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 5 จากกากน้ำตาลที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 เนื่องจากภาวะการผลิตกากน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น เพื่อสำรองเป็นวัตถุดิบสำหรับรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 4) ปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากสินค้าสำคัญคือ เนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 15.1 เนื่องจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ 5) ประมง ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 18.4 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีผลผลิตอาหารที่ชะลอตัว ได้แก่ 1) ผักและผลไม้แปรรูป ชะลอตัวร้อยละ 7.2 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำผักน้ำผลไม้ ชะลอตัว ร้อยละ 2.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคจากตลาดในประเทศลดน้อยลง 2) มันสำปะหลัง ชะลอตัวร้อยละ 2.6 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง ชะลอตัวร้อยละ 4.4 เนื่องจากภาวะการผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ได้มีปริมาณน้อยลงจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง ทำให้เกษตรกรเร่งเก็บผลผลิตก่อนกำหนด ส่งผลต่อคุณภาพแป้งมันสำปะหลังที่ลดลง
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ สุราขาว เบียร์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มรสผลไม้ เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าที่มากขึ้น จากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลต่อความต้องการบริโภคเครื่องดื่มเพิ่มมากขึ้น
ตลาดในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนมิถุนายน 2567 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 0.8 เช่น 1) เนื้อสุกรแช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 14.7 2) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 29.1 3) ปลาทูน่ากระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 1.9 และ 4) น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 4.0
ตลาดต่างประเทศ การส่งออกสินค้าอาหารเดือนมิถุนายน 2567 ในภาพรวมชะลอตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผักและผลไม้ ลดลงจากความต้องการนำเข้าจากตลาดหลัก คือ จีน และน้ำตาลทราย ลดลงจากตลาดอินโดนีเซียและเกาหลีใต้ ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องดื่มชะลอตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยความต้องการลดน้อยลงจากตลาดหลักอย่าง เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา
?คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคม 2567 ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี และการเติบโตของการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ E-commerce) ที่สนับสนุนความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้อง สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงอาหาร ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมทั้งสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง?
7
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
?
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 99.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า สายเคเบิ้ล ตู้เย็นหม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศ และพัดลมตามบ้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.1, 23.5, 18.1, 17.0, 10.5, 5.7, 2.6, 1.5 และ 0.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกและมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขยายตัวจากความต้องการผลิตและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน เตาไมโครเวฟ และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 20.9, 19.8 และ 3.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศลดลง
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,322.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 12.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.7 ในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย และจีน เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 127.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.8 ในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 366.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และจีน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 500.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา เวียดนาม และสิงคโปร์ พัดลม มีมูลค่า 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.9 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย เครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 102.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.7 ในตลาดเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 96.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.9 ในตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 86.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ในตลาดญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 274.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และมาเลเซีย
?
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 69.2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, IC, Semiconductor devices Transistors, HDD และ PWB ลดลงร้อยละ 27.8, 19.6, 6.3, 4.8 และ 2.1 ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวตามแนวโน้มของตลาดโลกในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น IC และ PCBA ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ขยายตัวตามความต้องการผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และการใช้งานที่หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,771.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 111.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม HDD มีมูลค่า 1,053.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากมีความต้องการใช้ใน Data Center และความต้องการเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 685.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.4 ในตลาด ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 397.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 ในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
?คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2567 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตสินค้าในเชิงปริมาณชะลอตัวลง เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และวงจรรวม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าการจำหน่ายสินค้าต่อหน่วยสูงขึ้น จึงทำให้มูลค่าการจำหน่ายและการส่งออกเพิ่มขึ้น?
?คาดการณ์การผลิตเดือนกรกฎาคม 2567 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะยังคงทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน?
8
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
3. อุตสาหกรรมยานยนต์
?
อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 116,289 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.11 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน แต่การผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 7.82 (%MoM)
การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 47,662 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.04 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น และการจำหน่ายลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 4.43 (%MoM)
การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 89,071 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.28 (%YoY) แต่การส่งออกลดลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 0.24 (%MoM)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?
?
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 156,598 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.41 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต และการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 6.89 (%MoM)
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มียอดจำหน่ายจำนวน 150,546 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.07 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี ขนาด 126-250 ซีซี และขนาด 251-399 ซีซี และการจำหน่ายลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 8.95 (%MoM)
การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 27,785 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.71 (%YoY) และการส่งออกลดลงจากเดือนพฤษภาคม ปี 2567 ร้อยละ 5.25 (%MoM)
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?
9
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 1.20 จากการชะลอตัวของการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 8.48 จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ และยางรถบรรทุกและรถโดยสาร
ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.09 จากการผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อรอการจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศ
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 6.35 จากความต้องการยางแผ่นและน้ำยางข้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง
ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 จากความต้องการยางรถยนต์ในตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลัก
ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 11.37 จากการชะลอตัวของความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศ
การส่งออก
ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.90 จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออก ยางแท่งไปตลาดจีน และน้ำยางข้นไปตลาดมาเลเซีย
ยางรถยนต์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.88 จากการชะลอตัวของการส่งออกยางรถยนต์ไปตลาดสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ 3 ลำดับแรกของไทย
ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.20 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดสหรัฐอเมริกาที่ลดลงเป็นหลัก
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2567
การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่า จะกลับมามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางรถยนต์คาดว่า จะขยายตัว จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ ความต้องการของตลาดในประเทศเป็นหลัก ส่วนการผลิตถุงมือยางคาดว่า จะชะลอตัวจากแนวโน้มความต้องการถุงมือยางในต่างประเทศที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของการจำหน่ายถุงมือยางในประเทศ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง
การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน และมาเลเซีย มีแนวโน้มสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาที่สูงขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะชะลอตัว จากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ที่มีแนวโน้มลดลง ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา
10
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
5. อุตสาหกรรมพลาสติก
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือ จากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 37.07 ถุงพลาสติกขยายตัวร้อยละ 6.37 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 1.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.32 โดยผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 27.91 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 21.17 และถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่ารวม 345.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) หดตัวร้อยละ 18.20 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า (HS 3923) หดตัวร้อยละ 4.34 และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำด้วยพลาสติก หดตัวร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่ารวม 433.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) หดตัวร้อยละ 29.79 พลาสติกปูพื้น (HS 3918) หดตัวร้อยละ 15.64 และผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 10.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
?แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติกเดือนกรกฎาคม 2567 คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมพลาสติกมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าและการส่งออกชะลอตัวจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน เป็นต้น?
ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า
ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นาเข้า
11
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ดัชนีผลผลิต เดือนมิถุนายน ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 4.97 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 20.13 สีน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 15.38 และปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 12.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มเคมีขั้นพื้นฐานหดตัวร้อยละ 0.26 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 11.42 และเมทิลเอสเตอร์ (ไบโอดีเซล) หดตัวร้อยละ 7.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 22.17 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 63.48 แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 16.27 และผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 6.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนเคมีภัณฑ์พื้นฐานหดตัวร้อยละ 0.82 ผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัว ได้แก่ คลอรีน หดตัวร้อยละ 28.86 เอทานอล หดตัวร้อยละ 12.74 และเมทิลเอสเตอร์ (ไบโอดีเซล) หดตัวร้อยละ 7.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2567 มูลค่าส่งออกรวม 810.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 444.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.52 ในส่วนของเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 366.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่า
การส่งออก
หดตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 17.60 เครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 6.34 และสารลดแรงตึงผิว หดตัวร้อยละ 4.73 เป็นต้น
การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,530.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 7.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 932.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 10.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 598.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 25.02 ปุ๋ย หดตัวร้อยละ 12.35 และสี หดตัวร้อยละ 8.05 เป็นต้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกรกฎาคม 2567 คาดการณ์ว่าการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศในผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์บางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของสถานการณ์การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา เป็นต้น?
12
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมิถุนายน ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 92.27 หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.18 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin และ PET resin ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 และ 15.06 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Ethylene เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ PLA ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 24.70 จากการลดลงของวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง
ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 89.17 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Ethylene เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PET resin เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก เดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่า 863.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 9.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 9.10 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin ร้อยละ 23.76 เป็นต้น และปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Propylene ร้อยละ 89.20 เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดต่างประเทศมีความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
การนำเข้า เดือนมิถุนายน ปี 2567 มีมูลค่า 493.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 1.27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin ร้อยละ 12.55 แต่ปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Toluene กว่าร้อยละ 45 เป็นต้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนกรกฎาคม ปี 2567 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตจะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลับมาผลิตได้หลังจากซ่อมบำรุงในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปี และจะมีความต้องการจากต่างประเทศมาทดแทนจากการที่โรงงานปิโตรเคมีในประเทศอาเซียนเริ่มหยุดซ่อมบำรุงหลังจากที่แนวโน้มการผลิตชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง?
13
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2567 มีค่า 88.3 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างภาครัฐ เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เหล็กทรงยาว และท่อเหล็กกล้า โดยการผลิตเหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 10.9 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กลวด เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน การผลิตท่อเหล็กกล้า ขยายตัวร้อยละ 19.5 ขณะที่การผลิตเหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 3.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น
การบริโภคในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2567 มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงยาว มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กลวดที่เพิ่มขึ้น การบริโภคเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2567 มีปริมาณการนำเข้า 0.9 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงแบนมีปริมาณการนำเข้า 0.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.3 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย) เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่น และจีน) และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (HDG) (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) ขณะที่เหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.3 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) เหล็กลวด ประเภท Stainless Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ไต้หวัน) และเหล็กลวด ประเภท Alloy Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)
?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ ราคาเหล็กต่างประเทศ การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เช่น การประกาศขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาต่อสินค้าจีน และการดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการผลิตและบริโภคเหล็กของไทย?
14
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิต
เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยขยายตัวร้อยละ 6.52 (YoY) ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้ายฝ้าย และเส้นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยเรยอน จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 12.34 (YoY) ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์)
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 1.37 (YoY) ในกลุ่มเครื่องแต่งกายทำจากผ้าถัก ทั้งเครื่องแต่งกายชั้นนอก และเครื่องแต่งกายชั้นในสตรีและบุรุษ ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 0.44 จากเครื่องแต่งกายทำจากผ้าทอ
การจำหน่ายในประเทศ
เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 โดยขยายตัวร้อยละ 2.93 (YoY) ในกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นด้ายฝ้าย
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 12.65 (YoY) ในกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) และผ้าทอ (ใยสังเคราะห์)
เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 8.53 (YoY) ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 5.08 ในกลุ่มเครื่องแต่งกายทำจากผ้าทอ และเครื่องแต่งกายทำจากผ้าถัก
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ด้ายและเส้นใย หดตัวร้อยละ 7.07 (YoY) ในส่วนของด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 1.98 (YoY) ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากจีนและเวียดนามเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์กลางน้ำ และปลายน้ำ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 2.30 (YoY) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนและเวียดนาม ตามพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
การส่งออก
เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 2.74 (YoY) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียลดลง
ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 12.33 (YoY) จากการส่งออกผ้าผืนทำจากฝ้ายไปยังตลาดเมียนมาลดลง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 4.28 (YoY) จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากใยประดิษฐ์ไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี จากการฟื้นตัวของทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้น
?แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม อาจจะประสบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลง รวมถึงการนำเข้าสินค้าราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ กดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าในไทย?
15
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2567
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
?
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รวม
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 6.11 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 9.65 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการและคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดภายในประเทศเป็นหลัก การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.65 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.74 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการที่ลดลงของปูนซีเมนต์เป็นหลัก เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในโครงการก่อสร้างภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังไม่สามารถระบายสต๊อกที่มีอยู่ได้ เช่น บ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม
การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 0.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจากประเทศบังคลาเทศ สปป.ลาว และสหรัฐอเมริกา
?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นจากการเร่งก่อสร้างโครงการของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นตลาดของภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม?
?
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)
ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดย ความร่วมมือของกรมศุลกากร
การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 3.33 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 8.49 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการลดลงของตลาดภายในประเทศ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีปริมาณการจำหน่าย 2.65 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 20.32 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม
การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมิถุนายน ปี 2567 มีจำนวน 0.18 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 15.24 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปออสเตรเลีย และเมียนมา ที่ลดคำสั่งซื้อลงอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และสาธารณูปโภคชะลอตัว ?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการเร่งก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม เพื่อกระตุ้นยอดคำสั่งซื้อและการส่งเสริมในมาตรการต่าง ๆ จากรัฐบาล?
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม