สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม กรกฎาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 4, 2024 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

(%YOY)

2566 2567 ประมาณการ

Q3 Q4 Q1 Q2 2567

GDP +1.4 +1.7 +1.6 +2.3 2.3 - 2.8

GDP

อุตสาหกรรม

-4.4 -2.4 -2.9 +0.2 0.5 - 1.5

MPI -5.25 -2.88 -3.58 -0.27 0.0 - 1.0

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI เดือนกรกฎาคม 2567

อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)

น้ำมันปาล์ม +35.29 %

เนื่องจากมีปริมาณผลปาล์มเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก

รวมถึงผู้ผลิตส่งออกไปยังตลาดอินเดีย จีน ปากีสถาน และ

ยุโรป เพิ่มขึ้น จากการที่ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ +14.70 %

จากถุงมือยางทางการแพทย์ ยางที่ใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์/

รถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้น เป็นหลัก

ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดยุโรป

เครื่องปรับอากาศ +26.91 %

ตามสภาพอากาศทั่วโลกที่มีอุณภูมิสูงขึ้น ประกอบกับ

ผู้ผลิตพัฒนาคุณภาพสินค้า และมีการใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น

เช่น ระบบสั่งการเปิด/ปิดจากระยะไกล และ IOT เป็นต้น

อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)

ยานยนต์ -11.11 %

จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ครัวเรือนสูง ผู้บริโภค

มีกำลังซื้อลดลง และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวด

ในการอนุมัติสินเชื่อ และการหดตัวของตลาดส่งออก

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -11.96 %

จาก Integrated Circuits (IC) เป็นหลัก ตามการชะลอตัว

ของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยปริมาณการส่งออกลดลง

และจากการที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต -11.02 %

จากเสาเข็มคอนกรีตและพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต เป็นหลัก

ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และ

สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ

การผลิต ก.ค. 2567 ม.ค.-ก.ค. 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

(MPI, %YOY) +1.79 -1.48

อัตราการใช้กำลังการผลิต

(CAP-U, ร้อยละ) 58.84 59.05

ประมาณการภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th

สอบถามข้อมูล : นายนเรศ กิจจาพัฒนพันธ์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680613 ดาวน์โหลดข้อมูล

ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567

ประมาณการ 2566-2567 : GDP โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.

ปี 2567 ประมาณการ MPI จะขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 และ GDP อุตสาหกรรม จะขยายตัวร้อยละ 0.5 - 1.5

โดยปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัว จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว รวมถึงการเร่งเบิกจ่าย

งบประมาณปี 2567 ที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ

กรกฎาคม 2567

? เศรษฐกิจการผลิตยานยนต์ลดลง เป็นเดือนที่ 12 โดยหดตัวจาก

ภายในประเทศ เนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลง เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือน

และหดตัวจากการส่งออก เนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

? ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จากหนี้ภาคครัวเรือนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ใน

ระดับสูง และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น

? สินค้านำเข้าจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อ

สินค้านำเข้ามากขึ้น เนื่องจากราคาถูกกว่า

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.79 (YOY)

ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ

ต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ

หนี้สินภาคธุรกิจและ

ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

สภาพภูมิอากาศแปรปรวน

จากภัยแล้ง

ปัจจัยกดดัน

การส่งออกเริ่มทยอย

ฟื้นตัว

การบริโภคในประเทศ

มีแนวโน้มขยายตัวดี

การลงทุนภาคเอกชนมี

ทิศทางเติบโตต่อเนื่อง

ปัจจัยสนับสนุน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ