รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2567

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 1, 2024 14:50 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รายงาน

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2

สารบัญ

หน้า

บทสรุปผู้บริหาร 3

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2567 5

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2567

และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2567 14 2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15

2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16

2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17 2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18

2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19 2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20 2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21 2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22 2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23 2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24 2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25 2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26 2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27 2.14 อุตสาหกรรมยา 28 2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29 2.16 อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า 30 2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31 2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32

3

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2567

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีค่าอยู่ที่ 94.76 ลดลงร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงในอัตราที่ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจภายในประเทศ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงทำให้อุปสงค์ในประเทศมีข้อจำกัดส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในประเทศ ตลอดจนต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อาทิ ยานยนต์ จากสินค้ารถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดในประเทศ หนี้สินภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามการชะลอตัวของ ตลาดส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ และผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น และ การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับโครงการของภาครัฐยังเริ่มได้ช้ากว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจากงบประมาณ ที่ล่าช้า สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อาทิ น้ำมันปาล์ม จาก น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เป็นหลัก ตามปริมาณผลปาล์มที่มีจำนวนมากทั้งสุกเองตามธรรมชาติและสุกแดด อาหารสัตว์สำเร็จรูป จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป อาหารไก่ และอาหารสุกร เป็นหลัก เนื่องจากมีการขยายฐานลูกค้า ในต่างประเทศมากขึ้น และ เครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก ตามความต้องการ ที่มีมากขึ้นจากสภาพอากาศทั่วโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้รองรับ ความต้องการของผู้บริโภค

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2567

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าการผลิตจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นสำคัญ ที่ควรติดตาม อาทิ ปริมาณการนำเข้าสินค้าเหล็กจากต่างประเทศ การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เช่น การขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาต่อสินค้าจีน และการดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่กลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการผลิตและ บริโภคเหล็กของไทย

? อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.4 เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และผลิตภัณฑ์ Smart Electronics รวมทั้ง แนวโน้มการขยายตัวของ Smart City ในขณะที่มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะปรับตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.7 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน และสถานการณ์ Overcapacity จีนที่ต้องติดตามโดยอาจส่งผลต่อส่วนแบ่งการตลาดและการหาแหล่งกระจายสินค้าใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการ

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะปรับตัวลงประมาณร้อยละ 4.1 เนื่องจากต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่มูลค่า การส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 13.5 จากความต้องการของตลาดโลกจากผลิตภัณฑ์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สถานการณ์ Overcapacity ของจีนที่อาจส่งผลต่อกลไกตลาดโลกและการตอบโต้จากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหภาพยุโรป และ

4

สหรัฐอเมริกาที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ

?

รถยนต์ จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 400,000 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60

? รถจักรยานยนต์ จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า เยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวตามการบริโภคในประเทศ และจะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ จะชะลอตัวต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดนำเข้า เช่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา

? ไม้และเครื่องเรือน คาดการณ์ได้ว่า การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะมีปริมาณลดลง จากแนวโน้มความต้องการที่เริ่มชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ ได้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัวทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ในประเทศเป็นหลัก

? อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งราคาพลังงาน และราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ

? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย

5

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2567

6

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2567

GDP

ขยายตัวร้อยละ 2.3 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 และขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) ขยายตัวร้อยละ 1.8

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

ในไตรมาส 2 ของปี 2567 การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 1.1 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.2 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.1 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.0 การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 6.2 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 4.8

GDP ภาคอุตสาหกรรม

ขยายตัวร้อยละ 0.2 (%YoY)

GDP ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่หดตัวร้อยละ 2.9 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน (2566) ที่หดตัวร้อยละ 3.5

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 1.1

การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.2

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 4.0

การลงทุนรวมหดตัวร้อยละ 6.2

การส่งออกสินค้าและบริการ

ขยายตัวร้อยละ 4.8

ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.1

ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.2 โดยกลับมาขยายตัวในรอบ 6 ไตรมาส เป็นการเพิ่มขึ้นของกลุ่มการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ เช่น การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

7

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 0.3 (%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวร้อยละ 2.5 (%YoY)

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.74 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (100.93) ร้อยละ 6.1 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (94.99) ร้อยละ 0.3

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ ระดับ 96.92 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.13) ร้อยละ 2.2 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (97.94) ร้อยละ 2.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตยานยนต์ และ การผลิต ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

8

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

หดตัวร้อยละ 1.7 (%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ร้อยละ 57.79

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 103.93 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (104.93) ร้อยละ 1.0 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (105.77) ร้อยละ 1.7

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การผลิตยานยนต์ และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.79 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 60.43) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (ร้อยละ 58.55)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง การผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ในทางการแพทย์และทางทันตกรรม เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

9

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 88.67

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 88.67 ลดลงจากไตรมาส ที่ผ่านมา (91.00) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (93.87) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 95.80 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (103.80)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 มีผล มาจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ เข่น ค่าครองชีพ และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ประสบปัญหาสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียนในกิจการ และเข้าถึงสินเชื่อ ได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกด้านการ ส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นในกลุ่มอาหารจากภาวะขาด แคลนอาหารและการเปลี่ยนแปลงของสภาพ อากาศ เช่น ปัญหาภัยแล้ง และมาตรการฟรีวีซ่า (Free Visa) ให้กับนักท่องเที่ยวจีน อินเดียและไต้หวัน ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10

การค้าระหว่างประเทศของไทย

?การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า? ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคบริการของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐ ฯ และจีน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศต่าง ๆ กลับมาขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ส่งผลให้ธนาคารกลางเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น

การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 149,356.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 74,294.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และมูลค่าการนำเข้า 75,062.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขาดดุล 767.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 74,294.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 8,681.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.28 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,957.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.41 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 56,891.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.29 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,763.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.87 (YOY)

11

ตลาดส่งออกสินค้า

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยัง ตลาดคู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 50.70 และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็น ร้อยละ 49.30 ของการส่งออกทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา อาเซียน จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่น ร้อยละ 16.10, 14.60, 7.30, 6.90 และ 5.80 ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการส่งออก 74,294.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.34 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ประเทศที่การส่งออกขยายตัว ได้แก่ จีน ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 6.68 รองลงมา คือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 5.22 และ อาเซียน (9) ขยายตัวร้อยละ 0.49 ส่วนประเทศที่การส่งออกหดตัว คือ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 8.60

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

12

การนำเข้าสินค้าของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 75,062.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 2.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 12,865.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.69 (YOY) สินค้าทุนมีมูลค่า การนำเข้า 17,862.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.85 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 32,323.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.97 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่า การนำเข้า 8,137.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.71 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมี มูลค่าการนำเข้า 2,874.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 21.77 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธยุทธปัจจัย และสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 998.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.06 (YOY)

ตลาดนำเข้าสินค้า

ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 64.90 และการนำเข้าจาก ตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 35.10 ของการนำเข้าทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนร้อยละ 25.80, 16.60, 9.30, 6.70 และ 6.50 ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 75,062.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.19 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ประเทศที่การนำเข้าขยายตัว ได้แก่ จีน ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 10.00 รองลงมา คือ อาเซียน ขยายตัวร้อยละ 4.50 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 1.78 ส่วนประเทศที่การนำเข้าหดตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวสูงสุดร้อยละ 9.92 รองลงมา คือ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 9.24

13

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2 ปี 2567

เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการฟื้นตัว ของภาคการผลิตและภาคบริการของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก สินค้าของประเทศ ต่าง ๆ กลับมาขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ส่งผลให้ธนาคาร กลางเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังปัจจัยกดดดันต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์เนื่องจากการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567

Quarterly Growth (%YoY)

GDP

Inflation

MPI

Export

Unemp. Rate

Policy Rate

สหรัฐฯ

? 3.1

? 3.2

? 0.4

? 3.8

3.8

5.25-5.50

จีน

? 4.7

? 0.3

? 5.9

? 5.8

5.0

3.45

ญี่ปุ่น

? -0.8

? 2.7

? -3.0

? -4.2

2.7

0.10

มาเลเซีย

? 5.9

? 1.9

? 4.5

? 1.2

3.3

3.0

เวียดนาม

? 6.9

? 4.4

? 8.7

? 12.2

2.3

3.0

ไทย

? 2.3

? 0.8

? -0.3

? 4.5

N.A.

2.5

ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://tradingeconomics.com

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น (2) การขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตของ กลุ่มโอเปคพลัสไปจนถึงสิ้นปี 2568 และ (3) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ลดลงกว่าช่วง เดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี แนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2567 ยังมีความผันผวนและไม่แน่นอน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (EIA) คาดว่า ความต้องการน้ำมันจะสูงกว่าการผลิตในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2567 เป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันในปี 2567 อยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีในช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งแนวโน้มชะลอตัวลงมาจากปัจจัยกดดันของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น เศรษฐกิจสหรัฐฯ มาจากการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจจีน มาจาก การชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้น การค้าโลก มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า และมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนที่อาจรุนแรงขึ้น

14

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2567

และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2567

15

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนำเข้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 84.1 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.0 (%YoY) แต่หดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.2 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 6.1 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย ขยายตัวร้อยละ 13.4 รองลงมา คือ เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 8.7 ตามลำดับ การผลิตท่อเหล็กกล้า ขยายตัวร้อยละ 8.1 ขณะที่การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 1.8 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 28.9 และ 19.3 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณ 4.1 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 3.1 (%YoY) และขยายตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 3.4 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การบริโภคขยายตัวทั้งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดยการบริโภคเหล็กทรงยาวขยายตัวร้อยละ 0.2 จากการบริโภคเหล็กลวด การบริโภคเหล็กทรงแบนขยายตัวร้อยละ 4.9 จากการบริโภค เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณ 2.8 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.02 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.2 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 0.7 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัว มากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 30.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น และจีน) รองลงมา คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ และเหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 25.6 และ 14.4 ตามลำดับ ขณะที่เหล็กทรงแบนขยายตัวร้อยละ 0.2 ผลิตภัณฑ์ที่ การนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 250.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน และอินเดีย) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Carbon Steel และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิดจุ่มร้อน ขยายตัวร้อยละ 198.6 และ 40.9 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดการณ์ว่าการผลิตจะทรงตัวเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ ปริมาณการนำเข้าสินค้าเหล็กจากต่างประเทศ การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เช่น การขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาต่อสินค้าจีน และการดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่กลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการผลิตและบริโภคเหล็กของไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 จากการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กลวด และท่อเหล็กกล้า การบริโภคในประเทศ ขยายตัวจากการบริโภคเหล็ก เช่น เหล็กลวด เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม

16

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2567 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 105.9 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.2 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.0 (%YoY) โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.8, 25.5, 18.5, 18.3, 16.0, 13.9 และ 10.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกและมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขยายตัวจากความต้องการผลิตและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน เตาอบไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ หม้อหุงข้าว และสายเคเบิ้ล ลดลง ร้อยละ 18.1, 13.3, 10.7, 7.9 และ 1.5 ตามลำดับ เนื่องจาก มีความต้องการและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2567 สินค้าที่มี การปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศ และเตาอบไมโครเวฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2, 17.2 และ 6.0 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 11.6, 6.9, 6.8, 5.2 และ 4.0 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 4,631.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.5 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.1 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า และตู้เย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1, 22.4, 6.9, 2.9 และ 2.8 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2567 มีมูลค่า การส่งออก 7,102.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาส ที่แล้วร้อยละ 3.8 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 7.9 (%YoY) โดยส่งออกลดลงในตลาดยุโรป ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ลดลงร้อยละ 15.0, 9.5, 8.5, 7.4 และ 3.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หม้อหุงข้าว เตาอบไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์สายไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 37.4, 17.3, 10.3, 7.8 และ 3.7 ตามลำดับ จากการชะลอตัวลงตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.4 เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้านวัตกรรมใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และผลิตภัณฑ์ Smart Electronics รวมทั้ง แนวโน้มการขยายตัวของ Smart City ในขณะที่มูลค่าการส่งออกคาดว่าจะปรับตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.7 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน และสถานการณ์ Overcapacity จีนที่ต้องติดตามโดยอาจส่งผลต่อส่วนแบ่งการตลาดและการหาแหล่งกระจายสินค้าใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการ

93.0

85.4

102.1

97.2

77.7

77.6

100.7

105.9

0

20

40

60

80

100

120

140

Q3-2565

Q4-2565

Q1-2566

Q2-2566

Q3-2566

Q4-2566

Q1-2567

Q2-2567

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต

1,496.9

930.4

823.6

1,953.7

1,754.9

1,329.9

973.8

1,175.9

1,311.2

1,239.7

2,924.3

2,146.2

2,548.6

3,924.7

3,952.5

380.8

366.5

328.2

454.7

365.5

3.8

1.7

1.8

3.3

4.1

449.6

384.9

331.3

380.6

426.1

115.5

132.3

95.4

136.1

102.1

454.9

553.9

554.8

502.2

423.4

0.0

300.0

600.0

900.0

1,200.0

1,500.0

1,800.0

2,100.0

2,400.0

2,700.0

3,000.0

3,300.0

3,600.0

3,900.0

4,200.0

Q2-66

Q3-66

Q4-66

Q1-67

Q2-67

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (พันเครื่อง)

เครื่องปรับอากาศ

คอมเพรสเซอร์

พัดลม

เครื่องซักผ้า

เตาไมโครเวฟ

ตู้เย็น

กระติกน้ำร้อน

หม้อหุงข้าว

4,465.9

4,518.9

4,644.4

4,868.9

4,408.3

4,432.1

5,550.3

4,474.9

4,631.7

7,211.4

7,709.7

6,915.3

8,194.4

7,710.9

7,069.7

6,477.7

7,383.8

7,102.1

0

2,000

4,000

6,000

8,000

Q2-2565

Q3-2565

Q4-2565

Q1-2566

Q2-2566

Q3-2566

Q4-2566

Q1-2567

Q2-2567

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า

มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เพิ่มขี้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในตลาดโลกและมีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของสายไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าตามการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น และมีการส่งออกลดลงในยุโรป ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และอาเซียน

17

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 65.9 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.7 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 10.2 (%YoY) โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มี การปรับตัวลดลง ได้แก่ วงจรรวม (IC), วงจรพิมพ์ (PCBA), Semiconductor devices transistor และแผงวงจร (PWB) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 22.8, 16.1, 15.8 และ 3.3 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากการชะลอตัวตามแนวโน้มของตลาดโลกในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น IC และ PCBA ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer และ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 และ 2.8 ตามลำดับ เนื่องจาก Printer ขยายตัวตามความต้องการผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และการใช้งานที่หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค และ HDD ที่มีความต้องการใช้ใน Data Center ที่ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนี่อง

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่าการนำเข้า 13,739.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 11.8 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ วงจรรวม อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนาและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2, 30.6, 14.8 และ 9.1 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่าการส่งออก 13,285.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 15.0 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1, 35.8, 26.8 และ 7.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD, อุปกรณ์ กึ่งตัวนำ เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8, 11.6, 6.8 และ 0.7 ตามลำดับ โดยเฉพาะ HDD ที่มีความต้องการใช้ใน Data Center และการเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากรวมทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะปรับตัวลงประมาณร้อยละ 4.1 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออก จะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 13.5 จากความต้องการของตลาดโลกจากผลิตภัณฑ์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สถานการณ์ Overcapacity ของจีนที่อาจส่งผลต่อกลไกตลาดโลกและการตอบโต้ จากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง การส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ

87.6

79.3

75.3

73.4

66.9

64.2

62.4

65.9

0

20

40

60

80

100

120

140

Q3-2565

Q4-2565

Q1-2566

Q2-2566

Q3-2566

Q4-2566

Q1-2567

Q2-2567

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต

11,552.9

11,923.4

10,732.2

11,347.3

10,809.1

11,421.2

12,644.6

15,572.7

13,739.6

10,796.7

11,684.4

11,358.1

10,776.7

10,876.1

12,027.3

12,004.4

11,549.4

13,285.7

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

16,000

Q2-2565

Q3-2565

Q4-2565

Q1-2566

Q2-2566

Q3-2566

Q4-2566

Q1-2567

Q2-2567

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้า

มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวตามแนวโน้มของตลาดโลกในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ วงจรรวม (IC), วงจรพิมพ์ (PCBA), Semiconductor devices transistor และแผงวงจร (PWB) และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น

18

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 400,000 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40-45 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 55-60

การผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 347,117 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 16.18 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 16.10 (%YoY) โดยเป็นการลดลงของการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นสำคัญ ทั้งนี้มีสัดส่วนการผลิตแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง ร้อยละ 36 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 62 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 1

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 144,271 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 11.90 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.69 (%YoY) เนื่องจากความเข้มงวด ในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้มีสัดส่วนแบ่งเป็น การจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 37 รถกระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ ร้อยละ 58 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 248,515 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 8.14 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.59 (%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 28 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 59 และรถ PPV ร้อยละ 13

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 2,439.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 1.82 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และแอฟริกาใต้

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 1,821.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 2.64 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.38 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

413,725

464,459

455,692

414,123

347,117

189,058

180,739

188,910

163,756

144,271

255,124

293,083

295,640

270,525

248,515

2Q 2566

3Q 2566

4Q 2566

1Q 2567

2Q 2567

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต

การจำหน่าย

การส่งออก

2,414.71

2,665.46

2,518.40

2,484.30

2,439.10

2,032.32

2,126.26

2,071.50

1,870.80

1,821.40

2Q 2566

3Q 2566

4Q 2566

1Q 2567

2Q 2567

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก

มูลค่าการนำเข้า

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย เป็นการลดลงของตลาดในประเทศ เนื่องจากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ในส่วนของตลาดส่งออกโดยรวมชะลอตัวเล็กน้อย ในรถยนต์นั่งและรถกระบะ 1 ตัน แต่ขยายตัวในรถยนต์ PPV

19

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จากความเป็นไปได้ของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 461,175 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 13.54 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 15.68 (%YoY) โดยเป็นการลดลงในกลุ่มรถอเนกประสงค์ และรถสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 442,930 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 1.04 (%QoQ) และลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 9.13 (%YoY) โดยเป็นการลดลงในกลุ่มรถจักรยานยนต์ขนาด ต่ำกว่า 125 ซีซี เป็นสำคัญ

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 160,590 คัน (เป็นการส่งออก CBU 84,355 คัน และ CKD 76,235 ชุด) ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 36.71 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 13.86 (%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 186.80 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 26.45 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับ ปีก่อนร้อยละ 2.38 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิล ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 190.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาส ที่ 1 ปี 2567 ร้อยละ 13.04 (%QoQ) และลดลง จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 21.08 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม

546,926

493,494

482,687

533,398

461,175

487,415

452,357

410,476

447,604

442,930

186,435

190,482

220,857

253,728

160,590

2Q 2566

3Q 2566

4Q 2566

1Q 2567

2Q 2567

การผลิต จำหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต

การจำหน่าย

การส่งออก

191.36

195.13

200.20

236.20

186.80

241.90

206.26

209.10

215.80

190.90

2Q 2566

3Q 2566

4Q 2566

1Q 2567

2Q 2567

มูลค่าการส่งออกและนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก

มูลค่าการนำเข้า

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณการผลิตชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ทั้งนี้ การผลิตรถจักรยานยนต์เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นสำคัญ

20

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

การตลาดและการจำหน่าย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว เช่น แป้งฝุ่น ปุ๋ยเคมี และน้ำยา ปรับผ้านุ่ม เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว ร้อยละ 2.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่ขยายตัว เช่น สีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน และปุ๋ยเคมี เป็นต้น

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 2,289.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) การส่งออกหดตัวร้อยละ 3.53 และหดตัวร้อยละ 2.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และปุ๋ย

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 4,575.98 ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 4,281.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 13.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเครื่องสำอาง เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แนวโน้มการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศและผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์บางชนิดมี ความต้องการเพิ่มขึ้น จากตลาดหลัก ได้แก่ อินเดีย จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 การผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศในผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์บางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของสถานการณ์ การส่งออกชะลอตัวจากตลาดหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม เป็นต้น

มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า

21

อุตสาหกรรมพลาสติก

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 หดตัวร้อยละ 4.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำพลาสติกแผ่น และแผ่นฟิล์มพลาสติก เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567หดตัว ร้อยละ 1.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 6.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ พลาสติกแผ่น และแผ่นฟิล์มพลาสติก เป็นต้น

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 1,034.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 2.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัวสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัว ร้อยละ 3.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 4.16 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าการผลิตจะขยายตัวเนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 2 ปี 2567 การผลิตขยายตัวเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีขึ้นส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น อุตสาหกรรมพลาสติกมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเวียดนาม เป็นต้น

22

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา : กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง หมายเหตุ * คาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 93.64 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.12 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PC และ PET resin ส่วนหนึ่งมาจากการกลับมาผลิตหลังหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 87.25 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.83 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PET resin

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 2,641.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.28 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin และลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene, Ethylene เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 1,500.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.64 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น styrene และ Benzene เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายเพิ่มขึ้น เช่น PE resin และ PET resin เป็นต้น ส่วนหนึ่งจากการเพิ่มการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศหลังมีการอนุมัติให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลสัมผัสอาหารได้

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2567

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มทรงตัวตามจากสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกที่ผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งในหลายภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศ ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศตัวเลขของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และการเติบโตในระดับต่ำของประเทศของจีน จะส่งผลต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มทรงตัว โดยทั้งการผลิต การส่งสินค้า และการส่งออก จะปรับชะลอตัวลง จากการชะลอคำสั่งซื้อจากระดับราคาที่มีการชะลอตัวตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าปรับ ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 (%YoY) และมูลค่าการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 (%YoY) ส่วนการส่งออกปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.28 (%YoY) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลง

23

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้น (+8.24%) ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกล่องกระดาษ ขยายตัว (+19.43%) (+22.97%) (+0.11%) และ (+0.52%) ตามลำดับ โดยขยายตัวต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งมีคำสั่งซื้อหลักจากประเทศจีน และประเทศในอาเซียน ในขณะที่เยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียนหดตัวร้อยละ (-0.90%) และ (-3.42%) จากการใช้ในประเทศเป็นหลัก

การส่งออก การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่าการส่งออกรวม 641.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว (+3.09%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) เพิ่มขึ้นจากกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ขยายตัว (+6.04%) มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย ในขณะที่กลุ่มเยื่อกระดาษลดลง (-2.83%) ซึ่งกว่าร้อยละ 99.0 ส่งออกไปประเทศจีน สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ส่งออกลดลง (-2.36%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เมียนมา และสหรัฐอเมริกา

การนำเข้า การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 880.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ (+2.48%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YOY) จากกลุ่มกระดาษและ ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ นำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ร้อยละ (+5.65%) และ (+7.41%) ตามลำดับ ในขณะที่นำเข้ากลุ่มเยื่อกระดาษและเศษกระดาษลดลง ร้อยละ (-7.90%) เนื่องจากมีการผลิตในเดือน ที่ผ่านมาค่อนข้างมาก มีต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่กระดาษอนามัย บรรจุภัณฑ์กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

`

แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่า เยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวตามการบริโภคในประเทศ และจะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ จะชะลอตัวต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดนำเข้า เช่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

สินค้าควบคุมมาตรฐานที่จะบังคับใช้ภายในปี 2567 โดย สมอ. สำหรับกระดาษสัมผัสอาหารที่ปรุงอาหารด้วยความร้อน ครอบคลุมถึงกระดาษที่ใช้ในการทำอาหารที่ต้องผ่านความร้อน เช่น กระดาษที่ใช้กับหม้ออบลมร้อน ถุงชา กระดาษกรองกาแฟ กระดาษรองเบเกอรี่ในเตาอบ เป็นต้น โดยกำหนดให้กระดาษต้องทำจากเยื่อบริสุทธิ์หรือเยื่อบริสุทธิ์ผสมเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ใส่สีในเนื้อกระดาษ ใช้เพื่อกรองของเหลวร้อน อุ่นอาหาร หรือปรุงอาหาร ที่อุณหภูมิไม่เกิน 220 องศาเซลเซียส โดยในมาตรฐานมีข้อกำหนดในการควบคุมการปนเปื้อนของสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม ปรอท ฯลฯ เมื่อกระดาษโดนความร้อน ต้องมีการปนเปื้อนไม่เกินเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด และต้องไม่มีสารฟอกนวลและสารต้านจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

30405060708090100110120Q2-66Q3-66Q4-66Q1-67Q2-67ลูกฟูกคราฟต์กระดาษแข็งเยื??อกระดาษพิมพ์เขียนกล่องกระดาษ859.14798.73782.98840.67880.42622.13653.05696.32707.71641.332003004005006007008009001000Q2-66Q3-66Q4-66Q1-67Q2-67นำเข้าส่งออก

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) เพิ่มขึ้น (+8.24%) เช่นเดียวกับการส่งออกในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น (+3.09%) เป็นมูลค่ารวม 641.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนภาพรวมการนำเข้าเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น (+1.57%) และคาดว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จะปรับตัวเป็นบวกได้ ตามการใช้จ่ายในประเทศ และภาคส่วนต่าง ๆ จะได้รับการกระตุ้นตลาดช่วงกลางปี

24

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 28.34 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 11.10 (%YoY) จากการชะลอตัวของตลาดภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพและคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดส่งออกสำคัญ ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.36 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 6.29 (%YoY) ลดลงทั้งตลาดในประเทศและประเทศส่งออก

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 33.86 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 11.35 (%YoY) จากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น การปรับขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะค่าวัสดุและค่าแรงการก่อสร้าง ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ การจำหน่าย 0.71 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 7.29 (%YoY) จาก ความต้องการในกลุ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม

การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่าการส่งออก 22.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.95 (%YoY) และเครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 40.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 10.98 (%YoY) จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวได้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล โดยการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบางตามนโยบายรัฐบาล ให้มีเงินเหลือเพียงพอในการดำรงชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในส่วนการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวทั้งกระเบื้องและ เครื่องสุขภัณฑ์ โดยตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญ ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาพลังงาน วัตถุดิบ อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นที่อาจจะส่งผลต่อการผลิตและการจำหน่ายภายในประเทศ

31.8830.7327.1328.8328.3438.1937.2034.3437.2733.8627.6028.7923.7723.2922.750.005.0010.0015.0020.0025.0030.0035.000.005.0010.0015.0020.0025.0030.0035.0040.0045.00Q2Y66Q3Y66Q4Y66Q1Y67Q2Y67กระเบื??องปูพื??นและบุผนังการผลิต (ล้าน ตรม.)การผลิต (ล้าน ตรม.)การส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ล้าน ตรม.ล้านเหรียญฯ1.451.481.481.401.360.760.800.810.790.7143.9843.2645.4043.2940.4337.0038.0039.0040.0041.0042.0043.0044.0045.0046.000.000.200.400.600.801.001.201.401.60Q1Y66Q2Y66Q3Y66Q4Y66Q1Y67เครื??องสุขภัณฑ์การผลิต (ล้านชิ??น)การจำหน่าย (ล้านชิ??น)การส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ล้านเหรียญฯล้านชิ??น

ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 หดตัวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่วนเครื่องสุขภัณฑ์ ปริมาณการผลิต การจำหน่าย และการส่งออก หดตัวจากความต้องการภายในประเทศของกลุ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม และคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดกลุ่ม CLMV

25

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาส ที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 9.86 ล้านตัน หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.41 (%YoY) จากความต้องการที่ลดลงของตลาดในประเทศและประเทศคู่ค้าสำคัญ

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 7.98 ล้านตัน หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.94 (%YoY) จากการชะลอตัวของโครงการก่อสร้างภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน เช่น บ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม

การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่าการส่งออก 32.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.13 (%YoY) จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลงในตลาดหลักอย่างกลุ่มประเทศ CLMV และ บังกลาเทศ

การนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 12.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.31 โดยปรับตัวลดลงจากตลาด สปป.ลาว จีน และบังกลาเทศ

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่าย คาดว่า จะชะลอตัวต่อเนื่องตามความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลัก จากภาคก่อสร้างทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ การขยายถนน และโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าและเส้นทางคมนาคมสายใหม่ ๆ สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว ตามความต้องการใช้ในการพัฒนาประเทศของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับการนำเข้ามีแนวโน้มชะลอตัวจากความต้องการปูนซีเมนต์คุณภาพพิเศษจากเนเธอร์แลนด์

020406080100120140Q1-66Q2-66Q3-66Q4-66Q1-67Q2-67ปริมาณการผลิต (ล้านตัน)ปริมาณการจำหน่ายภายในประเทศ (ล้านตัน)มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ล้านตัน

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายในประเทศลดลงจากการชะลอตัวของโครงการก่อสร้างภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนการส่งออกปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่า จะขยายตัวจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนจาก การกระตุ้นตลาดด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้

ปริมาณการผลิตและจำหน่าย การส่งออกและนำเข้าปูนซีเมนต์

26

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต ดัชนีผลผลิตเส้นใยสิ่งทอ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขยายตัวร้อยละ 6.40 จากการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น เส้นใยเรยอน และการปั่นด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นเส้นใยและเส้นด้ายที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น สำหรับผ้าผืนหดตัวร้อยละ 4.66 ในขณะที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหดตัวร้อยละ 4.54 จากการผลิตเสื้อผ้าชั้นในทั้งบุรุษและสตรี และเครื่องแต่งกายจากผ้าถักนิตและโครเชต์ เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้า

การจำหน่ายในประเทศ เส้นใยสิ่งทอ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขยายตัวร้อยละ 10.03 จากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เส้นใยประดิษฐ์อื่น ๆ และเส้นด้ายฝ้าย ในส่วนของผ้าผืนหดตัวร้อยละ 1.22 จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ผ้าทอ (ใยสังเคราะห์) และฟอกย้อมผ้าและเส้นด้าย สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหดตัวร้อยละ 5.88 ทั้งในกลุ่มเสื้อผ้าทอ และเสื้อผ้าถัก เป็นผลจากการปรับลดกำลังการผลิต ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนมากขึ้น

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า 1,508.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.15 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออก 974.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.92 ในกลุ่มผ้าผืนจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้า ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บังกลาเทศ รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค และกลุ่มเส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 1.74 กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 533.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.26 จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม

การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่า 1,279.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.80 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผลิตภัณฑ์พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่าการนำเข้า 937.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.12 ในกลุ่มด้ายและเส้นใย กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าการนำเข้า 341.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.78 โดยมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกถึงราคาปานกลางจำนวนมากจากจีนเข้ามาจำหน่ายของ กลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ ซึ่งประชาชนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยลดการซื้อของฟุ่มเฟือย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน

แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3 ปี 2567

การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการผลิตเส้นใยสิ่งทอประเภทเส้นใยประดิษฐ์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการผลิตสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ยังต้องติดตาม ภาวะต้นทุนการผลิตรวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังคงส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ดัชนีการผลิต และการจำหน่าย เส้นใยสิ่งทอเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยอื่น ๆ) จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และมีคุณสมบัติพิเศษ ในขณะที่ดัชนีการผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยังคงหดตัวจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากประเทศคู่ค้า แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

92.04

97.26

98.86

97.43

97.93

72.33

74.76

74.12

73.52

68.97

72.45

65.68

63.14

69.22

69.17

20

40

60

80

100

120

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ

ผ้าผืน

เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

1,004.17

995.64

982.63

995.48

974.86

521.55

509.01

507.95

533.88

533.35

938.62

903.65

911.70

895.26

937.49

322.73

305.76

349.57

354.57

390.93

150

350

550

750

950

1150

ล้านเหรียญฯ

มูลค่าการส่งออก นำเข้า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ส่งออกลุ่มสิ่งทอ (MUSD)

ส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

นำเข้ากลุ่มสิ่งทอ (MUSD)

นำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

27

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ในประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 1.54 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.53 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 15.79 เป็นผลจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

? การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 0.28 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.65 และ 3.45 ตามลำดับ เป็นผลจากคำสั่งซื้อของร้านค้าปลีกที่ลดลง

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่ารวม 1,098.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 3.93 แต่หากเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.30 แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 259.81 37.01 และ 801.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับโดยหาก เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน และไม้และผลิตภัณฑ์ แผ่นไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.80 และ 3.21 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ลดลงร้อยละ 4.61 ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นผลจากอุปสงค์ความต้องการชิ้นส่วนเครื่องเรือนในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และความต้องการไม้แปรรูปในตลาดจีนที่เพิ่มสูงขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดการณ์ได้ว่า การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ขณะที่การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะมีปริมาณลดลง จากแนวโน้มความต้องการที่เริ่มชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

1.54

0.28

-

0.05

0.10

0.15

0.20

0.25

0.30

0.35

0.40

-

0.50

1.00

1.50

2.00

2.50

3.00

Q2 2023

Q3 2023

Q4 2023

Q1 2024

Q2 2024

การผลิต

การจำหน่ายในประเทศ

1,063.34

1,086.08

1,128.74

1,143.34

1,098.42

0

200

400

600

800

1,000

1,200

1,400

Q2 2023

Q3 2023

Q4 2023

Q1 2024

Q2 2024

เครื่องเรือนและชิ้นส่วน

ผลิตภัณฑ์ไม้

ไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้

มูลค่ารวม

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ในภาพรวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าในกลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนและไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น

28

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: ปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2566

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ: ปรับเพิ่มฐานข้อมูลส่งออก-นำเข้า โดยใช้ HS3001 3002 3003 3004

การผลิตยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณ 9,039.71 ตัน ลดลงร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวของการผลิตยาแคปซูล ยาฉีด ยาครีม ยาผง และยาเม็ด โดยมีปริมาณลดลงร้อยละ 24.24 21.48 7.60 5.30 และ 1.56 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการผลิตยาน้ำ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 ซึ่งเป็นไปตามปริมาณคำสั่งซื้อจากร้านขายยาและโรงพยาบาล

การจำหน่ายยาในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณ 7,885 ตัน ลดลงร้อยละ 6.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวของการจำหน่ายยาแคปซูล ยาฉีด ยาครีม ยาเม็ด และยาน้ำ โดยมีปริมาณลดลงร้อยละ 24.28 21.42 15.23 11.82 และ 1.95 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยาผง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 118.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามแนวโน้มความต้องการที่หดตัวลงของตลาดสำคัญในเอเชีย เช่น เมียนมา เวียดนาม ญี่ปุ่น

การนำเข้ายา ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 645.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาในประเทศที่ปรับตัวลดลง โดยเป็นการหดตัวของการนำเข้ายาจากแหล่งประเทศในภูมิภาคยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย เช่น สหราชอาณาจักร เบลเยียม เยอรมนี เดนมาร์ก เปอร์โตริโก จีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามแนวโน้มความต้องการใช้ยารักษาโรคที่คาดว่าจะขยายตัว จากสถานการณ์โรคระบาดในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคภูมิแพ้ โรคโควิด-19 รวมทั้งโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ยังคงเป็นสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเด็กทารก สำหรับทิศทางการส่งออกคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากยังมีความต้องการของตลาดหลักในกลุ่มอาเซียน

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามปริมาณคำสั่งซื้อและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับ การส่งออกยา มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดสำคัญทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียนและกลุ่มอื่น ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา

29

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ ถุงมือยาง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ ถุงมือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 0.77 ล้านตัน 21.14 ล้านเส้น และ 10,991.52 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง ร้อยละ 4.92 จากการลดลงของการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง การผลิตยางรถยนต์มีปริมาณลดลง ร้อยละ 6.68 จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์นั่ง และยางรถบรรทุกและรถโดยสาร ในส่วนของการผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.93 จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีจำนวน 0.26 ล้านตัน 7.90 ล้านเส้น และ 744.94 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม มีปริมาณลดลง ร้อยละ 4.45 จากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง การจำหน่ายยางรถยนต์มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.21 จากความต้องการของตลาด REM เป็นหลัก ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.00 จากความต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ ที่อยู่ในระดับสูง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 1,084.04 1,725.66 และ 334.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม และถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.58 และ 3.36 ตามลำดับ จากการขยายตัว ที่ดีของการส่งออกไปตลาดสำคัญ ขณะที่การส่งออก ยางรถยนต์ลดลง ร้อยละ 1.26 จากการชะลอตัวของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ยางรถยนต์ และถุงมือยาง จะขยายตัวทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางจะขยายตัวจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ขณะที่ยางรถยนต์จะขยายตัวจากความต้องการของตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing) ในประเทศเป็นหลัก

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และบริษัทตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาราคาอ้างอิงการซื้อขายยางพารา (Rubber Reference Price) เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้มีราคาอ้างอิงในการซื้อขายยางพารา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางและ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง

21.14

10.99

0.77

-

0.20

0.40

0.60

0.80

1.00

1.20

-

3.00

6.00

9.00

12.00

15.00

18.00

21.00

24.00

Q2 2023

Q3 2023

Q4 2023

Q1 2024

Q2 2024

?fh???c??bfj (?ff?fh?f??ff??)

cf????f???fh?? (ctff??ff?fh??fi??)

?fh??f????f????ff????? (?ff?fh?bff?)

1,084.04

1,725.66

334.23

0

500

1,000

1,500

2,000

Q2 2023

Q3 2023

Q4 2023

Q1 2024

Q2 2024

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

?fh??f????f????ff?????

?fh???c??bfj

cf????f???fh??

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง จากการชะลอตัวของการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง การผลิตยางรถยนต์มีปริมาณลดลง จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์นั่ง และยางรถบรรทุกและรถโดยสาร ขณะที่การผลิต ถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้น จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

30

อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.35 เพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังฟอกที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเบาะรถยนต์ การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78 สำหรับการผลิตกระเป๋าเดินทาง ลดลงร้อยละ 30.31 โดยลดลงทั้งใน กลุ่มกระเป๋าเดินทาง และกระเป๋าถือขนาดเล็ก เนื่องจากปริมาณ สต๊อกเพียงพอต่อการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก

การส่งออก-นำเข้า การส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มูลค่าการส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.99 โดยเพิ่มขึ้นจากการส่งออกหนังสัตว์ที่มีการตกแต่งสำเร็จ (หลังจากการฟอก) ไปยังตลาดสำคัญ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และฮ่องกง การส่งออกเครื่องใช้สำหรับเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.98 โดยขยายตัวในกลุ่มกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ ที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ในส่วนการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.96 ในกลุ่มรองเท้าหนัง และรองเท้ากีฬา ที่ส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเอเชียลดลง (ยกเว้นจีน)

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มูลค่าการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.01 ในกลุ่มหนังโคกระบือดิบ เพื่อนำมาฟอกและตกแต่งสำเร็จและจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ สำหรับการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปกลุ่มกระเป๋า และรองเท้า มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 9.32 และ 6.34 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศลดลง จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมสินค้าไลฟ์สไตล์ประเภทอื่น

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ภาพรวมการผลิตและส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า ขยายตัว โดยเฉพาะหนังดิบ หนังฟอกและตกแต่งสำเร็จ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เช่น เบาะรถยนต์ กระเป๋าถือ ในส่วนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปกลุ่มกระเป๋า และรองเท้า มีมูลค่าลดลง จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมสินค้าไลฟ์สไตล์ประเภทอื่น

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอก จะขยายตัว เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอื่น เช่น เบาะรถยนต์ สำหรับการผลิตกระเป๋า และรองเท้า คาดว่าจะลดลง เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง ประกอบกับการนำเข้าสินค้าบางส่วน เช่น รองเท้าแตะ รองเท้าพลาสติก ที่ราคาถูกกว่าสินค้าในประเทศเข้ามาจำหน่ายทดแทน สำหรับการส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าในภาพรวม คาดว่าจะลดลง อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางกลุ่มที่มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น หนังสัตว์ตกแต่งสำเร็จ กระเป๋าถือ/กระเป๋าสะพาย เป็นต้น ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิต รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและเศรษฐกิจ ทั่วโลก

78.89

79.16

69.59

104.89

107.57

136.69

128.22

112.40

11?

95.25

103.23

105.98

86.80

105.36

104.03

50.00

70.00

90.00

110.00

130.00

150.00

Q2/2566

Q3/2566

Q4/2566

Q1/2567

Q2/2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก

การผลิตกระเป๋าเดินทาง

การผลิตรองเท้า

158.49

171.13

171.79

186.00

177.48

212.01

225.26

157.35

185.06

250.19

166.05

186.61

160.63

164.49

175.99

224.78

207.43

208.89

233.47

208.47

153.27

137.40

134.57

126.80

139.54

196.27

180.78

184.80

202.61

190.42

0.00

100.00

200.00

300.00

Q2/2566

Q3/2566

Q4/2566

Q1/2567

Q2/2567

มูลค่าการส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด

นำเข้า หนังดิบและหนังฟอก

ส่งออก เครื่องใช้สำหรับเดินทาง

นำเข้า กระเป๋า

ส่งออก รองเท้าและชิ้นส่วน

นำเข้า รองเท้า

31

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ดัชนีการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.43 จากเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 และ 26.09 ตามลำดับ จากการส่งออกตามคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้า อาทิ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง รวมทั้งการจำหน่ายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตเพชร ลดลงร้อยละ 10.26 เนื่องจากความต้องการของตลาดภายในประเทศที่ลดลง

การจำหน่าย อัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 จากเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79 และ 24.82 ตามลำดับ เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนเพชร มีการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 16.44 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวจากความกังวลต่อค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง จึงหันมาเลือกซื้อเครื่องประดับที่มีราคาไม่สูงมากนัก

การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป) ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 จากมูลค่าการส่งออกเพชร เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.83 3.99 และ 5.21 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการส่งออกพลอย ปรับลดลงร้อยละ 0.16 หากพิจารณาการส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมมีมูลค่ารวม 3,459.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 โดยส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ กัมพูชา ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สำหรับมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 1,415.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 12.91 จากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ลาว อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลจากการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ประกอบกับราคาทองในตลาดโลกมีความผันผวนอยู่ในระดับสูง

การนำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีมูลค่าปรับลดลงร้อยละ 3.22 จากมูลค่าการนำเข้าเพชร และพลอย ลดลงร้อยละ 14.46 และ 0.98 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าเครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.19 และ 32.66 ตามลำดับ หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 5,102.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.85 สำหรับการนำเข้าทองคำ มีมูลค่า 3,854.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 90.17 ซึ่งเป็นการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประกอบกับราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

การผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งราคาพลังงาน และราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ

ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับภาพรวมขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ

93.01

104.43

98.26

107.12

96.20

92.66

106.70

98.18

109.68

95.04

40.00

60.00

80.00

100.00

120.00

Q2/66

Q3/66

Q4/66

Q1/67

Q2/67

ดัชนีการผลิต

ดัชนีการส่งสินค้า

2,006

2,445

2,014

2,514

2,044

3,260

3,767

3,508

4,115

3,459

1,290

1,567

1,175

1,689

1,248

3,317

3,606

3,608

4,465

5,103

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

Q2/66

Q3/66

Q4/66

Q1/67

Q2/67

มูลค่าการส่งออก-นำเข้า

(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ส่งออกไม่รวมทองคำ

ส่งออกรวมทองคำ

นำเข้าไม่รวมทองคำ

นำเข้ารวมทองคำ

32

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

4Q2563

1Q2564

2Q2564

3Q2564

4Q2564

1Q2565

2Q2565

3Q2565

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้า อุตสาหกรรมอาหารไตรมาส 3 ปี 2565

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรีสหรัฐฯ)

นำเข้า (มูลค่า : ล้ารียญสหรัฐฯ)

จำหน่าย (ปริมาณ : พันตัน)

ดัชนีผลลิต (MPI)

ปริมาณจำหน่าย(พันตัน)

ดัชนีผลผลิต(MPI)

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อยู่ที่ระดับ 101.1 ขยายตัวร้อยละ 7.2 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหารที่ขยายตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 30.1 จากสินค้าสำคัญ คือ แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 32.9 ภาวะการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น จากความต้องการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของตลาดในประเทศที่เพิ่มขึ้น (อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม) รวมทั้งความต้องการนำเข้าสินค้า ทั้งจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน และความต้องการจากตลาดใหม่อย่างอินโดนีเซีย น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 25.5 เนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มที่เข้าโรงงานมากขึ้น และความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ จากน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 31.6 และ 14.71 อาหารสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 13.5 จากอาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 24.0 จากแนวโน้มความนิยมเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประมง ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากปลาแช่แข็ง เนื้อปลาบด และปลาทูน่ากระป๋อง ขยายตัวร้อยละ 13.98 11.46 และ 21.51 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากเนื้อสุกรแช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 12.5 เนื่องจากความต้องการผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ชะลอตัว ได้แก่ น้ำตาล ชะลอตัวร้อยละ 5.3 จากน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ 12.5 และ 2.6 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และผักและผลไม้แปรรูป ชะลอตัวร้อยละ 0.4 จากผักผลไม้แช่แข็ง และผลไม้และผักบรรจุกระป๋อง หดตัวร้อยละ 34.8 และ 14.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศและจากตลาดต่างประเทศลดลง

ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากสุราขาว เบียร์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มรสผลไม้

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีปริมาณ 87,098.06 พันตัน ชะลอตัวร้อยละ 1.8 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภคในประเทศลดลง ได้แก่ เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น หดตัวร้อยละ 4.8 อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 4.8 ปลาทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 12.2 ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 23.3 และผักผลไม้อบแห้ง หดตัวร้อยละ 27.9

การส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 12,061.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.9 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกของสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นผลจากความต้องการนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีมูลค่า 4,586.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวร้อยละ 12.5 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ชะลอตัว ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่เย็นแช่แข็ง เมล็ดพืชน้ำมัน กากพืชน้ำมัน และโกโก้

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย

0

20

40

60

80

100

120

140

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

3Q2565

4Q2565

1Q2566

2Q2566

3Q2566

4Q2566

1Q2567

2Q2567

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้า อุตสาหกรรมอาหารไตรมาส 2 ปี 2567

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

นำเข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จำหน่าย (ปริมาณ : หมื่นตัน)

ดัชนีผลผลิต (MPI)

ปริมาณจำหน่าย(หมื่นตัน)

ดัชนีผลผลิต(MPI)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี รวมถึงการเข้าสู่ลานีญาในช่วงครึ่งปีหลัง (ฝนตกชุก) จะส่งผลดีต่อผลผลิตทางการเกษตร นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุน ในส่วนของภาคการส่งออก สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ข้าว จากความกังวลเรื่องความมั่นคงอาหารของประเทศต่าง ๆ

33

รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ

หัวข้อ

กองประสานงาน

โทรศัพท์

?ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566

?อุตสาหกรรมรายสาขา

กว.

0-2430-6806

? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

กร. 1

กร. 1

0-2430-6804

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมพลาสติก

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กร. 1

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมเซรามิก

กร .2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยา

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

กร. 2

0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอาหาร

กร. 2

0-2430-6805

กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ