(%YOY)
2566
ประมาณการ
Q1
Q2
Q3
2567
2568
GDP
+1.6
+2.2
+3.0
2.6
2.3 - 3.3
GDP อุตสาหกรรม
-2.9
0.3
0.1
-1.0
1.5 - 2.5
MPI
-3.58
-0.24
-1.12
-1.6
1.5 - 2.5
สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อ MPI เดือนตุลาคม 2567
อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวก (YOY)
เครื่องปรับอากาศ +28.98 %
สภาพอากาศทั่วโลกที่อุณหภูมิสูงขึ้น ความต้องการเครื่อง ปรับอากาศจึงเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการส่งออกเพิ่มขึ้น จากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ผ่านการมาตรฐานของอินเดีย
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง +39.18 %
จาก Hard Disk Drive เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการที่กลับมาหลังจากชะลอตัวต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า และความต้องการจากผู้บริโภคที่สินค้าหมดการรับประกัน
สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง +39.24 %
ขยายตัวทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก ในสหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและเอเชีย โดยเป็นการเร่งผลิตรองรับความต้องการในช่วงปลายปี
อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ (YOY)
ยานยนต์ -22.19 %
ชะลอตัวทั้งตลาดภายในประเทศและการส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากความเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อ และความต้องการของประเทศคู่ค้าปรับลดลง
น้ำมันปาล์ม -32.60 %
จากปัจจัยฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่เร็วกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (ฤดูเก็บเกี่ยวของปีนี้คือ พ.ค.-ก.ค. ต่างจากปีก่อนที่เก็บเกี่ยว ส.ค.-ต.ค.) ผลผลิตที่น้อยลงในช่วงนี้
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -13.02 %
การผลิต IC และ PCBA ลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญมีคำสั่งซื้อลดลง
การผลิต
ต.ค. 2567
ม.ค.-ต.ค. 2567
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
(MPI, %YOY)
-0.91
-1.63
อัตราการใช้กำลังการผลิต
(CAP-U, ร้อยละ)
57.75
58.72
ปี 2567 ประมาณการ MPI จะลดลงร้อยละ 1.0 และ GDP อุตสาหกรรม จะลดลงร้อยละ 1.6
ปี 2568 ประมาณการ MPI และ GDP การผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 - 2.5 (YOY)
โดยปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัว และมาตรการของภาครัฐที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ
จัดทำโดย : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) www.oie.go.th สอบถามข้อมูล : นายดุสิตา เนตรโรจน์ โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680615 ดาวน์โหลดข้อมูล
ที่มา : GDP โดย สศช., MPI โดย สศอ. ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567
ประมาณการ 2567-2568 : GDP โดย สศช., GDP อุตสาหกรรม, MPI โดย สศอ.
ตุลาคม 2567
?การผลิตยานยนต์ลดลง เป็นเดือนที่ 15 ทั้งตลาดในประเทศและส่งออก จากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ และความต้องการของประเทศคู่ค้าลดลง
?การเลือกตั้งสหรัฐฯ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ
?หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง จากปัญหาสภาพคล่องในการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ทำให้กำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ
?ปัญหาสินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนตุลาคม 2567 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.91 (YOY)
การค้าระหว่างประเทศกับคู่ค้าหลักยังคงเติบโต
ภาคการท่องเที่ยวยังคงมีทิศทางขยายตัว
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
ปัจจัยสนับสนุน
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ความไม่แน่นอนของนโยบาย เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ต้นทุนการผลิต หนี้สินภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
ปัจจัยกดดัน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม