ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลมาจากภาคการเงินที่ยังคงผันผวนและภาวการณ์ตึงตัวในตลาดสินเชื่อ โดยเศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก สำหรับเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ที่กำลังประสบปัญหาภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ขณะที่สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 126.98 USD/Barrel ในการซื้อขายระหว่างวัน (ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551) เนื่องจากตลาดกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก และจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มก่อการร้ายโจมตีสถานีสูบถ่ายน้ำมันในไนจีเรีย โรงกลั่นในฟินแลนด์ปิดหน่วยผลิต ความต้องการน้ำมันดิบของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม OPEC จะเพิ่มปริมาณการผลิตหากเกิด Supply Disruptions สำหรับราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2551 นั้น อยู่ที่ 90.92 USD/Barrel
ในส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 5.7 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 (ร้อยละ 4.8 ) และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 (ร้อยละ 4.3 ) โดยปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนทางภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งการส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2551 จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5-5.5
สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 เช่น ดัชนีอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 187.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (183.7) ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (168.0) ร้อยละ 11.5 อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
เมื่อพิจารณาด้านสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 84,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.85 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.27 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก็มาจากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมากในทุกหมวดในไตรมาสที่ 1 โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบที่มีปริมาณ 76.7 ล้านบาร์เรลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 7,378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79.4
โดยในไตรมาสแรกปี 2551 การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกหมวดโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวดีทั้งราคาและปริมาณ โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ของสินค้าเกษตร/ อุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 31.4 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.05 และเมื่อพิจารณาในด้านของตลาดส่งออก ก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2550 ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดใหม่ที่ขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 31.4 ที่สำคัญได้แก่ แอฟริกา(ร้อยละ 64.8) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 58.4) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 34.4) จีน(ร้อยละ 34.2) ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 32.9) ขณะที่ตลาดหลักขยายตัวร้อยละ 11.7 ได้แก่ อาเซียน(5)(ร้อยละ 20.3) สหภาพยุโรป(15)(ร้อยละ 11.7) สหรัฐฯ(ร้อยละ 7.1 ซึ่งในปี 2550 การขยายตัวติดลบร้อยละ 1.2) และญี่ปุ่น(ร้อยละ 6.1) นอกจากนี้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรายการสำคัญส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี (เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์และพลาสติก) รวมทั้งสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป ยกเว้นในส่วนของแผงวงจรไฟฟ้าที่การขยายตัวติดลบ ซึ่งมาจากภาวะการตลาดที่ปรับลดลงเกือบทุกตลาดทำให้สามารถมองได้ว่า เป็นวัฏจักรของสินค้าอยู่ในช่วงชะลอตัวลง ซึ่งโดยปกติ แล้ว วัฏจักรจะอยู่ในช่วงระยะ 4-5 ปี แต่จะใช้เวลาในช่วงชะลอลงไม่นานนัก
ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 28,877.95 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 38.90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,143.40 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 18,734.55 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 273 โครงการ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 43,600 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 120 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 75 โครงการ เป็นเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 15,100 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ และอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
และสำหรับปี 2551-2552 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วนให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน (ThailandInvestment Year 2008-2009)” เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยพร้อมรับการลงทุนทั้งจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม
เป้าหมาย และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน” เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและประหยัดพลังงาน รวมถึงขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยแนวทางและมาตรการสำคัญที่จะดำเนินการในช่วง “ปีแห่งการลงทุน 2551-2552” นั้นประกอบด้วย
1. พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่มี Value Creation
2. สร้างฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพลังงานทดแทน
3. ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(Southern Seaboard) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
4. ส่งเสริมการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม
5. ส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
6. ดำเนินกิจกรรมการชักจูงการลงทุนเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
7. ปรับปรุงการให้บริการและมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน
8. จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน”
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่พัดลมเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตามลำดับ สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00 หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 12.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : ความต้องการปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะเพิ่มขึ้นในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อันจะเป็นหนทางที่ทำให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 49.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 18.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากหลายด้าน โดยปัจจัยสนับสนุนคือแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จีนและญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดสำคัญ เนื่องจากการเลื่อนเปิดดำเนินโครงการการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายโครงการ ประกอบกับจีนยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการเตรียมการในกีฬาโอลิมปิก 2008 ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการชะลอตัวด้านอุปสงค์ในตลาดโลกซึ่งเกิดจากปัญหา sub prime ของสหรัฐอเมริกาที่ขยายผลกระทบสู่ประเทศทั่วโลก ตลอดจนอุปทานผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันได้
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 2.58 แต่ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 4.64 ในขณะที่เหล็กทรงแบนทรงตัว ร้อยละ 0.63 สำหรับมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้นบางส่วนจะมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 160.56 สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ร้อยละ 64.91
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ได้แก่ มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย การลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือกำไร จาก 3% เป็น 0.1% การลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ที่ดิน อาคารบ้านเดี่ยว บ้านแฝด จาก 2% เป็น 0.01% รวมถึงการลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เป็น 0.01% ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้สถานการณ์การผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กทรงแบนจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.30 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น 23.30 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 17.45 และ 2.45 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมีอัตราการขยายตัวสูง สาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (E 20) ส่งผลให้มีการปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์นั่งที่มีความจุของกระบอกสูบน้อยกว่า 3,000 ซีซี ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไปตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มีอัตราการขยายตัวสูง
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าการผลิตจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดภายในประเทศ ได้รับผลดีจากการที่ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55
พลาสติก ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 นี้ มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของไทยติดลบอยู่ประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งติดลบเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ถึง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า นับเป็นยอดติดลบสูงสุดตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2549 เป็นต้นมา
แนวโน้มช่วงที่เหลือของตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปี 2551 นี้ ยังคงมีแรงกดดันและการแข่งขันสูง อันมีผลสืบเนื่องจาก สภาวะถดถอยของสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก อันสืบเนื่องจาการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับสภาวะเงินเฟ้อ และราคาผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีส่วนสำคัญที่กระทบทั้งด้านต้นทุนการผลิต และขนส่ง แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผ่องถ่ายต้นทุนที่เพิ่มมาไปยังผู้บริโภคได้มากนัก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง มูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน รายไตรมาส1 ในปี 2551 ลดลงร้อยละ 7.2 แต่สำหรับเครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 8.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเดนมาร์ก ส่วนตลาดส่งออกสินค้าหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก คือ ฮ่องกง จีน และเวียดนาม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราที่ลดลงสำหรับตลาดของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤตตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกหนี้คุณภาพต่ำ แต่คาดว่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสำหรับรองเท้าแตะและรองเท้าอื่นๆและการขยายตลาดอื่นๆ เนื่องจากมีการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ
อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มปศุสัตว์ ผักผลไม้ และน้ำมันพืช เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 16.6 และ 8.7 ตามลำดับ เป็นผลจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลจากประเทศคู่แข่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ลดลง ประกอบกับประเทศจีนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสั่งสินค้าไก่แปรรูป จากไทยทดแทน ส่งผลให้หมวดปศุสัตว์ในภาพรวมมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดสหรัฐฯ ลดลงเกือบทุกกลุ่ม
แนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากซับไพร์ม และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดประเทศอื่นๆ ตามมา และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อของทุกประเทศ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อในประเทศเอง ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ระมัดระวังยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมถึงมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 24.04 และ 46.33 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้รายได้ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังประสบกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ซบเซา จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งยอดสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศยังลดลงอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวโดยการลดกำลังการผลิตลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยบวก เช่น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน การขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และอุปสงค์ที่ยังมีอยู่โดยเฉพาะตลาดบน ดังจะเห็นได้จากการกระตุ้นการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในภาพรวม อาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.69 และ 7.93 ตามลำดับ และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.55 และ 24.75 ตามลำดับ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 — 90 บาท เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทผู้ผลิตยางยานพาหนะชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.9 ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.0 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียนที่ลดลง เป็นผลมาจาก ไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญหลายประการ คือ การเตรียมรองรับช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ในการสั่งพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก การ์ดต่าง ๆ คู่มือการใช้งานและฉลากสินค้า ประกอบกับการเตรียมรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นช่วงปลายไตรมาส แต่ในไตรมาสนี้มีปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียว คือ การเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ โดยต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง ๆ
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดอาเซียนยังคงมีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในประเทศ อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการกระดาษเพื่อการบรรจุ ห่อหุ้ม ขนส่งสินค้า และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนในไตรมาสนี้
ยา ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.8 และ 5.5 ตามลำดับ โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐได้ รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อจากร้านขายยาเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะทรงตัวหรือลดลงจากไตรมาสแรกเล็กน้อย แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ตามรอบของอุตสาหกรรม สำหรับการนำเข้าคาดว่ามูลค่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตามหากสามารถลดอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา รวมทั้งสามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เช่น รัสเซีย หรือแอฟริกาใต้ ได้ จะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีปัจจัยลบสำคัญ ได้แก่ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ค่าน้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจีน และเวียดนาม ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.0 และขยายตัวในตลาดหลักทุกตลาด ซึ่งปัจจุบันสิ่งทอไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 27.5 , 18.5, 14.1 และ 6.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเขตการค้าเสรีอาเซียน — ญี่ปุ่น และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และคาดว่าการส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15 และ 11.66 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 แต่การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 1.43 เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วยังถือว่าการผลิตปูนซีเมนต์ยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจนทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐยังคงชะลอตัว ประชาชนยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ทำให้กระทบถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน แต่อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐเป็นหลัก
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.50 และ 11.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 และ 8.60 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มมากขึ้น
แนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอของตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มจะปรับราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อลดลง สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจึงต้องเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 17.97 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 17.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อัญมณี โดยสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ พลอยเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวก คือ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวร้อยละ 83.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกล่าสุดว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ และมีโอกาสที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสหรัฐอเมริกามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่กระนั้นจะส่งผลต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเงินทุนจะไหลจากที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำไปสู่ที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า จะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก อันจะส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในทางลบ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรใช้กลยุทธ์ การหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น แถบตะวันออกกลาง ที่ขณะนี้มีรายได้สูงจากการจำหน่ายน้ำมันดิบ หรือการทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งจะส่งผลทำให้จำหน่ายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งสองกลยุทธ์นี้ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้อีก อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยลบทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวลง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเจาะตลาดที่มีกำลังซื้อ จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นคาดว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จะหดตัวลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ขณะที่สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 126.98 USD/Barrel ในการซื้อขายระหว่างวัน (ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551) เนื่องจากตลาดกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก และจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มก่อการร้ายโจมตีสถานีสูบถ่ายน้ำมันในไนจีเรีย โรงกลั่นในฟินแลนด์ปิดหน่วยผลิต ความต้องการน้ำมันดิบของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม OPEC จะเพิ่มปริมาณการผลิตหากเกิด Supply Disruptions สำหรับราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2551 นั้น อยู่ที่ 90.92 USD/Barrel
ในส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 5.7 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 (ร้อยละ 4.8 ) และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 (ร้อยละ 4.3 ) โดยปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนทางภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งการส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2551 จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5-5.5
สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 เช่น ดัชนีอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 187.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (183.7) ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (168.0) ร้อยละ 11.5 อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
เมื่อพิจารณาด้านสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 84,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.85 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.27 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก็มาจากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมากในทุกหมวดในไตรมาสที่ 1 โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบที่มีปริมาณ 76.7 ล้านบาร์เรลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 7,378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79.4
โดยในไตรมาสแรกปี 2551 การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกหมวดโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวดีทั้งราคาและปริมาณ โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ของสินค้าเกษตร/ อุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงต่อเนื่องถึงร้อยละ 31.4 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.05 และเมื่อพิจารณาในด้านของตลาดส่งออก ก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2550 ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดใหม่ที่ขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 31.4 ที่สำคัญได้แก่ แอฟริกา(ร้อยละ 64.8) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 58.4) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 34.4) จีน(ร้อยละ 34.2) ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 32.9) ขณะที่ตลาดหลักขยายตัวร้อยละ 11.7 ได้แก่ อาเซียน(5)(ร้อยละ 20.3) สหภาพยุโรป(15)(ร้อยละ 11.7) สหรัฐฯ(ร้อยละ 7.1 ซึ่งในปี 2550 การขยายตัวติดลบร้อยละ 1.2) และญี่ปุ่น(ร้อยละ 6.1) นอกจากนี้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมรายการสำคัญส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี (เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์และพลาสติก) รวมทั้งสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป ยกเว้นในส่วนของแผงวงจรไฟฟ้าที่การขยายตัวติดลบ ซึ่งมาจากภาวะการตลาดที่ปรับลดลงเกือบทุกตลาดทำให้สามารถมองได้ว่า เป็นวัฏจักรของสินค้าอยู่ในช่วงชะลอตัวลง ซึ่งโดยปกติ แล้ว วัฏจักรจะอยู่ในช่วงระยะ 4-5 ปี แต่จะใช้เวลาในช่วงชะลอลงไม่นานนัก
ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 28,877.95 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 38.90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,143.40 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 18,734.55 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 273 โครงการ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 43,600 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 120 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 75 โครงการ เป็นเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 15,100 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ และอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
และสำหรับปี 2551-2552 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วนให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน (ThailandInvestment Year 2008-2009)” เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยพร้อมรับการลงทุนทั้งจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม
เป้าหมาย และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน” เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและประหยัดพลังงาน รวมถึงขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยแนวทางและมาตรการสำคัญที่จะดำเนินการในช่วง “ปีแห่งการลงทุน 2551-2552” นั้นประกอบด้วย
1. พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่มี Value Creation
2. สร้างฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพลังงานทดแทน
3. ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(Southern Seaboard) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
4. ส่งเสริมการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม
5. ส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
6. ดำเนินกิจกรรมการชักจูงการลงทุนเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
7. ปรับปรุงการให้บริการและมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน
8. จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน”
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่พัดลมเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตามลำดับ สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00 หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 12.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : ความต้องการปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะเพิ่มขึ้นในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อันจะเป็นหนทางที่ทำให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 49.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 18.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากหลายด้าน โดยปัจจัยสนับสนุนคือแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จีนและญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดสำคัญ เนื่องจากการเลื่อนเปิดดำเนินโครงการการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายโครงการ ประกอบกับจีนยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการเตรียมการในกีฬาโอลิมปิก 2008 ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการชะลอตัวด้านอุปสงค์ในตลาดโลกซึ่งเกิดจากปัญหา sub prime ของสหรัฐอเมริกาที่ขยายผลกระทบสู่ประเทศทั่วโลก ตลอดจนอุปทานผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันได้
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 2.58 แต่ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 4.64 ในขณะที่เหล็กทรงแบนทรงตัว ร้อยละ 0.63 สำหรับมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้นบางส่วนจะมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 160.56 สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ร้อยละ 64.91
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ได้แก่ มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย การลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือกำไร จาก 3% เป็น 0.1% การลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ที่ดิน อาคารบ้านเดี่ยว บ้านแฝด จาก 2% เป็น 0.01% รวมถึงการลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เป็น 0.01% ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้สถานการณ์การผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กทรงแบนจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.30 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น 23.30 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 17.45 และ 2.45 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมีอัตราการขยายตัวสูง สาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (E 20) ส่งผลให้มีการปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์นั่งที่มีความจุของกระบอกสูบน้อยกว่า 3,000 ซีซี ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไปตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มีอัตราการขยายตัวสูง
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าการผลิตจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดภายในประเทศ ได้รับผลดีจากการที่ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55
พลาสติก ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 นี้ มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของไทยติดลบอยู่ประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งติดลบเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ถึง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า นับเป็นยอดติดลบสูงสุดตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2549 เป็นต้นมา
แนวโน้มช่วงที่เหลือของตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปี 2551 นี้ ยังคงมีแรงกดดันและการแข่งขันสูง อันมีผลสืบเนื่องจาก สภาวะถดถอยของสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก อันสืบเนื่องจาการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับสภาวะเงินเฟ้อ และราคาผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีส่วนสำคัญที่กระทบทั้งด้านต้นทุนการผลิต และขนส่ง แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผ่องถ่ายต้นทุนที่เพิ่มมาไปยังผู้บริโภคได้มากนัก
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง มูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน รายไตรมาส1 ในปี 2551 ลดลงร้อยละ 7.2 แต่สำหรับเครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 8.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเดนมาร์ก ส่วนตลาดส่งออกสินค้าหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก คือ ฮ่องกง จีน และเวียดนาม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราที่ลดลงสำหรับตลาดของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤตตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกหนี้คุณภาพต่ำ แต่คาดว่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสำหรับรองเท้าแตะและรองเท้าอื่นๆและการขยายตลาดอื่นๆ เนื่องจากมีการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ
อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มปศุสัตว์ ผักผลไม้ และน้ำมันพืช เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 16.6 และ 8.7 ตามลำดับ เป็นผลจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลจากประเทศคู่แข่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ลดลง ประกอบกับประเทศจีนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสั่งสินค้าไก่แปรรูป จากไทยทดแทน ส่งผลให้หมวดปศุสัตว์ในภาพรวมมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดสหรัฐฯ ลดลงเกือบทุกกลุ่ม
แนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากซับไพร์ม และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดประเทศอื่นๆ ตามมา และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อของทุกประเทศ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อในประเทศเอง ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ระมัดระวังยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมถึงมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 24.04 และ 46.33 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้รายได้ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังประสบกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ซบเซา จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งยอดสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศยังลดลงอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวโดยการลดกำลังการผลิตลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยบวก เช่น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน การขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และอุปสงค์ที่ยังมีอยู่โดยเฉพาะตลาดบน ดังจะเห็นได้จากการกระตุ้นการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในภาพรวม อาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.69 และ 7.93 ตามลำดับ และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.55 และ 24.75 ตามลำดับ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 — 90 บาท เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทผู้ผลิตยางยานพาหนะชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.9 ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.0 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียนที่ลดลง เป็นผลมาจาก ไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญหลายประการ คือ การเตรียมรองรับช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ในการสั่งพิมพ์ปฏิทิน สมุดบันทึก การ์ดต่าง ๆ คู่มือการใช้งานและฉลากสินค้า ประกอบกับการเตรียมรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นช่วงปลายไตรมาส แต่ในไตรมาสนี้มีปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียว คือ การเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ โดยต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง ๆ
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดอาเซียนยังคงมีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในประเทศ อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการกระดาษเพื่อการบรรจุ ห่อหุ้ม ขนส่งสินค้า และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนในไตรมาสนี้
ยา ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.8 และ 5.5 ตามลำดับ โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐได้ รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อจากร้านขายยาเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะทรงตัวหรือลดลงจากไตรมาสแรกเล็กน้อย แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ตามรอบของอุตสาหกรรม สำหรับการนำเข้าคาดว่ามูลค่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตามหากสามารถลดอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา รวมทั้งสามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เช่น รัสเซีย หรือแอฟริกาใต้ ได้ จะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีปัจจัยลบสำคัญ ได้แก่ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ค่าน้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจีน และเวียดนาม ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.0 และขยายตัวในตลาดหลักทุกตลาด ซึ่งปัจจุบันสิ่งทอไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 27.5 , 18.5, 14.1 และ 6.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเขตการค้าเสรีอาเซียน — ญี่ปุ่น และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และคาดว่าการส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15 และ 11.66 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 แต่การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 1.43 เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วยังถือว่าการผลิตปูนซีเมนต์ยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจนทำให้การลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐยังคงชะลอตัว ประชาชนยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ทำให้กระทบถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน แต่อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐเป็นหลัก
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.50 และ 11.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 และ 8.60 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มมากขึ้น
แนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอของตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มจะปรับราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อลดลง สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจึงต้องเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 17.97 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 17.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อัญมณี โดยสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ พลอยเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวก คือ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และขยายตัวร้อยละ 83.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกล่าสุดว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ และมีโอกาสที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสหรัฐอเมริกามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่กระนั้นจะส่งผลต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเงินทุนจะไหลจากที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำไปสู่ที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า จะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก อันจะส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในทางลบ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรใช้กลยุทธ์ การหาตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น แถบตะวันออกกลาง ที่ขณะนี้มีรายได้สูงจากการจำหน่ายน้ำมันดิบ หรือการทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งจะส่งผลทำให้จำหน่ายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งสองกลยุทธ์นี้ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้อีก อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยลบทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวลง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเจาะตลาดที่มีกำลังซื้อ จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นคาดว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จะหดตัวลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-