เศรษฐกิจโลก(1)
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2550 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลมาจากภาคการเงินที่ยังคงผันผวนและภาวการณ์ตึงตัวในตลาดสินเชื่อ
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ที่กำลังประสบปัญหาภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจ
สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 126.98 USD/Barrel ในการซื้อขายระหว่างวัน (ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551) เนื่องจากตลาดกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก และจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มก่อการร้ายโจมตีสถานีสูบถ่ายน้ำมันในไนจีเรีย โรงกลั่นในฟินแลนด์ปิดหน่วยผลิต ความต้องการน้ำมันดิบของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม OPEC จะเพิ่มปริมาณการผลิตหากเกิด Supply Disruptions ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 90.92 USD/Barrel
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.9 การลงทุน (Fixed investment) ในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -2.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -4.5 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 71.03 และการส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 อัตราการว่างงานเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 และ 4.9 ตามลำดับ
หมายเหตุ
(1) ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
(2) ข้อมูลบางส่วน ล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
- ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.bot.or.th
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 สูงกว่าไตรมาส 4 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 อันเนื่องมาจากราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และอาหารที่สูงขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 และ 4.8 ตามลำดับ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 29 - 30 เมษายน 2551ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 2.25 เหลือร้อยละ 2.0 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยับยั้งความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเขาสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 1 ปี 2551 ยังคงชะลอตัวลง ตลาดการเงินที่ยังคงผันผวน ตลาดสินเชื่อยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น รวมทั้งการหดตัวในตลาดที่อยู่อาศัย
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.7 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตชะลอ การขยายตัวลงเล็กน้อยตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 90.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 1 ปี 2551ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 24.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 23.7 การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศยังคงขยายเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 61.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 อันเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหาร และพลังงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.80 อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 7.47 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
หมายเหตุ
(3) ข้อมูลบางส่วน ข้อมูลล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
- ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.bot.or.th
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -21.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.6
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1ปี 2551 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน ข้าวสาลี และถั่วเหลือง อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 3.9 ตามลำดับ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และแนวโน้มพลังงานและราคาอาหารยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 GDP อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศขยายตัวชะลอลง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ระดับ 113.4 และ113.8 จุด ตามลำดับ ดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 99.6 จุด ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.0 จุด
หมายเหตุ
(4) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp
(5) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.bot.or.th
ระดับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 1 ปี 2551 ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะการจ้างงานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.1 อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า
ค่าเงินยูโรในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 1.4989 (1 Euro:USD) ซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ 1.4486 (1 Euro:USD) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะลดลง อันเป็นผลมาจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของยูโรยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.0% (เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้ออันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหาร
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยมีการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตขึ้นร้อยละ 10.0 ซึ่งถือว่าลดลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาที่ 3 ของปี 2550 ทางด้านการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.86 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 85,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 35,255 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งไปยังประเทศจีน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 90,526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.38 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.8
หมายเหตุ
(6) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/
ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือนมกราคม และร้อยละ 6.3 ในเดือนกุมภาพันธ์
เกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่มี GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 การเติบโตของ GDP ส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในขณะที่ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 9.5 ทางด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้ายังคงขยายตัว ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนทางด้านสาธารณูปโภคอ่อนตัวลง ด้านภาคการเกษตร ป่าไม้และการประมงขยายตัวร้อยละ 1.8
การส่งออกของเกาหลีใต้ใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.89 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 15.42 โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 63,471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 16,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Vehicles, Not Railway และ Machinery; Reactors, Boilers ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังประเทศจีนกว่า 13,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 29.61
ด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (Producers Prices Index) เดือนมีนาคม 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราสูงที่สุดในรอบ 9 ปีกว่า นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 เป็นต้นมา หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่นำเข้าปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ราคาอาหารและราคาวัตถุดิบก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.4 ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์(8)
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 และปรับตัวสูงขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4
หมายเหตุ
(7) ที่มา http://global.kita.net/
(8) ที่มา http://web.worldbank.org
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาวะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง และการเกิดวิกฤติในตลาดการเงินทั่วโลก นอกจากนี้การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ 1 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการผลิตในโรงงาน ภาคการก่อสร้าง และภาคบริการ โดยเฉพาะการบริการทางการเงินและการขนส่ง โดยภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 13.2 สูงกว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 14.6 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.3 และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 7.6 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 โดยภาคบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจการบริการทางการเงิน
การส่งออกของสิงค์โปร์ใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 25.13 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.64 โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 10.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 18,848 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Machinery; Reactors, Boilers และ Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการส่งออก 9,584 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 8,968 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซียและจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 33.12
อินโดนีเซีย(9)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.28 ขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.52 ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนขยายตัวร้อยละ 6.24 ส่งผลให้ทั้งปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.27 โดยทางด้านอัตราเงินเฟ้อของประเทศอินโดนีเซียในไตรมาส 4 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.77 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 6.1
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.90 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.24 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.17 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 33.09 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ
(9) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
มาเลเซีย(10)
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 โดยทั้งปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.3 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.2 โดยในไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.0 โดยทั้งปีมีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.0
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เนื่องจากผลผลิตบางภาคการผลิตชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในทุกภาคการผลิต โดยภาคการผลิตในโรงงานที่มีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ส่วนภาคการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และผลผลิตภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 16.06 และมีมูลค่าการส่งออก 48.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 7.08 ในไตรมาสที่ผ่านมา และร้อยละ 6.57 ในไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีมูลค่า 47.05 พันล้านริงกิต (14.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 15 เดือน หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 37.89 พันล้านริงกิต (11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบต่อปี สินค้าที่นำเข้าจำนวนมาก ได้แก่ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เกินดุล 9.16 พันล้านริงกิต (2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเกินดุลเดือนที่ 124 ติดต่อกัน หลังจากเดือนที่ผ่านมาเกินดุล 9.8 พันล้านริงกิต โดยการส่งออกช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2551มีมูลค่าทั้งสิ้น 100.09 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 81.2 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ทำให้ดุลการค้าช่วงดังกล่าวเกินดุลทั้งสิ้น18.89 พันล้านริงกิต
หมายเหตุ
(10) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
ฟิลิปปินส์(11)
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีการขยายตัวร้อยละ 7.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และเท่ากันกับไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 ในขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 4.8
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 หลังจากเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 10.3 เป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนัง เครื่องดื่ม รองเท้าและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์จากไม้เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันมูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากมูลค่าผลผลิตของผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.2 นอกจากนี้ มูลค่าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเลข 2 หลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนัง เครื่องดื่ม รองเท้าและเครื่องประดับ โลหะพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตภัณฑ์จากยาง และผลิตภัณฑ์จากพลาสติก
ทางด้านการนำเข้าส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 9.07 และมีมูลค่าการส่งออก 12.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.61 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.60 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 การนำเข้ามีมูลค่า 4.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 สินค้าที่นำเข้ามาก ได้แก่ ธัญพืชและสินค้าด้านพลังงาน โดยการนำเข้าธัญพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 343.0 โดยเฉพาะข้าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 961.0 ส่วนน้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 ทั้งนี้ เฉพาะการนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 8.343 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ซึ่งส่งผลให้ 2 เดือนแรกของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่เกินดุลทั้งสิ้น 300.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ขาดดุล 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ที่ขาดดุล 756 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเกินดุล 27.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การขาดดุลเป็นผลมาจากการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น
หมายเหตุ
(11) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2550 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลมาจากภาคการเงินที่ยังคงผันผวนและภาวการณ์ตึงตัวในตลาดสินเชื่อ
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone ชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ที่กำลังประสบปัญหาภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจ
สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 126.98 USD/Barrel ในการซื้อขายระหว่างวัน (ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551) เนื่องจากตลาดกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลก และจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มก่อการร้ายโจมตีสถานีสูบถ่ายน้ำมันในไนจีเรีย โรงกลั่นในฟินแลนด์ปิดหน่วยผลิต ความต้องการน้ำมันดิบของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม OPEC จะเพิ่มปริมาณการผลิตหากเกิด Supply Disruptions ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 90.92 USD/Barrel
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.9 การลงทุน (Fixed investment) ในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -2.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -4.5 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 71.03 และการส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 อัตราการว่างงานเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 และ 4.9 ตามลำดับ
หมายเหตุ
(1) ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
(2) ข้อมูลบางส่วน ล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
- ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.bot.or.th
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 สูงกว่าไตรมาส 4 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 อันเนื่องมาจากราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และอาหารที่สูงขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 และ 4.8 ตามลำดับ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 29 - 30 เมษายน 2551ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 2.25 เหลือร้อยละ 2.0 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยับยั้งความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเขาสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 1 ปี 2551 ยังคงชะลอตัวลง ตลาดการเงินที่ยังคงผันผวน ตลาดสินเชื่อยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น รวมทั้งการหดตัวในตลาดที่อยู่อาศัย
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.7 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตชะลอ การขยายตัวลงเล็กน้อยตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 90.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 1 ปี 2551ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 24.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 23.7 การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศยังคงขยายเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 61.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 อันเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหาร และพลังงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 27.80 อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 7.47 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
หมายเหตุ
(3) ข้อมูลบางส่วน ข้อมูลล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2550
- ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.bot.or.th
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -21.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.6
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1ปี 2551 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน ข้าวสาลี และถั่วเหลือง อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 อัตราการว่างงานเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 3.9 ตามลำดับ
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และแนวโน้มพลังงานและราคาอาหารยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 GDP อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศขยายตัวชะลอลง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ระดับ 113.4 และ113.8 จุด ตามลำดับ ดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 99.6 จุด ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.0 จุด
หมายเหตุ
(4) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp
(5) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.bot.or.th
ระดับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 1 ปี 2551 ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น
ภาวะการจ้างงานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.1 อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า
ค่าเงินยูโรในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 1.4989 (1 Euro:USD) ซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ 1.4486 (1 Euro:USD) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะลดลง อันเป็นผลมาจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของยูโรยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.0% (เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้ออันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหาร
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 โดยมีการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตขึ้นร้อยละ 10.0 ซึ่งถือว่าลดลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาที่ 3 ของปี 2550 ทางด้านการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.86 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 85,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 35,255 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งไปยังประเทศจีน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 90,526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.38 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.8
หมายเหตุ
(6) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/
ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือนมกราคม และร้อยละ 6.3 ในเดือนกุมภาพันธ์
เกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่มี GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 การเติบโตของ GDP ส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในขณะที่ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 9.5 ทางด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้ายังคงขยายตัว ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนทางด้านสาธารณูปโภคอ่อนตัวลง ด้านภาคการเกษตร ป่าไม้และการประมงขยายตัวร้อยละ 1.8
การส่งออกของเกาหลีใต้ใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.89 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 15.42 โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 63,471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 16,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Vehicles, Not Railway และ Machinery; Reactors, Boilers ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังประเทศจีนกว่า 13,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 29.61
ด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (Producers Prices Index) เดือนมีนาคม 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราสูงที่สุดในรอบ 9 ปีกว่า นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 เป็นต้นมา หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่นำเข้าปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ราคาอาหารและราคาวัตถุดิบก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.4 ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์(8)
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 และปรับตัวสูงขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4
หมายเหตุ
(7) ที่มา http://global.kita.net/
(8) ที่มา http://web.worldbank.org
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาวะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง และการเกิดวิกฤติในตลาดการเงินทั่วโลก นอกจากนี้การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ 1 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการผลิตในโรงงาน ภาคการก่อสร้าง และภาคบริการ โดยเฉพาะการบริการทางการเงินและการขนส่ง โดยภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 13.2 สูงกว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 14.6 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.3 และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 7.6 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 โดยภาคบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจการบริการทางการเงิน
การส่งออกของสิงค์โปร์ใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 25.13 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.64 โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 10.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 18,848 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Machinery; Reactors, Boilers และ Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการส่งออก 9,584 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 8,968 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซียและจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 33.12
อินโดนีเซีย(9)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.28 ขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.52 ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนขยายตัวร้อยละ 6.24 ส่งผลให้ทั้งปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.27 โดยทางด้านอัตราเงินเฟ้อของประเทศอินโดนีเซียในไตรมาส 4 ของปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.77 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ในขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 6.1
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.90 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.24 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.17 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 33.09 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ
(9) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
มาเลเซีย(10)
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 โดยทั้งปี 2550 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.3 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.2 โดยในไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.0 โดยทั้งปีมีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.0
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เนื่องจากผลผลิตบางภาคการผลิตชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในทุกภาคการผลิต โดยภาคการผลิตในโรงงานที่มีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ส่วนภาคการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และผลผลิตภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 16.06 และมีมูลค่าการส่งออก 48.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 7.08 ในไตรมาสที่ผ่านมา และร้อยละ 6.57 ในไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีมูลค่า 47.05 พันล้านริงกิต (14.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 15 เดือน หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 37.89 พันล้านริงกิต (11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบต่อปี สินค้าที่นำเข้าจำนวนมาก ได้แก่ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เกินดุล 9.16 พันล้านริงกิต (2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเกินดุลเดือนที่ 124 ติดต่อกัน หลังจากเดือนที่ผ่านมาเกินดุล 9.8 พันล้านริงกิต โดยการส่งออกช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2551มีมูลค่าทั้งสิ้น 100.09 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 81.2 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ทำให้ดุลการค้าช่วงดังกล่าวเกินดุลทั้งสิ้น18.89 พันล้านริงกิต
หมายเหตุ
(10) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
ฟิลิปปินส์(11)
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีการขยายตัวร้อยละ 7.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และเท่ากันกับไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 ในขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 4.8
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 หลังจากเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 10.3 เป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนัง เครื่องดื่ม รองเท้าและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์จากไม้เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันมูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 หลังจากเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากมูลค่าผลผลิตของผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.2 นอกจากนี้ มูลค่าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเลข 2 หลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนัง เครื่องดื่ม รองเท้าและเครื่องประดับ โลหะพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตภัณฑ์จากยาง และผลิตภัณฑ์จากพลาสติก
ทางด้านการนำเข้าส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 9.07 และมีมูลค่าการส่งออก 12.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.61 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.60 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 การนำเข้ามีมูลค่า 4.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 สินค้าที่นำเข้ามาก ได้แก่ ธัญพืชและสินค้าด้านพลังงาน โดยการนำเข้าธัญพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 343.0 โดยเฉพาะข้าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 961.0 ส่วนน้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 ทั้งนี้ เฉพาะการนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 8.343 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ซึ่งส่งผลให้ 2 เดือนแรกของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่เกินดุลทั้งสิ้น 300.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ขาดดุล 379 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ที่ขาดดุล 756 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเกินดุล 27.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การขาดดุลเป็นผลมาจากการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น
หมายเหตุ
(11) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2550
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-