จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.7 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อรวมทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่ยังคงขยายตัว การใช้จ่ายของรัฐบาลและการใช้จ่ายของภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนก็ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.7 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อรวมทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวสูงขึ้น แต่อุตสาหกรรมเบาหดตัว เช่น ยาสูบ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ 4.0 — 5.0 เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ และการส่งออกในช่วงปลายปี 2550 และในช่วงต้นปียังแสดงถึงแนวโน้มที่ดี สำหรับสินค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์
สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน และเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 (ม.ค. — มี.ค.51) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการจะยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่าง ๆ แต่เริ่มมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงถึงสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ไทยยังต้องเผชิญอยู่
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 187.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (183.7) ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (168.0) ร้อยละ 11.5
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 184.7 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (185.8) ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (165.5) ร้อยละ 11.6
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรวจสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนี สินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 178.0 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (180.4) ร้อยละ 1.3 และลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (179.5) ร้อยละ 0.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (65.5)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งาน ทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 79.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (76.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (79.1) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ส่วนดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 สำหรับการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาส 1 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมานั้น สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโคน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในอนาคต หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่แพงนานจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโคโดยรวม เฉลี่ยยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงานประกอบกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และเสถียรภาพทางการเมือง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 71.2, 72.6 และ 73.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดีเนื่องจากยังคงมีปัจจัยลบหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 71.6 ,72.7 และ73.5 ตามลำดับ ในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 91.4, 93.2 และ94.6 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 คือ ผลประกอบการของบริษัทคำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 84.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (81.3) แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (84.4) การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยในเดือนมีนาคม 2551 ดัชนีมีค่า 83.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 (83.0) แต่ลดลงจากเดือนมีนาคม 2550 (86.8) การที่ค่าดัชนีในเดือนมีนาคม 2551 มีค่าใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงปริมาณการผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล แต่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการปรับตัวลดลง เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบส่งผลต่อเนื่องถึงผลประกอบการ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีนำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 115.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 115.3 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณเงินตามความหมายกว้างที่แท้จริง (Real Broad Money) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 115.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 115.3
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีฟ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 118.2 ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 118.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 118.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 117.1
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 138.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (135.7) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (129.8) (ตารางที่ 5) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ยอดการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองซึ่งราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมีนาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 36.37 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 35.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.53 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.46)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมีนาคม) มีจำนวน 5.79 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.24 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 84,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.85 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.27 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2551 มีมูลค่าการส่งออกถึง 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 3 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 31,771.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 76.16) สินค้าเกษตรกรรม 4,749 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.38) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 2,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.33) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 2,553.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.12) และสินค้าอื่นๆ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.0007)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.88 สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.05 สินค้าเกษตรร้อยละ 39.87 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.42
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักของสินค้าอุตสาหกรรมในช่วง 3 เดือนแรก ของปี 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 4,575.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,305.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,913.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 1,642.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,384.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 1,165.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ยาง 1,069.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 1,046.2 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 982.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 962.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 18,047.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 43.26 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ใน ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพ
ยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 57.36 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้งหมดมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.05 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 11.7 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 6.12 และตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 7.06
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 44,471.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.54) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 26,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.05) สินค้าเชื้อเพลิง 18,497.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.11) สินค้าอุปโภคบริโภค 8,369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.19) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.09) และสินค้าอื่นๆ 1,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.02)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 3.72 สินค้าทุนนำเข้าลดลงร้อยละ 0.13 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 และสินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.04
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 51.58 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่าการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 กลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.61 สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 และประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 26.3
- แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้เร่งทำแผนยุทธศาสตร์ส่งออก เพื่อกระตุ้นการส่งออก โดยได้ทำการศึกษา รวบรวมปัญหา ความต้องการ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสธุรกิจ และข้อจำกัดทางธุรกิจ เพื่อนำเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนและแก้ไขปัญหา และนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกของไทยในระยะสั้นและระยะยาว โดยแยกแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 5 คลัสเตอร์นำร่อง ประกอบด้วย กลุ่มอาหาร กลุ่มไลฟ์สไตล์ (เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง ฯลฯ) กลุ่มแฟชั่น (สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก (ยานยนต์ ไอที ฯลฯ) และกลุ่มธุรกิจบริการ รวมทั้งแผนดึงดูดการค้าการลงทุนเข้าไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการส่งออกของปี 2551 จะสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 12.5
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 28,877.95 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 38.90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,143.40 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 18,734.55 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 35,414.05 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 8,911.91 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 7,527.96 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 6,910.33 ล้านบาท สาขาอสังหาริมทรัพย์เป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 8,553.84 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 20,929.67 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์มีเงินลงทุนสุทธิ 6,400.29 ล้านบาท และ 3,938.08 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 273 โครงการ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 43,600 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 120 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 75 โครงการ เป็นเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 15,100 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ และอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 69 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 10,884 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 5 โครงการ 9,273 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 13 โครงการ เป็นเงินลงทุน 3,504 ล้านบาท ประเทศไต้หวัน 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน 1,369 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.7 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อรวมทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวสูงขึ้น แต่อุตสาหกรรมเบาหดตัว เช่น ยาสูบ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ 4.0 — 5.0 เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ และการส่งออกในช่วงปลายปี 2550 และในช่วงต้นปียังแสดงถึงแนวโน้มที่ดี สำหรับสินค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์
สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน และเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 (ม.ค. — มี.ค.51) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการจะยังคงไม่มั่นใจในสถานการณ์ต่าง ๆ แต่เริ่มมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แสดงถึงสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ไทยยังต้องเผชิญอยู่
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 187.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (183.7) ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (168.0) ร้อยละ 11.5
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุม อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 184.7 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (185.8) ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (165.5) ร้อยละ 11.6
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรวจสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนี สินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 178.0 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (180.4) ร้อยละ 1.3 และลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (179.5) ร้อยละ 0.8
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (65.5)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งาน ทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 79.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (76.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (79.1) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ส่วนดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 สำหรับการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ยในไตรมาส 1 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมานั้น สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโคน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในอนาคต หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่แพงนานจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโคโดยรวม เฉลี่ยยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงานประกอบกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และเสถียรภาพทางการเมือง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 71.2, 72.6 และ 73.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดีเนื่องจากยังคงมีปัจจัยลบหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 71.6 ,72.7 และ73.5 ตามลำดับ ในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 91.4, 93.2 และ94.6 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 คือ ผลประกอบการของบริษัทคำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 84.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (81.3) แต่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (84.4) การที่ดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยในเดือนมีนาคม 2551 ดัชนีมีค่า 83.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 (83.0) แต่ลดลงจากเดือนมีนาคม 2550 (86.8) การที่ค่าดัชนีในเดือนมีนาคม 2551 มีค่าใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงปริมาณการผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล แต่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการปรับตัวลดลง เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบส่งผลต่อเนื่องถึงผลประกอบการ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีนำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 115.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 115.3 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณเงินตามความหมายกว้างที่แท้จริง (Real Broad Money) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าการส่งออกสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 115.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 115.3
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีฟ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 118.2 ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 118.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มูลค่าการนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 118.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 117.1
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีค่า 138.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (135.7) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (129.8) (ตารางที่ 5) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าทุน และยอดการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ปรับตัวเพิ่ม่ขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ยอดการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม สำหรับราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ตามราคาขนส่งและการศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองซึ่งราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมีนาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 36.37 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 35.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.53 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.46)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมีนาคม) มีจำนวน 5.79 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.24 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 84,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.85 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.27 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2551 มีมูลค่าการส่งออกถึง 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 3 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 31,771.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 76.16) สินค้าเกษตรกรรม 4,749 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.38) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 2,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.33) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 2,553.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.12) และสินค้าอื่นๆ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.0007)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นโดยสินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.88 สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.05 สินค้าเกษตรร้อยละ 39.87 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.42
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักของสินค้าอุตสาหกรรมในช่วง 3 เดือนแรก ของปี 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 4,575.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3,305.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,913.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 1,642.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,384.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 1,165.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ยาง 1,069.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 1,046.2 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 982.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 962.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 18,047.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 43.26 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ใน ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพ
ยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 57.36 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้งหมดมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.05 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 11.7 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 6.12 และตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 7.06
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 44,471.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 43.54) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 26,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 26.05) สินค้าเชื้อเพลิง 18,497.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.11) สินค้าอุปโภคบริโภค 8,369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.19) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.09) และสินค้าอื่นๆ 1,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.02)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 3.72 สินค้าทุนนำเข้าลดลงร้อยละ 0.13 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 และสินค้าหมวดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.04
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 51.58 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่าการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 กลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.61 สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 และประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 26.3
- แนวโน้มการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้เร่งทำแผนยุทธศาสตร์ส่งออก เพื่อกระตุ้นการส่งออก โดยได้ทำการศึกษา รวบรวมปัญหา ความต้องการ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสธุรกิจ และข้อจำกัดทางธุรกิจ เพื่อนำเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนและแก้ไขปัญหา และนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกของไทยในระยะสั้นและระยะยาว โดยแยกแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 5 คลัสเตอร์นำร่อง ประกอบด้วย กลุ่มอาหาร กลุ่มไลฟ์สไตล์ (เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง ฯลฯ) กลุ่มแฟชั่น (สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก (ยานยนต์ ไอที ฯลฯ) และกลุ่มธุรกิจบริการ รวมทั้งแผนดึงดูดการค้าการลงทุนเข้าไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการส่งออกของปี 2551 จะสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 12.5
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 28,877.95 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 38.90 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,143.40 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ 18,734.55 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 35,414.05 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีการลงทุนสุทธิมากที่สุดซึ่งเป็นเงินลงทุน 8,911.91 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 7,527.96 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 6,910.33 ล้านบาท สาขาอสังหาริมทรัพย์เป็นสาขาที่มีการลงทุนรองจากสาขาอุตสาหกรรมโดยมีการลงทุนสุทธิคิดเป็นเงิน 8,553.84 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 20,929.67 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์มีเงินลงทุนสุทธิ 6,400.29 ล้านบาท และ 3,938.08 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 273 โครงการ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 43,600 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 120 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 75 โครงการ เป็นเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 15,100 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ และอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 8,600 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 69 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 10,884 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 5 โครงการ 9,273 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 13 โครงการ เป็นเงินลงทุน 3,504 ล้านบาท ประเทศไต้หวัน 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน 1,369 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-