1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีประมาณ 1,935,435 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่ง
สำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 2.58 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี
ก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 25.00 เนื่องจากผู้
ประกอบการประสบปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ จึงทำให้ปริมาณการผลิตในช่วงนี้ลดลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 13.48 เนื่อง
จากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน (เหล็กแท่ง
แบน)กับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนในไตรมาสที่ 1 กับระยะเดียวกันของปีก่อน พบว่า การขยายตัวของราคาเหล็กแท่งแบนสูงกว่าการขยายตัวของราคา
เหล็กแผ่นรีดร้อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศถูกควบคุมด้วยราคาจำหน่ายแนะนำประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศที่
ยังคงทรงตัวอยู่ จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลดการผลิตลงในช่วงนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่น
รีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.13 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.40 และเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.01
เนื่องจากผู้ผลิตในกลุ่มนี้เกรงผลกระทบจากแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต จึงเพิ่มการผลิตไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก
รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์1 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished Products) 1,589,743 1,427,000 11.4
เหล็กทรงยาว(Long Products) 1,043,359 975,000 7.01
เหล็กทรงแบน(Flat Products) 1,594,329 1,694,604 -5.92
เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat) 875,365 1,011,742 -13.48
เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat) 468,069 417,427 12.13
เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel) 245,462 265,435 -7.52
- เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galvanized Sheet) 83,229 81,898 1.63
- เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 52,126 69,504 -25
- เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) 42,420 45,872 -7.52
- อื่นๆ (other coated steel) 69,147 68,161 1.84
ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A
รวม(1) 1,935,435 1,986,742 -2.58
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ(1) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณ 2,927,705 เมตริกตัน ขยายตัวขึ้น ร้อยละ
2.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.64 ในขณะที่
ปริมาณการใช้เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63 จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศที่ทรงตัว
การนำเข้า-การส่งออก
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวนประมาณ 65,903 ล้านบาท และ
2,550,885 เมตริกตัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 เนื่องจากสถานการณ์ราคาเหล็ก
ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงมีผลทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งที่ปริมาณการนำเข้ากลับลดลง ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า
การนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 37.66 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแผ่นเคลือบ
ดีบุก ลดลง ร้อยละ 32.35 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
รีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 160.56 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 142.04 และ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 59.31 โดยประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ประเทศรัสเซียและญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 10,381 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีด
ร้อน มีมูลค่า 8,291 ล้านบาท และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 7,186 ล้านบาท รายละเอียดตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ ตลาดนำเข้า
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 975,259 19,162 970,788 15,228 0.46 25.83 รัสเซีย
(Semi-Finished Products)
- เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 282,231 5,798 396,376 6,324 -28.8 -8.31 ยูเครน รัสเซีย
- เหล็กแท่งแบน (Slab) 548,084 10,381 495,964 7,672 10.51 35.31 รัสเซียออสเตรเลีย
- อื่นๆ (Others) 144,943 2,983 78,449 1,232 84.76 142.04 จีน เม็กซิโก
เหล็กทรงยาว 195,460 5,115 191,369 4,095 2.14 24.9 จีน ญี่ปุ่น
(Long Products )
- เหล็กเส้น (Bar) 75,045 2,007 55,670 1,375 34.8 46.05 ญี่ปุ่น จีน
- เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 7,958 322 3,054 123 160.53 160.56 อินโดนีเซียญี่ปุ่น
รีดร้อน (HR sections )
- เหล็กลวด (Wire rods) 112,457 2,786 132,645 2,597 -15.22 7.26 จีน ญี่ปุ่น
เหล็กทรงแบน 1,284,794 34,770 1,216,797 31,565 5.59 10.15 ญี่ปุ่น
(Flat Products )
เหล็กแผ่นรีดร้อน 673,967 14,462 661,892 12,889 1.82 12.2 ญี่ปุ่น
(Hot-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 40,764 1,452 60,918 912 -33.08 59.31 ญี่ปุ่น
(HR plate)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 415,467 8,291 436,420 8,172 -4.8 1.46 ญี่ปุ่นออสเตรเลีย
(HR sheet)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 217,736 4,718 164,554 3,806 32.32 23.98 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน
(HR sheet P&O )
เหล็กแผ่นรีดเย็น 183,262 7,492 178,037 6,701 2.93 11.8 ญี่ปุ่น
(Cold-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นรีดเย็น 143,578 3,786 154,341 4,227 -6.97 -10.44 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
(CR carbon steel)
- เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 39,684 3,706 23,696 2,474 67.47 49.79 ญี่ปุ่น จีน
(CR stainless steel)
เหล็กแผ่นเคลือบ 427,565 12,817 376,868 11,975 13.45 7.03 ญี่ปุ่น
(Coated Steel Products)
- เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 256,998 7,186 205,613 6,055 24.99 18.68 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
(Galv. Sheet (HDG))
- เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 46,134 1,347 42,430 1,333 8.73 1.09 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-
(Galv. Sheet (EG)) เกาหลี
- เคลือบดีบุก (Tin plate) 28,996 936 39,917 1,383 -27.36 -32.35 สาธารณรัฐ-เกาหลี จีน
- เคลือบโครเมียม 13,422 534 14,669 528 -8.50 1.27 สาธารณรัฐ-เกาหลี ไต้หวัน
(Tin free)
- อื่นๆ (Others) 82,016 2,814 74,240 2,676 10.47 5.13 ญี่ปุ่น
ท่อเหล็ก (Pipe) 95,372 6,856 227,264 7,662 -58.03 -10.52 อิตาลี ญี่ปุ่น
- ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 46,857 4,023 81,884 3,118 -42.78 29.03 สวีเดน ญี่ปุ่น
(Pipe-Seamless)
- ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe- Welded) 48,515 2,833 145,380 4,544 -66.63 -37.66 อิตาลี ญี่ปุ่น
รวม 2,550,885 65,903 2,606,219 58,551 -2.12 12.56 รัสเซีย ญี่ปุ่น
ที่มา : กรมศุลกากร
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวนประมาณ 16,482 ล้านบาท และ 554,506
เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 ตามลำดับ โดยประเทศที่มีการส่งออกไปมากที่สุด คือ จีนและ
เวียดนาม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลด
ลง ร้อยละ 64.91 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 62.62 และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 57.44
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม มีมูลค่า 2,588 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็ก
แผ่นรีดเย็น มีมูลค่า 2,064 ล้านบาท และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 1,771 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่ง
ออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 468.52 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่ม
ขึ้น 237.15 และ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 211.41รายละเอียดตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ ตลาดส่งออก
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 7,090 179 6,742 122 5.17 46.94 เวียดนาม
(Semi-Finished Products)
- เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 6,025 149 6,238 113 -3.42 31.99 เวียดนาม
- เหล็กแท่งแบน (Slab) 0 0 0 0 0 0 -
- อื่นๆ (Others) 1,066 30 504 9 111.48 237.2 กัมพูชา อินเดีย
เหล็กทรงยาว (Long Products ) 109,373 2,877 86,991 2,000 25.73 43.83 มาเลเซีย
- เหล็กเส้น (Bar) 33,675 850 7,671 149 338.99 468.5 กัมพูชา ลาว
- เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 65,582 1,771 72,120 1,730 -9.06 2.4 มาเลเซีย สิงคโปร์
รีดร้อน (HR sections )
- เหล็กลวด (Wire rods) 10,116 255 7,201 121 40.48 111.8 เวียดนาม สิงคโปร์
เหล็กทรงแบน 391,900 11,304 441,502 12,946 -11.23 -12.68 เวียดนาม จีน
(Flat Products )
เหล็กแผ่นรีดร้อน 205,390 4,669 264,472 5,225 -22.34 -10.66 เวียดนามอินโดนีเซีย
(Hot-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 56,502 1,392 36,293 722 55.68 92.77 สหรัฐอเมริกาเวียดนาม
(HR plate)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 73,641 1,701 202,445 3,997 -63.62 -57.44 อินโดนีเซีย อินเดีย
(HR sheet)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 75,246 1,575 25,734 506 192.4 211.4 เวียดนามอินโดนีเซีย
ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน
(HR sheet P&O )
เหล็กแผ่นรีดเย็น 118,865 4,651 114,280 5,751 4.01 -19.12 จีน
(Cold-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นรีดเย็น 91,824 20,642 87,607 2,320 4.81 -11.05 จีน ฮ่องกง
(CR carbon steel)
- เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 27,040 2,588 26,673 3,431 1.38 -24.58 จีน อินเดีย
(CR stainless steel)
เหล็กแผ่นเคลือบ 67,646 1,984 62,750 1,969 7.8 0.75 เบลเยียม
(Coated Steel Products)
- เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 12,632 413 24,115 661 -47.62 -37.57 อิตาลี พม่า
(Galv. Sheet (HDG))
- เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 1,453 38 4,088 107 -64.46 -64.91 มาเลเซีย อินเดีย
(Galv. Sheet (EG))
- เคลือบดีบุก (Tin plate) 630 17 1,236 46 -49.03 -62.62 ปากีสถาน ลาว
- เคลือบโครเมียม (Tin free) 3,107 98 1,315 52 136.35 86.54 ลาว พม่า
- อื่นๆ (Others) 49,824 1,419 31,996 1,103 55.72 28.67 เบลเยียม อินเดีย
ท่อเหล็ก (Pipe) 46,143 2,122 52,880 2,250 -12.74 -5.69 สหรัฐอเมริกา
- ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 3,733 412 5,388 490 -30.72 -15.87 ซาอุดิอาระเบียพม่า
(Pipe-Seamless)
- ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) 42,410 1,710 47,493 1,760 -10.7 -2.86 สหรัฐอเมริกามาเลเซีย
รวม 554,506 16,482 588,116 17,318 -5.71 -4.83 จีน เวียดนาม
ที่มา : กรมศุลกากร
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 2.58 แต่
ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 4.64 ในขณะที่เหล็กทรงแบนทรง
ตัว ร้อยละ 0.63 สำหรับมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากปริมาณความต้อง
การใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้นบางส่วนจะมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ถึง ร้อยละ 160.56 สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีมูลค่าการส่ง
ออกที่ลดลง ร้อยละ 64.91
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในช่วง
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กเส้น
เพิ่มขึ้นจาก 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 730 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.62 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 480 เหรียญสหรัฐ
ต่อตัน เป็น 683 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.19 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 414 เหรียญสหรัฐ
ต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.04 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 443 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 610 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.79 เหล็กแผ่น
รีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 533 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 684 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.26 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 607 เหรียญ
สหรัฐต่อตัน เป็น 745 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.75 อย่างไรก็ตาม พบว่าราคาที่มาถึงปลายทางมีราคาสูงขึ้นโดยโดยเป็นผลมา
จากราคาวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ราคาสินแร่เหล็กและถ่านโค้กเพิ่มขึ้น โดยราคาสินแร่เหล็กเพิ่มถึง 65%จากปริมาณความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นและ
การควบรวมกิจการของผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น บราซิลและออสเตรเลีย และราคาถ่านโค้กเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% จากการที่ผู้ผลิตถ่านโค้กรายใหญ่
ได้แก่ ออสเตรเลียและจีน ประสบปัญหาธรรมชาติ ทำให้ปริมาณการผลิตถ่านโค้กลดลง จากการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตมีต้นทุนการผลิตสูง
ขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าซื้อวัตถุดิบมาสต๊อกไว้และจะสั่งซื้อเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น อย่างไร
ก็ตาม ราคาที่แสดงเป็นราคาที่ท่าเรือต้นทางยังไม่รวมค่าระวางเรือและค่าประกันภัย ซึ่งเมื่อมาถึงปลายทางราคาจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น ราคาเสนอขาย
ของเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตมายังท่าเรือประเทศเวียดนาม มีราคาถึง 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็นผลมาจากการที่สินค้าขาดแคลนเนื่องจากปริมาณสินค้า
ส่งออกจากประเทศในกลุ่ม CIS ที่ลดลง ประกอบกับการลดลงของการส่งออกของประเทศจีนเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคของประเทศ
ด้วย
ประเทศจีนได้ประกาศมาตรการห้ามการส่งออกถ่านหินตั้งแต่ 21 มกราคม 2551 เนื่องจากภาวะขาดแคลนพลังงาน จึงจำเป็นต้อง
รักษาปริมาณถ่านหินไว้ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งนักวิเคราะห์
คาดการณ์ว่า โรงเหล็กของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีจะได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศจีน โดยในปี 2007 ที่
ผ่านมาประเทศจีนมีปริมาณส่งออกถ่านหินเพื่อผลิตถ่านโค้กประมาณ 2.54 ล้านตัน
จากผลกระทบที่ราคาเหล็กในประเทศปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลอินเดียจึงประกาศเก็บภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป
ส่งออกสูงสุดถึง 15% และยังได้ลดภาษีนำเข้าโดยภาษีนำเข้าสำหรับเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงถ่านโค้ก สังกะสี และ ferro-
alloys เป็น 0% ทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ยกเลิกการเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว โดยภาษีส่งออก
สินค้าเหล็กจากประเทศอินเดีย เป็นดังนี้
-Pig iron and sponge iron ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Semi-finished products ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Rebars, wire rods, structurals ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Galvanized / Color coated ภาษีส่งออกเป็น 5%
-CR Steel ภาษีส่งออกเป็น 10%
-HR plate, coils and sheet ภาษีส่งออกเป็น 15%
นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกสิทธิประโยชน์ในการส่งออกภายใต้ระบบ Duty Entitlement Pass Book (DEPB)
สำหรับสินค้าเหล็กเป็นการชั่วคราวและมีผลตั้งแต่ 27 มีนาคม 2551 โดยมาตรการ DEPB นี้ ผู้ผลิตเหล็กที่นำเข้าเหล็กมาเพื่อใช้ในการผลิตและส่ง
ออกจะสามารถขอภาษีนำเข้าเหล็กคืนได้ ซึ่งจากการยกเลิกสิทธิประโยชน์ดังกล่าว รัฐบาลคาดว่าจะทำให้มีปริมาณเหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้นและ
ราคาเหล็กภายในประเทศจะมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ได้แก่ มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย การลดภาษีธุรกิจเฉพาะ
สำหรับกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือกำไร จาก 3% เป็น 0.1% การลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด
ที่ดิน อาคารบ้านเดี่ยว บ้านแฝด จาก 2% เป็น 0.01% รวมถึงการลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เป็น 0.01% ซึ่งจากมาตรการดังกล่าว
จะช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้สถานการณ์การผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ใน
ขณะที่การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กทรงแบนจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีประมาณ 1,935,435 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่ง
สำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 2.58 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี
ก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 25.00 เนื่องจากผู้
ประกอบการประสบปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ จึงทำให้ปริมาณการผลิตในช่วงนี้ลดลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 13.48 เนื่อง
จากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน (เหล็กแท่ง
แบน)กับผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนในไตรมาสที่ 1 กับระยะเดียวกันของปีก่อน พบว่า การขยายตัวของราคาเหล็กแท่งแบนสูงกว่าการขยายตัวของราคา
เหล็กแผ่นรีดร้อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศถูกควบคุมด้วยราคาจำหน่ายแนะนำประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศที่
ยังคงทรงตัวอยู่ จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลดการผลิตลงในช่วงนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่น
รีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.13 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.40 และเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.01
เนื่องจากผู้ผลิตในกลุ่มนี้เกรงผลกระทบจากแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต จึงเพิ่มการผลิตไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก
รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์1 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished Products) 1,589,743 1,427,000 11.4
เหล็กทรงยาว(Long Products) 1,043,359 975,000 7.01
เหล็กทรงแบน(Flat Products) 1,594,329 1,694,604 -5.92
เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat) 875,365 1,011,742 -13.48
เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat) 468,069 417,427 12.13
เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel) 245,462 265,435 -7.52
- เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galvanized Sheet) 83,229 81,898 1.63
- เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 52,126 69,504 -25
- เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) 42,420 45,872 -7.52
- อื่นๆ (other coated steel) 69,147 68,161 1.84
ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A
รวม(1) 1,935,435 1,986,742 -2.58
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ(1) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ประมาณ 2,927,705 เมตริกตัน ขยายตัวขึ้น ร้อยละ
2.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.64 ในขณะที่
ปริมาณการใช้เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63 จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศที่ทรงตัว
การนำเข้า-การส่งออก
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวนประมาณ 65,903 ล้านบาท และ
2,550,885 เมตริกตัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 เนื่องจากสถานการณ์ราคาเหล็ก
ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงมีผลทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งที่ปริมาณการนำเข้ากลับลดลง ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า
การนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 37.66 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแผ่นเคลือบ
ดีบุก ลดลง ร้อยละ 32.35 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
รีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 160.56 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 142.04 และ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 59.31 โดยประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ประเทศรัสเซียและญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 10,381 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีด
ร้อน มีมูลค่า 8,291 ล้านบาท และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 7,186 ล้านบาท รายละเอียดตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ ตลาดนำเข้า
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 975,259 19,162 970,788 15,228 0.46 25.83 รัสเซีย
(Semi-Finished Products)
- เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 282,231 5,798 396,376 6,324 -28.8 -8.31 ยูเครน รัสเซีย
- เหล็กแท่งแบน (Slab) 548,084 10,381 495,964 7,672 10.51 35.31 รัสเซียออสเตรเลีย
- อื่นๆ (Others) 144,943 2,983 78,449 1,232 84.76 142.04 จีน เม็กซิโก
เหล็กทรงยาว 195,460 5,115 191,369 4,095 2.14 24.9 จีน ญี่ปุ่น
(Long Products )
- เหล็กเส้น (Bar) 75,045 2,007 55,670 1,375 34.8 46.05 ญี่ปุ่น จีน
- เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 7,958 322 3,054 123 160.53 160.56 อินโดนีเซียญี่ปุ่น
รีดร้อน (HR sections )
- เหล็กลวด (Wire rods) 112,457 2,786 132,645 2,597 -15.22 7.26 จีน ญี่ปุ่น
เหล็กทรงแบน 1,284,794 34,770 1,216,797 31,565 5.59 10.15 ญี่ปุ่น
(Flat Products )
เหล็กแผ่นรีดร้อน 673,967 14,462 661,892 12,889 1.82 12.2 ญี่ปุ่น
(Hot-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 40,764 1,452 60,918 912 -33.08 59.31 ญี่ปุ่น
(HR plate)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 415,467 8,291 436,420 8,172 -4.8 1.46 ญี่ปุ่นออสเตรเลีย
(HR sheet)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 217,736 4,718 164,554 3,806 32.32 23.98 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน
(HR sheet P&O )
เหล็กแผ่นรีดเย็น 183,262 7,492 178,037 6,701 2.93 11.8 ญี่ปุ่น
(Cold-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นรีดเย็น 143,578 3,786 154,341 4,227 -6.97 -10.44 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
(CR carbon steel)
- เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 39,684 3,706 23,696 2,474 67.47 49.79 ญี่ปุ่น จีน
(CR stainless steel)
เหล็กแผ่นเคลือบ 427,565 12,817 376,868 11,975 13.45 7.03 ญี่ปุ่น
(Coated Steel Products)
- เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 256,998 7,186 205,613 6,055 24.99 18.68 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-เกาหลี
(Galv. Sheet (HDG))
- เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 46,134 1,347 42,430 1,333 8.73 1.09 ญี่ปุ่นสาธารณรัฐ-
(Galv. Sheet (EG)) เกาหลี
- เคลือบดีบุก (Tin plate) 28,996 936 39,917 1,383 -27.36 -32.35 สาธารณรัฐ-เกาหลี จีน
- เคลือบโครเมียม 13,422 534 14,669 528 -8.50 1.27 สาธารณรัฐ-เกาหลี ไต้หวัน
(Tin free)
- อื่นๆ (Others) 82,016 2,814 74,240 2,676 10.47 5.13 ญี่ปุ่น
ท่อเหล็ก (Pipe) 95,372 6,856 227,264 7,662 -58.03 -10.52 อิตาลี ญี่ปุ่น
- ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 46,857 4,023 81,884 3,118 -42.78 29.03 สวีเดน ญี่ปุ่น
(Pipe-Seamless)
- ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe- Welded) 48,515 2,833 145,380 4,544 -66.63 -37.66 อิตาลี ญี่ปุ่น
รวม 2,550,885 65,903 2,606,219 58,551 -2.12 12.56 รัสเซีย ญี่ปุ่น
ที่มา : กรมศุลกากร
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวนประมาณ 16,482 ล้านบาท และ 554,506
เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 ตามลำดับ โดยประเทศที่มีการส่งออกไปมากที่สุด คือ จีนและ
เวียดนาม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลด
ลง ร้อยละ 64.91 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 62.62 และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 57.44
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม มีมูลค่า 2,588 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็ก
แผ่นรีดเย็น มีมูลค่า 2,064 ล้านบาท และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 1,771 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่ง
ออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 468.52 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่ม
ขึ้น 237.15 และ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 211.41รายละเอียดตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550
หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 1 อัตราการ ตลาดส่งออก
ปี 2551 ปี 2550 เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 7,090 179 6,742 122 5.17 46.94 เวียดนาม
(Semi-Finished Products)
- เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 6,025 149 6,238 113 -3.42 31.99 เวียดนาม
- เหล็กแท่งแบน (Slab) 0 0 0 0 0 0 -
- อื่นๆ (Others) 1,066 30 504 9 111.48 237.2 กัมพูชา อินเดีย
เหล็กทรงยาว (Long Products ) 109,373 2,877 86,991 2,000 25.73 43.83 มาเลเซีย
- เหล็กเส้น (Bar) 33,675 850 7,671 149 338.99 468.5 กัมพูชา ลาว
- เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 65,582 1,771 72,120 1,730 -9.06 2.4 มาเลเซีย สิงคโปร์
รีดร้อน (HR sections )
- เหล็กลวด (Wire rods) 10,116 255 7,201 121 40.48 111.8 เวียดนาม สิงคโปร์
เหล็กทรงแบน 391,900 11,304 441,502 12,946 -11.23 -12.68 เวียดนาม จีน
(Flat Products )
เหล็กแผ่นรีดร้อน 205,390 4,669 264,472 5,225 -22.34 -10.66 เวียดนามอินโดนีเซีย
(Hot-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 56,502 1,392 36,293 722 55.68 92.77 สหรัฐอเมริกาเวียดนาม
(HR plate)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 73,641 1,701 202,445 3,997 -63.62 -57.44 อินโดนีเซีย อินเดีย
(HR sheet)
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 75,246 1,575 25,734 506 192.4 211.4 เวียดนามอินโดนีเซีย
ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน
(HR sheet P&O )
เหล็กแผ่นรีดเย็น 118,865 4,651 114,280 5,751 4.01 -19.12 จีน
(Cold-Rolled Flat Products)
- เหล็กแผ่นรีดเย็น 91,824 20,642 87,607 2,320 4.81 -11.05 จีน ฮ่องกง
(CR carbon steel)
- เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 27,040 2,588 26,673 3,431 1.38 -24.58 จีน อินเดีย
(CR stainless steel)
เหล็กแผ่นเคลือบ 67,646 1,984 62,750 1,969 7.8 0.75 เบลเยียม
(Coated Steel Products)
- เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 12,632 413 24,115 661 -47.62 -37.57 อิตาลี พม่า
(Galv. Sheet (HDG))
- เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 1,453 38 4,088 107 -64.46 -64.91 มาเลเซีย อินเดีย
(Galv. Sheet (EG))
- เคลือบดีบุก (Tin plate) 630 17 1,236 46 -49.03 -62.62 ปากีสถาน ลาว
- เคลือบโครเมียม (Tin free) 3,107 98 1,315 52 136.35 86.54 ลาว พม่า
- อื่นๆ (Others) 49,824 1,419 31,996 1,103 55.72 28.67 เบลเยียม อินเดีย
ท่อเหล็ก (Pipe) 46,143 2,122 52,880 2,250 -12.74 -5.69 สหรัฐอเมริกา
- ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 3,733 412 5,388 490 -30.72 -15.87 ซาอุดิอาระเบียพม่า
(Pipe-Seamless)
- ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) 42,410 1,710 47,493 1,760 -10.7 -2.86 สหรัฐอเมริกามาเลเซีย
รวม 554,506 16,482 588,116 17,318 -5.71 -4.83 จีน เวียดนาม
ที่มา : กรมศุลกากร
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 2.58 แต่
ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กทรงยาว ร้อยละ 4.64 ในขณะที่เหล็กทรงแบนทรง
ตัว ร้อยละ 0.63 สำหรับมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.56 แต่ปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 2.12 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากปริมาณความต้อง
การใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้นบางส่วนจะมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ถึง ร้อยละ 160.56 สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 4.83 และ 5.71 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีมูลค่าการส่ง
ออกที่ลดลง ร้อยละ 64.91
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในช่วง
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กเส้น
เพิ่มขึ้นจาก 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 730 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.62 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 480 เหรียญสหรัฐ
ต่อตัน เป็น 683 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.19 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 414 เหรียญสหรัฐ
ต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.04 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 443 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 610 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.79 เหล็กแผ่น
รีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 533 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 684 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.26 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 607 เหรียญ
สหรัฐต่อตัน เป็น 745 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.75 อย่างไรก็ตาม พบว่าราคาที่มาถึงปลายทางมีราคาสูงขึ้นโดยโดยเป็นผลมา
จากราคาวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ราคาสินแร่เหล็กและถ่านโค้กเพิ่มขึ้น โดยราคาสินแร่เหล็กเพิ่มถึง 65%จากปริมาณความต้องการใช้เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นและ
การควบรวมกิจการของผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น บราซิลและออสเตรเลีย และราคาถ่านโค้กเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% จากการที่ผู้ผลิตถ่านโค้กรายใหญ่
ได้แก่ ออสเตรเลียและจีน ประสบปัญหาธรรมชาติ ทำให้ปริมาณการผลิตถ่านโค้กลดลง จากการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตมีต้นทุนการผลิตสูง
ขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าซื้อวัตถุดิบมาสต๊อกไว้และจะสั่งซื้อเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น อย่างไร
ก็ตาม ราคาที่แสดงเป็นราคาที่ท่าเรือต้นทางยังไม่รวมค่าระวางเรือและค่าประกันภัย ซึ่งเมื่อมาถึงปลายทางราคาจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น ราคาเสนอขาย
ของเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตมายังท่าเรือประเทศเวียดนาม มีราคาถึง 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็นผลมาจากการที่สินค้าขาดแคลนเนื่องจากปริมาณสินค้า
ส่งออกจากประเทศในกลุ่ม CIS ที่ลดลง ประกอบกับการลดลงของการส่งออกของประเทศจีนเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคของประเทศ
ด้วย
ประเทศจีนได้ประกาศมาตรการห้ามการส่งออกถ่านหินตั้งแต่ 21 มกราคม 2551 เนื่องจากภาวะขาดแคลนพลังงาน จึงจำเป็นต้อง
รักษาปริมาณถ่านหินไว้ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับมากกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งนักวิเคราะห์
คาดการณ์ว่า โรงเหล็กของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีจะได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศจีน โดยในปี 2007 ที่
ผ่านมาประเทศจีนมีปริมาณส่งออกถ่านหินเพื่อผลิตถ่านโค้กประมาณ 2.54 ล้านตัน
จากผลกระทบที่ราคาเหล็กในประเทศปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลอินเดียจึงประกาศเก็บภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป
ส่งออกสูงสุดถึง 15% และยังได้ลดภาษีนำเข้าโดยภาษีนำเข้าสำหรับเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงถ่านโค้ก สังกะสี และ ferro-
alloys เป็น 0% ทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ยกเลิกการเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว โดยภาษีส่งออก
สินค้าเหล็กจากประเทศอินเดีย เป็นดังนี้
-Pig iron and sponge iron ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Semi-finished products ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Rebars, wire rods, structurals ภาษีส่งออกเป็น 15%
-Galvanized / Color coated ภาษีส่งออกเป็น 5%
-CR Steel ภาษีส่งออกเป็น 10%
-HR plate, coils and sheet ภาษีส่งออกเป็น 15%
นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกสิทธิประโยชน์ในการส่งออกภายใต้ระบบ Duty Entitlement Pass Book (DEPB)
สำหรับสินค้าเหล็กเป็นการชั่วคราวและมีผลตั้งแต่ 27 มีนาคม 2551 โดยมาตรการ DEPB นี้ ผู้ผลิตเหล็กที่นำเข้าเหล็กมาเพื่อใช้ในการผลิตและส่ง
ออกจะสามารถขอภาษีนำเข้าเหล็กคืนได้ ซึ่งจากการยกเลิกสิทธิประโยชน์ดังกล่าว รัฐบาลคาดว่าจะทำให้มีปริมาณเหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้นและ
ราคาเหล็กภายในประเทศจะมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ได้แก่ มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย การลดภาษีธุรกิจเฉพาะ
สำหรับกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือกำไร จาก 3% เป็น 0.1% การลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด
ที่ดิน อาคารบ้านเดี่ยว บ้านแฝด จาก 2% เป็น 0.01% รวมถึงการลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เป็น 0.01% ซึ่งจากมาตรการดังกล่าว
จะช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้สถานการณ์การผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ใน
ขณะที่การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กทรงแบนจะเป็นไปตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-