- รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม(นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำหนดให้ ปี 2551-2552 ดำเนินมาตรการ
ตามนโยบาย “ปีแห่งการลงทุนไทย” (Thailand Invstment Year) เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน
อุตสาหกรรมเป้าหมาย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยซึ่งประกอบด้วย 8 แนวทาง
หลัก ได้แก่ (ที่มา : www.boi.go.th)
- การพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่ประเทศมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่ Value
Creation
- สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพลังงานทดแทน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง
ทุนจะปรับปรุงประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 140 ประเภท เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวไปสู่การเพิ่มมูลค่า และใช้
เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น
- ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาเทิร์น ซีบอดร์ด) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม
รวมถึงผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูง เพื่อรองรับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- ส่งเสริมการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม โดยเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษี
อากร เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
- ส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะจัด
ตั้ง Investment Support Center ในประเทศเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ประสานการเชื่อมโยงธุรกิจแก่นักลงทุนไทยที่ทำธุรกิจในประเทศเป้าหมาย
- ชักจูงการลงทุนเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดคณะชักจูงการลงทุนเดินทางไปพบปะกับนักลงทุนชั้นนำในประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา เป็นต้น และดำเนิน
การจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในเมืองหลักของประเทศเป้าหมายเพิ่มเติม อีก 6 แห่ง ได้แก่ โซล ไทเป ปักกิ่ง กวางโจว ซิดนีย์ และสต๊อก
โฮอล์ม
- ปรับปรุงการให้บริการ และมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน โดยเตรียมที่จะจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลง
ทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหา
เชิงนโยบาย ตลอดจนปรับปรุงการให้บริการในด้านต่างๆ ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้สะดวกรวดเร็วขึ้น
- จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน” โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย การ
เพิ่มประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เป็น
ต้น
- งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 29th Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28
มีนาคม -6 เมษายน 2551 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 18,098 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มียอดจองรถยนต์ 13,500 คัน
ร้อยละ 34.06 โดยภายในงานดังกล่าว มีการเปิดตลาดภายในประเทศอย่างเป็นทางการของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ
เปิดให้จองรถปิกอัพ 1 ตัน รุ่นแรกของบริษัท นอกจากนี้บริษัท ยนตรกิจ มอเตอร์เซลส์ จำกัด ยังมีการนำรถยนต์นั่งจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับสิทธิ
พิเศษทางภาษีภายใต้ข้อตกลงตามกรอบการค้าเสรีอาเซียนเข้ามาจำหน่ายด้วย (ที่มา : www.manager.co.th)
- เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่
2/2551 ในเรื่อง แนวทางการแก้ไขผลกระทบราคาน้ำมันแพง, แนวทางการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(Natural Gas for
Vehicle หรือ NGV), แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) และ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ราย
ละเอียดเพิ่มเติมที่ www.thaigov.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 10 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 2,989.62 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย
เพิ่มขึ้นกว่า 694 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการ
ผลิตยางรถโดยสาร ยางรถบรรทุก และยางรถยนต์ใช้นอกผิวถนน ของบริษัท โอตานิ เรเดียล จำกัด เงินลงทุน 2,444.52 ล้านบาท ก่อให้เกิดการ
จ้างแรงงานไทย 550 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 365,623 คัน เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 293,635 คัน ร้อยละ 24.52 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 101,912 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน 258,606 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.28 และ 18.47 ตามลำดับ สำหรับรถยนต์นั่งมีการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิต
สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E 20) ซึ่งส่งผลกระทบด้านบวกต่อความต้อง
การรถยนต์ แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,105 คัน ลดลงร้อยละ 10.22 สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดแบ่ง เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อ
การส่งออก 197,550 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.03 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออก 197,550 คัน คิด
เป็นรถยนต์นั่งร้อยละ 24.75 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) ร้อยละ 75.25 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.30 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น 23.30 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถ
ยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 17.45 และ 2.45 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551(ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
160,767 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 138,270 คัน ร้อยละ 16.27 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง 52,448 คัน รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 10,573 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 10,680 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน
87,066 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.08, 25.05, 10.13 และ 5.65 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่
ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 10.65 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 25.33
และ 15.66 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 และ 8.99 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์
(CBU) จำนวน 197,550 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 154,520 คัน ร้อยละ 27.85 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่า
การส่งออกมีมูลค่า 88,898.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 68,446.64 ล้านบาท ร้อยละ 29.88
โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่การส่งออกรถยนต์
นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน ไปยังตลาดหลักได้แก่ กลุ่มประเทศเอเชียมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.77
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 37,767.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 37.16 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ
ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.22, 12.98 และ 8.01 ตามลำดับ โดยการส่งออก
รถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.15 และ 57.91 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลง
ร้อยละ 1.66 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทย (รวบรวมข้อมูลจากมูลค่าการส่งออกรถแวน และรถปิกอัพที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน)
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 25,041.08 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.15 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ
ของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และตุรกี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.32, 7.66 และ 4.52 ตามลำดับ โดย
การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 41.95 และ 0.54 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไป
ตุรกี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.76 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 6,371.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.52 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และ
อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.97, 22.25 และ 7.59 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปอินโดนีเซีย และซาอุดิอา
ระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 783.59 และ 53.55 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.94
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 3,113.48 และ 3,925.79 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้า
รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.23 และ 29.14 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบ
กับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.03 แต่การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 13.20 แหล่งนำเข้า
รถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 36.21, 21.46 และ
11.36 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 420.23, 94.36 และ 55.29 ตามลำดับ ส่วน
แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.92, 7.03 และ 5.35 ตาม
ลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากจีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,561.49 และ 129.64 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์
โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.65
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2551 ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ
สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการ
ขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมีอัตราการขยายตัวสูง สาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (E 20) ส่งผลให้มีการปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์นั่งที่มีความจุ
ของกระบอกสูบน้อยกว่า 3,000 ซีซี ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไปตลาดใหม่ๆ เช่น
ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มีอัตราการขยายตัวสูง สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ปี 2551 คาดว่า
การผลิตจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดภายในประเทศ ได้รับผลดีจากการที่ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่น
ใหม่ออกสู่ตลาด รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยัง
คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สอง
ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 436,337 คัน เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 431,832 คัน ร้อยละ 1.04 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ
สปอร์ต 40,033 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.23 สาเหตุส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ Big Bike เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ตลาดภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ประกอบการรายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อพิเศษจากการประมูลเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต แต่มีการ
ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 396,304 คัน ลดลงร้อยละ 3.48 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มี
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ
59.25 และ 2.55 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 มีจำนวน 435,069 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 426,172 คัน ร้อยละ 2.09 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
230,618 คัน (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 218,260 คัน และรถจักรยานยนต์แบบ
แฟมิลี่สปอร์ต 12,358 คัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 4,615 คัน (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 3,010 คัน และรถจักรยานยนต์แบบออฟโรด 1,605 คัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.66 และการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 199,836 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณ
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.26 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์
แบบสกูตเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.53, 23.05 และ 19.18 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 จำนวน 405,346 คัน เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 402,337 คัน ร้อยละ 0.75 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
การส่งออกรถจักรยานยนต์ 6,632.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 5,700.03 ล้านบาท ร้อย
ละ 16.36 ซึ่งเมื่อพิจารณาการส่งออกรถจักรยานยนต์ดังกล่าว จำแนกออกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วน
ครบชุด (CKD) พบว่า มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU 39,317 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.18 ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ CBU รุ่นใหม่ ไปยังตลาดยุโรป แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD 366,029 คัน ลดลงร้อยละ 3.78 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของ
ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 16.81 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ
10.25 เมื่อพิจารณาจำแนกการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU และรถจักรยานยนต์ CKD พบว่า มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 54.23 แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD ลดลงร้อยละ 20.74 เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่เป็นตลาดส่งออกรถ
จักรยานยนต์ CKD สำคัญของไทย ได้มีการประกอบรถจักรยานยนต์ในประเทศโดยใช้ชิ้นส่วน CKD ที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยใน
ช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 2,537.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.42 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของ
รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.40, 16.15 และ 14.40 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,855.93 และ 548.79 ตามลำดับ แต่การส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าลดลงร้อยละ 50.77 ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัว อันเนื่องมาจาก
ผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่อ sup-prime
การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า
139.77 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 79.85 หากพิจารณาในไตรมาสแรก
ของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 73.37 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตร
มาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.37, 20.14 และ 16.60 ตามลำดับ โดยมี
การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 94.09 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหราชอาณาจักร เยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 472.93 และ
81.01 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2551 ขยายตัวเป็นไตรมาสแรกตั้งแต่ปี 2550 อันเนื่องจากสาเหตุหลายประการ
ตั้งแต่ผู้ประกอบการจากหลากหลายค่ายได้มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดภาย
ในประเทศ อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นเป้าหมายหลักมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการปรับขึ้นราคาสินค้าเกษตร สำหรับตลาดส่งออกมีการส่งออกรถ
จักรยานยนต์สำเร็จรูปรุ่นใหม่ไปยังประเทศแถบยุโรปเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วงปีที่แล้วได้มีการชะลอการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเดิม สำหรับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสสอง ปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็น
ตลาดหลักมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องจากปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทางการเกษตร อีกทั้งรัฐบาลกำลังเตรียมผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับ
รากหญ้า ซึ่งนับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อตลาดภายในประเทศ จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์
CBU ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 4.8 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อย
ละ 8
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-
มี.ค) มีมูลค่า 31,666.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 39.43 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,595.94
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 117.60 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,324.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 41.27 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.68 และ 4.64 ตามลำดับ แต่มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)
ลดลงร้อยละ 4.73
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 39,545.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.21 ตลาดส่งออกที่
สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.97, 12.49 และ 10.55 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.93 และ 44.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 20.43
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ
ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 4,622.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.81 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่
รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 215.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.97 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี
2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.02 แต่การส่งออกชิ้นส่วน
อะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 28.49
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 5,770.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.02 ตลาดส่ง
ออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.16, 17.37 และ
17.37 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.78 และ 43.66 ตามลำดับ แต่การส่งออก
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 1.62
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 32,791.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.38 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.44, 6.57 และ 6.11 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์จากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 520.03, 14.41 และ 8.99 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การ
นำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 3.290.13 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.88 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า
มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.18, 20.56 และ 8.49 ตามลำดับ โดยการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.53 และ 31.96 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ 16.48
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 1,188,044 1,287,346 365,623
รถยนต์นั่ง 298,819 315,444 101,912
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 866,769 948,388 258,606
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 22,456 23,514 5,105
รถจักรยานยนต์ 2,084,001 1,653,139 436,337
ครอบครัว 2,005,968 1,563,788 396,304
สปอร์ต 78,033 89,351 40,033
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4ปี 2550 ไตรมาส 1 ปี 2551 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี2551
รถยนต์ 353,940 365,623 3.3 293,635 365,623 24.52
รถยนต์นั่ง 82,657 101,912 23.3 69,669 101,912 46.28
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 265,099 258,606 -2.45 218,280 258,606 18.47
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 6,184 5,105 -17.5 5,686 5,105 -10.2
รถจักรยานยนต์ 411,606 436,337 6.01 431,832 436,337 1.04
ครอบครัว 386,468 396,304 2.55 410,564 396,304 -3.48
สปอร์ต 25,138 40,033 59.25 21,268 40,033 88.23
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ :(1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 682,161 631,251 160,767
รถยนต์นั่ง 191,763 170,118 52,448
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 423,395 382,636 87,066
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 36,907 42,619 10,680
รถยนต์ PPV (รวม SUV) 30,096 35,878 10,573
รถจักรยานยนต์ 2,061,610 1,598,876 435,069
ครอบครัว 1,250,608 856,028 230,618
สปอร์ต 20,683 14,979 4,615
สกูตเตอร์ 790,319 727,869 199,836
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 179,925 160,767 -10.65 138,270 160,767 16.27
รถยนต์นั่ง 40,963 52,448 28.04 37,711 52,448 39.08
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 116,593 87,066 -25.33 82,406 87,066 5.65
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 12,663 10,680 -15.66 9,698 10,680 10.13
รถยนต์ PPV ( รวม SUV) 9,701 10,573 8.99 8,455 10,573 25.05
รถจักรยานยนต์ 358,801 435,069 21.26 426,172 435,069 2.09
ครอบครัว 187,420 230,618 23.05 228,921 230,618 0.74
สปอร์ต 3,706 4,615 24.53 3,702 4,615 24.66
สกูตเตอร์ 167,675 199,836 19.18 193,549 199,836 3.25
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน) 538,966 690,100 197,550
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 240,764.09 306,595.20 88,898.73
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 87,170.92 112,341.89 31,666.26
เครื่องยนต์ 8,357.93 10,504.23 4,595.94
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,453.40 7,630.59 2,324.99
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,575,666 1,789,485 405,346
รถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 107,562 101,560 39,317
รถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) 1,468,104 1,687,925 366,029
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 24,535.24 26,400.00 6,632.76
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 13,076.26 14,220.13 4,622.00
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 699.26 1,033.67 215
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี 2551 ปี 2550 ปี 2551
รถยนต์ (CBU) (คัน) 196,586 197,550 0.49 154,520 197,550 27.85
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ (CBU) (คัน) 196,586 197,550 0.49 154,520 197,550 27.9
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 89,587.25 88,898.73 -0.77 68,446.64 88,898.73 29.9
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) 33,239.01 31,666.26 -4.73 22,710.90 31,666.26 39.4
เครื่องยนต์ 2,896.36 4,595.94 58.68 2,112.11 4,595.94 118
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,221.85 2,324.99 4.64 1,645.78 2,324.99 41.3
รถจักรยานยนต์ 487,277 405,346 -16.8 402,337 405,346 0.75
(CBU&CKD) (คัน)
รถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 25,492 39,317 54.23 21,943 39,317 79.2
รถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) 461,785 366,029 -20.7 380,394 366,029 -3.78
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 7,390.05 6,632.76 -10.25 5,700.03 6,632.76 16.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 3,819.36 4,622.00 21.02 3,428.56 4,622.00 34.8
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 300.64 215 -28.49 173.43 215 24
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 9,462.01 8,578.32 3,113.48
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,099.52 14,162.56 3,925.79
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 117,916.77 116,104.46 32,791.19
รถจักรยานยนต์ 2,135.08 2,266.57 139.77
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 8,654.61 10,039.47 3,290.13
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี 2551 ปี 2550 ปี 2551
รถยนต์นั่ง 2,239.51 3,113.48 39.03 1,467.04 3,113.48 112.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 4,522.88 3,925.79 -13.2 3,039.88 3,925.79 29.14
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 32,019.96 32,791.19 2.41 26,153.94 32,791.19 25.38
รถจักรยานยนต์ 524.86 139.77 -73.4 639.52 139.77 -79.85
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 2,629.17 3,290.13 25.14 2,593.18 3,290.13 26.88
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 245.1 246.95 93.96
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 264.25 407.63 118.06
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,070.80 3,336.89 987.01
รถจักรยานยนต์ 55.59 64.88 4.22
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 232.07 288.15 99.02
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ปี 2550 ไตรมาส 1 ปี 2551 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส1 ปี2550 ไตรมาส1 ปี2551 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 65.49 93.96 43.47 40.8 93.96 130.29
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 132.22 118.06 -10.71 84.5 118.06 39.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 935.65 987.01 5.49 726.57 987.01 35.85
รถจักรยานยนต์ 15.32 4.22 -72.45 19.27 4.22 -78.1
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 76.9 99.02 28.76 72.04 99.02 37.45
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ตามนโยบาย “ปีแห่งการลงทุนไทย” (Thailand Invstment Year) เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน
อุตสาหกรรมเป้าหมาย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยซึ่งประกอบด้วย 8 แนวทาง
หลัก ได้แก่ (ที่มา : www.boi.go.th)
- การพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่ประเทศมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่ Value
Creation
- สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพลังงานทดแทน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง
ทุนจะปรับปรุงประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 140 ประเภท เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวไปสู่การเพิ่มมูลค่า และใช้
เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น
- ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาเทิร์น ซีบอดร์ด) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม
รวมถึงผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูง เพื่อรองรับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- ส่งเสริมการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม โดยเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษี
อากร เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
- ส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะจัด
ตั้ง Investment Support Center ในประเทศเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ประสานการเชื่อมโยงธุรกิจแก่นักลงทุนไทยที่ทำธุรกิจในประเทศเป้าหมาย
- ชักจูงการลงทุนเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดคณะชักจูงการลงทุนเดินทางไปพบปะกับนักลงทุนชั้นนำในประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา เป็นต้น และดำเนิน
การจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในเมืองหลักของประเทศเป้าหมายเพิ่มเติม อีก 6 แห่ง ได้แก่ โซล ไทเป ปักกิ่ง กวางโจว ซิดนีย์ และสต๊อก
โฮอล์ม
- ปรับปรุงการให้บริการ และมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน โดยเตรียมที่จะจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลง
ทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหา
เชิงนโยบาย ตลอดจนปรับปรุงการให้บริการในด้านต่างๆ ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้สะดวกรวดเร็วขึ้น
- จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน” โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย การ
เพิ่มประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เป็น
ต้น
- งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 29th Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28
มีนาคม -6 เมษายน 2551 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 18,098 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มียอดจองรถยนต์ 13,500 คัน
ร้อยละ 34.06 โดยภายในงานดังกล่าว มีการเปิดตลาดภายในประเทศอย่างเป็นทางการของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ
เปิดให้จองรถปิกอัพ 1 ตัน รุ่นแรกของบริษัท นอกจากนี้บริษัท ยนตรกิจ มอเตอร์เซลส์ จำกัด ยังมีการนำรถยนต์นั่งจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับสิทธิ
พิเศษทางภาษีภายใต้ข้อตกลงตามกรอบการค้าเสรีอาเซียนเข้ามาจำหน่ายด้วย (ที่มา : www.manager.co.th)
- เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่
2/2551 ในเรื่อง แนวทางการแก้ไขผลกระทบราคาน้ำมันแพง, แนวทางการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(Natural Gas for
Vehicle หรือ NGV), แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) และ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ราย
ละเอียดเพิ่มเติมที่ www.thaigov.go.th)
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 10 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 2,989.62 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย
เพิ่มขึ้นกว่า 694 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการ
ผลิตยางรถโดยสาร ยางรถบรรทุก และยางรถยนต์ใช้นอกผิวถนน ของบริษัท โอตานิ เรเดียล จำกัด เงินลงทุน 2,444.52 ล้านบาท ก่อให้เกิดการ
จ้างแรงงานไทย 550 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 365,623 คัน เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 293,635 คัน ร้อยละ 24.52 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 101,912 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน 258,606 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.28 และ 18.47 ตามลำดับ สำหรับรถยนต์นั่งมีการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิต
สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E 20) ซึ่งส่งผลกระทบด้านบวกต่อความต้อง
การรถยนต์ แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,105 คัน ลดลงร้อยละ 10.22 สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดแบ่ง เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อ
การส่งออก 197,550 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.03 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออก 197,550 คัน คิด
เป็นรถยนต์นั่งร้อยละ 24.75 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) ร้อยละ 75.25 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.30 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้น 23.30 แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถ
ยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 17.45 และ 2.45 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551(ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
160,767 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 138,270 คัน ร้อยละ 16.27 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง 52,448 คัน รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 10,573 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 10,680 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน
87,066 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.08, 25.05, 10.13 และ 5.65 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่
ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 10.65 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 25.33
และ 15.66 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 และ 8.99 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์
(CBU) จำนวน 197,550 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 154,520 คัน ร้อยละ 27.85 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่า
การส่งออกมีมูลค่า 88,898.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 68,446.64 ล้านบาท ร้อยละ 29.88
โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่การส่งออกรถยนต์
นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน ไปยังตลาดหลักได้แก่ กลุ่มประเทศเอเชียมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.77
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 37,767.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 37.16 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ
ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.22, 12.98 และ 8.01 ตามลำดับ โดยการส่งออก
รถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.15 และ 57.91 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลง
ร้อยละ 1.66 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทย (รวบรวมข้อมูลจากมูลค่าการส่งออกรถแวน และรถปิกอัพที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน)
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 25,041.08 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.15 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ
ของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และตุรกี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.32, 7.66 และ 4.52 ตามลำดับ โดย
การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 41.95 และ 0.54 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไป
ตุรกี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.76 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 6,371.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.52 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และ
อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.97, 22.25 และ 7.59 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปอินโดนีเซีย และซาอุดิอา
ระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 783.59 และ 53.55 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.94
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ
โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 3,113.48 และ 3,925.79 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้า
รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.23 และ 29.14 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบ
กับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.03 แต่การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 13.20 แหล่งนำเข้า
รถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 36.21, 21.46 และ
11.36 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 420.23, 94.36 และ 55.29 ตามลำดับ ส่วน
แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.92, 7.03 และ 5.35 ตาม
ลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากจีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,561.49 และ 129.64 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์
โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.65
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2551 ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ
สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่มีการขยายตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการ
ขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมีอัตราการขยายตัวสูง สาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (E 20) ส่งผลให้มีการปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์นั่งที่มีความจุ
ของกระบอกสูบน้อยกว่า 3,000 ซีซี ในขณะที่ตลาดส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ไปตลาดใหม่ๆ เช่น
ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มีอัตราการขยายตัวสูง สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ปี 2551 คาดว่า
การผลิตจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดภายในประเทศ ได้รับผลดีจากการที่ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่น
ใหม่ออกสู่ตลาด รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยัง
คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สอง
ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 55
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 436,337 คัน เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 431,832 คัน ร้อยละ 1.04 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ
สปอร์ต 40,033 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.23 สาเหตุส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ Big Bike เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ตลาดภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ประกอบการรายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อพิเศษจากการประมูลเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต แต่มีการ
ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 396,304 คัน ลดลงร้อยละ 3.48 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มี
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.01 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ
59.25 และ 2.55 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 มีจำนวน 435,069 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 426,172 คัน ร้อยละ 2.09 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
230,618 คัน (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 218,260 คัน และรถจักรยานยนต์แบบ
แฟมิลี่สปอร์ต 12,358 คัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 4,615 คัน (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 3,010 คัน และรถจักรยานยนต์แบบออฟโรด 1,605 คัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.66 และการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 199,836 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณ
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.26 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์
แบบสกูตเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.53, 23.05 และ 19.18 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 จำนวน 405,346 คัน เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 402,337 คัน ร้อยละ 0.75 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
การส่งออกรถจักรยานยนต์ 6,632.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 5,700.03 ล้านบาท ร้อย
ละ 16.36 ซึ่งเมื่อพิจารณาการส่งออกรถจักรยานยนต์ดังกล่าว จำแนกออกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วน
ครบชุด (CKD) พบว่า มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU 39,317 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.18 ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ CBU รุ่นใหม่ ไปยังตลาดยุโรป แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD 366,029 คัน ลดลงร้อยละ 3.78 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของ
ปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 16.81 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ
10.25 เมื่อพิจารณาจำแนกการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU และรถจักรยานยนต์ CKD พบว่า มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 54.23 แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD ลดลงร้อยละ 20.74 เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่เป็นตลาดส่งออกรถ
จักรยานยนต์ CKD สำคัญของไทย ได้มีการประกอบรถจักรยานยนต์ในประเทศโดยใช้ชิ้นส่วน CKD ที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยใน
ช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 2,537.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.42 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของ
รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.40, 16.15 และ 14.40 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,855.93 และ 548.79 ตามลำดับ แต่การส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าลดลงร้อยละ 50.77 ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัว อันเนื่องมาจาก
ผลกระทบของปัญหาตลาดสินเชื่อ sup-prime
การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า
139.77 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 79.85 หากพิจารณาในไตรมาสแรก
ของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 73.37 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตร
มาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.37, 20.14 และ 16.60 ตามลำดับ โดยมี
การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 94.09 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหราชอาณาจักร เยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 472.93 และ
81.01 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2551 ขยายตัวเป็นไตรมาสแรกตั้งแต่ปี 2550 อันเนื่องจากสาเหตุหลายประการ
ตั้งแต่ผู้ประกอบการจากหลากหลายค่ายได้มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดภาย
ในประเทศ อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นเป้าหมายหลักมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการปรับขึ้นราคาสินค้าเกษตร สำหรับตลาดส่งออกมีการส่งออกรถ
จักรยานยนต์สำเร็จรูปรุ่นใหม่ไปยังประเทศแถบยุโรปเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วงปีที่แล้วได้มีการชะลอการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเดิม สำหรับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสสอง ปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็น
ตลาดหลักมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องจากปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทางการเกษตร อีกทั้งรัฐบาลกำลังเตรียมผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับ
รากหญ้า ซึ่งนับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อตลาดภายในประเทศ จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์
CBU ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 4.8 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อย
ละ 8
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-
มี.ค) มีมูลค่า 31,666.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 39.43 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,595.94
ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 117.60 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,324.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 41.27 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่ง
ออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.68 และ 4.64 ตามลำดับ แต่มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)
ลดลงร้อยละ 4.73
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์
รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 39,545.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.21 ตลาดส่งออกที่
สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.97, 12.49 และ 10.55 ตาม
ลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.93 และ 44.36 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 20.43
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ
ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 4,622.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.81 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่
รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 215.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.97 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี
2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.02 แต่การส่งออกชิ้นส่วน
อะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 28.49
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 5,770.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.02 ตลาดส่ง
ออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.16, 17.37 และ
17.37 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.78 และ 43.66 ตามลำดับ แต่การส่งออก
ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 1.62
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 32,791.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.38 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.44, 6.57 และ 6.11 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์จากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 520.03, 14.41 และ 8.99 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การ
นำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 3.290.13 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.88 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2551 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า
มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.18, 20.56 และ 8.49 ตามลำดับ โดยการนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.53 และ 31.96 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ 16.48
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 1,188,044 1,287,346 365,623
รถยนต์นั่ง 298,819 315,444 101,912
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 866,769 948,388 258,606
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 22,456 23,514 5,105
รถจักรยานยนต์ 2,084,001 1,653,139 436,337
ครอบครัว 2,005,968 1,563,788 396,304
สปอร์ต 78,033 89,351 40,033
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4ปี 2550 ไตรมาส 1 ปี 2551 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี2551
รถยนต์ 353,940 365,623 3.3 293,635 365,623 24.52
รถยนต์นั่ง 82,657 101,912 23.3 69,669 101,912 46.28
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 265,099 258,606 -2.45 218,280 258,606 18.47
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 6,184 5,105 -17.5 5,686 5,105 -10.2
รถจักรยานยนต์ 411,606 436,337 6.01 431,832 436,337 1.04
ครอบครัว 386,468 396,304 2.55 410,564 396,304 -3.48
สปอร์ต 25,138 40,033 59.25 21,268 40,033 88.23
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ :(1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 682,161 631,251 160,767
รถยนต์นั่ง 191,763 170,118 52,448
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 423,395 382,636 87,066
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 36,907 42,619 10,680
รถยนต์ PPV (รวม SUV) 30,096 35,878 10,573
รถจักรยานยนต์ 2,061,610 1,598,876 435,069
ครอบครัว 1,250,608 856,028 230,618
สปอร์ต 20,683 14,979 4,615
สกูตเตอร์ 790,319 727,869 199,836
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2550 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 179,925 160,767 -10.65 138,270 160,767 16.27
รถยนต์นั่ง 40,963 52,448 28.04 37,711 52,448 39.08
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 116,593 87,066 -25.33 82,406 87,066 5.65
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 12,663 10,680 -15.66 9,698 10,680 10.13
รถยนต์ PPV ( รวม SUV) 9,701 10,573 8.99 8,455 10,573 25.05
รถจักรยานยนต์ 358,801 435,069 21.26 426,172 435,069 2.09
ครอบครัว 187,420 230,618 23.05 228,921 230,618 0.74
สปอร์ต 3,706 4,615 24.53 3,702 4,615 24.66
สกูตเตอร์ 167,675 199,836 19.18 193,549 199,836 3.25
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน) 538,966 690,100 197,550
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 240,764.09 306,595.20 88,898.73
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 87,170.92 112,341.89 31,666.26
เครื่องยนต์ 8,357.93 10,504.23 4,595.94
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,453.40 7,630.59 2,324.99
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,575,666 1,789,485 405,346
รถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 107,562 101,560 39,317
รถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) 1,468,104 1,687,925 366,029
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 24,535.24 26,400.00 6,632.76
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 13,076.26 14,220.13 4,622.00
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 699.26 1,033.67 215
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี 2551 ปี 2550 ปี 2551
รถยนต์ (CBU) (คัน) 196,586 197,550 0.49 154,520 197,550 27.85
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ (CBU) (คัน) 196,586 197,550 0.49 154,520 197,550 27.9
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 89,587.25 88,898.73 -0.77 68,446.64 88,898.73 29.9
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) 33,239.01 31,666.26 -4.73 22,710.90 31,666.26 39.4
เครื่องยนต์ 2,896.36 4,595.94 58.68 2,112.11 4,595.94 118
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,221.85 2,324.99 4.64 1,645.78 2,324.99 41.3
รถจักรยานยนต์ 487,277 405,346 -16.8 402,337 405,346 0.75
(CBU&CKD) (คัน)
รถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 25,492 39,317 54.23 21,943 39,317 79.2
รถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) 461,785 366,029 -20.7 380,394 366,029 -3.78
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 7,390.05 6,632.76 -10.25 5,700.03 6,632.76 16.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 3,819.36 4,622.00 21.02 3,428.56 4,622.00 34.8
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 300.64 215 -28.49 173.43 215 24
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย: ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 9,462.01 8,578.32 3,113.48
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,099.52 14,162.56 3,925.79
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 117,916.77 116,104.46 32,791.19
รถจักรยานยนต์ 2,135.08 2,266.57 139.77
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 8,654.61 10,039.47 3,290.13
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 %เปลี่ยนแปลง
ปี 2550 ปี 2551 ปี 2550 ปี 2551
รถยนต์นั่ง 2,239.51 3,113.48 39.03 1,467.04 3,113.48 112.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 4,522.88 3,925.79 -13.2 3,039.88 3,925.79 29.14
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 32,019.96 32,791.19 2.41 26,153.94 32,791.19 25.38
รถจักรยานยนต์ 524.86 139.77 -73.4 639.52 139.77 -79.85
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 2,629.17 3,290.13 25.14 2,593.18 3,290.13 26.88
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 245.1 246.95 93.96
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 264.25 407.63 118.06
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,070.80 3,336.89 987.01
รถจักรยานยนต์ 55.59 64.88 4.22
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 232.07 288.15 99.02
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ปี 2550 ไตรมาส 1 ปี 2551 %เปลี่ยนแปลง ไตรมาส1 ปี2550 ไตรมาส1 ปี2551 %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 65.49 93.96 43.47 40.8 93.96 130.29
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 132.22 118.06 -10.71 84.5 118.06 39.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 935.65 987.01 5.49 726.57 987.01 35.85
รถจักรยานยนต์ 15.32 4.22 -72.45 19.27 4.22 -78.1
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 76.9 99.02 28.76 72.04 99.02 37.45
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-