1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่พัดลมเครื่องปรับ
อากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตาม
ลำดับ หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 5.63 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ กระติกน้ำร้อน ตู้
เย็น และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 13.85 และ 12.88 ตามลำดับ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) เนื่องจากภาคการส่งออกโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3
เดือนแรก ปี 2551 ร้อยละ 15.12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงสุดถึง
แม้จะชะลอตัวเล็กน้อยบ้างในตลาดสหรัฐและตะวันออกกลาง โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 9.65 และ 0.76 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับ
อากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐค่อนข้างน้อย ประมาณ 7.59% ผนวกกับการเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ทั่วโลก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 4,478.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่
1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,484.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 9.87 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,421.01
ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 47.05 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 18.99% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ขณะที่ในช่วงการแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิก และฟุตบอลยูโรอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้างเล็กน้อย ส่วนตู้เย็น ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.48
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลมเครื่องปรับ
อากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตาม
ลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 5.63 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ กระติกน้ำ
ร้อน ตู้เย็น และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 13.85 และ 12.88 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้วที่ปรับตัวลดลง เนื่องมา
จากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง และมีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
เทคโนโลยีมาเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ เทคโนโลยีเดิมก็ยัง
คงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงแต่ปรับปรุงคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ให้มีความบางลงจากเดิมสนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศที่ได้รับอานิสงค์จากกการผลิตเพื่อการส่ง
ออก และมีบางบริษัทมีการลงทุนขยายโรงงานเพื่อการผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้าน มีกำลังการผลิตประมาณ 500,000 ยูนิต ขณะที่ ตัวแทน
จำหน่ายสินค้าเครื่องปรับอากาศจีนมีแผนทำการตลาดเน้นราคาเหมาะสมและสินค้ามีคุณภาพเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าก่อนในเบื้องต้นที่นำสินค้า
เข้ามาขายในไทย นอกจากนี้ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องในผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่น และเกาหลี โดยเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และการ
ทำงานที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสถานที่มากยิ่งขึ้น
ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการ
ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของ
สินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 133.06 12.53 5.63
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 322.78 50.06 10.84
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 322.50 45.69 9.38
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 163.70 13.31 10.57
พัดลม 32.23 69.62 0.09
ตู้เย็น 247.35 16.28 13.85
กระติกน้ำร้อน 169.62 -14.06 16.07
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 112.62 -1.40 12.88
สายไฟฟ้า 140.93 -13.87 3.26
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 26.60 -19.33 -12.18
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 277.13 7.08 2.59
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 89.3 -6.78 -10.07
เครื่องปรับอากาศ 89.5 -14.52 -12
หม้อหุงข้าว 103.5 0.49 0.39
ตู้เย็น 74.7 -14.43 -18.63
พัดลม 80.9 2.15 -16.51
เครื่องซักผ้า 90.9 -0.44 -4.11
พลาสมา ทีวี 180.9 11.19 28.3
แอลซีดี ทีวี 209.6 7.38 39.08
เครื่องเล่นดีวีดี 145.3 117.51 87.48
กล้องถ่ายวีดีโอ 83.8 -11.04 -17.92
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 172.9 4.28 30.59
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, May 2008
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 1 ปี 2551 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 10.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ
เป็นต้น ยกเว้นกลุ่มสินค้าภาพและเสียง เช่น พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการผลิต
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะไทยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ญี่ปุ่นเองยังคงทำ
การวิจัยและพัฒนาเป็นต้นแบบสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่ม
ภาพและเสียงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความนิยมของตัวสินค้าเทคโนโลยี
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.10 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และพัดลมเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.68 51.64 และ 53.93 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.64 18.71 และ 18.19 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) เนื่องจากภาคการส่งออกโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3
เดือนแรก ปี 2551 ร้อยละ 15.12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงสุดถึง
แม้จะชะลอตัวเล็กน้อยบ้างในตลาดสหรัฐและตะวันออกกลาง โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 9.65 และ 0.76 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับ
อากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐค่อนข้างน้อย ประมาณ 7.59% ผนวกกับการเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างทรงตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยใน เครื่องปรับอากาศซึ่งมีแนวโน้มการขายในประเทศปรับตัว
เพิ่มขึ้น จากการวางแผนการตลาดและวางแคมเปญกระตุ้นการซื้อโดยชูจุดขายเรื่องการประหยัดพลังงานและเทคโนโลยีทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม นอกจากนี้การเพิ่มยอดขายโดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัยอีกทางหนึ่ง
ส่วนตู้เย็นที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการส่งออกเช่นกันโดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 74.63 ล้านเหรียญสหรัฐและมีสัดส่วน
สูงสุดถึงร้อยละ 29.69 ในช่วง 3 เดือนแรก ทำให้มูลค่าการส่งออกตู้เย็นรวมในช่วงดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.44
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์โดยรวมปรับตัวลดลงจากการส่งออกในช่วงมกราคมถึงมีนาคมปี 2551 ร้อยละ 17.28 เนื่องจากตลาด
ส่งออกสหรัฐอเมริกาชะลอลงถึงแม้จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลงในตลาดนี้ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาด US ร้อยละ 7.01 นอกจากนี้ การ
ผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้างนำไปสู่การผลิตเทคโนโลยีใหม่
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 155.28 20.1 10.68
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 312.05 56.68 18.19
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 315.25 51.64 11.61
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 193.83 30.45 12.42
พัดลม 33.86 53.93 1.46
ตู้เย็น 250.34 12.51 11.93
กระติกน้ำร้อน 167.02 -19.51 20.64
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 107.18 -13.14 6.32
สายไฟฟ้า 150.89 1.77 18.71
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 26.77 -18.97 -9.37
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 267.49 2.04 0.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 94.2 -5.04 -3.98
เครื่องปรับอากาศ 88.2 -14.45 -2.11
หม้อหุงข้าว 100.1 -2.25 -3.47
ตู้เย็น 85.8 -2.5 -15.8
พัดลม 85.2 0.71 -10.41
เครื่องซักผ้า 103.3 -2.73 3.3
พลาสมา ทีวี 146.9 4.85 10.2
แอลซีดี ทีวี 194.1 13.31 39.94
เครื่องเล่นดีวีดี 100.7 25.88 24.78
กล้องถ่ายวีดีโอ 99 1.23 -1.49
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 200.8 19.67 53.63
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, May 2008
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ
5.04 และยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.98 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ขณะที่กลุ่มภาพและเครื่องเสียงยังคงขยายตัวได้ดียกเว้นกล้องถ่ายวีดีโอที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 4,478.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 946.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจาก
การขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน และจีนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.10 27.54 และ 24.32 มีสัดส่วนส่งออกรวม
ของ 3 ตลาดที่มีการขยายตัวมาก 3 อันดับแรก 54.63%
เครื่องปรับอากาศ
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 71.8 -9.65
อียู 401.98 23.1
ญี่ปุ่น 40.91 1.11
อาเซียน 111.72 27.54
จีน 3.21 24.32
ตะวันออกกลาง 130.83 -0.76
ตลาดอื่นๆ 185.8 31.14
รวมมูลค่าส่งออก 946.25 16.8
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงรองจากเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผง
ควบคุม เช่น ฟิวส์/สวิตช์/ปลั๊ก/socket มีมูลค่าส่งออก 421.63 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.99 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวมากได้แก่ ตลาดจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.31 แต่มูลค่าส่งออกไม่สูงมากนักเพียง 47.54 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ขณะที่ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดของสินค้าดังกล่าว ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 105.16 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 17.28 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง134.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดใน
ตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ประมาณ 60.75% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ใน
ช่วงของการปรับเปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อ
ผลิตสำหรับส่งออกในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
เครื่องรับโทรทัศน์สี
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 81.72 7.01
อียู 4.76 -75.59
ญี่ปุ่น 10.38 1.72
อาเซียน 11.87 -15.55
ตะวันออกกลาง 9.71 -44.9
ตลาดอื่นๆ 16.08 -35.15
รวมมูลค่าส่งออก 134.52 -17.28
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,478.43 6.59 15.12
เครื่องปรับอากาศ 946.25 65.83 16.8
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 421.63 4 15.99
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 286.57 -0.31 38.97
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 251.34 9.37 26.44
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 216.24 34.8 31.99
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 190.65 -2.48 19.2
สายไฟ ชุดสายไฟ 171.71 -4.84 5.85
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 170.77 -19.82 11.91
เครื่องซักผ้า 160.19 19.46 19.54
Power supply 138.18 -10.69 3.83
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 47.05 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดนี้ 1,421.01 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของ
ตลาดส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ใน
ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 30.40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้น 1.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดย
เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูง
ขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 462.12 -4.7 31.08
Semiconductor Devices Transisters 138.35 0.29 16.84
Monolithic IC 148.05 -10.55 0.98
Other IC 244.97 4 39.39
Hard Disk Drive 831.25 -4.96 34.57
Printer 18.08 -23.51 -9.14
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี2551 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.08 และเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.50 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 33.11 และ
32.97 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 63.08 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยายตัว
ร้อยละ 1.78 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก ส่วนสหรัฐอเมริกาและยุโรปปรับตัวลดลงโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 2.83 และ 0.32 ตาม
ลำดับ เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกานี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ใน
ไตรมาสที่ 1 GDP เติบโตจากไตรมาสก่อนเพียง 0.6 % เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2551 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดต่างๆยกเว้น
ตลาดสหรัฐที่ยังคงชะลอลงจากเดิม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยรวมในแง่ปริมาณ ร้อยละ 12 ส่วนโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ ร้อยละ
14.3 เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากยอดขายในตลาด Emerging Markets ทำให้การขยายตัวในของสินค้า Consumer Electronics เพิ่มขึ้นมากใน
ภูมิภาคนี้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 41%ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 454.56 -5.08 29.5
Semiconductor devices Transisters 137.77 -3.02 14
Monolithic IC 141.54 -11.37 -1.16
Other IC 212.55 2.76 32.97
Hard Disk Drive 826.87 -5.19 33.11
Printer 16.94 -29.67 -12.28
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ไตรมาสที่ 1 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(พันล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 63.08 -7.81 1.78
US 10.17 -10.33 -2.83
EU 10.18 -5.94 -0.32
Japan 12.33 -5.57 8.6
Asia Pacific 30.4 -8.45 1.51
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA), May 2008
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,484.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.87 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 1
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,421.01 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 47.05 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 18.99%
ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.24 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และอียูร้อยละ 70.81 และ 24.51 ตามลำดับ
ตารางที่ 8 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,484.00 -8.28 9.87
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,468.35 -4.75 29.24
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 1,776.20 -13.57 -15.38
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 264.23 -0.65 -5.46
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 246.54 -32.37 10.61
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 223.83 -7.7 -13.45
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 165.01 7.2 95.44
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 111.4 -6.88 -13.85
เครื่องโทรศัพท์ 92.06 -4.41 -37.41
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 45.74 -6.94 -8.52
เครื่องโทรสาร 27.74 -24 -13.47
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ขณะที่ในช่วงการแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิก และฟุตบอลยูโรอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้างเล็กน้อย ส่วนตู้เย็น ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.48
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่พัดลมเครื่องปรับ
อากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตาม
ลำดับ หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 5.63 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ กระติกน้ำร้อน ตู้
เย็น และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 13.85 และ 12.88 ตามลำดับ
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) เนื่องจากภาคการส่งออกโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3
เดือนแรก ปี 2551 ร้อยละ 15.12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงสุดถึง
แม้จะชะลอตัวเล็กน้อยบ้างในตลาดสหรัฐและตะวันออกกลาง โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 9.65 และ 0.76 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับ
อากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐค่อนข้างน้อย ประมาณ 7.59% ผนวกกับการเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ทั่วโลก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 4,478.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่
1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,484.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 9.87 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,421.01
ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 47.05 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 18.99% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ขณะที่ในช่วงการแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิก และฟุตบอลยูโรอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้างเล็กน้อย ส่วนตู้เย็น ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.48
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 133.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลมเครื่องปรับ
อากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.62 50.06 และ 45.69 ตาม
ลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 5.63 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ กระติกน้ำ
ร้อน ตู้เย็น และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.07 13.85 และ 12.88 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้วที่ปรับตัวลดลง เนื่องมา
จากความนิยมในตัวสินค้าแบบเดิมลดต่ำลง และมีสินค้าทดแทนที่มีคุณภาพสูงกว่าและความคมชัดมากกว่าเข้ามาแทนที่ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
เทคโนโลยีมาเป็น LCD/Plasma TV และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ เทคโนโลยีเดิมก็ยัง
คงมีขายในประเทศไทยในราคาที่ถูกลงแต่ปรับปรุงคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ให้มีความบางลงจากเดิมสนองตอบความต้องการของระดับกลางถึงล่างได้
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศที่ได้รับอานิสงค์จากกการผลิตเพื่อการส่ง
ออก และมีบางบริษัทมีการลงทุนขยายโรงงานเพื่อการผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในบ้าน มีกำลังการผลิตประมาณ 500,000 ยูนิต ขณะที่ ตัวแทน
จำหน่ายสินค้าเครื่องปรับอากาศจีนมีแผนทำการตลาดเน้นราคาเหมาะสมและสินค้ามีคุณภาพเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าก่อนในเบื้องต้นที่นำสินค้า
เข้ามาขายในไทย นอกจากนี้ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องในผู้ผลิตค่ายญี่ปุ่น และเกาหลี โดยเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และการ
ทำงานที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของสถานที่มากยิ่งขึ้น
ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการ
ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของ
สินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 133.06 12.53 5.63
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 322.78 50.06 10.84
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 322.50 45.69 9.38
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 163.70 13.31 10.57
พัดลม 32.23 69.62 0.09
ตู้เย็น 247.35 16.28 13.85
กระติกน้ำร้อน 169.62 -14.06 16.07
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 112.62 -1.40 12.88
สายไฟฟ้า 140.93 -13.87 3.26
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 26.60 -19.33 -12.18
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 277.13 7.08 2.59
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 89.3 -6.78 -10.07
เครื่องปรับอากาศ 89.5 -14.52 -12
หม้อหุงข้าว 103.5 0.49 0.39
ตู้เย็น 74.7 -14.43 -18.63
พัดลม 80.9 2.15 -16.51
เครื่องซักผ้า 90.9 -0.44 -4.11
พลาสมา ทีวี 180.9 11.19 28.3
แอลซีดี ทีวี 209.6 7.38 39.08
เครื่องเล่นดีวีดี 145.3 117.51 87.48
กล้องถ่ายวีดีโอ 83.8 -11.04 -17.92
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 172.9 4.28 30.59
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, May 2008
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 1 ปี 2551 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 10.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ
เป็นต้น ยกเว้นกลุ่มสินค้าภาพและเสียง เช่น พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการผลิต
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะไทยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ญี่ปุ่นเองยังคงทำ
การวิจัยและพัฒนาเป็นต้นแบบสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่ม
ภาพและเสียงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความนิยมของตัวสินค้าเทคโนโลยี
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.10 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต และพัดลมเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.68 51.64 และ 53.93 ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 20.64 18.71 และ 18.19 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดโดยรวมของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) เนื่องจากภาคการส่งออกโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3
เดือนแรก ปี 2551 ร้อยละ 15.12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีการขยายตัวสูงขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงสุดถึง
แม้จะชะลอตัวเล็กน้อยบ้างในตลาดสหรัฐและตะวันออกกลาง โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 9.65 และ 0.76 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับ
อากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐค่อนข้างน้อย ประมาณ 7.59% ผนวกกับการเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในหลายประเทศ ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดในประเทศค่อนข้างทรงตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยใน เครื่องปรับอากาศซึ่งมีแนวโน้มการขายในประเทศปรับตัว
เพิ่มขึ้น จากการวางแผนการตลาดและวางแคมเปญกระตุ้นการซื้อโดยชูจุดขายเรื่องการประหยัดพลังงานและเทคโนโลยีทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม นอกจากนี้การเพิ่มยอดขายโดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายกับงานโครงการคอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัยอีกทางหนึ่ง
ส่วนตู้เย็นที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการส่งออกเช่นกันโดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 74.63 ล้านเหรียญสหรัฐและมีสัดส่วน
สูงสุดถึงร้อยละ 29.69 ในช่วง 3 เดือนแรก ทำให้มูลค่าการส่งออกตู้เย็นรวมในช่วงดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.44
ส่วนภาวะตลาดเครื่องรับโทรทัศน์โดยรวมปรับตัวลดลงจากการส่งออกในช่วงมกราคมถึงมีนาคมปี 2551 ร้อยละ 17.28 เนื่องจากตลาด
ส่งออกสหรัฐอเมริกาชะลอลงถึงแม้จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลงในตลาดนี้ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาด US ร้อยละ 7.01 นอกจากนี้ การ
ผลิตอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้การผลิตเทคโนโลยีเดิมลดลงบ้างนำไปสู่การผลิตเทคโนโลยีใหม่
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 155.28 20.1 10.68
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 312.05 56.68 18.19
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 315.25 51.64 11.61
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 193.83 30.45 12.42
พัดลม 33.86 53.93 1.46
ตู้เย็น 250.34 12.51 11.93
กระติกน้ำร้อน 167.02 -19.51 20.64
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 107.18 -13.14 6.32
สายไฟฟ้า 150.89 1.77 18.71
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 26.77 -18.97 -9.37
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 267.49 2.04 0.08
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household Electrical Machinary 94.2 -5.04 -3.98
เครื่องปรับอากาศ 88.2 -14.45 -2.11
หม้อหุงข้าว 100.1 -2.25 -3.47
ตู้เย็น 85.8 -2.5 -15.8
พัดลม 85.2 0.71 -10.41
เครื่องซักผ้า 103.3 -2.73 3.3
พลาสมา ทีวี 146.9 4.85 10.2
แอลซีดี ทีวี 194.1 13.31 39.94
เครื่องเล่นดีวีดี 100.7 25.88 24.78
กล้องถ่ายวีดีโอ 99 1.23 -1.49
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 200.8 19.67 53.63
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, May 2008
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ
5.04 และยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.98 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ขณะที่กลุ่มภาพและเครื่องเสียงยังคงขยายตัวได้ดียกเว้นกล้องถ่ายวีดีโอที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 4,478.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกอันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 946.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้เนื่องมาจาก
การขยายตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอียู อาเซียน และจีนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.10 27.54 และ 24.32 มีสัดส่วนส่งออกรวม
ของ 3 ตลาดที่มีการขยายตัวมาก 3 อันดับแรก 54.63%
เครื่องปรับอากาศ
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 71.8 -9.65
อียู 401.98 23.1
ญี่ปุ่น 40.91 1.11
อาเซียน 111.72 27.54
จีน 3.21 24.32
ตะวันออกกลาง 130.83 -0.76
ตลาดอื่นๆ 185.8 31.14
รวมมูลค่าส่งออก 946.25 16.8
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงรองจากเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผง
ควบคุม เช่น ฟิวส์/สวิตช์/ปลั๊ก/socket มีมูลค่าส่งออก 421.63 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.99 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักที่มีอัตราการขยายตัวมากได้แก่ ตลาดจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.31 แต่มูลค่าส่งออกไม่สูงมากนักเพียง 47.54 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ขณะที่ตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดของสินค้าดังกล่าว ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 105.16 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงมากในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 17.28 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง134.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการถูกตัดจีเอสพีในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดใน
ตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุด ประมาณ 60.75% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 นอกจากนี้ ไทยยังคงอยู่ใน
ช่วงของการปรับเปลี่ยนการผลิตจากเทคโนโลยีเก่ามาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และยังคงต้องการส่วนประกอบสำคัญ เช่น LCD Panel ในประเทศ เพื่อ
ผลิตสำหรับส่งออกในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วย
เครื่องรับโทรทัศน์สี
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 81.72 7.01
อียู 4.76 -75.59
ญี่ปุ่น 10.38 1.72
อาเซียน 11.87 -15.55
ตะวันออกกลาง 9.71 -44.9
ตลาดอื่นๆ 16.08 -35.15
รวมมูลค่าส่งออก 134.52 -17.28
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,478.43 6.59 15.12
เครื่องปรับอากาศ 946.25 65.83 16.8
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 421.63 4 15.99
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 286.57 -0.31 38.97
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 251.34 9.37 26.44
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 216.24 34.8 31.99
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 190.65 -2.48 19.2
สายไฟ ชุดสายไฟ 171.71 -4.84 5.85
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 170.77 -19.82 11.91
เครื่องซักผ้า 160.19 19.46 19.54
Power supply 138.18 -10.69 3.83
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ลดลงร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 31.08 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
34.57 และ 39.39 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 47.05 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดนี้ 1,421.01 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของ
ตลาดส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) พบว่า ใน
ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าจำหน่าย 30.40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้น 1.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดย
เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูง
ขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 462.12 -4.7 31.08
Semiconductor Devices Transisters 138.35 0.29 16.84
Monolithic IC 148.05 -10.55 0.98
Other IC 244.97 4 39.39
Hard Disk Drive 831.25 -4.96 34.57
Printer 18.08 -23.51 -9.14
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี2551 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.08 และเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.50 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 33.11 และ
32.97 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จากการรายงานของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 63.08 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยายตัว
ร้อยละ 1.78 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก ส่วนสหรัฐอเมริกาและยุโรปปรับตัวลดลงโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 2.83 และ 0.32 ตาม
ลำดับ เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกานี้เอง จากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของสหรัฐ พบว่า ใน
ไตรมาสที่ 1 GDP เติบโตจากไตรมาสก่อนเพียง 0.6 % เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2551 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดต่างๆยกเว้น
ตลาดสหรัฐที่ยังคงชะลอลงจากเดิม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยรวมในแง่ปริมาณ ร้อยละ 12 ส่วนโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ ร้อยละ
14.3 เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากยอดขายในตลาด Emerging Markets ทำให้การขยายตัวในของสินค้า Consumer Electronics เพิ่มขึ้นมากใน
ภูมิภาคนี้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 41%ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม
ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 454.56 -5.08 29.5
Semiconductor devices Transisters 137.77 -3.02 14
Monolithic IC 141.54 -11.37 -1.16
Other IC 212.55 2.76 32.97
Hard Disk Drive 826.87 -5.19 33.11
Printer 16.94 -29.67 -12.28
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, เมษายน 2551
ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 1 ปี 2551
ไตรมาสที่ 1 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(พันล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Worldwide Semiconductor Sales 63.08 -7.81 1.78
US 10.17 -10.33 -2.83
EU 10.18 -5.94 -0.32
Japan 12.33 -5.57 8.6
Asia Pacific 30.4 -8.45 1.51
ที่มา : Semiconductor Industry Association (SIA), May 2008
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,484.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.28 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.87 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 1
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก1,421.01 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 47.05 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 18.99%
ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.24 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และอียูร้อยละ 70.81 และ 24.51 ตามลำดับ
ตารางที่ 8 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,484.00 -8.28 9.87
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,468.35 -4.75 29.24
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) 1,776.20 -13.57 -15.38
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ 264.23 -0.65 -5.46
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 246.54 -32.37 10.61
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 223.83 -7.7 -13.45
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ 165.01 7.2 95.44
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 111.4 -6.88 -13.85
เครื่องโทรศัพท์ 92.06 -4.41 -37.41
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 45.74 -6.94 -8.52
เครื่องโทรสาร 27.74 -24 -13.47
ที่มา กรมศุลกากร, พฤษภาคม 2551
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.44 ทั้ง
นี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู และตะวันออกกลาง
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.66 เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปยังเทคโนโลยีใหม่ ขณะที่ในช่วงการแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิก และฟุตบอลยูโรอาจช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้างเล็กน้อย ส่วนตู้เย็น ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.48
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551โดยประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมราย
สาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 35.00
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวโน้มปริมาณจำหน่าย HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.67 และ IC โดยรวมในแง่ของปริมาณจะปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ร้อยละ 24.89 ถึงแม้ว่า IC บางประเภทจะปรับตัวลดลงในเรื่องของราคา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-