การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 14,734 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 24,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 17,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
120.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,484 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q1/51กับQ4/50 Q1/51กับQ1/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 10,480 11,189 12,592 12,586 14,734 17.06 40.6
1.2 อินทรีย์ * 29 23,120 22,269 22,029 23,312 24,927 6.92 7.81
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,834 16,314 14,372 18,345 22,717 23.83 53.1
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 9,734 15,415 12,959 7,798 17,192 120.5 76.6
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 7,955 9,353 8,743 8,662 9,172 5.88 15.3
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,575 4,776 4,676 4,900 5,484 11.91 19.9
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,759 3,725 4,295 3,600 4,228 17.44 12.5
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,742 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 42.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,867 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.67 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,875 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมี
มูลค่าการส่งออก 416 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q1/51 Q1/51
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน กับQ4/50 กับQ1/50
1.1 อนินทรีย์ 28 2,491 2,438 3,158 3,283 2,867 -12.67 15.09
1.2 อินทรีย์ * 29 4,735 6,109 5,077 5,898 6,742 14.3 42.38
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,678 3,919 4,295 3,665 4,660 27.14 26.69
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 339 530 657 370 416 12.43 22.71
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,206 2,320 2,387 2,231 2,412 8.11 9.33
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,820 8,027 7,987 8,262 7,875 -4.68 0.7
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,610 2,948 3,279 3,361 3,425 1.9 31.22
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : ความต้องการปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะเพิ่มขึ้นใน
ระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อ
ไร่อันจะเป็นหนทางที่ทำให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ถ้าจะพิจารณาปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีแยกตามพืชที่สำคัญปรากฏว่า ข้าวยังคง
เป็นพืชที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีมากที่สุด โดยมีปริมาณความต้องการร้อยละ 40 ของปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมดรองลงมา คือ ไม้ผลและไม้ยืนต้น พืช
ไร่ ผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ
นอกจากนี้คาดว่านโยบายการลดการใช้สารเคมีเกษตรและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ยังส่งผลกระทบต่อความต้องการปุ๋ยเคมีไม่มากนัก เนื่อง
จากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่
เกี่ยวข้องพยายามให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในวิธีการใช้สารเคมีเกษตรอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาสารเคมีเกษตรกรตกค้างในผลผลิตและสิ่ง
แวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีเกษตรซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการทำการเกษตรลงได้ด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : คาดว่าตลาดเครื่องสำอางในประเทศจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่การแข่งขันก็มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ด้วยการเน้นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องสำอางกลุ่มผู้ชาย
ควบคู่กับการออกสินค้าใหม่เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าตามกลุ่มอายุต่าง ๆ สำหรับการส่งออกจะเน้นตลาดเอเชีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการชะลอตัวลงของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่า
ของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 14,734 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 24,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 17,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
120.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,484 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q1/51กับQ4/50 Q1/51กับQ1/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 10,480 11,189 12,592 12,586 14,734 17.06 40.6
1.2 อินทรีย์ * 29 23,120 22,269 22,029 23,312 24,927 6.92 7.81
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,834 16,314 14,372 18,345 22,717 23.83 53.1
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 9,734 15,415 12,959 7,798 17,192 120.5 76.6
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 7,955 9,353 8,743 8,662 9,172 5.88 15.3
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,575 4,776 4,676 4,900 5,484 11.91 19.9
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,759 3,725 4,295 3,600 4,228 17.44 12.5
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,742 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 42.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,867 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.67 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,875 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมี
มูลค่าการส่งออก 416 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q1/2550 Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q1/51 Q1/51
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน กับQ4/50 กับQ1/50
1.1 อนินทรีย์ 28 2,491 2,438 3,158 3,283 2,867 -12.67 15.09
1.2 อินทรีย์ * 29 4,735 6,109 5,077 5,898 6,742 14.3 42.38
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,678 3,919 4,295 3,665 4,660 27.14 26.69
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 339 530 657 370 416 12.43 22.71
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,206 2,320 2,387 2,231 2,412 8.11 9.33
2.3 เครื่องสำอาง 33 7,820 8,027 7,987 8,262 7,875 -4.68 0.7
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,610 2,948 3,279 3,361 3,425 1.9 31.22
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : ความต้องการปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่จะเพิ่มขึ้นใน
ระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อ
ไร่อันจะเป็นหนทางที่ทำให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ถ้าจะพิจารณาปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีแยกตามพืชที่สำคัญปรากฏว่า ข้าวยังคง
เป็นพืชที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีมากที่สุด โดยมีปริมาณความต้องการร้อยละ 40 ของปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมดรองลงมา คือ ไม้ผลและไม้ยืนต้น พืช
ไร่ ผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ
นอกจากนี้คาดว่านโยบายการลดการใช้สารเคมีเกษตรและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ยังส่งผลกระทบต่อความต้องการปุ๋ยเคมีไม่มากนัก เนื่อง
จากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่
เกี่ยวข้องพยายามให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในวิธีการใช้สารเคมีเกษตรอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาสารเคมีเกษตรกรตกค้างในผลผลิตและสิ่ง
แวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีเกษตรซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการทำการเกษตรลงได้ด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : คาดว่าตลาดเครื่องสำอางในประเทศจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่การแข่งขันก็มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ด้วยการเน้นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องสำอางกลุ่มผู้ชาย
ควบคู่กับการออกสินค้าใหม่เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าตามกลุ่มอายุต่าง ๆ สำหรับการส่งออกจะเน้นตลาดเอเชีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการชะลอตัวลงของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว การปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่า
ของประเทศคู่แข่ง และราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-