1. ภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติก
o ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 นี้ มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของไทยติดลบอยู่ประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งติดลบเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ถึง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า นับเป็นยอดติดลบสูงสุดตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2549 เป็น
ต้นมา
o อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ของ ปี 2549 และ 2550 จะพบว่า มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของปี 2551 นี้ อยู่
ในระดับเดียวกับ ปี 2549 ซึ่งติดลบอยู่ 114 ล้านเหรียญ
o ถึงแม้ว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศจะมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถทดแทนกับการขยายตัวอย่างรวด
เร็วของมูลค่าการนำเข้าในช่วงที่ผ่านมาได้ อันเนื่องมาจากราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น อันมีผลมาจากค่าเงินบาทของ
ไทยแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินสกุลสหรัฐ เป็นสำคัญ
1.1 การนำเข้า
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q1/2550เทียบกับ Q1/2551เทียบกับ
2549 2549 2550 2550 2550 2550 2551 Q4/2551(ร้อยละ) Q1/2550(ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 23.1 21 19.9 22.6 23 33.91 27.9 -17.72 40.2
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 192 183 192 208 227.8 231.1 238.7 3.29 24.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 365 337 315 354 359.9 389.3 446.6 14.71 41.69
รวมทั้งสิ้น 580 541 527 585 610.7 654.4 713.2 8.99 35.23
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
o การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกยังคงอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2551 นี้ มีมูลค่าประมาณ 713.2
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.99% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวการนำเข้าที่สูงสุดในรอบหลายไตรมาสที่ผ่านมา
o เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสเดียวกันตั้งแต่ปี 2549 พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ มีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มจาก ปี 2549 ถึง 35%
o ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ ชิ้นส่วนพลาสติกอื่นๆ ประมาณ 41.69 % รองลงมา คือ ฟิล์ม ฟอยล์และเทป 32.1% และ หีบ
ห่อถุง บรรจุภัณฑ์พลาสติก 13.7%
o ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย
o สาเหตุหลักที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้า คือ ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อันมาจากน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผล
กระทบโดยตรงต่อค่าขนส่งและราคาวัตถุดิบของพลาสติก คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นอกจากนี้ ยังมีภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสง
ใน คือ การที่ค่าเงินของไทยที่ยังคงแข็งอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มสูงขึ้นด้วย
1.2 การส่งออก
มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ )
ประเภทผลิตภัณฑ์ Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q1/2550เทียบกับ Q1/2551เทียบกับ
2549 2549 2550 2550 2550 2550 2551 Q4/2551(ร้อยละ) Q1/2550(ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 139 124 124 127 145 157.8 160 1.15 28.61
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 146 128 154 183 180 197.5 198 0.03 28.56
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 4.6 3.9 5.5 4.8 5.2 5.75 5.3 -7.83 -3.64
กล่องหีบพลาสติก 8.3 5.4 8.9 11.5 13.6 17.92 20.4 13.84 129.2
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 5 4.4 5 5.5 5.4 5.71 5.1 -10.7 2
หลอดและท่อพลาสติก 13.8 8.5 11.8 11.4 12.4 15.73 16.9 7.44 43.22
พลาสติกปูพื้นและผนัง 17.4 8.7 18.5 19.9 20.5 18.82 20.2 7.33 9.19
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 24.8 28.6 24.6 28.5 30.2 30.35 30.2 -0.49 22.76
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 160 155 175 188 204 214.4 211 -1.69 20.46
รวมทั้งสิ้น 519 466 527 579 617 664 666 0.31 26.37
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
o แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกยังคงอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้การขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของ
ไตรมาสแรกของปี 2551 นี้ จะขยายตัว จากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณ 0.31% มาอยู่ที่ 666.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อ
การส่งออก คือ การถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดหลักของโลกและของไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยด้วย ทั้งนี้ การถดถอยของเศรษฐกิจ
สหรัฐส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของโลก นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาท และการอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินสหรัฐ ยังส่ง
ผลให้มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่าที่ควร
o ตลาดส่งออกหลักผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
o ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ฟิล์ม ฟอยล์และเทป มูลค่า 197.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ รองลงมา คือ ถุง และกระสอบ
พลาสติก มูลค่า 159.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
2. แนวโน้ม
แนวโน้มช่วงที่เหลือของตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปี 2551 นี้ ยังคงมีแรงกดดันและการแข่งขันสูง อันมีผลสืบเนื่องจาก
o สภาวะถดถอยของสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก อันสืบเนื่องจาการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับสภาวะเงินเฟ้อ และ
ราคาผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
o ภาวะค่าเงินของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐ อันที่จะทำให้การส่งออกเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น
o ราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีส่วนสำคัญที่กระทบทั้งด้านต้นทุนการผลิต และขน
ส่ง แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผ่องถ่ายต้นทุนที่เพิ่มมาไปยังผู้บริโภคได้มากนัก
o นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการเลิก การลดการใช้และการผลิตถุงพลาสติกในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่
อย่างประเทศจีนที่มีนโยบายลดการผลิตถุงพลาสติกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้นโยบายนี้จะส่งผลให้ความต้องการถุงพลาสติกลดลง แต่เราสามารถพลิก
เป็นโอกาสได้ เพราะประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกถุงพลาสติกรายใหญ่จะต้องลดปริมาณผลิตและการส่งออกลง จึงเป็นช่องทางที่เราสามารถเข้าทำตลาด
ในส่วนนี้ได้
o วิกฤตความขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะข้าวที่กระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ไทยเราอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ เพราะเรามีศักยภาพการเกษตร
สูง ไทยเป็นผู้นำตลาดส่งออกข้าวของโลก และมีนโยบายเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกด้วย ทั้งนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกจะเข้ามามีบทบาทส่ง
เสริมในด้านนี้ได้ ตั้งแต่ใช้พลาสติกเพื่อการเกษตรในการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิต ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและยืดอายุผลิตภัณฑ์การ
เกษตรและอาหาร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
o ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 นี้ มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของไทยติดลบอยู่ประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งติดลบเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ถึง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า นับเป็นยอดติดลบสูงสุดตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2549 เป็น
ต้นมา
o อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ของ ปี 2549 และ 2550 จะพบว่า มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสุทธิของปี 2551 นี้ อยู่
ในระดับเดียวกับ ปี 2549 ซึ่งติดลบอยู่ 114 ล้านเหรียญ
o ถึงแม้ว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศจะมีการขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถทดแทนกับการขยายตัวอย่างรวด
เร็วของมูลค่าการนำเข้าในช่วงที่ผ่านมาได้ อันเนื่องมาจากราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น อันมีผลมาจากค่าเงินบาทของ
ไทยแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินสกุลสหรัฐ เป็นสำคัญ
1.1 การนำเข้า
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q1/2550เทียบกับ Q1/2551เทียบกับ
2549 2549 2550 2550 2550 2550 2551 Q4/2551(ร้อยละ) Q1/2550(ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 23.1 21 19.9 22.6 23 33.91 27.9 -17.72 40.2
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 192 183 192 208 227.8 231.1 238.7 3.29 24.19
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 365 337 315 354 359.9 389.3 446.6 14.71 41.69
รวมทั้งสิ้น 580 541 527 585 610.7 654.4 713.2 8.99 35.23
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
o การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกยังคงอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2551 นี้ มีมูลค่าประมาณ 713.2
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.99% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวการนำเข้าที่สูงสุดในรอบหลายไตรมาสที่ผ่านมา
o เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสเดียวกันตั้งแต่ปี 2549 พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ มีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มจาก ปี 2549 ถึง 35%
o ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ ชิ้นส่วนพลาสติกอื่นๆ ประมาณ 41.69 % รองลงมา คือ ฟิล์ม ฟอยล์และเทป 32.1% และ หีบ
ห่อถุง บรรจุภัณฑ์พลาสติก 13.7%
o ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย
o สาเหตุหลักที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้า คือ ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อันมาจากน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผล
กระทบโดยตรงต่อค่าขนส่งและราคาวัตถุดิบของพลาสติก คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นอกจากนี้ ยังมีภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสง
ใน คือ การที่ค่าเงินของไทยที่ยังคงแข็งอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มสูงขึ้นด้วย
1.2 การส่งออก
มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ )
ประเภทผลิตภัณฑ์ Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q1/2550เทียบกับ Q1/2551เทียบกับ
2549 2549 2550 2550 2550 2550 2551 Q4/2551(ร้อยละ) Q1/2550(ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 139 124 124 127 145 157.8 160 1.15 28.61
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 146 128 154 183 180 197.5 198 0.03 28.56
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 4.6 3.9 5.5 4.8 5.2 5.75 5.3 -7.83 -3.64
กล่องหีบพลาสติก 8.3 5.4 8.9 11.5 13.6 17.92 20.4 13.84 129.2
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 5 4.4 5 5.5 5.4 5.71 5.1 -10.7 2
หลอดและท่อพลาสติก 13.8 8.5 11.8 11.4 12.4 15.73 16.9 7.44 43.22
พลาสติกปูพื้นและผนัง 17.4 8.7 18.5 19.9 20.5 18.82 20.2 7.33 9.19
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 24.8 28.6 24.6 28.5 30.2 30.35 30.2 -0.49 22.76
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 160 155 175 188 204 214.4 211 -1.69 20.46
รวมทั้งสิ้น 519 466 527 579 617 664 666 0.31 26.37
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
o แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกยังคงอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้การขยายตัวการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของ
ไตรมาสแรกของปี 2551 นี้ จะขยายตัว จากไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ประมาณ 0.31% มาอยู่ที่ 666.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อ
การส่งออก คือ การถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดหลักของโลกและของไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยด้วย ทั้งนี้ การถดถอยของเศรษฐกิจ
สหรัฐส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของโลก นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาท และการอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินสหรัฐ ยังส่ง
ผลให้มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่าที่ควร
o ตลาดส่งออกหลักผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
o ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ฟิล์ม ฟอยล์และเทป มูลค่า 197.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ รองลงมา คือ ถุง และกระสอบ
พลาสติก มูลค่า 159.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
2. แนวโน้ม
แนวโน้มช่วงที่เหลือของตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปี 2551 นี้ ยังคงมีแรงกดดันและการแข่งขันสูง อันมีผลสืบเนื่องจาก
o สภาวะถดถอยของสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก อันสืบเนื่องจาการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับสภาวะเงินเฟ้อ และ
ราคาผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
o ภาวะค่าเงินของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐ อันที่จะทำให้การส่งออกเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น
o ราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีส่วนสำคัญที่กระทบทั้งด้านต้นทุนการผลิต และขน
ส่ง แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผ่องถ่ายต้นทุนที่เพิ่มมาไปยังผู้บริโภคได้มากนัก
o นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการเลิก การลดการใช้และการผลิตถุงพลาสติกในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่
อย่างประเทศจีนที่มีนโยบายลดการผลิตถุงพลาสติกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้นโยบายนี้จะส่งผลให้ความต้องการถุงพลาสติกลดลง แต่เราสามารถพลิก
เป็นโอกาสได้ เพราะประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกถุงพลาสติกรายใหญ่จะต้องลดปริมาณผลิตและการส่งออกลง จึงเป็นช่องทางที่เราสามารถเข้าทำตลาด
ในส่วนนี้ได้
o วิกฤตความขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะข้าวที่กระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ไทยเราอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ เพราะเรามีศักยภาพการเกษตร
สูง ไทยเป็นผู้นำตลาดส่งออกข้าวของโลก และมีนโยบายเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกด้วย ทั้งนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกจะเข้ามามีบทบาทส่ง
เสริมในด้านนี้ได้ ตั้งแต่ใช้พลาสติกเพื่อการเกษตรในการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิต ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและยืดอายุผลิตภัณฑ์การ
เกษตรและอาหาร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-