ไตรมาส 1 ปี 2551 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียมีความผันผวนปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งอยู่ในช่วงขาขึ้น มีสาเหตุจาก
สภาพอากาศแปรปรวนทำให้แหล่งผลิตน้ำมันสำคัญในแม็กซิโกต้องหยุดการผลิตชั่วคราว รวมทั้งปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐอเมริกาลดลง นอกจากนั้น
ยังมีปัจจัยทางการเมือง ประกอบด้วย ประธานาธิบดีของเวเนซูเอลาประกาศหยุดส่งน้ำมันดิบออกไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากเวเนซูเอลาถูกเพิกถอนสิทธิ์
การลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง ทั้งการก่อการร้ายในไนจีเรีย
การต่อสู้ระหว่างทหารของตุรกีกับกลุ่มกบฏชาวเคิร์ดทางตอนเหนือของอิรัก ด้านราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากผู้ผลิต
หลายรายทั้งในและต่างประเทศตัดสินใจลดกำลังการผลิต โดยลดการใช้แนฟธาเป็นสารตั้งต้นแล้วหันไปใช้วัตถุดิบตั้งต้นอื่นแทน เช่น ผู้ผลิตในเกาหลีใต้
หันไปใช้ LPG เป็นสารตั้งต้นแทน
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ในตลาดเอเชียค่อนข้างเงียบในช่วงเทศกาลตรุษจีน กอร์ปกับปริมาณ PP ในจีนมีค่อนข้าง
มาก รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่จะมี PP จากสหรัฐฯ เข้ามาสู่ตลาดเอเซีย ส่งผลให้ราคาค่อนข้างทรงตัวตลอดไตรมาส
รัฐบาลจีน ประกาศห้ามการผลิตและการใช้ถุงพลาสติกแบบบางกว่า 0.025 มิลลิเมตร ในประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน
2551 เพื่อลดปัญหามลภาวะ และสนับสนุนการรีไซเคิล โดยมีการประเมินว่า มาตรการนี้อาจส่งผลให้ปริมาณการใช้เม็ดพลาสติก PE ลดลงถึงประมาณ
600,000 ตัน/ปี รวมถึงมีการคาดการณ์ความต้องการใช้เม็ดพลาสติก PP ของจีนจะเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี นับจากปัจจุบันจนถึงปี 2555
ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ PP ในปี 2555 สูงถึง 15 ล้านตัน หลังจากนั้นอัตราการเจริญเติบโตระหว่างปี 2556-2560 จะเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.5
โดยความต้องการใช้เม็ดพลาสติก PP ในปี 2560 จะอยู่ที่ 19.6 ล้านตัน
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีโครงการร่วมทุนศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างหน่วยผลิต
Specialty Elastomer โดยวัตถุดิบตั้งต้นประเภทโอเลฟินส์มาจากเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 900,000 ตัน/ปี โดยมีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตใน
กลางปี 2553 อีกทั้งมีโครงการร่วมทุนผลิตสาร Acrylonitrile และ Methyl Methacrylate กำลังการผลิตของโครงการประกอบด้วย
Acrylonitrile 200,000 ตัน/ปี และโครงการร่วมทุนก่อสร้างหน่วยผลิต Methyl Methacrylate (MMA) 2 หน่วย กำลังการผลิตรวม
160,000 ตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาฯณิชย์ในปี 2553 โดยสาร MMA ที่ผลิตได้จะใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกอื่นๆ ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่
Polymethyl Methacrylate (PMMA) ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง โดยโครงการทั้งหมดจะตั้งอยู่ที่มาบตาพุด
จ.ระยอง
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย จีนลงทุนสร้างเอทิลีนแครกเกอร์หน่วยที่ 2 กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปีเมื่อปลายไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2550 ทำให้กำลังการผลิตเอทิลีนของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2553 รวมถึงลงทุนเพิ่มใน
หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ ที่สามารถผลิต benzene, toluene, และ mixed xylene ได้ 400,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP กำลังการผลิต
300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PE 2 หน่วย กำลังการผลิตรวม 550,000 ตัน/ปี โครงการคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีขนาด 10 ล้านตัน/ปี
แนฟธาแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง มีกำหนดเริ่งเดินเครื่องหลังปี 2553 นอกจากนั้นจีนได้วางแผนหยุดเดิน
เครื่องหน่วยผลิต EVA ขนาด 40,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในเมืองปักกิ่ง โดยจะย้ายฐานการผลิตไปยังเมือง Tianjin ก่อนการแข่ง
ขันโอลิมปิก 2008 จะเริ่มขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหามลภาวะ โดยคาดว่าจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตได้อีกครั้งในช่วงต้นปี 2552
ไต้หวัน เริ่มงาน pre-commissioning เอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปี และคาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในช่วง
ปลายเดือนเมษายน โดยแครกเกอร์ดังกล่าวสามารถผลิตโพรพิลีนได้ 600,000 ตัน/ปี และยังมีการสร้าง Olefins Conversion Unit ซึ่งจะทำให้
สามารถผลิตโพรพิลีนได้เพิ่มขึ้นอีก 250,000 ตัน/ปี โดยหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่ใช้วัตถุดิบจากแครกเกอร์นี้ ประกอบด้วย หน่วยผลิต styrene
monomer (SM) หน่วยผลิต MEG มีกำลังการผลิตหน่วยละ 700,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต bisphenol-A มีกำลังการผลิต 130,000 ตัน/ปี
ญี่ปุ่น เริ่มงานก่อสร้างหน่วยผลิตโพรพิลีน High-Efficiency Propylene Unit ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุน โดยผลิตโพรพิลีนจาก
Crude C4 และเอทิลีนเป็นสารตั้งต้น มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2552
อินเดีย รัฐบาลประกาศรายละเอียดของนโยบายสนับสนุนการลงทุนปิโตรเคมีฉบับใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพิ่ม
เติมอีก 17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะมีการจัดสรรพื้นที่ลงทุนเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์
ต่างๆ มีการสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งใช้มาตรการสนับสนุนด้านภาษีและสิทธิประโยชน์การลงทุนต่างๆ คาดการณ์ว่า นโยบายนี้จะ
ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนจาก 2.7 ล้านตัน/ปี เป็น 6.9 ล้านตัน/ปี ภายในปี 2555 และจะสนับสนุนให้มีการบริโภคเม็ดพลาสติกใน
ประเทศเพิ่มขึ้นจาก 4.8 กิโลกรัม/คน/ปี เป็น 12 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2554 ทั้งนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของอินเดียจะ
อยู่ที่ ร้อยละ 12.6 ต่อปี ในช่วงปี 2550-2555 นอกจากนี้ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 500,000 ตัน/ปี ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ใน
ปลายไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งทำให้สามารถเดินเครื่องหน่วยผลิต HDPE ขนาด 130,000 ตัน/ปี ได้เต็มกำลังมากขึ้น
เวียดนาม โครงการร่วมทุนกับสิงค์โปร์ในคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ซึ่งประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต
ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ Ethylbenzene, Ethylene Dichloride (EDC), Monoethylene Glycol (MEG), PE และ PP คาดว่าจะสามารถ
เริ่มงานก่อสร้างได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมลงทุนกับไทยในโครงการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีระดับ World-
Scale ทางตอนใต้ของเวียดนาม โดยผลิตภัณฑ์ในโครงการประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์กลุ่มโอเลฟินส์ กำลังการผลิตรวม 1.65 ล้านตัน/ปี โพลิโอเลฟินส์
1.45 ล้านตัน/ปี Chlor-Alkai 280,000 ตัน/ปี EDC 330,000 ตัน/ปี และ VCM 400,000 ตัน/ปี โดยการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ในปี 2554 เริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ PVC ในเบื้องต้น และในปี 2556 เริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ PVC ส่วนที่เหลือ
รวมทั้งโอเลฟินศ์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ
อิหร่าน เลื่อนกำหนดเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE และ HDPE/MDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี อีกครั้งเนื่องจากข้อขัด
ข้องด้านบุคลากรทางเทคนิค โดยจะเริ่มเดินเครื่องในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2551 ตามลำดับ และได้ทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE ขนาด
300,000 ตัน/ปี โดยใช้เอทิลีนจากแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี เป็นวัตถุดิบ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ on-spec ได้ในช่วงกลางไตร
มาส 1 ปี 2551 นอกจากนี้ ได้เริ่มผลิต on-spec เอทิลีนจากแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้านตัน/ปี เมื่อกลางไตรมาสแรกของปี 2551 และคาดว่าจะ
สามารถเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ หน่วยผลิต PP และ LLDPE/HDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี
ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551
ซาอุดิอาระเบีย โครงการลงทุนในคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีใหม่ ประกอบด้วยหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 350,000 ตัน/ปี มีกำหนดเสร็จ
สมบูรณ์ในช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ของปี 2552
สหรัฐฯ อาหรับเอมิเรต โครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ 2 ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปี หน่วย Olefins
Conversion ที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 752,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PE และหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 540,000 ตัน/ปี และ 800,000 ตัน/ปี
ตามลำดับ คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องได้ตามกำหนดในไตรมาสแรกของปี 2553
การ์ตา โครงการร่วมลงทุนคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.3 ล้านตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
ต่างๆ มีแนวโน้มว่าต้องเลื่อนกำหนดการเดินเครื่องจากปี 2554-2557 เป็นปี 2558 เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่ง
ก๊าซธรรมชาติที่จะใช้เป็นวัตถุดิบตั้งตั้นใน North-Field ได้ คาดว่าการศึกษาดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2553
โอมาน เปิดประมูลงานจัดทำแผนแม่บทสำหรับคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิต ปิโตรเคมีทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยคอมเพล็กซ์
ดังกล่าวจะประกอบด้วยโรงกลั่นน้ำมันขนาด 300,000 ตัน/ปี เอทิลีนแครกเกอร์ หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
เช่น PP มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2551 ระดับราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ราคามีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ
โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 55.56, 51.05
และ 48.94 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ระดับราคา 54.43, 48.01
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน HDPE มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ระดับราคา 51.50 บาท/กิโลกรัม
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 5,586.69 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และ
ลดลงร้อยละ 6.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 9,464.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.73 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 21,139.06 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 9.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 3,044.03 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน
มา และลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 10,969.31 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.18 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 42,314.00 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q1/2550 Q4/2550 Q1/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 3,993.55 6,019.83 3,044.03 -49.43 -23.78
ขั้นกลาง 12,565.38 13,389.93 10,969.31 -18.18 -12.7
ขั้นปลาย 36,675.75 46,958.60 42,314.00 -9.89 15.37
ขั้นปลาย 36,675.75 46,958.60 42,314.00 -9.89 15.37
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2551 ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากหลายด้าน โดยปัจจัยสนับสนุนคือแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
ดิบในตลาดโลก จีนและญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดสำคัญ เนื่องจากการเลื่อนเปิดดำเนินโครงการการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายโครงการ ประกอบกับจีนยัง
คงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการเตรียมการในกีฬาโอลิมปิก 2008 ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการชะลอตัวด้านอุปสงค์ในตลาดโลกซึ่งเกิดจาก
ปัญหา subprime ของสหรัฐอเมริกาที่ขยายผลกระทบสู่ประเทศทั่วโลก ตลอดจนอุปทานผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการ
ผลิตอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันได้
สำหรับประเทศไทย ในภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผล
กระทบต่ออุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในประเทศให้ลดลงได้ ประกอบกับอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ในขณะ
ที่อุปทานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของหลายประเทศ ซึงจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงลัยากลำบากมากขึ้น
ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเร่งปรับตัวด้วยการขยายกำลังการผลิตให้ครบวงจรมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านวัตถุดิบที่มีแนวด้มเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อลดความ
เสี่ยงในการเคลื่อนย้ายการผลิตไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มราคาดีกว่าได้ในแต่ละช่วงเวลา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สภาพอากาศแปรปรวนทำให้แหล่งผลิตน้ำมันสำคัญในแม็กซิโกต้องหยุดการผลิตชั่วคราว รวมทั้งปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐอเมริกาลดลง นอกจากนั้น
ยังมีปัจจัยทางการเมือง ประกอบด้วย ประธานาธิบดีของเวเนซูเอลาประกาศหยุดส่งน้ำมันดิบออกไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากเวเนซูเอลาถูกเพิกถอนสิทธิ์
การลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง ทั้งการก่อการร้ายในไนจีเรีย
การต่อสู้ระหว่างทหารของตุรกีกับกลุ่มกบฏชาวเคิร์ดทางตอนเหนือของอิรัก ด้านราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากผู้ผลิต
หลายรายทั้งในและต่างประเทศตัดสินใจลดกำลังการผลิต โดยลดการใช้แนฟธาเป็นสารตั้งต้นแล้วหันไปใช้วัตถุดิบตั้งต้นอื่นแทน เช่น ผู้ผลิตในเกาหลีใต้
หันไปใช้ LPG เป็นสารตั้งต้นแทน
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ในตลาดเอเชียค่อนข้างเงียบในช่วงเทศกาลตรุษจีน กอร์ปกับปริมาณ PP ในจีนมีค่อนข้าง
มาก รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่จะมี PP จากสหรัฐฯ เข้ามาสู่ตลาดเอเซีย ส่งผลให้ราคาค่อนข้างทรงตัวตลอดไตรมาส
รัฐบาลจีน ประกาศห้ามการผลิตและการใช้ถุงพลาสติกแบบบางกว่า 0.025 มิลลิเมตร ในประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน
2551 เพื่อลดปัญหามลภาวะ และสนับสนุนการรีไซเคิล โดยมีการประเมินว่า มาตรการนี้อาจส่งผลให้ปริมาณการใช้เม็ดพลาสติก PE ลดลงถึงประมาณ
600,000 ตัน/ปี รวมถึงมีการคาดการณ์ความต้องการใช้เม็ดพลาสติก PP ของจีนจะเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี นับจากปัจจุบันจนถึงปี 2555
ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ PP ในปี 2555 สูงถึง 15 ล้านตัน หลังจากนั้นอัตราการเจริญเติบโตระหว่างปี 2556-2560 จะเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.5
โดยความต้องการใช้เม็ดพลาสติก PP ในปี 2560 จะอยู่ที่ 19.6 ล้านตัน
การผลิต
ไตรมาส 1 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีโครงการร่วมทุนศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างหน่วยผลิต
Specialty Elastomer โดยวัตถุดิบตั้งต้นประเภทโอเลฟินส์มาจากเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 900,000 ตัน/ปี โดยมีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตใน
กลางปี 2553 อีกทั้งมีโครงการร่วมทุนผลิตสาร Acrylonitrile และ Methyl Methacrylate กำลังการผลิตของโครงการประกอบด้วย
Acrylonitrile 200,000 ตัน/ปี และโครงการร่วมทุนก่อสร้างหน่วยผลิต Methyl Methacrylate (MMA) 2 หน่วย กำลังการผลิตรวม
160,000 ตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาฯณิชย์ในปี 2553 โดยสาร MMA ที่ผลิตได้จะใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกอื่นๆ ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่
Polymethyl Methacrylate (PMMA) ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง โดยโครงการทั้งหมดจะตั้งอยู่ที่มาบตาพุด
จ.ระยอง
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย จีนลงทุนสร้างเอทิลีนแครกเกอร์หน่วยที่ 2 กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปีเมื่อปลายไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2550 ทำให้กำลังการผลิตเอทิลีนของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2553 รวมถึงลงทุนเพิ่มใน
หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ ที่สามารถผลิต benzene, toluene, และ mixed xylene ได้ 400,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP กำลังการผลิต
300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PE 2 หน่วย กำลังการผลิตรวม 550,000 ตัน/ปี โครงการคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีขนาด 10 ล้านตัน/ปี
แนฟธาแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง มีกำหนดเริ่งเดินเครื่องหลังปี 2553 นอกจากนั้นจีนได้วางแผนหยุดเดิน
เครื่องหน่วยผลิต EVA ขนาด 40,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในเมืองปักกิ่ง โดยจะย้ายฐานการผลิตไปยังเมือง Tianjin ก่อนการแข่ง
ขันโอลิมปิก 2008 จะเริ่มขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหามลภาวะ โดยคาดว่าจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตได้อีกครั้งในช่วงต้นปี 2552
ไต้หวัน เริ่มงาน pre-commissioning เอทิลีนแครกเกอร์ใหม่ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปี และคาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในช่วง
ปลายเดือนเมษายน โดยแครกเกอร์ดังกล่าวสามารถผลิตโพรพิลีนได้ 600,000 ตัน/ปี และยังมีการสร้าง Olefins Conversion Unit ซึ่งจะทำให้
สามารถผลิตโพรพิลีนได้เพิ่มขึ้นอีก 250,000 ตัน/ปี โดยหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่ใช้วัตถุดิบจากแครกเกอร์นี้ ประกอบด้วย หน่วยผลิต styrene
monomer (SM) หน่วยผลิต MEG มีกำลังการผลิตหน่วยละ 700,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต bisphenol-A มีกำลังการผลิต 130,000 ตัน/ปี
ญี่ปุ่น เริ่มงานก่อสร้างหน่วยผลิตโพรพิลีน High-Efficiency Propylene Unit ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุน โดยผลิตโพรพิลีนจาก
Crude C4 และเอทิลีนเป็นสารตั้งต้น มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2552
อินเดีย รัฐบาลประกาศรายละเอียดของนโยบายสนับสนุนการลงทุนปิโตรเคมีฉบับใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพิ่ม
เติมอีก 17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะมีการจัดสรรพื้นที่ลงทุนเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์
ต่างๆ มีการสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งใช้มาตรการสนับสนุนด้านภาษีและสิทธิประโยชน์การลงทุนต่างๆ คาดการณ์ว่า นโยบายนี้จะ
ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนจาก 2.7 ล้านตัน/ปี เป็น 6.9 ล้านตัน/ปี ภายในปี 2555 และจะสนับสนุนให้มีการบริโภคเม็ดพลาสติกใน
ประเทศเพิ่มขึ้นจาก 4.8 กิโลกรัม/คน/ปี เป็น 12 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2554 ทั้งนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของอินเดียจะ
อยู่ที่ ร้อยละ 12.6 ต่อปี ในช่วงปี 2550-2555 นอกจากนี้ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 500,000 ตัน/ปี ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ใน
ปลายไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งทำให้สามารถเดินเครื่องหน่วยผลิต HDPE ขนาด 130,000 ตัน/ปี ได้เต็มกำลังมากขึ้น
เวียดนาม โครงการร่วมทุนกับสิงค์โปร์ในคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ซึ่งประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต
ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ Ethylbenzene, Ethylene Dichloride (EDC), Monoethylene Glycol (MEG), PE และ PP คาดว่าจะสามารถ
เริ่มงานก่อสร้างได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมลงทุนกับไทยในโครงการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีระดับ World-
Scale ทางตอนใต้ของเวียดนาม โดยผลิตภัณฑ์ในโครงการประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์กลุ่มโอเลฟินส์ กำลังการผลิตรวม 1.65 ล้านตัน/ปี โพลิโอเลฟินส์
1.45 ล้านตัน/ปี Chlor-Alkai 280,000 ตัน/ปี EDC 330,000 ตัน/ปี และ VCM 400,000 ตัน/ปี โดยการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ในปี 2554 เริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ PVC ในเบื้องต้น และในปี 2556 เริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ PVC ส่วนที่เหลือ
รวมทั้งโอเลฟินศ์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ
อิหร่าน เลื่อนกำหนดเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE และ HDPE/MDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี อีกครั้งเนื่องจากข้อขัด
ข้องด้านบุคลากรทางเทคนิค โดยจะเริ่มเดินเครื่องในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2551 ตามลำดับ และได้ทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE ขนาด
300,000 ตัน/ปี โดยใช้เอทิลีนจากแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี เป็นวัตถุดิบ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ on-spec ได้ในช่วงกลางไตร
มาส 1 ปี 2551 นอกจากนี้ ได้เริ่มผลิต on-spec เอทิลีนจากแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้านตัน/ปี เมื่อกลางไตรมาสแรกของปี 2551 และคาดว่าจะ
สามารถเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ได้แก่ หน่วยผลิต PP และ LLDPE/HDPE กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี
ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551
ซาอุดิอาระเบีย โครงการลงทุนในคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีใหม่ ประกอบด้วยหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 350,000 ตัน/ปี มีกำหนดเสร็จ
สมบูรณ์ในช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ของปี 2552
สหรัฐฯ อาหรับเอมิเรต โครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ 2 ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปี หน่วย Olefins
Conversion ที่สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 752,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PE และหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 540,000 ตัน/ปี และ 800,000 ตัน/ปี
ตามลำดับ คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องได้ตามกำหนดในไตรมาสแรกของปี 2553
การ์ตา โครงการร่วมลงทุนคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.3 ล้านตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
ต่างๆ มีแนวโน้มว่าต้องเลื่อนกำหนดการเดินเครื่องจากปี 2554-2557 เป็นปี 2558 เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่ง
ก๊าซธรรมชาติที่จะใช้เป็นวัตถุดิบตั้งตั้นใน North-Field ได้ คาดว่าการศึกษาดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2553
โอมาน เปิดประมูลงานจัดทำแผนแม่บทสำหรับคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิต ปิโตรเคมีทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยคอมเพล็กซ์
ดังกล่าวจะประกอบด้วยโรงกลั่นน้ำมันขนาด 300,000 ตัน/ปี เอทิลีนแครกเกอร์ หน่วยผลิตสารอะโรมาติกส์ และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
เช่น PP มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2551 ระดับราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ราคามีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ
โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมีนาคม 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 55.56, 51.05
และ 48.94 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ระดับราคา 54.43, 48.01
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน HDPE มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ระดับราคา 51.50 บาท/กิโลกรัม
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 5,586.69 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และ
ลดลงร้อยละ 6.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 9,464.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.73 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 21,139.06 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 9.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 3,044.03 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน
มา และลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 10,969.31 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.18 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 42,314.00 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q1/2550 Q4/2550 Q1/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 3,993.55 6,019.83 3,044.03 -49.43 -23.78
ขั้นกลาง 12,565.38 13,389.93 10,969.31 -18.18 -12.7
ขั้นปลาย 36,675.75 46,958.60 42,314.00 -9.89 15.37
ขั้นปลาย 36,675.75 46,958.60 42,314.00 -9.89 15.37
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2551 ยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากหลายด้าน โดยปัจจัยสนับสนุนคือแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
ดิบในตลาดโลก จีนและญี่ปุ่นยังคงเป็นตลาดสำคัญ เนื่องจากการเลื่อนเปิดดำเนินโครงการการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายโครงการ ประกอบกับจีนยัง
คงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการเตรียมการในกีฬาโอลิมปิก 2008 ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการชะลอตัวด้านอุปสงค์ในตลาดโลกซึ่งเกิดจาก
ปัญหา subprime ของสหรัฐอเมริกาที่ขยายผลกระทบสู่ประเทศทั่วโลก ตลอดจนอุปทานผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกำลังการ
ผลิตอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันได้
สำหรับประเทศไทย ในภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผล
กระทบต่ออุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในประเทศให้ลดลงได้ ประกอบกับอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ในขณะ
ที่อุปทานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของหลายประเทศ ซึงจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงลัยากลำบากมากขึ้น
ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเร่งปรับตัวด้วยการขยายกำลังการผลิตให้ครบวงจรมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านวัตถุดิบที่มีแนวด้มเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อลดความ
เสี่ยงในการเคลื่อนย้ายการผลิตไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มราคาดีกว่าได้ในแต่ละช่วงเวลา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-