1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 140.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.9 ส่วน
ภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ลดลงเช่นกัน โดยมีค่า
ดัชนีผลผลิต 130.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.0 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียนที่ลด
ลง เป็นผลมาจาก ไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญหลายประการ คือ การเตรียมรองรับช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ในการสั่งพิมพ์ปฏิทิน
สมุดบันทึก การ์ดต่าง ๆ คู่มือการใช้งานและฉลากสินค้า ประกอบกับการเตรียมรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นช่วงปลายไตรมาส
ก่อน ทำให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณาและเอกสารประกอบการเลือกตั้ง ทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ในไตรมาสนี้มีปัจจัย
สำคัญเพียงปัจจัยเดียว คือ การเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ โดยต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียน
ต่าง ๆ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษคราฟท์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษแข็ง มีค่าดัชนีผลผลิตสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.2
5.3 และ 2.4 ตามลำดับ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษทั้ง 3 ประเภทเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้
กระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 156.4 และ
313.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ (ตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 10.1 และ 9.0 ตามลำดับ หาก
พิจารณาปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า
การนำเข้าร้อยละ 3.8 และ 2.1 ตามลำดับ (ตารางที่ 5) สาเหตุที่ต้องนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะว่า
เยื่อประเภทใยยาวและเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวหรือมีสัดส่วนเยื่อใยยาวสูง ในประเทศไม่สามารถผลิตได้ และระบบการจัดเก็บเศษกระดาษ
ของไทยยังไม่เป็นระบบ ประกอบกับในไตรมาสนี้ผู้ผลิตเยื่อในประเทศมีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนมูลค่า
และปริมาณการนำเข้ากระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เป็นผลจากการขยายตัวของการ
นำเข้ากระดาษประเภทกระดาษแข็ง เนื่องจากไตรมาสก่อนการผลิตกระดาษแข็งในประเทศลดลง
สำหรับแหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย คือ
1) เยื่อกระดาษ นำเข้าจากประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และอัฟริกาใต้
2) เศษกระดาษ นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
3) กระดาษแข็ง นำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีน
ในส่วนภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ
46.0 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีการนำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ภาพพิมพ์และภาพถ่าย เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ หากพิจารณา
ปริมาณการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้จะสวนทางกับมูลค่าการนำเข้า เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปริมาณการ
นำเข้าสิ่งพิมพ์สูงขึ้น โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 38.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ
20.6 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยมาโดยตลอด เพื่อรองรับช่วงเทศกาล
คริสมาสต์และปีใหม่ (ตารางที่ 4)
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 343.8 และ
407.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 16.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 4) หากพิจารณาปริมาณ
การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และ 10.0 ตามลำดับ
(ตารางที่ 6) เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออก ซึ่งการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกของกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เนื่องจากตลาดในอา
เซียนและสหภาพยุโรปขยายตัว เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเทศอาเซียน คือ เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วน
การเพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีศักยภาพความพร้อมในด้านการพิมพ์อยู่ในระดับ
สากล ทำให้ผู้ลงทุนย้ายฐานการผลิตมายังไทย ประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง และญี่ปุ่น
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อน เป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อผลิตสมุด หนังสือ ตำราแบบเรียน เตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนัก
ศึกษาทั่วประเทศ อีกทั้งความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ประกอบกับความต้องการในต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนกับไตรมาสก่อน
คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดอา
เซียนยังคงมีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในประเทศ อุตสาหกรรม
ประเภทต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการกระดาษเพื่อการบรรจุ ห่อหุ้ม ขนส่งสินค้า และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 132.3 143.2 140.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.2
กระดาษพิมพ์เขียน 121 131.4 130.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.5
กระดาษแข็ง 98.9 133.4 136.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 38
กระดาษคราฟท์ 137.5 139.7 141.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7
กระดาษลูกฟูก 191 197 205.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 5.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 72.5 77.2 75.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5
กระดาษพิมพ์เขียน 78.6 85.1 84.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2
กระดาษแข็ง 66.3 69 70.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6
กระดาษคราฟท์ 87.2 88 88.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2
กระดาษลูกฟูก 60.5 61 63.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 122.7 142 156.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 10.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.5
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 254.9 287.7 313.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.1
สิ่งพิมพ์ 35.8 84.5 45.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -46
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 39 48.6 38.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -20.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 277.9 308.8 343.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 11.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.7
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 22.4 350.5 407.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 16.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,718.80
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 5 ปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 371.5 392.1 407.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 3.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 223.2 209.1 213.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.4
สิ่งพิมพ์ 3.6 4.1 4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 19.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 36.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 69.7 81.1 62.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -23.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.8
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 304.8 303.1 329.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 8.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.1
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 6.1 5 5.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 10
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 140.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.9 ส่วน
ภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ลดลงเช่นกัน โดยมีค่า
ดัชนีผลผลิต 130.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.0 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียนที่ลด
ลง เป็นผลมาจาก ไตรมาสก่อนมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญหลายประการ คือ การเตรียมรองรับช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ในการสั่งพิมพ์ปฏิทิน
สมุดบันทึก การ์ดต่าง ๆ คู่มือการใช้งานและฉลากสินค้า ประกอบกับการเตรียมรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นช่วงปลายไตรมาส
ก่อน ทำให้มีการสั่งพิมพ์สื่อโฆษณาและเอกสารประกอบการเลือกตั้ง ทั้งในส่วนของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ในไตรมาสนี้มีปัจจัย
สำคัญเพียงปัจจัยเดียว คือ การเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ โดยต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียน
ต่าง ๆ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษคราฟท์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษแข็ง มีค่าดัชนีผลผลิตสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.2
5.3 และ 2.4 ตามลำดับ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษทั้ง 3 ประเภทเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้
กระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 156.4 และ
313.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ (ตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 10.1 และ 9.0 ตามลำดับ หาก
พิจารณาปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่า
การนำเข้าร้อยละ 3.8 และ 2.1 ตามลำดับ (ตารางที่ 5) สาเหตุที่ต้องนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะว่า
เยื่อประเภทใยยาวและเศษกระดาษที่ผลิตจากเยื่อใยยาวหรือมีสัดส่วนเยื่อใยยาวสูง ในประเทศไม่สามารถผลิตได้ และระบบการจัดเก็บเศษกระดาษ
ของไทยยังไม่เป็นระบบ ประกอบกับในไตรมาสนี้ผู้ผลิตเยื่อในประเทศมีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่วนมูลค่า
และปริมาณการนำเข้ากระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เป็นผลจากการขยายตัวของการ
นำเข้ากระดาษประเภทกระดาษแข็ง เนื่องจากไตรมาสก่อนการผลิตกระดาษแข็งในประเทศลดลง
สำหรับแหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย คือ
1) เยื่อกระดาษ นำเข้าจากประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และอัฟริกาใต้
2) เศษกระดาษ นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
3) กระดาษแข็ง นำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีน
ในส่วนภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ
46.0 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีการนำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ภาพพิมพ์และภาพถ่าย เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ หากพิจารณา
ปริมาณการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้จะสวนทางกับมูลค่าการนำเข้า เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปริมาณการ
นำเข้าสิ่งพิมพ์สูงขึ้น โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 38.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ
20.6 เนื่องจากไตรมาสก่อนมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยมาโดยตลอด เพื่อรองรับช่วงเทศกาล
คริสมาสต์และปีใหม่ (ตารางที่ 4)
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่า 343.8 และ
407.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 16.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 4) หากพิจารณาปริมาณ
การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และ 10.0 ตามลำดับ
(ตารางที่ 6) เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออก ซึ่งการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกของกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เนื่องจากตลาดในอา
เซียนและสหภาพยุโรปขยายตัว เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเทศอาเซียน คือ เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วน
การเพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีศักยภาพความพร้อมในด้านการพิมพ์อยู่ในระดับ
สากล ทำให้ผู้ลงทุนย้ายฐานการผลิตมายังไทย ประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง และญี่ปุ่น
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสก่อน เป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อผลิตสมุด หนังสือ ตำราแบบเรียน เตรียมรองรับการเปิดภาคเรียนของนักเรียนนัก
ศึกษาทั่วประเทศ อีกทั้งความต้องการกระดาษและบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุ ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ประกอบกับความต้องการในต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนกับไตรมาสก่อน
คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดอา
เซียนยังคงมีความต้องการเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนในประเทศ อุตสาหกรรม
ประเภทต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการกระดาษเพื่อการบรรจุ ห่อหุ้ม ขนส่งสินค้า และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะยังคงมีปัจจัยลบเหมือนในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 132.3 143.2 140.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.2
กระดาษพิมพ์เขียน 121 131.4 130.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.5
กระดาษแข็ง 98.9 133.4 136.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 38
กระดาษคราฟท์ 137.5 139.7 141.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7
กระดาษลูกฟูก 191 197 205.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 5.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 72.5 77.2 75.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5
กระดาษพิมพ์เขียน 78.6 85.1 84.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2
กระดาษแข็ง 66.3 69 70.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6
กระดาษคราฟท์ 87.2 88 88.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2
กระดาษลูกฟูก 60.5 61 63.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 122.7 142 156.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 10.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.5
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 254.9 287.7 313.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.1
สิ่งพิมพ์ 35.8 84.5 45.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -46
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 39 48.6 38.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -20.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 277.9 308.8 343.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 11.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.7
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 22.4 350.5 407.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 16.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,718.80
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 5 ปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 371.5 392.1 407.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 3.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 223.2 209.1 213.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 2.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.4
สิ่งพิมพ์ 3.6 4.1 4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 19.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 36.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/1/2550 4/1/2550 1/1/2551
เยื่อกระดาษ 69.7 81.1 62.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -23.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.8
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 304.8 303.1 329.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 8.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.1
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 6.1 5 5.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 10
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-