1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.50 และ 11.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 และ 8.60 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาล
ขาย ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มมากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 42.46 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.45 และ 5.41 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.23 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.80 และ 9.87 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นไปตามตลาดในช่วงฤดู
กาลขาย แม้ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะขยายตัวไม่มาก แต่การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากตลาดบ้านเก่าที่
ต้องการปรังปรุงซ่อมแซม โดยเฉพาะตลาด ในภูมิภาคที่สินค้าเกษตรกรมีราคาดี ส่งผลให้ประชาชนใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมต่อเติมบ้าน นอก
จากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ยังใช้วิธีสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการใช้งานในระยะยาวก่อนที่ราคาจะปรับตัวสูง
ขึ้นจากผลกระทบของต้นทุนที่มาจากราคาน้ำมัน ทำให้การจำหน่ายเซรามิกไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศด้วยกันเอง และสินค้านำเข้าจาก
ต่างประเทศที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางรายใช้วิธีลดต้นทุนการผลิตโดยหันไปนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนแทนการสั่งซื้อในประเทศ ทำให้ผู้
ประกอบการ เซรามิกหลายรายไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคา และใช้กลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการ
ผลิตแทน โดยเตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 51 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2551 ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของ
ลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้าของตน
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอา
เซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 242.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดังตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ลดลง ร้อยละ 5.99 เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ลดลงใน ตลาดสหรัฐอเมริกา
แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.93 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออก กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และ
เครื่องสุขภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับลดลงในตลาดหลักทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐ
อเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ทั้งนี้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของไทยไว้
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี
2551 มีมูลค่า 64.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.60 และ 35.28 ตาม
ลำดับ (ดัง ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่1 ปี 2551 เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย
แม้ว่าภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวไม่มากนัก แต่การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักซึ่งเป็นตลาดที่ต้อง
การปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอของตัว
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มจะปรับราคาสูง
ขึ้น ผู้บริโภคจึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อลดลง สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกได้รับผลกระทบจากภาระ
ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง
เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจึงต้องเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 *
การผลิต 33,178,859 31,771,344 37,013,496
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 16.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.56
การจำหน่ายในประเทศ 40,282,918 35,547,784 42,463,007
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 19.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.41
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
การผลิต 2,034,381 2,057,648 2,209,335
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.37
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.6
การจำหน่ายในประเทศ 1,119,656 1,185,116 1,230,201
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.87
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2550 4/2550 1/2551
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 21.27 29.84 29.89
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.17
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 40.53
เครื่องสุขภัณฑ์ 28.35 42.08 35.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.06
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.33 45.82 39.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.23
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.96 8.65 8.14
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.26
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.09 7.07 6.29
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.58
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 78.1 124 123.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 58.02
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 182.1 257.5 242.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.99
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.93
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2550 4/2550 1/2551
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15.21 18.02 23.91
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 32.69
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.2
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 32.27 28.66 40.32
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 40.68
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.95
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 47.48 46.68 64.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 37.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 35.28
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ
กับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.50 และ 11.56 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 และ 8.60 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาล
ขาย ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มมากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 42.46 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.45 และ 5.41 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.23 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.80 และ 9.87 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นไปตามตลาดในช่วงฤดู
กาลขาย แม้ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะขยายตัวไม่มาก แต่การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากตลาดบ้านเก่าที่
ต้องการปรังปรุงซ่อมแซม โดยเฉพาะตลาด ในภูมิภาคที่สินค้าเกษตรกรมีราคาดี ส่งผลให้ประชาชนใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมต่อเติมบ้าน นอก
จากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ยังใช้วิธีสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการใช้งานในระยะยาวก่อนที่ราคาจะปรับตัวสูง
ขึ้นจากผลกระทบของต้นทุนที่มาจากราคาน้ำมัน ทำให้การจำหน่ายเซรามิกไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศด้วยกันเอง และสินค้านำเข้าจาก
ต่างประเทศที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางรายใช้วิธีลดต้นทุนการผลิตโดยหันไปนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนแทนการสั่งซื้อในประเทศ ทำให้ผู้
ประกอบการ เซรามิกหลายรายไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคา และใช้กลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการ
ผลิตแทน โดยเตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 51 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2551 ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของ
ลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้าของตน
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอา
เซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 242.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดังตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ลดลง ร้อยละ 5.99 เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ลดลงใน ตลาดสหรัฐอเมริกา
แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.93 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออก กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และ
เครื่องสุขภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กลับลดลงในตลาดหลักทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐ
อเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ทั้งนี้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของไทยไว้
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี
2551 มีมูลค่า 64.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.60 และ 35.28 ตาม
ลำดับ (ดัง ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่1 ปี 2551 เพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย
แม้ว่าภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวไม่มากนัก แต่การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักซึ่งเป็นตลาดที่ต้อง
การปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่า สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอของตัว
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มจะปรับราคาสูง
ขึ้น ผู้บริโภคจึงระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ทำให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อลดลง สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกได้รับผลกระทบจากภาระ
ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มลดลงทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง
เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจึงต้องเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 *
การผลิต 33,178,859 31,771,344 37,013,496
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 16.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.56
การจำหน่ายในประเทศ 40,282,918 35,547,784 42,463,007
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 19.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.41
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
การผลิต 2,034,381 2,057,648 2,209,335
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.37
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.6
การจำหน่ายในประเทศ 1,119,656 1,185,116 1,230,201
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.87
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2550 4/2550 1/2551
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 21.27 29.84 29.89
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.17
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 40.53
เครื่องสุขภัณฑ์ 28.35 42.08 35.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.42
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.06
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.33 45.82 39.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.23
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.96 8.65 8.14
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.26
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.09 7.07 6.29
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.03
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.58
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 78.1 124 123.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 58.02
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 182.1 257.5 242.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.99
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32.93
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส
ผลิตภัณฑ์ 1/2550 4/2550 1/2551
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15.21 18.02 23.91
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 32.69
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 57.2
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 32.27 28.66 40.32
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 40.68
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.95
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 47.48 46.68 64.23
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 37.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 35.28
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-