อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัจจัยหลายประการใน ช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความกังวลต่อการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อยอดการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มี
มูลค่าการส่งออก 1,742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักที่ลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกยังปรับตัว
สูงขึ้น
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 และ 7.8
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการนำเข้าเส้นใยฯ และเส้นด้ายมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้ามีต้นทุนที่ถูกกว่า สำหรับ
การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักในไตรมาสที่ 1 การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 1.2 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และขยายส่งออกในตลาดอาเซียน
และญี่ปุ่นแทน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 1,742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนก
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 717.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 738.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นใน
ตลาดอาเซียนและตลาดสหภาพยุโรป โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.8 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งหมด
2. ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 298.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 210.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 194.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 137.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 115.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มี
มูลค่า 478.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่ง
ออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 321.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อ
ผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 245.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.1 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็น
กลุ่มผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 116.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ
21.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.7 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ (ร้อยละ 92.3) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.7)
1. สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 839.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าสูงถึงร้อยละ
92.3 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 232.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และ
ออสเตรเลีย มีสัดส่วนนำ เข้าร้อยละ 34.4, 14.2 และ 8.3 ตามลำดับ
1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 146.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 115.2
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และ
อินโดนีเซีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 21.6, 18.9, 12.5 และ 10.4 ตามลำดับ
1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 372.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 391.3 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 42.7,16.1 และ 8.3 ตามลำดับ
1.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 59.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
55.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัด
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.8, 19.8 และ 5.6 ตามลำดับ
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 70.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
66.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของการนำเข้าสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และสเปน สัดส่วนร้อยละ 49.5, 9.5 และ 7.5 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีปัจจัยลบสำคัญ ได้แก่ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อ
เนื่อง ค่าน้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจีน และเวียดนาม ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.0 และขยายตัวในตลาดหลักทุกตลาด ซึ่งปัจจุบัน
สิ่งทอไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 27.5 , 18.5, 14.1 และ 6.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน
จากเขตการค้าเสรีอาเซียน — ญี่ปุ่น และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และคาดว่าการส่ง
ออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 78.1 73.5 75.9 72.4 72.1 -0.5 -7.8
การส่งสินค้า 80 76.8 76.9 77.1 78.6 1.9 -1.8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 168.8 170.3 175.3 171.9 159.3 -7.3 -5.6
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 144.6 125.2 123.3 158.8 156.8 -1.2 8.4
การส่งสินค้า 98.7 105.4 93.5 105.1 100.3 -4.6 1.6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 115.3 107.9 118 132.9 123.6 -7 7.2
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 151.2 148.7 159.1 160.3 162.9 1.6 7.8
การส่งสินค้า 126.4 140.3 142.1 136.5 135.3 -0.9 7.1
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 261.7 245.2 245.4 269.7 337.9 25.3 29.1
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%)
2550 2551 Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q4/50 Q4/50 Q1 * Q4-50 Q1-50
สิ่งทอ 1,643.30 1,733.70 1,816.50 1,782.20 1,742.20 -2.2 6
1 เครื่องนุ่งห่ม 800.4 841.3 890.4 840.8 819.3 -2.6 2.4
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 711.8 749.5 791.6 738.9 717.6 -2.9 0.8
(2) เครื่องยกทรง รัดทรงฯ 71.1 76.5 79.5 82.4 83.4 1.3 17.3
(3) ถุงเท้าและถุงน่อง 15 12.7 16.2 16.3 14.7 -9.6 -1.7
(4) ถุงมือผ้า 2.5 2.5 3.1 3.2 3.5 8.9 41.7
2 ผ้าผืนและด้าย 479.1 501.4 510.9 515.9 508.7 -1.4 6.2
(1) ผ้าผืน 284.5 291.2 287.3 300.2 298.2 -0.7 4.8
(2) ด้ายและเส้นใยฯ 194.5 210.3 223.6 215.7 210.5 -2.4 8.2
3 เคหะสิ่งทอ 74 79.3 88.5 91.5 86.6 -5.4 17
4 เส้นใยประดิษฐ์ 115.3 129.5 135.4 139.7 137.2 -1.8 19
5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 30.3 31.7 36.3 36.6 30.3 -17.1 0
6 ตาข่ายจับปลา 18.3 21.4 22 19.7 21.5 9 17.8
7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 1.5 2 2 2.4 1.6 -32.4 5.7
8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อฯ 9.7 11.7 9.8 12.8 11.6 -9.4 20.1
9 สิ่งทออื่นๆ 114.7 115.5 121.3 122.7 125.4 2.2 9.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2550-2551
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%)
2550 2551 Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q4-50 Q4-50 Q1 * Q4-50 Q1-50
1 เครื่องจักรสิ่งทอ 96 98.7 68.6 81.1 81.7 0.7 -14.9
2 ด้ายและเส้นใย 312.6 311.7 314.3 316.1 407.7 29 30.4
- เส้นใยใช้ในการทอ 187.1 163.2 156.7 173.3 232.2 34 24.2
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 101.2 122.4 129.6 115.2 146.2 26.8 44.4
- วัตถุทออื่น ๆ 24.4 26.1 28 27.5 29.3 6.5 20.3
3 ผ้าผืน 310.1 383.5 353 391.3 372.5 -4.8 20.1
4 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 57.8 58.9 65.1 66.9 70.2 5 21.4
5 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 39.9 44.8 44.7 55.8 59.6 6.9 49.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความกังวลต่อการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อยอดการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มี
มูลค่าการส่งออก 1,742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักที่ลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกยังปรับตัว
สูงขึ้น
การผลิต
การผลิตในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 และ 7.8
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการนำเข้าเส้นใยฯ และเส้นด้ายมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้ามีต้นทุนที่ถูกกว่า สำหรับ
การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักในไตรมาสที่ 1 การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 1.2 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และขยายส่งออกในตลาดอาเซียน
และญี่ปุ่นแทน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 1,742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,771.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนก
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 717.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 738.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นใน
ตลาดอาเซียนและตลาดสหภาพยุโรป โดยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 44.8 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งหมด
2. ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 298.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
3. ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 210.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 194.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 137.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 115.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มี
มูลค่า 478.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัด
ส่วนการส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่ง
ออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 321.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อ
ผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 245.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.1 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็น
กลุ่มผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 116.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ
21.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.7 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ
ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ (ร้อยละ 92.3) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.7)
1. สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 839.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าสูงถึงร้อยละ
92.3 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 232.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และ
ออสเตรเลีย มีสัดส่วนนำ เข้าร้อยละ 34.4, 14.2 และ 8.3 ตามลำดับ
1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 146.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 115.2
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และ
อินโดนีเซีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 21.6, 18.9, 12.5 และ 10.4 ตามลำดับ
1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 372.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 391.3 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้า
ร้อยละ 42.7,16.1 และ 8.3 ตามลำดับ
1.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 59.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
55.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัด
ส่วนการนำเข้าร้อยละ 23.8, 19.8 และ 5.6 ตามลำดับ
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 70.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า
66.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของการนำเข้าสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และสเปน สัดส่วนร้อยละ 49.5, 9.5 และ 7.5 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีปัจจัยลบสำคัญ ได้แก่ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อ
เนื่อง ค่าน้ำมันที่สูงขึ้น อีกทั้งต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจีน และเวียดนาม ส่งผลให้การส่งออกในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.0 และขยายตัวในตลาดหลักทุกตลาด ซึ่งปัจจุบัน
สิ่งทอไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 27.5 , 18.5, 14.1 และ 6.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน
จากเขตการค้าเสรีอาเซียน — ญี่ปุ่น และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และคาดว่าการส่ง
ออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 78.1 73.5 75.9 72.4 72.1 -0.5 -7.8
การส่งสินค้า 80 76.8 76.9 77.1 78.6 1.9 -1.8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 168.8 170.3 175.3 171.9 159.3 -7.3 -5.6
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 144.6 125.2 123.3 158.8 156.8 -1.2 8.4
การส่งสินค้า 98.7 105.4 93.5 105.1 100.3 -4.6 1.6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 115.3 107.9 118 132.9 123.6 -7 7.2
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%)
Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/50 Q1/50
ผลผลิต 151.2 148.7 159.1 160.3 162.9 1.6 7.8
การส่งสินค้า 126.4 140.3 142.1 136.5 135.3 -0.9 7.1
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 261.7 245.2 245.4 269.7 337.9 25.3 29.1
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2549-2550
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%)
2550 2551 Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q4/50 Q4/50 Q1 * Q4-50 Q1-50
สิ่งทอ 1,643.30 1,733.70 1,816.50 1,782.20 1,742.20 -2.2 6
1 เครื่องนุ่งห่ม 800.4 841.3 890.4 840.8 819.3 -2.6 2.4
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 711.8 749.5 791.6 738.9 717.6 -2.9 0.8
(2) เครื่องยกทรง รัดทรงฯ 71.1 76.5 79.5 82.4 83.4 1.3 17.3
(3) ถุงเท้าและถุงน่อง 15 12.7 16.2 16.3 14.7 -9.6 -1.7
(4) ถุงมือผ้า 2.5 2.5 3.1 3.2 3.5 8.9 41.7
2 ผ้าผืนและด้าย 479.1 501.4 510.9 515.9 508.7 -1.4 6.2
(1) ผ้าผืน 284.5 291.2 287.3 300.2 298.2 -0.7 4.8
(2) ด้ายและเส้นใยฯ 194.5 210.3 223.6 215.7 210.5 -2.4 8.2
3 เคหะสิ่งทอ 74 79.3 88.5 91.5 86.6 -5.4 17
4 เส้นใยประดิษฐ์ 115.3 129.5 135.4 139.7 137.2 -1.8 19
5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 30.3 31.7 36.3 36.6 30.3 -17.1 0
6 ตาข่ายจับปลา 18.3 21.4 22 19.7 21.5 9 17.8
7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 1.5 2 2 2.4 1.6 -32.4 5.7
8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อฯ 9.7 11.7 9.8 12.8 11.6 -9.4 20.1
9 สิ่งทออื่นๆ 114.7 115.5 121.3 122.7 125.4 2.2 9.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2550-2551
ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%)
2550 2551 Q1/51 เทียบ
Q1 Q2 Q4-50 Q4-50 Q1 * Q4-50 Q1-50
1 เครื่องจักรสิ่งทอ 96 98.7 68.6 81.1 81.7 0.7 -14.9
2 ด้ายและเส้นใย 312.6 311.7 314.3 316.1 407.7 29 30.4
- เส้นใยใช้ในการทอ 187.1 163.2 156.7 173.3 232.2 34 24.2
- ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 101.2 122.4 129.6 115.2 146.2 26.8 44.4
- วัตถุทออื่น ๆ 24.4 26.1 28 27.5 29.3 6.5 20.3
3 ผ้าผืน 310.1 383.5 353 391.3 372.5 -4.8 20.1
4 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 57.8 58.9 65.1 66.9 70.2 5 21.4
5 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 39.9 44.8 44.7 55.8 59.6 6.9 49.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-