1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีปริมาณการผลิต 2.56 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 24.04 และ 46.33 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิต
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้รายได้
ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังประสบกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ซบเซา จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุน
วัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งยอดสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศยังลดลงอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวโดยการลดกำลังการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 0.51 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.56 และ 35.44 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์
เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันและราคาสินค้าในชีวิตประจำวันปรับตัวพุ่งสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังใน
การใช้จ่ายยิ่งขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 584.78 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 6.25 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 เนื่องจากการส่งออกไป
ตลาดหลักลดลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ และญี่ปุ่นที่เริ่มได้รับผลกระทบจาก
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่การส่งออกไปตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหภาพยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวัน
ออกกลาง ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดใหม่ดังกล่าวที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม
ขึ้น
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภท
สินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาส
นี้ มีมูลค่าการส่งออก 268.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้ง
หมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 10.41 และ 5.19 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วน
ในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน
คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 88.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 15 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 11.52 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ
ออสเตรเลีย
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board)
และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 227.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออก
สินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 และ 18.78
ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด ในกลุ่มนี้ คือไม้อัด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของ
กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวน 151.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.31 และ 0.72 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ
แข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ
มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และเมียนมาร์ และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำ
เข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูง
ขึ้น และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และต่อรายได้ที่ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซาโดยรวม และการลดลงของยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิตลง
การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจาก
การขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ตลอดจนราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัด
ระวังในการใช้จ่าย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะยัง
ทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยบวก เช่น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน การขึ้นเงิน
เดือนของข้าราชการ และอุปสงค์ที่ยังมีอยู่โดยเฉพาะตลาดบน ดังจะเห็นได้จากการกระตุ้นการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ
คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะสูง
ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในภาพรวม อาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เพราะการส่งออกไปยังตลาด
หลักของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านั้นที่ชะลอตัว แต่การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่น ได้แก่
สหภาพยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวันออกกลางยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ ไทยยังต้องประสบกับการแข่งขัน
อย่างรุนแรงจากคู่แข่ง โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ในตลาดโลก
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าการส่งออกไปตลาดหลัก โดยเฉพาะสหรัฐ
อเมริกา น่าจะยังคงลดลง แต่การส่งออกไปสหภาพยุโรป และตลาดใหม่อื่นๆ น่าจะยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น อินเดีย และประเทศ
แถบตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างและการตกแต่งภายในในอัตราที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังคงจะต้อง
ประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามต่อไป
ในสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ผู้ประกอบการไทยคงต้องบริหารความเสี่ยงเพื่อลดการขาดทุน หัน
มาทำตลาดภายในประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ก็ควรศึกษาเพื่อขยายตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพ เช่น รัสเซีย และอัฟริกาใต้ รวมทั้งปรับปรุง
ประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับจีนและเวียดนาม ที่นับวันจะพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้น
เรื่อยๆ และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดบนที่ยังมีกำลังซื้อสูง
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.77 3.37 2.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -24.04
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -46.33
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.79 0.54 0.51
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.56
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -35.44
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หน่วย : ล้านชิ้น
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับ
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 283.49 299.99 268.77 -10.41 -5.19
1.1 เครื่องเรือนไม้ 150.19 152.39 135.83 -10.87 -9.56
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 69.78 78.99 60.6 -23.28 -13.16
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 63.52 68.61 72.34 5.44 13.89
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 87.99 99.98 88.46 -11.52 0.53
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 19.71 23.57 21.7 -7.93 10.1
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 36.57 35.32 31.96 -9.51 -12.61
2.3 กรอบรูปไม้ 20.89 24.82 18.89 -23.89 -9.57
2.4 รูปแกะสลักไม้ 10.82 16.27 15.91 -2.21 47.04
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 191.57 223.8 227.55 1.68 18.78
3.1 ไม้แปรรูป 68.7 66.49 64.98 -2.27 -5.41
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.73 1.7 2.06 21.18 19.08
3.3 ไม้อัด 57.36 63.28 68.45 8.17 19.33
3.4 Fiber Board 49.13 67.75 64.75 -4.43 31.79
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 14.65 24.58 27.31 11.11 86.42
รวม 563.05 623.77 584.78 -6.25 3.86
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 25 18.95 22.07 16.46 -11.72
ไม้แปรรูป 92.46 77.17 83.5 8.2 -9.69
ไม้อัด วีเนียร์ 20.82 32.46 32.02 -1.36 53.79
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 12.47 12.92 14.25 10.29 14.27
รวม 150.75 141.5 151.84 7.31 0.72
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีปริมาณการผลิต 2.56 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 24.04 และ 46.33 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิต
จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้รายได้
ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังประสบกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ซบเซา จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุน
วัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งยอดสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศยังลดลงอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวโดยการลดกำลังการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 0.51 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.56 และ 35.44 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์
เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันและราคาสินค้าในชีวิตประจำวันปรับตัวพุ่งสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังใน
การใช้จ่ายยิ่งขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 584.78 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 6.25 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 เนื่องจากการส่งออกไป
ตลาดหลักลดลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่กำลังประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ และญี่ปุ่นที่เริ่มได้รับผลกระทบจาก
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่การส่งออกไปตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหภาพยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวัน
ออกกลาง ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดใหม่ดังกล่าวที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม
ขึ้น
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภท
สินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาส
นี้ มีมูลค่าการส่งออก 268.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้ง
หมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 10.41 และ 5.19 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วน
ในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน
คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 88.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 15 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 11.52 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ
ออสเตรเลีย
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board)
และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 227.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 39 ของมูลค่าการส่งออก
สินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 และ 18.78
ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด ในกลุ่มนี้ คือไม้อัด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของ
กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีจำนวน 151.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.31 และ 0.72 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ
แข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ
มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และเมียนมาร์ และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำ
เข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูง
ขึ้น และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต ค่าขนส่ง และต่อรายได้ที่ลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซาโดยรวม และการลดลงของยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิตลง
การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจาก
การขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ตลอดจนราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัด
ระวังในการใช้จ่าย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าจะยัง
ทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยบวก เช่น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน การขึ้นเงิน
เดือนของข้าราชการ และอุปสงค์ที่ยังมีอยู่โดยเฉพาะตลาดบน ดังจะเห็นได้จากการกระตุ้นการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ
คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แต่ปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะสูง
ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในภาพรวม อาจทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิต และผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เพราะการส่งออกไปยังตลาด
หลักของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านั้นที่ชะลอตัว แต่การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่น ได้แก่
สหภาพยุโรป และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวันออกกลางยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ ไทยยังต้องประสบกับการแข่งขัน
อย่างรุนแรงจากคู่แข่ง โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ในตลาดโลก
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดว่าการส่งออกไปตลาดหลัก โดยเฉพาะสหรัฐ
อเมริกา น่าจะยังคงลดลง แต่การส่งออกไปสหภาพยุโรป และตลาดใหม่อื่นๆ น่าจะยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น อินเดีย และประเทศ
แถบตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างและการตกแต่งภายในในอัตราที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังคงจะต้อง
ประสบกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนามต่อไป
ในสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ผู้ประกอบการไทยคงต้องบริหารความเสี่ยงเพื่อลดการขาดทุน หัน
มาทำตลาดภายในประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ก็ควรศึกษาเพื่อขยายตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพ เช่น รัสเซีย และอัฟริกาใต้ รวมทั้งปรับปรุง
ประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับจีนและเวียดนาม ที่นับวันจะพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้น
เรื่อยๆ และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดบนที่ยังมีกำลังซื้อสูง
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.77 3.37 2.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -24.04
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -46.33
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.79 0.54 0.51
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.56
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -35.44
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หน่วย : ล้านชิ้น
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับ
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 283.49 299.99 268.77 -10.41 -5.19
1.1 เครื่องเรือนไม้ 150.19 152.39 135.83 -10.87 -9.56
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 69.78 78.99 60.6 -23.28 -13.16
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 63.52 68.61 72.34 5.44 13.89
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 87.99 99.98 88.46 -11.52 0.53
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 19.71 23.57 21.7 -7.93 10.1
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 36.57 35.32 31.96 -9.51 -12.61
2.3 กรอบรูปไม้ 20.89 24.82 18.89 -23.89 -9.57
2.4 รูปแกะสลักไม้ 10.82 16.27 15.91 -2.21 47.04
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 191.57 223.8 227.55 1.68 18.78
3.1 ไม้แปรรูป 68.7 66.49 64.98 -2.27 -5.41
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.73 1.7 2.06 21.18 19.08
3.3 ไม้อัด 57.36 63.28 68.45 8.17 19.33
3.4 Fiber Board 49.13 67.75 64.75 -4.43 31.79
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 14.65 24.58 27.31 11.11 86.42
รวม 563.05 623.77 584.78 -6.25 3.86
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 25 18.95 22.07 16.46 -11.72
ไม้แปรรูป 92.46 77.17 83.5 8.2 -9.69
ไม้อัด วีเนียร์ 20.82 32.46 32.02 -1.36 53.79
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 12.47 12.92 14.25 10.29 14.27
รวม 150.75 141.5 151.84 7.31 0.72
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-