1. การผลิตในประเทศ
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 มีปริมาณ 6,592 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
1.8 โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ
0.2 โดยประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุจากการที่ผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งจาก
โรงพยาบาลของรัฐ และร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่เคยประสบปัญหาด้านการผลิตสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้แล้ว
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 มีจำนวน 6,167.4 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ร้อยละ 5.5 โดยประเภทยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด และยาน้ำ เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐ
ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 4.7 โดยประเภทของยาที่มีการจำหน่ายลดลงมาก ได้แก่ ยาเม็ด ยา
แคปซูล และยาครีม โดยในส่วนของยาเม็ดมีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ลูกค้าเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัว
เพิ่มขึ้น จึงสั่งซื้อสินค้ากักตุนไว้จำนวนมาก ทำให้ชะลอการซื้อลงในไตรมาสแรกของปี สำหรับยาแคปซูล ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผู้ผลิตสามารถผลิต
ได้หลายราย ทำให้มีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจึงจำหน่ายสินค้าได้ไม่ดีนัก และในส่วนของยาครีม เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาในการผลิต ทำให้สินค้าที่
ผลิตได้ไม่มีคุณภาพ จึงจำหน่ายสินค้าได้ลดลง ประกอบกับผู้ว่าจ้างผลิตย้ายฐานการผลิตยาบางชนิดไปยังประเทศอื่น ส่งผลให้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ผลิตและ
จำหน่ายสินค้าได้ลดลง
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 7,824.0 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตร
มาสก่อน ร้อยละ 22.7 และ 9.2 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้ายารักษาโรคที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์
แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,550.8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 45.4 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรค
ทั้งหมด ยารักษาโรคที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ในประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิต
เวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากเพราะบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพแล้ว ยังมีสาเหตุจากการที่บริษัทยาชั้นนำของโลกปรับราคายาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การที่มียาที่ผลิตจากในอาเซียนมา
ขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้มีการนำเข้ายาจากตลาดดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การนำเข้ายา
ขยายตัว
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 1,162.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน
ร้อยละ 4.9 และ 0.2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญใน ไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออก
ไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 806.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.4 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด มูลค่าการส่งออกที่ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่อง
จากผู้ผลิตไม่ได้เปิดตลาดใหม่ ๆ แต่มุ่งจำหน่ายลูกค้ากลุ่มเดิม รวมทั้งมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก (อาเซียน) มีมูลค่าลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะ
อุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจำหน่ายได้ ประกอบกับผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่เคยขึ้นทะเบียนไว้แล้ว อาจจำหน่าย
ได้น้อยลง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ยาใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นเข้าไปทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ในตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ความต้องการลดลง
5. นโยบายรัฐ
5.1 มาตรการบังคับใช้สิทธิ
ในไตรมาสแรกของปี 2551 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศใช้นโยบายมาตรการบังคับใช้สิทธิ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระ
ราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2542 จำนวน 4 ฉบับ ต่อยาต้านโรคมะเร็งที่มีสิทธิบัตร สรุปได้ ดังนี้
1.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Docetaxel ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Taxotere? ยาดังกล่าวเป็นยาใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังใช้รักษามะเร็งที่กระเพาะอาหาร ศีรษะ
และคอได้อีกด้วย โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมด
ความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้า
ราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่า
ตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุขแจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท ซาโนฟี่ —
อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
2.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Letrozole ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Femara ? เป็นยารักษาโรคมะเร็งเต้านม โดยประกาศดังกล่าวมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะ
เวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษา
พยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การ
เภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่าย ยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุข
แจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
3.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Erlotinib ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Tarceva? ยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งปอด โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะ
หมดระยะเวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้
เฉพาะผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบ
สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้
องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุขแจ้ง
ผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โรช ไทยแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
4.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 25 มกราคม 2551 เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณี
ยา Imatinib ภายใต้ชื่อการค้าว่า Gilvec? ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง และโรคมะเร็งทางเดินอาหาร
ในชิ้นเนื้อเยื่อสโตรมอล โดยให้ดำเนินการตามประกาศนี้เมื่อโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติ (GIPAP) สิ้นสุดลงหรือการดำเนินการตามโครงการ
ดังกล่าว ไม่เป็นไปตามที่บริษัทอ้างอิง หรือการดำเนินไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เข้าถึงยาได้ทุกคน ทั้งนี้ให้ดำเนิน
การตามเงื่อนไขข้างต้นจนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้
บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจ
ของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 5 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประประกาศและมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการตามประกาศทั้ง 4 ฉบับแล้ว การเจรจาต่อรองราคายา
จำเป็นที่มีสิทธิบัตรกับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร ก็จะยังคงดำเนินต่อไป หากสามารถตกลงกันได้ในเงื่อนไขที่บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรสามารถจำหน่ายยาให้
ได้ในราคาสูงกว่าราคายาชื่อสามัญไม่เกินร้อยละ 5 ก็จะดำเนินการจัดซื้อจากบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร โดยไม่ซื้อยาชื่อสามัญ
การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวข้างต้น ต่อยาต้านโรคมะเร็งที่มีสิทธิบัตร เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยสูงมากในแต่ละ
ปี อัตราตายด้วยโรคนี้อยู่ในอันดับสูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ความรุนแรงของโรคทำให้ผู้ป่วยต้องทรมาน และเสียค่าใช้จ่ายสูงมากในการรักษา ซึ่ง
มาตรการนี้ทำให้ราคายาถูกลง และทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้ทั่วถึงมากขึ้น
5.2 การประกาศใช้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เมื่อวัน
ที่ 23 มกราคม 2551 และจะมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม
2551) ซึ่งบัญชีฉบับนี้มีจุดเด่นสำคัญที่เป็นประโยชน์กับประชาชน แพทย์ผู้สั่งใช้ยา และภาครัฐ โดยประชาชนได้รับประโยชน์โดย คือ ได้รับยาที่ครอบคลุม
อาการเจ็บป่วยมากขึ้น ในส่วนของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็มีทางเลือก ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ และผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษามากยิ่งขึ้น รวม
ทั้งการเพิ่มบัญชีย่อย จ(2) ซึ่งเป็นรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ เป็นยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่แต่เดิมมีปัญหาด้านการเข้าถึงยา โดยจะมีการ
พัฒนาระบบกำกับดูแลการใช้ยาในกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่สมเหตุผล ทั้งนี้ ในการปรับปรุงบัญชียา ยังมีการนำยาที่มีความ
ปลอดภัยน้อยกว่าหรือคุ้มค่าน้อยกว่าออกจากบัญชีด้วย สำหรับประโยชน์ต่อภาครัฐที่เห็นได้ชัดเจน คือ การต่อรองราคายาที่อยู่ในบัญชีให้ถูกลง ทำให้ภาค
รัฐประหยัดเงินงบประมาณในการรักษาพยาบาล โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้ทำความตกลงกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้ยืนยันราคายา
ตามที่เสนอไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หลังจากบัญชียาหลักแห่งชาติประกาศใช้ และรับรองว่าสามารถจำหน่ายยาในราคานี้หรือต่ำกว่าแก่หน่วยงานที่ใช้
บัญชียาหลักแห่งชาติในระบบประกันสุขภาพของรัฐ และจัดหายาให้เพียงพอกับความต้องการตลอดช่วงเวลาที่ยาอยู่ในบัญชี หากเจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่
สามารถปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันควรต้องยินยอมให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาคัดยาออกจากบัญชีโดยไม่เรียกร้องหรือคัดค้าน รวมทั้งยังมีมาตรการ
ประกาศกำหนดราคากลางยาให้ควบคู่กับการประกาศใช้บัญชียาแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งในกรณีที่คณะอนุกรรมการฯ สามารถต่อรองราคาได้ลดลง จนเกิด
ความคุ้มค่า และเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจคัดเลือกยารายการนั้น ๆ เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ ก็จะถือราคายาที่เสนอโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นเป็น
ราคากลาง และนำมาใช้ในการจัดซื้อยาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ต่อไป
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อย
ละ 1.8 และ 5.5 ตามลำดับ โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยา
จากโรงพยาบาลรัฐได้ รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อจากร้านขายยาเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.7 เนื่องจากบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ราคายานำเข้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และมียาที่ผลิตจากในอาเซียนมาขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมาก
ขึ้น ทำให้มีการนำเข้ายาจากตลาดดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ในส่วนของมูลค่าการส่งออก ขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.9 เนื่องจากผู้ผลิตไม่
ได้เปิดตลาดใหม่ ๆ แต่มุ่งจำหน่ายลูกค้ากลุ่มเดิม รวมทั้งอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยาในอาเซียน ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจำหน่าย
ได้ ประกอบกับอาจมีผลิตภัณฑ์ยาใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นจากประเทศอื่นเข้าไปทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ในตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์
เดิมลดลง
สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะทรงตัวหรือลดลงจาก
ไตรมาสแรกเล็กน้อย แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ตามรอบของอุตสาหกรรม สำหรับการนำเข้าคาดว่ามูลค่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องเช่นที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตามหากสามารถลดอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา รวมทั้งสามารถขยายการส่ง
ออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เช่น รัสเซีย หรือแอฟริกาใต้ ได้ จะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
ยาเม็ด 1,421.90 1,524.20 1,477.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.1
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.9
ยาน้ำ 3,048.40 3,066.30 3,237.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6.2
ยาแคปซูล 137.8 203.6 198.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 44.3
ยาฉีด 124.6 108.2 111.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -10.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 26.5 30.7 30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.2
ยาครีม 623.5 605.4 533.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.9
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.4
ยาผง 1,092.70 1,040.20 1,004.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -8.1
รวม 6,475.40 6,578.60 6,592.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.2
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
ประเภท ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
ยาเม็ด 1,312.50 1,529.70 1,445.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 10.1
ยาน้ำ 3,617.10 3,933.70 3,919.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8.4
ยาแคปซูล 189.2 228 174.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -8
ยาฉีด 84 76.1 83.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.9
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 24.8 29 27.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11.6
ยาครีม 464.5 512.4 387.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -24.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.6
ยาผง 152.3 162.4 130.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -19.8
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.4
รวม 5,844.40 6,471.30 6,167.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค*
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
มูลค่าการนำเข้า 6,375.80 7,164.90 7,824.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.7
มูลค่าการส่งออก 1,222.20 1,164.40 1,162.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.9
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 มีปริมาณ 6,592 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ
1.8 โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ
0.2 โดยประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น มีสาเหตุจากการที่ผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งจาก
โรงพยาบาลของรัฐ และร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่เคยประสบปัญหาด้านการผลิตสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้แล้ว
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 มีจำนวน 6,167.4 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ร้อยละ 5.5 โดยประเภทยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด และยาน้ำ เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐ
ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 4.7 โดยประเภทของยาที่มีการจำหน่ายลดลงมาก ได้แก่ ยาเม็ด ยา
แคปซูล และยาครีม โดยในส่วนของยาเม็ดมีปริมาณการจำหน่ายลดลง เนื่องจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ลูกค้าเกรงว่าราคาสินค้าจะปรับตัว
เพิ่มขึ้น จึงสั่งซื้อสินค้ากักตุนไว้จำนวนมาก ทำให้ชะลอการซื้อลงในไตรมาสแรกของปี สำหรับยาแคปซูล ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผู้ผลิตสามารถผลิต
ได้หลายราย ทำให้มีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจึงจำหน่ายสินค้าได้ไม่ดีนัก และในส่วนของยาครีม เนื่องจากผู้ผลิตบางรายมีปัญหาในการผลิต ทำให้สินค้าที่
ผลิตได้ไม่มีคุณภาพ จึงจำหน่ายสินค้าได้ลดลง ประกอบกับผู้ว่าจ้างผลิตย้ายฐานการผลิตยาบางชนิดไปยังประเทศอื่น ส่งผลให้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ผลิตและ
จำหน่ายสินค้าได้ลดลง
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 7,824.0 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตร
มาสก่อน ร้อยละ 22.7 และ 9.2 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้ายารักษาโรคที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์
แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,550.8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 45.4 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรค
ทั้งหมด ยารักษาโรคที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ในประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิต
เวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากเพราะบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพแล้ว ยังมีสาเหตุจากการที่บริษัทยาชั้นนำของโลกปรับราคายาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การที่มียาที่ผลิตจากในอาเซียนมา
ขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้มีการนำเข้ายาจากตลาดดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การนำเข้ายา
ขยายตัว
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสแรกของปี 2551 มีมูลค่า 1,162.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน
ร้อยละ 4.9 และ 0.2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญใน ไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออก
ไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 806.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.4 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด มูลค่าการส่งออกที่ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่อง
จากผู้ผลิตไม่ได้เปิดตลาดใหม่ ๆ แต่มุ่งจำหน่ายลูกค้ากลุ่มเดิม รวมทั้งมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก (อาเซียน) มีมูลค่าลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะ
อุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจำหน่ายได้ ประกอบกับผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่เคยขึ้นทะเบียนไว้แล้ว อาจจำหน่าย
ได้น้อยลง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ยาใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นเข้าไปทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ในตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ความต้องการลดลง
5. นโยบายรัฐ
5.1 มาตรการบังคับใช้สิทธิ
ในไตรมาสแรกของปี 2551 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศใช้นโยบายมาตรการบังคับใช้สิทธิ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 51 แห่งพระ
ราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2542 จำนวน 4 ฉบับ ต่อยาต้านโรคมะเร็งที่มีสิทธิบัตร สรุปได้ ดังนี้
1.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Docetaxel ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Taxotere? ยาดังกล่าวเป็นยาใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังใช้รักษามะเร็งที่กระเพาะอาหาร ศีรษะ
และคอได้อีกด้วย โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตร หรือหมด
ความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้า
ราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่า
ตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุขแจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท ซาโนฟี่ —
อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
2.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Letrozole ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Femara ? เป็นยารักษาโรคมะเร็งเต้านม โดยประกาศดังกล่าวมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะหมดระยะ
เวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษา
พยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การ
เภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่าย ยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุข
แจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
3.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณียา Erlotinib ภายใต้ชื่อการ
ค้าว่า Tarceva? ยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งปอด โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าจะ
หมดระยะเวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้
เฉพาะผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และผู้มีสิทธิในระบบ
สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้
องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุขแจ้ง
ผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โรช ไทยแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
4.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 25 มกราคม 2551 เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ กรณี
ยา Imatinib ภายใต้ชื่อการค้าว่า Gilvec? ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง และโรคมะเร็งทางเดินอาหาร
ในชิ้นเนื้อเยื่อสโตรมอล โดยให้ดำเนินการตามประกาศนี้เมื่อโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติ (GIPAP) สิ้นสุดลงหรือการดำเนินการตามโครงการ
ดังกล่าว ไม่เป็นไปตามที่บริษัทอ้างอิง หรือการดำเนินไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เข้าถึงยาได้ทุกคน ทั้งนี้ให้ดำเนิน
การตามเงื่อนไขข้างต้นจนกว่าจะหมดระยะเวลาของสิทธิบัตรหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ยานี้ เพื่อจัดให้ยาชื่อสามัญดังกล่าวมีจำนวนเพียงพอในการให้
บริการแก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้เฉพาะผู้มีสิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ทั้งนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่จะใช้ยานี้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจ
ของแพทย์ผู้รักษา พร้อมทั้งให้องค์การเภสัชกรรมจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จำนวน ร้อยละ 5 ของมูลค่าการจำหน่ายยาชื่อสามัญดังกล่าว และให้
กระทรวงสาธารณสุขแจ้งผู้ทรงสิทธิ (บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบทันที
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประประกาศและมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการตามประกาศทั้ง 4 ฉบับแล้ว การเจรจาต่อรองราคายา
จำเป็นที่มีสิทธิบัตรกับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร ก็จะยังคงดำเนินต่อไป หากสามารถตกลงกันได้ในเงื่อนไขที่บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรสามารถจำหน่ายยาให้
ได้ในราคาสูงกว่าราคายาชื่อสามัญไม่เกินร้อยละ 5 ก็จะดำเนินการจัดซื้อจากบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร โดยไม่ซื้อยาชื่อสามัญ
การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวข้างต้น ต่อยาต้านโรคมะเร็งที่มีสิทธิบัตร เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยสูงมากในแต่ละ
ปี อัตราตายด้วยโรคนี้อยู่ในอันดับสูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ความรุนแรงของโรคทำให้ผู้ป่วยต้องทรมาน และเสียค่าใช้จ่ายสูงมากในการรักษา ซึ่ง
มาตรการนี้ทำให้ราคายาถูกลง และทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้ทั่วถึงมากขึ้น
5.2 การประกาศใช้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เมื่อวัน
ที่ 23 มกราคม 2551 และจะมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม
2551) ซึ่งบัญชีฉบับนี้มีจุดเด่นสำคัญที่เป็นประโยชน์กับประชาชน แพทย์ผู้สั่งใช้ยา และภาครัฐ โดยประชาชนได้รับประโยชน์โดย คือ ได้รับยาที่ครอบคลุม
อาการเจ็บป่วยมากขึ้น ในส่วนของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็มีทางเลือก ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ และผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษามากยิ่งขึ้น รวม
ทั้งการเพิ่มบัญชีย่อย จ(2) ซึ่งเป็นรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ เป็นยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่แต่เดิมมีปัญหาด้านการเข้าถึงยา โดยจะมีการ
พัฒนาระบบกำกับดูแลการใช้ยาในกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่สมเหตุผล ทั้งนี้ ในการปรับปรุงบัญชียา ยังมีการนำยาที่มีความ
ปลอดภัยน้อยกว่าหรือคุ้มค่าน้อยกว่าออกจากบัญชีด้วย สำหรับประโยชน์ต่อภาครัฐที่เห็นได้ชัดเจน คือ การต่อรองราคายาที่อยู่ในบัญชีให้ถูกลง ทำให้ภาค
รัฐประหยัดเงินงบประมาณในการรักษาพยาบาล โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้ทำความตกลงกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้ยืนยันราคายา
ตามที่เสนอไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หลังจากบัญชียาหลักแห่งชาติประกาศใช้ และรับรองว่าสามารถจำหน่ายยาในราคานี้หรือต่ำกว่าแก่หน่วยงานที่ใช้
บัญชียาหลักแห่งชาติในระบบประกันสุขภาพของรัฐ และจัดหายาให้เพียงพอกับความต้องการตลอดช่วงเวลาที่ยาอยู่ในบัญชี หากเจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่
สามารถปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันควรต้องยินยอมให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาคัดยาออกจากบัญชีโดยไม่เรียกร้องหรือคัดค้าน รวมทั้งยังมีมาตรการ
ประกาศกำหนดราคากลางยาให้ควบคู่กับการประกาศใช้บัญชียาแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งในกรณีที่คณะอนุกรรมการฯ สามารถต่อรองราคาได้ลดลง จนเกิด
ความคุ้มค่า และเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจคัดเลือกยารายการนั้น ๆ เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ ก็จะถือราคายาที่เสนอโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นเป็น
ราคากลาง และนำมาใช้ในการจัดซื้อยาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ต่อไป
6. สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อย
ละ 1.8 และ 5.5 ตามลำดับ โดยประเภทของยาที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาน้ำ และยาเม็ด เนื่องจาก ผู้ผลิตสามารถประมูลการจัดซื้อยา
จากโรงพยาบาลรัฐได้ รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อจากร้านขายยาเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.7 เนื่องจากบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ราคายานำเข้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และมียาที่ผลิตจากในอาเซียนมาขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมาก
ขึ้น ทำให้มีการนำเข้ายาจากตลาดดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ในส่วนของมูลค่าการส่งออก ขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.9 เนื่องจากผู้ผลิตไม่
ได้เปิดตลาดใหม่ ๆ แต่มุ่งจำหน่ายลูกค้ากลุ่มเดิม รวมทั้งอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยาในอาเซียน ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจำหน่าย
ได้ ประกอบกับอาจมีผลิตภัณฑ์ยาใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นจากประเทศอื่นเข้าไปทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ในตลาดดังกล่าว ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์
เดิมลดลง
สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะทรงตัวหรือลดลงจาก
ไตรมาสแรกเล็กน้อย แล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ตามรอบของอุตสาหกรรม สำหรับการนำเข้าคาดว่ามูลค่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรยังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องเช่นที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกคาดว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตามหากสามารถลดอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนยา รวมทั้งสามารถขยายการส่ง
ออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เช่น รัสเซีย หรือแอฟริกาใต้ ได้ จะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
ยาเม็ด 1,421.90 1,524.20 1,477.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.1
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.9
ยาน้ำ 3,048.40 3,066.30 3,237.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6.2
ยาแคปซูล 137.8 203.6 198.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 44.3
ยาฉีด 124.6 108.2 111.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -10.8
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 26.5 30.7 30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.2
ยาครีม 623.5 605.4 533.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.9
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.4
ยาผง 1,092.70 1,040.20 1,004.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -8.1
รวม 6,475.40 6,578.60 6,592.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.2
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
ประเภท ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
ยาเม็ด 1,312.50 1,529.70 1,445.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 10.1
ยาน้ำ 3,617.10 3,933.70 3,919.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8.4
ยาแคปซูล 189.2 228 174.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -8
ยาฉีด 84 76.1 83.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.9
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 24.8 29 27.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.5
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11.6
ยาครีม 464.5 512.4 387.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -24.4
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.6
ยาผง 152.3 162.4 130.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -19.8
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.4
รวม 5,844.40 6,471.30 6,167.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาโรค*
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551
มูลค่าการนำเข้า 6,375.80 7,164.90 7,824.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.7
มูลค่าการส่งออก 1,222.20 1,164.40 1,162.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.9
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-