1. การผลิต
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.11
และ 24.73 ตามลำดับ และเมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.39 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 2.04
ทั้งนี้เนื่องจากมีแนวโน้มที่ผู้ใช้หันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ราคา
ยางพาราปรับตัวสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.41 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.54 และ 14.25 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจาก
จีน ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมยางรถยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก การที่ราคายางพารามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นเหตุจูงใจให้
เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตยางโดยรวมเพิ่มขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ประมาณ 6.38 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 11.05 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.38 และ 5.35 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกเกือบทุกประเภท
อาทิ ยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถแทรกเตอร์ ยางนอกรถจักรยานยนต์และยางนอกรถจักรยาน ส่วนกลุ่มยางในมี
ปริมาณการผลิต 14.81 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.76 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์และยางในรถจักรยาน โดยเฉพาะยางในรถ
จักรยานยนต์ซึ่งประสบปัญหาการทุ่มตลาดจากประเทศจีน ซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้คุณภาพสินค้าของจีนจะไม่ดีนัก แต่เมื่อเปรียบ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 11.38 3.72 และ1.64 ตามลำดับ โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง
ยางนอกและยางในทุกประเภท ยกเว้นยางในรถจักรยาน ในภาพรวมผลผลิตยางยานพาหนะขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาประเทศ
ไทย จากเดิมที่มีเพียงค่ายมิชลิน บริดสโตน และกูดเยียร์ ขณะนี้ได้มีผู้ผลิตรายใหม่ๆเข้ามาลงทุน ได้แก่ โยโกฮามา ซูมิโตโม จากญี่ปุ่น และ แม๊คซีส
จากไต้หวัน สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.46 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 8.99
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมลดลง เนื่องจากราคายางพารายังคงอยู่ระดับสูงตาม
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยปริมาณการจำหน่ายยางแท่งในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.08 และ
45.19 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยางแผ่นในประเทศเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.68 แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 7.22
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ได้แก่ การจำหน่ายของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 4.84 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 5.18 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 9.13 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.20 และ 7.74 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.64 โดยเพิ่มขึ้นเฉพาะในส่วนของยางนอกรถจักรยานยนต์ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 5.13 ส่วนในกลุ่มของยางในลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.16 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์ แต่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.92 โดยเพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.85 และ 9.89 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 จำนวน 1,754.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.69 และ 33.55 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นในรูปของยางแผ่นรมควัน
ชั้น 3 ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ บราซิล และฝรั่งเศส ส่วนยางแท่งมีการส่งออกลดลงซึ่งเป็นผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็ง
ขึ้น ทำให้ยางธรรมชาติของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกยางแท่งรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้
ประเทศคู่ค้ายางธรรมชาติของไทย เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พากันลดการนำเข้าจากไทย และหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซียแทน อย่างไรก็
ตาม ความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาง
รถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของหลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จำนวน 1,069.63 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.93 และ 24.75 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่
ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 351.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.30 และ 44.19 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถ
ยนต์ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 144.09 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 13.48 และ 44.34 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 105.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตร
มาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.22 และ 71.02 ตามลำดับ ยางรถยนต์มีการนำเข้า 52.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ
2.41 แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.88 ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 35.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.76 และ 27.97 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ไต้หวัน และเยอรมัน
3. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 6.69 และ 7.93 ตามลำดับ และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.55 และ 24.75 ตามลำดับ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น
เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก
ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 — 90 บาท
เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่ง
เสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทผู้ผลิตยางยานพาหนะชั้นนำของโลก
หลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์ เส้น 5,729,263 5,942,732 6,381,206 7.38 11.38
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,593,452 3,511,748 3,941,289 12.23 9.68
- ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,035,636 1,336,891 1,291,565 -3.39 24.71
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 1,056,383 1,050,500 1,097,261 4.45 3.87
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 43,792 43,593 51,091 17.20 16.67
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 10,655,069 10,490,456 11,051,295 5.35 3.72
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,531,172 5,772,104 5,818,286 0.80 5.19
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 5,031,681 4,609,496 5,075,734 10.11 0.88
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 92,216 108,856 157,275 44.48 70.55
ยางใน เส้น 14,570,758 15,075,388 14,810,401 -1.76 1.64
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 457,368 539,463 539,857 0.07 18.04
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 8,555,734 9,439,556 9,304,952 -1.43 8.76
- ยางในรถจักรยาน เส้น 5,557,656 5,096,369 4,965,592 -2.57 -10.65
ยางรอง เส้น 699,437 738,549 690,277 -6.54 -1.31
ยางหล่อดอก เส้น 20,510 19,618 21,454 9.36 4.60
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,378,007,477 2,741,423,099 2,591,758,400 -5.46 8.99
ยางรัดของ ตัน 3,917.87 3,894.37 3,574.99 -8.20 -8.75
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 259452.39 313,330.16 363,554.18 16.03 40.12
- ยางแผ่น ตัน 72,227.17 56,727.24 70,753.64 24.73 -2.04
- ยางแท่ง ตัน 187,225.22 256,602.92 292,800.54 14.11 56.39
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางนอก เส้น 4,498,017 4,437,837 4,846,261 9.2 7.74
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 2,576,520 2,433,937 2,771,428 13.87 7.56
- ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,059,395 1,170,346 1,204,471 2.92 13.69
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 837,099 810,826 841,120 3.74 0.48
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 25,003 22,728 29,242 28.66 16.95
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 4,930,524 5,009,666 5,183,218 3.46 5.13
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 3,957,880 3,841,273 4,038,491 5.13 2.04
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 945,994 1,147,006 1,130,207 -1.46 19.47
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 26,650 21,387 14,520 -32.11 -45.52
ยางใน เส้น 8,461,466 9,145,532 9,131,257 -0.16 7.92
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 435,768 423,925 445,205 5.02 2.17
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 6,209,709 6,750,494 6,701,914 -0.72 7.93
- ยางในรถจักรยาน เส้น 1,815,989 1,971,113 1,984,138 0.66 9.26
ยางรอง เส้น 389,505 362,030 381,396 5.35 -2.08
ยางหล่อดอก เส้น 21,498 20,134 21,699 7.77 0.93
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 126,356,540 119,853,732 138,853,732 15.85 9.89
ยางรัดของ ตัน 280.66 296.96 220.94 -25.60 -21.28
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 27,552.34 24,761.75 22,384.36 -9.60 -18.76
- ยางแผ่น ตัน 19,179.87 16,838.82 17,795.13 5.68 -7.22
- ยางแท่ง ตัน 8,372.47 7,922.93 4,589.23 -42.08 -45.19
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางพารา 1,313.98 1,644.72 1,754.81 6.69 33.55
ยางแผ่น 505.94 576.21 654.54 13.59 29.37
ยางแท่ง 56.78 37.77 24.74 -34.5 -56.43
น้ำยางข้น 315.37 379.41 339.21 -10.6 7.56
ยางพาราอื่น ๆ 435.89 651.33 736.32 13.05 68.92
ผลิตภัณฑ์ยาง 857.45 991.06 1,069.63 7.93 24.75
ยางยานพาหนะ 357.32 454.31 495.55 9.08 38.69
ถุงมือยาง 142.67 142.35 147.91 3.91 3.67
ยางรัดของ 9.72 16.5 13.73 -16.79 41.26
หลอดและท่อ 30.64 39.28 39.18 -0.25 27.87
สายพานลำเลียงและ 16.94 17.49 16.97 -2.97 0.18
ส่งกำลัง
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 50.47 54.36 57.68 6.11 14.29
ยางวัลแคไนซ์ 52.82 55.72 47.52 -14.72 -10.03
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 196.87 211.05 251.09 18.97 27.54
รวม 2,171.43 2,635.78 2, 824.44 7.16 30.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 75.69 93.89 94.22 0.35 24.48
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 27.92 34.77 35.73 2.76 27.97
ยางรถยนต์ 43.49 53.87 52.57 -2.41 20.88
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 4.28 5.25 5.92 12.76 38.32
ยาง รวมเศษยาง 102.64 129.51 148.86 14.94 45.03
ยางธรรมชาติ 1.88 1.33 3.21 141.35 70.74
ยางสังเคราะห์ 99.83 126.97 144.09 13.48 44.34
ยางอื่นๆ 0.93 1.21 1.56 28.93 67.74
วัสดุทำจากยาง 65.1 97.73 107.92 10.43 65.78
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 3.23 1.73 2.11 21.97 -34.67
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 61.87 96 105.81 10.22 71.02
รวม 243.43 321.13 351 9.3 44.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.11
และ 24.73 ตามลำดับ และเมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.39 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 2.04
ทั้งนี้เนื่องจากมีแนวโน้มที่ผู้ใช้หันไปนิยมยางแท่งมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมาทำการผลิตยางแท่งมากขึ้น ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ราคา
ยางพาราปรับตัวสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.41 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.54 และ 14.25 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจาก
จีน ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมยางรถยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก การที่ราคายางพารามีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นเหตุจูงใจให้
เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตยางโดยรวมเพิ่มขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตของกลุ่มยางนอกรถยนต์ประมาณ 6.38 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 11.05 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.38 และ 5.35 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกเกือบทุกประเภท
อาทิ ยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ยางนอกรถแทรกเตอร์ ยางนอกรถจักรยานยนต์และยางนอกรถจักรยาน ส่วนกลุ่มยางในมี
ปริมาณการผลิต 14.81 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.76 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์และยางในรถจักรยาน โดยเฉพาะยางในรถ
จักรยานยนต์ซึ่งประสบปัญหาการทุ่มตลาดจากประเทศจีน ซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้คุณภาพสินค้าของจีนจะไม่ดีนัก แต่เมื่อเปรียบ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 11.38 3.72 และ1.64 ตามลำดับ โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง
ยางนอกและยางในทุกประเภท ยกเว้นยางในรถจักรยาน ในภาพรวมผลผลิตยางยานพาหนะขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาประเทศ
ไทย จากเดิมที่มีเพียงค่ายมิชลิน บริดสโตน และกูดเยียร์ ขณะนี้ได้มีผู้ผลิตรายใหม่ๆเข้ามาลงทุน ได้แก่ โยโกฮามา ซูมิโตโม จากญี่ปุ่น และ แม๊คซีส
จากไต้หวัน สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.46 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 8.99
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมลดลง เนื่องจากราคายางพารายังคงอยู่ระดับสูงตาม
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยปริมาณการจำหน่ายยางแท่งในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.08 และ
45.19 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยางแผ่นในประเทศเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.68 แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 7.22
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ได้แก่ การจำหน่ายของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 4.84 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยาน 5.18 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 9.13 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.20 และ 7.74 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถ
จักรยานยนต์/รถจักรยานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.64 โดยเพิ่มขึ้นเฉพาะในส่วนของยางนอกรถจักรยานยนต์ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 5.13 ส่วนในกลุ่มของยางในลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.16 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์ แต่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.92 โดยเพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.85 และ 9.89 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี
2551 จำนวน 1,754.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.69 และ 33.55 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นในรูปของยางแผ่นรมควัน
ชั้น 3 ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ บราซิล และฝรั่งเศส ส่วนยางแท่งมีการส่งออกลดลงซึ่งเป็นผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็ง
ขึ้น ทำให้ยางธรรมชาติของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกยางแท่งรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้
ประเทศคู่ค้ายางธรรมชาติของไทย เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พากันลดการนำเข้าจากไทย และหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซียแทน อย่างไรก็
ตาม ความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาง
รถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของหลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จำนวน 1,069.63 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.93 และ 24.75 ตามลำดับ โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่
ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 351.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.30 และ 44.19 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถ
ยนต์ ท่อหรือข้อต่อ และสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 144.09 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 13.48 และ 44.34 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 105.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตร
มาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.22 และ 71.02 ตามลำดับ ยางรถยนต์มีการนำเข้า 52.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ
2.41 แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.88 ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 35.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.76 และ 27.97 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ไต้หวัน และเยอรมัน
3. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว มีผลให้มูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน
ร้อยละ 6.69 และ 7.93 ตามลำดับ และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.55 และ 24.75 ตามลำดับ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น
เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก
ทำให้จีนมีอัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 — 90 บาท
เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่ง
เสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทผู้ผลิตยางยานพาหนะชั้นนำของโลก
หลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายการ หน่วย ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์ เส้น 5,729,263 5,942,732 6,381,206 7.38 11.38
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,593,452 3,511,748 3,941,289 12.23 9.68
- ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,035,636 1,336,891 1,291,565 -3.39 24.71
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 1,056,383 1,050,500 1,097,261 4.45 3.87
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 43,792 43,593 51,091 17.20 16.67
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 10,655,069 10,490,456 11,051,295 5.35 3.72
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,531,172 5,772,104 5,818,286 0.80 5.19
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 5,031,681 4,609,496 5,075,734 10.11 0.88
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 92,216 108,856 157,275 44.48 70.55
ยางใน เส้น 14,570,758 15,075,388 14,810,401 -1.76 1.64
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 457,368 539,463 539,857 0.07 18.04
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 8,555,734 9,439,556 9,304,952 -1.43 8.76
- ยางในรถจักรยาน เส้น 5,557,656 5,096,369 4,965,592 -2.57 -10.65
ยางรอง เส้น 699,437 738,549 690,277 -6.54 -1.31
ยางหล่อดอก เส้น 20,510 19,618 21,454 9.36 4.60
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,378,007,477 2,741,423,099 2,591,758,400 -5.46 8.99
ยางรัดของ ตัน 3,917.87 3,894.37 3,574.99 -8.20 -8.75
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 259452.39 313,330.16 363,554.18 16.03 40.12
- ยางแผ่น ตัน 72,227.17 56,727.24 70,753.64 24.73 -2.04
- ยางแท่ง ตัน 187,225.22 256,602.92 292,800.54 14.11 56.39
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
รายการ หน่วย ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางนอก เส้น 4,498,017 4,437,837 4,846,261 9.2 7.74
- ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 2,576,520 2,433,937 2,771,428 13.87 7.56
- ยางนอกรถกะบะ เส้น 1,059,395 1,170,346 1,204,471 2.92 13.69
- ยางนอกรถบรรทุก เส้น 837,099 810,826 841,120 3.74 0.48
และรถโดยสาร
- ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 25,003 22,728 29,242 28.66 16.95
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 4,930,524 5,009,666 5,183,218 3.46 5.13
- ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 3,957,880 3,841,273 4,038,491 5.13 2.04
- ยางนอกรถจักรยาน เส้น 945,994 1,147,006 1,130,207 -1.46 19.47
- ยางนอกอื่น ๆ เส้น 26,650 21,387 14,520 -32.11 -45.52
ยางใน เส้น 8,461,466 9,145,532 9,131,257 -0.16 7.92
- ยางในรถบรรทุกและ เส้น 435,768 423,925 445,205 5.02 2.17
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 6,209,709 6,750,494 6,701,914 -0.72 7.93
- ยางในรถจักรยาน เส้น 1,815,989 1,971,113 1,984,138 0.66 9.26
ยางรอง เส้น 389,505 362,030 381,396 5.35 -2.08
ยางหล่อดอก เส้น 21,498 20,134 21,699 7.77 0.93
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 126,356,540 119,853,732 138,853,732 15.85 9.89
ยางรัดของ ตัน 280.66 296.96 220.94 -25.60 -21.28
ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 27,552.34 24,761.75 22,384.36 -9.60 -18.76
- ยางแผ่น ตัน 19,179.87 16,838.82 17,795.13 5.68 -7.22
- ยางแท่ง ตัน 8,372.47 7,922.93 4,589.23 -42.08 -45.19
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ยางพารา 1,313.98 1,644.72 1,754.81 6.69 33.55
ยางแผ่น 505.94 576.21 654.54 13.59 29.37
ยางแท่ง 56.78 37.77 24.74 -34.5 -56.43
น้ำยางข้น 315.37 379.41 339.21 -10.6 7.56
ยางพาราอื่น ๆ 435.89 651.33 736.32 13.05 68.92
ผลิตภัณฑ์ยาง 857.45 991.06 1,069.63 7.93 24.75
ยางยานพาหนะ 357.32 454.31 495.55 9.08 38.69
ถุงมือยาง 142.67 142.35 147.91 3.91 3.67
ยางรัดของ 9.72 16.5 13.73 -16.79 41.26
หลอดและท่อ 30.64 39.28 39.18 -0.25 27.87
สายพานลำเลียงและ 16.94 17.49 16.97 -2.97 0.18
ส่งกำลัง
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 50.47 54.36 57.68 6.11 14.29
ยางวัลแคไนซ์ 52.82 55.72 47.52 -14.72 -10.03
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 196.87 211.05 251.09 18.97 27.54
รวม 2,171.43 2,635.78 2, 824.44 7.16 30.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส % D เทียบกับ % D เทียบกับไตรมาส
1/2550 4/2550 1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 75.69 93.89 94.22 0.35 24.48
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 27.92 34.77 35.73 2.76 27.97
ยางรถยนต์ 43.49 53.87 52.57 -2.41 20.88
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 4.28 5.25 5.92 12.76 38.32
ยาง รวมเศษยาง 102.64 129.51 148.86 14.94 45.03
ยางธรรมชาติ 1.88 1.33 3.21 141.35 70.74
ยางสังเคราะห์ 99.83 126.97 144.09 13.48 44.34
ยางอื่นๆ 0.93 1.21 1.56 28.93 67.74
วัสดุทำจากยาง 65.1 97.73 107.92 10.43 65.78
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 3.23 1.73 2.11 21.97 -34.67
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 61.87 96 105.81 10.22 71.02
รวม 243.43 321.13 351 9.3 44.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-