1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากไตร
มาสที่ 4 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มปศุสัตว์ ผักผลไม้ และน้ำมันพืช เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 16.6 และ 8.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็น
ผลจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 จากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานมากเป็นประวัติการณ์ สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี
2550 พบว่า ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลจาก
ประเทศคู่แข่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ลดลง ประกอบกับประเทศจีนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของ
อาหารที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสั่งสินค้าไก่แปรรูป จากไทยทดแทน ส่งผลให้หมวดปศุสัตว์ในภาพรวมมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ
41.4 อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดสหรัฐฯ ลดลงเกือบทุกกลุ่ม เช่น ประมง ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 5.4 และ 4.5 ตามลำดับ โดย
เฉพาะกุ้ง มีปัญหาผลผลิตมีปริมาณลดลงจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะเลี้ยงไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ใน
ประเทศหรือเป็นวัตถุดิบมีการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันพืช และอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 และ 4.3 ตามลำดับ
ในส่วนภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น ผลจากความต้องการสินค้าทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
เพิ่มขึ้นปัญหาภัยธรรมชาติ และภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศ ความต้องการในสินค้าธัญพืช
และแป้งเพื่อผลิตเป็นอาหารและพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น และระดับราคาน้ำตาลของตลาดโลกที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ผลิต
ลดลง เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ปัญหาราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบสัตว์
ทะเลและปลาทูน่าขาดแคลน นอกจากนี้ปัญหาโลกร้อนยังส่งผลต่อวัตถุดิบอื่นๆ ที่ผลิตได้ลดลง ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ แป้งสาลี ทำให้การ
ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชะลอตัวลงเล็กน้อย จากการปรับราคาจำหน่ายในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.0 จาก
ไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการ
เมืองของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่ม
สินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 16.8 ผักผลไม้ ร้อยละ 9.2 อาหารสัตว์ ร้อยละ 8.0 และผลิตภัณฑ์นม ร้อย
ละ 3.6
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 36.3 ปศุสัตว์ ร้อย
ละ 33.4 น้ำตาล ร้อยละ 20.3 และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 6.6 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และความวิตกกังวลเกี่ยวกับราคา
สินค้าดังกล่าวที่อาจเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับมีการบริโภคเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นข้าราชการที่ได้รับข่าวการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น และการประกาศลด
หย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น การออกผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่แปรรูปหลากหลายเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคตามการประชาสัมพันธ์
เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวและอาหารพร้อมรับประทานเพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,917.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 159,804.3 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 0.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 ในรูปของ
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 19.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี
2550 จะพบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า
ขึ้น ทำให้ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น ประกอบกับระดับราคาสินค้าอาหารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก จากการที่ประเทศผู้ผลิตประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ไม่
สามารถส่งออกได้ตามปกติ ประกอบกับคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้การที่ผู้บริโภคของญี่ปุ่นมีความกังวล
ในอาหารนำเข้าจากจีนเนื่องจากมีการตรวจพบยาฆ่าแมลงในเกี๊ยวซ่า ทำให้หันมานำเข้าสินค้าอาหารจากไทยทดแทนมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,391.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 45,210.9 ล้านบาท หดตัวลดลงร้อยละ 10.9 ใน
รูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 14.6 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของทุกสินค้าทั้งอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารทะเลสด
แช่เย็นแช่แข็ง และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ในรูปดอลลาร์ฯ และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในรูป
เงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กำลังประสบปัญหาตลาดสหรัฐฯ ที่มีภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าเงินบาท
แข็งค่า และปัญหา AD ทำให้การส่งออกลดลง ส่วนปลาทูน่ากระป๋อง สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 548.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,816.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 3.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิต เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลที่วัตถุดิบออกสู่ตลาด
เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น จากราคาส่ง
ออกที่สูงขึ้น
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 337.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,978.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือลดลงร้อยละ 2.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 50.5 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้น
จากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพยุโรปเร่ง
ทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออก
กลางได้เพิ่มขึ้นด้วย
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,996.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 64,888.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 4.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาส่งออกปรับสูงขึ้นใน
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง และตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น
ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย รวมทั้งสหภาพยุโรปประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนธัญพืช จึงนำเข้ามันสำปะหลังเพิ่มขึ้น สำหรับข้าวประเทศคู่แข่งสำคัญ
ได้แก่ อินเดีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จึงประกาศงดส่งออกข้าวในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 323.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,500.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 20.0 ในรูปเงินบาท จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และ
ด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 73.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 66.6 ในรูปเงินบาท เนื่องจากความกังวลในราคาสินค้าอาหารอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงนำเข้าเพื่อ
สำรองไว้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 320.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,409.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และ 5.0 ใน
รูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อย
ละ 2.0 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 2,124.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 69,053.8 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 1.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ
31.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 26.4 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่ามูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.3 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 39.1 ในรูปเงินบาท
หากเปรียบเทียบในปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม ร้อย
ละ 103.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 86.1 ในรูปเงินบาทมากที่สุด รองลงมา คือ เมล็ดพืชน้ำมันร้อยละ 64.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
50.0 ในรูปเงินบาท และปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 60.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 46.8 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอาหารนำเข้าสำคัญ คือ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบ
ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามแม้สินค้าอาหารที่นำเข้าจะเพิ่มขึ้นในเชิงมูลค่า แต่หากพิจารณาปริมาณนำเข้าแล้ว พบว่ามีปริมาณการนำเข้า
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า เป็นผลจากภาวะโลกร้อนทำให้วัตถุดิบขาดแคลน ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าหลายชนิดในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่า ข้าว
โพด ถั่วเหลือง ข้าวและแป้งสาลี รวมถึงธัญพืชต่างๆ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับผู้ประกอบการที่นำเข้าวัตถุดิบ เนื่องจากผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ และการขึ้นราคาสินค้าให้กับสินค้าอาหารพื้นฐานตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่ม
ขึ้น ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย
เพิ่มเติม จำนวน 20,971.31 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 ให้นำเข้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยต้องนำความเห็นของกระทรวง
อุตสาหกรรมในเรื่องการจัดสรรโควตานำเข้าให้โปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และสภาพัฒน์ฯ เกี่ยวกับช่วงเวลานำเข้าที่เหมาะสม ไม่ควรนำเข้าใน
ช่วงที่เกษตรกรมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้องค์การคลังสินค้า นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส
ปริมาณ 30,000 ตัน ภายใต้กรอบ AFTA รวมทั้งจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนที่รับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศปี
2550 และนำเข้าภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อมิให้ส่งผลกระทบกับราคาผลปาล์มน้ำมันที่จะออกสู่ตลาดมากในเดือนมีนาคม และให้ติดตาม
ราคาปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
3.3 กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้ปรับราคาจำหน่ายสินค้าอาหารที่ควบคุมราคาขั้นสูง ได้แก่ น้ำมันพืช (น้ำมันพืชบรรจุขวด 1 ลิตร น้ำมัน
ปาล์มจาก 42.50 บาท เป็น 47.50 บาท และน้ำมันถั่วเหลืองจาก 45.50 บาท เป็น 49.50 บาท) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำอัดลม และ
ผลิตภัณฑ์นม (นมผง นมแปลงไขมัน นมเปรี้ยว) เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและบางสินค้าไม่ได้ปรับมาเป็นเวลานาน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จัดอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวดีจากไตรมาสก่อน โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับความ
เชื่อมั่นจากผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ดีขึ้น จากความชัดเจนทางการเมือง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุน
การขนส่ง ทำให้ระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการต้องปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไร
ที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่อง
จากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดในการ
เจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากซับไพร์ม และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดประเทศอื่นๆ
ตามมา และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการ
ก่อการร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อของทุกประเทศ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อในประเทศเอง ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่
ระมัดระวังยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมถึงมาตรการกีด
กันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550
สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำ
ให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น นอกจากนี้ตลาดยุโรปที่กำลัง
พิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP รอบใหม่ ในลักษณะการตกลงทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป ซึ่งคาดว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่
ภาษีอาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส1/50 ไตรมาส4/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์ 11,131.40 11,623.10 15,738.30 35.4 41.4
ประมง 5,853.30 5,642.30 5,538.10 -1.8 -5.4
ผักผลไม้ 7,761.70 6,355.60 7,412.40 16.6 -4.5
น้ำมันพืช 10,089.30 11,843.50 12,879.30 8.7 27.7
ผลิตภัณฑ์นม 15,497.40 13,952.50 13,151.50 -5.7 -15.1
ธัญพืชและแป้ง 26,915.60 27,014.90 25,634.50 -5.1 -4.8
อาหารสัตว์ 23,685.90 26,199.90 24,712.30 -5.7 4.3
น้ำตาล 58,375.50 12,660.10 63,963.00 405.2 9.6
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 4,368.20 4,503.40 4,292.20 -4.7 -1.7
รวม 163,678.30 119,795.30 173,321.60 44.7 5.9
รวม 105,302.80 107,135.20 109,358.60 2.1 3.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการจำหน่าย (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส1/50 ไตรมาส4/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์ 9,030.20 8,941.90 12,049.20 34.8 33.4
ประมง 1,050.60 1,024.30 1,068.90 4.4 1.7
ผักผลไม้ 1,201.30 1,265.80 1,149.10 -9.2 -4.3
น้ำมันพืช 6,798.30 9,041.50 9,262.10 2.4 36.2
ผลิตภัณฑ์นม 10,722.80 11,855.90 11,431.70 -3.6 6.6
ธัญพืชและแป้ง 22,307.80 23,044.50 21,950.40 -4.7 -1.6
อาหารสัตว์ 21,258.70 23,466.20 21,585.70 -8 1.5
น้ำตาล 11,165.10 7,740.20 13,433.60 73.6 20.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3,326.40 3,861.60 3,214.00 -16.8 -3.4
รวม 86,861.20 90,241.90 95,144.70 5.4 9.5
รวม 75,696.10 82,501.70 81,711.10 -1 7.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ปีก่อน
1. กลุ่มอาหารทะเล 44,354.60 52,950.90 45,210.90 -14.6 1.9
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 19,659.00 20,955.00 17,767.50 -15.2 -9.6
- อาหารทะเลกระป๋อง 12,490.70 17,242.80 15,915.30 -7.7 27.4
- อาหารทะเลแปรรูป 12,204.90 14,753.10 11,528.20 -21.9 -5.5
2. ปศุสัตว์ 7,293.60 11,242.10 10,978.60 -2.3 50.5
- ไก่ 6,839.50 10,239.80 10,495.70 2.5 53.5
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 170.7 367.3 293.5 -20.1 71.9
(2) ไก่แปรรูป 6,668.80 9,872.50 10,202.30 3.3 53
3. กลุ่มผักผลไม้ 16,067.80 17,266.10 17,816.10 3.2 10.9
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 2,371.90 2,623.20 2,474.80 -5.7 4.3
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 2,078.40 1,397.70 2,112.60 51.2 1.6
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 8,943.30 10,937.10 10,990.90 0.5 22.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,674.30 2,308.20 2,237.70 -3.1 -16.3
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 42,624.10 62,125.60 64,888.00 4.4 52.2
- ข้าว 22,646.90 42,768.80 43,414.40 1.5 91.7
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,185.2 1,506.5 1,280.7 -15.0 8.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,161.7 4,884.9 4,901.3 0.3 17.8
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 14,630.4 12,965.4 15,291.6 17.9 4.5
5. น้ำตาลทราย 13,125.3 6,304.0 10,500.9 66.6 -20.0
6. อาหารอื่นๆ 10,203.4 10,953.6 10,409.8 -5.0 2.0
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,833.9 2,211.5 2,086.0 -5.7 13.7
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,108.8 1,181.0 1,082.8 -8.3 -2.3
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 637.5 844.0 825.4 -2.2 29.5
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 358.4 310.8 393.3 26.6 9.7
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 3,094.6 4,012.3 3,722.7 -7.2 20.3
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,605.5 1,707.9 1,640.2 -4.0 -37.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 359.1 517.8 433.9 -16.2 20.8
- ไอศกรีม 205.5 168.4 225.5 33.9 9.8
รวม 133,669.0 160,842.3 159,804.3 -0.6 19.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ปีก่อน
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,246.30 1,561.10 1,391.10 -10.9 11.6
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 552.4 617.8 546.7 -11.5 -1
- อาหารทะเลกระป๋อง 351 508.3 489.7 -3.7 39.5
- อาหารทะเลแปรรูป 342.9 434.9 354.7 -18.4 3.4
2. ปศุสัตว์ 204.9 331.4 337.8 1.9 64.8
- ไก่ 192.2 301.9 322.9 7 68
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 4.8 10.8 9 -16.6 88.3
(2) ไก่แปรรูป 187.4 291.1 313.9 7.9 67.5
3. กลุ่มผักผลไม้ 451.5 509 548.2 7.7 21.4
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 66.6 77.3 76.1 -1.5 14.3
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 58.4 41.2 65 57.8 11.3
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 251.3 322.4 338.2 4.9 34.6
- ผักกระป๋องและแปรรูป 75.1 68 68.9 1.2 -8.4
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,197.60 1,831.50 1,996.60 9 66.7
- ข้าว 636.3 1,260.90 1,335.80 5.9 109.9
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 33.3 44.4 39.4 -11.3 18.3
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 116.9 144.0 150.8 4.7 29.0
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 411.1 382.2 470.5 23.1 14.5
5. น้ำตาลทราย 368.8 185.8 323.1 73.9 -12.4
6. อาหารอื่นๆ 286.7 322.9 320.3 -0.8 11.7
- สิ่งปรุงรสอาหาร 51.5 65.2 64.2 -1.6 24.6
- นมและผลิตภัณฑ์นม 31.2 34.8 33.3 -4.3 6.9
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 17.9 24.9 25.4 2.1 41.8
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 10.1 9.2 12.1 32.1 20.2
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 87.0 118.3 114.5 -3.2 31.7
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 73.2 50.3 50.5 0.2 -31.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.1 15.3 13.4 -12.5 32.3
- ไอศกรีม 5.8 5.0 6.9 39.8 20.2
รวม 3,755.8 4,741.8 4,917.1 3.7 30.9
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสก่อน ของปีก่อน
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 7,536.60 8,755.10 11,066.90 26.4 46.8
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,645.70 4,924.60 6,968.00 41.5 50
กากพืชน้ำมัน 5,883.60 6,197.40 8,155.80 31.6 38.6
นมและผลิตภัณฑ์นม 2,806.80 3,472.90 5,223.50 50.4 86.1
อาหารรวม 49,637.40 67,959.70 69,053.80 1.6 39.1
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 4 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 211.8 258.1 340.5 31.9 60.8
เมล็ดพืชน้ำมัน 130.5 145.2 214.4 47.7 64.3
กากพืชน้ำมัน 165.3 182.7 250.9 37.4 51.8
นมและผลิตภัณฑ์นม 78.9 102.4 160.7 57 103.8
อาหารรวม 1,394.70 2,003.50 2,124.70 6 52.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากไตร
มาสที่ 4 ปี 2550 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มปศุสัตว์ ผักผลไม้ และน้ำมันพืช เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 16.6 และ 8.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็น
ผลจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 จากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานมากเป็นประวัติการณ์ สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี
2550 พบว่า ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลจาก
ประเทศคู่แข่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ การระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ลดลง ประกอบกับประเทศจีนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของ
อาหารที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นหันมาสั่งสินค้าไก่แปรรูป จากไทยทดแทน ส่งผลให้หมวดปศุสัตว์ในภาพรวมมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ
41.4 อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่อิงตลาดสหรัฐฯ ลดลงเกือบทุกกลุ่ม เช่น ประมง ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 5.4 และ 4.5 ตามลำดับ โดย
เฉพาะกุ้ง มีปัญหาผลผลิตมีปริมาณลดลงจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะเลี้ยงไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ใน
ประเทศหรือเป็นวัตถุดิบมีการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันพืช และอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 และ 4.3 ตามลำดับ
ในส่วนภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น ผลจากความต้องการสินค้าทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
เพิ่มขึ้นปัญหาภัยธรรมชาติ และภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศ ความต้องการในสินค้าธัญพืช
และแป้งเพื่อผลิตเป็นอาหารและพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น และระดับราคาน้ำตาลของตลาดโลกที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ผลิต
ลดลง เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ปัญหาราคาน้ำมันแพง และปัญหาโลกร้อนที่ทำให้วัตถุดิบสัตว์
ทะเลและปลาทูน่าขาดแคลน นอกจากนี้ปัญหาโลกร้อนยังส่งผลต่อวัตถุดิบอื่นๆ ที่ผลิตได้ลดลง ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ แป้งสาลี ทำให้การ
ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชะลอตัวลงเล็กน้อย จากการปรับราคาจำหน่ายในประเทศ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.0 จาก
ไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการ
เมืองของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในเกือบทุกกลุ่ม
สินค้าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 16.8 ผักผลไม้ ร้อยละ 9.2 อาหารสัตว์ ร้อยละ 8.0 และผลิตภัณฑ์นม ร้อย
ละ 3.6
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ 36.3 ปศุสัตว์ ร้อย
ละ 33.4 น้ำตาล ร้อยละ 20.3 และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 6.6 เนื่องจากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และความวิตกกังวลเกี่ยวกับราคา
สินค้าดังกล่าวที่อาจเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับมีการบริโภคเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นข้าราชการที่ได้รับข่าวการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น และการประกาศลด
หย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น การออกผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่แปรรูปหลากหลายเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคตามการประชาสัมพันธ์
เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวและอาหารพร้อมรับประทานเพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,917.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 159,804.3 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 0.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 ในรูปของ
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 19.6 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี
2550 จะพบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า
ขึ้น ทำให้ราคาโดยเปรียบเทียบสูงขึ้น ประกอบกับระดับราคาสินค้าอาหารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก จากการที่ประเทศผู้ผลิตประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ไม่
สามารถส่งออกได้ตามปกติ ประกอบกับคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้การที่ผู้บริโภคของญี่ปุ่นมีความกังวล
ในอาหารนำเข้าจากจีนเนื่องจากมีการตรวจพบยาฆ่าแมลงในเกี๊ยวซ่า ทำให้หันมานำเข้าสินค้าอาหารจากไทยทดแทนมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,391.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 45,210.9 ล้านบาท หดตัวลดลงร้อยละ 10.9 ใน
รูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 14.6 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของทุกสินค้าทั้งอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารทะเลสด
แช่เย็นแช่แข็ง และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ในรูปดอลลาร์ฯ และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในรูป
เงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กำลังประสบปัญหาตลาดสหรัฐฯ ที่มีภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าเงินบาท
แข็งค่า และปัญหา AD ทำให้การส่งออกลดลง ส่วนปลาทูน่ากระป๋อง สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 548.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,816.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 3.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิต เนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลที่วัตถุดิบออกสู่ตลาด
เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งสามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น จากราคาส่ง
ออกที่สูงขึ้น
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 337.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,978.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือลดลงร้อยละ 2.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 50.5 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูปเพิ่มขึ้น
จากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพยุโรปเร่ง
ทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออก
กลางได้เพิ่มขึ้นด้วย
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,996.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 64,888.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 4.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาส่งออกปรับสูงขึ้นใน
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง และตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น
ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย รวมทั้งสหภาพยุโรปประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนธัญพืช จึงนำเข้ามันสำปะหลังเพิ่มขึ้น สำหรับข้าวประเทศคู่แข่งสำคัญ
ได้แก่ อินเดีย และเวียดนาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จึงประกาศงดส่งออกข้าวในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2 ในรูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 323.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,500.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 20.0 ในรูปเงินบาท จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และ
ด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 73.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 66.6 ในรูปเงินบาท เนื่องจากความกังวลในราคาสินค้าอาหารอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงนำเข้าเพื่อ
สำรองไว้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 320.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,409.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และ 5.0 ใน
รูปดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อย
ละ 2.0 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 2,124.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 69,053.8 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 1.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ
31.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 26.4 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่ามูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.3 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 39.1 ในรูปเงินบาท
หากเปรียบเทียบในปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม ร้อย
ละ 103.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 86.1 ในรูปเงินบาทมากที่สุด รองลงมา คือ เมล็ดพืชน้ำมันร้อยละ 64.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
50.0 ในรูปเงินบาท และปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 60.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 46.8 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอาหารนำเข้าสำคัญ คือ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งที่ประสบ
ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามแม้สินค้าอาหารที่นำเข้าจะเพิ่มขึ้นในเชิงมูลค่า แต่หากพิจารณาปริมาณนำเข้าแล้ว พบว่ามีปริมาณการนำเข้า
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า เป็นผลจากภาวะโลกร้อนทำให้วัตถุดิบขาดแคลน ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าหลายชนิดในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่า ข้าว
โพด ถั่วเหลือง ข้าวและแป้งสาลี รวมถึงธัญพืชต่างๆ
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับผู้ประกอบการที่นำเข้าวัตถุดิบ เนื่องจากผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ และการขึ้นราคาสินค้าให้กับสินค้าอาหารพื้นฐานตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่ม
ขึ้น ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย
เพิ่มเติม จำนวน 20,971.31 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 ให้นำเข้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยต้องนำความเห็นของกระทรวง
อุตสาหกรรมในเรื่องการจัดสรรโควตานำเข้าให้โปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และสภาพัฒน์ฯ เกี่ยวกับช่วงเวลานำเข้าที่เหมาะสม ไม่ควรนำเข้าใน
ช่วงที่เกษตรกรมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้องค์การคลังสินค้า นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส
ปริมาณ 30,000 ตัน ภายใต้กรอบ AFTA รวมทั้งจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มตามสัดส่วนที่รับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศปี
2550 และนำเข้าภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อมิให้ส่งผลกระทบกับราคาผลปาล์มน้ำมันที่จะออกสู่ตลาดมากในเดือนมีนาคม และให้ติดตาม
ราคาปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง
3.3 กระทรวงพาณิชย์ อนุมัติให้ปรับราคาจำหน่ายสินค้าอาหารที่ควบคุมราคาขั้นสูง ได้แก่ น้ำมันพืช (น้ำมันพืชบรรจุขวด 1 ลิตร น้ำมัน
ปาล์มจาก 42.50 บาท เป็น 47.50 บาท และน้ำมันถั่วเหลืองจาก 45.50 บาท เป็น 49.50 บาท) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำอัดลม และ
ผลิตภัณฑ์นม (นมผง นมแปลงไขมัน นมเปรี้ยว) เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและบางสินค้าไม่ได้ปรับมาเป็นเวลานาน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 จัดอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวดีจากไตรมาสก่อน โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับความ
เชื่อมั่นจากผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ดีขึ้น จากความชัดเจนทางการเมือง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุน
การขนส่ง ทำให้ระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการต้องปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อระดับกำไร
ที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะได้รับลดลง อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่อง
จากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดในการ
เจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การ
จำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากซับไพร์ม และส่งผลต่อเนื่องกับตลาดประเทศอื่นๆ
ตามมา และยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการ
ก่อการร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อของทุกประเทศ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อในประเทศเอง ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่
ระมัดระวังยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมถึงมาตรการกีด
กันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550
สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำ
ให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น นอกจากนี้ตลาดยุโรปที่กำลัง
พิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP รอบใหม่ ในลักษณะการตกลงทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ยุโรป ซึ่งคาดว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่
ภาษีอาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส1/50 ไตรมาส4/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์ 11,131.40 11,623.10 15,738.30 35.4 41.4
ประมง 5,853.30 5,642.30 5,538.10 -1.8 -5.4
ผักผลไม้ 7,761.70 6,355.60 7,412.40 16.6 -4.5
น้ำมันพืช 10,089.30 11,843.50 12,879.30 8.7 27.7
ผลิตภัณฑ์นม 15,497.40 13,952.50 13,151.50 -5.7 -15.1
ธัญพืชและแป้ง 26,915.60 27,014.90 25,634.50 -5.1 -4.8
อาหารสัตว์ 23,685.90 26,199.90 24,712.30 -5.7 4.3
น้ำตาล 58,375.50 12,660.10 63,963.00 405.2 9.6
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 4,368.20 4,503.40 4,292.20 -4.7 -1.7
รวม 163,678.30 119,795.30 173,321.60 44.7 5.9
รวม 105,302.80 107,135.20 109,358.60 2.1 3.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการจำหน่าย (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
(ร้อยละ)
ไตรมาส1/50 ไตรมาส4/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์ 9,030.20 8,941.90 12,049.20 34.8 33.4
ประมง 1,050.60 1,024.30 1,068.90 4.4 1.7
ผักผลไม้ 1,201.30 1,265.80 1,149.10 -9.2 -4.3
น้ำมันพืช 6,798.30 9,041.50 9,262.10 2.4 36.2
ผลิตภัณฑ์นม 10,722.80 11,855.90 11,431.70 -3.6 6.6
ธัญพืชและแป้ง 22,307.80 23,044.50 21,950.40 -4.7 -1.6
อาหารสัตว์ 21,258.70 23,466.20 21,585.70 -8 1.5
น้ำตาล 11,165.10 7,740.20 13,433.60 73.6 20.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3,326.40 3,861.60 3,214.00 -16.8 -3.4
รวม 86,861.20 90,241.90 95,144.70 5.4 9.5
รวม 75,696.10 82,501.70 81,711.10 -1 7.9
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ปีก่อน
1. กลุ่มอาหารทะเล 44,354.60 52,950.90 45,210.90 -14.6 1.9
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 19,659.00 20,955.00 17,767.50 -15.2 -9.6
- อาหารทะเลกระป๋อง 12,490.70 17,242.80 15,915.30 -7.7 27.4
- อาหารทะเลแปรรูป 12,204.90 14,753.10 11,528.20 -21.9 -5.5
2. ปศุสัตว์ 7,293.60 11,242.10 10,978.60 -2.3 50.5
- ไก่ 6,839.50 10,239.80 10,495.70 2.5 53.5
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 170.7 367.3 293.5 -20.1 71.9
(2) ไก่แปรรูป 6,668.80 9,872.50 10,202.30 3.3 53
3. กลุ่มผักผลไม้ 16,067.80 17,266.10 17,816.10 3.2 10.9
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 2,371.90 2,623.20 2,474.80 -5.7 4.3
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 2,078.40 1,397.70 2,112.60 51.2 1.6
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 8,943.30 10,937.10 10,990.90 0.5 22.9
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,674.30 2,308.20 2,237.70 -3.1 -16.3
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 42,624.10 62,125.60 64,888.00 4.4 52.2
- ข้าว 22,646.90 42,768.80 43,414.40 1.5 91.7
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,185.2 1,506.5 1,280.7 -15.0 8.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,161.7 4,884.9 4,901.3 0.3 17.8
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 14,630.4 12,965.4 15,291.6 17.9 4.5
5. น้ำตาลทราย 13,125.3 6,304.0 10,500.9 66.6 -20.0
6. อาหารอื่นๆ 10,203.4 10,953.6 10,409.8 -5.0 2.0
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,833.9 2,211.5 2,086.0 -5.7 13.7
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,108.8 1,181.0 1,082.8 -8.3 -2.3
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 637.5 844.0 825.4 -2.2 29.5
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 358.4 310.8 393.3 26.6 9.7
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 3,094.6 4,012.3 3,722.7 -7.2 20.3
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,605.5 1,707.9 1,640.2 -4.0 -37.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 359.1 517.8 433.9 -16.2 20.8
- ไอศกรีม 205.5 168.4 225.5 33.9 9.8
รวม 133,669.0 160,842.3 159,804.3 -0.6 19.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ปีก่อน
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,246.30 1,561.10 1,391.10 -10.9 11.6
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 552.4 617.8 546.7 -11.5 -1
- อาหารทะเลกระป๋อง 351 508.3 489.7 -3.7 39.5
- อาหารทะเลแปรรูป 342.9 434.9 354.7 -18.4 3.4
2. ปศุสัตว์ 204.9 331.4 337.8 1.9 64.8
- ไก่ 192.2 301.9 322.9 7 68
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 4.8 10.8 9 -16.6 88.3
(2) ไก่แปรรูป 187.4 291.1 313.9 7.9 67.5
3. กลุ่มผักผลไม้ 451.5 509 548.2 7.7 21.4
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 66.6 77.3 76.1 -1.5 14.3
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 58.4 41.2 65 57.8 11.3
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 251.3 322.4 338.2 4.9 34.6
- ผักกระป๋องและแปรรูป 75.1 68 68.9 1.2 -8.4
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,197.60 1,831.50 1,996.60 9 66.7
- ข้าว 636.3 1,260.90 1,335.80 5.9 109.9
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 33.3 44.4 39.4 -11.3 18.3
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 116.9 144.0 150.8 4.7 29.0
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 411.1 382.2 470.5 23.1 14.5
5. น้ำตาลทราย 368.8 185.8 323.1 73.9 -12.4
6. อาหารอื่นๆ 286.7 322.9 320.3 -0.8 11.7
- สิ่งปรุงรสอาหาร 51.5 65.2 64.2 -1.6 24.6
- นมและผลิตภัณฑ์นม 31.2 34.8 33.3 -4.3 6.9
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 17.9 24.9 25.4 2.1 41.8
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 10.1 9.2 12.1 32.1 20.2
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 87.0 118.3 114.5 -3.2 31.7
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 73.2 50.3 50.5 0.2 -31.1
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.1 15.3 13.4 -12.5 32.3
- ไอศกรีม 5.8 5.0 6.9 39.8 20.2
รวม 3,755.8 4,741.8 4,917.1 3.7 30.9
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 4 เทียบ เทียบไตรมาสเดียวกัน
ไตรมาสก่อน ของปีก่อน
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 7,536.60 8,755.10 11,066.90 26.4 46.8
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,645.70 4,924.60 6,968.00 41.5 50
กากพืชน้ำมัน 5,883.60 6,197.40 8,155.80 31.6 38.6
นมและผลิตภัณฑ์นม 2,806.80 3,472.90 5,223.50 50.4 86.1
อาหารรวม 49,637.40 67,959.70 69,053.80 1.6 39.1
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 4 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 211.8 258.1 340.5 31.9 60.8
เมล็ดพืชน้ำมัน 130.5 145.2 214.4 47.7 64.3
กากพืชน้ำมัน 165.3 182.7 250.9 37.4 51.8
นมและผลิตภัณฑ์นม 78.9 102.4 160.7 57 103.8
อาหารรวม 1,394.70 2,003.50 2,124.70 6 52.3
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-