สศอ.เผยราคาน้ำมันพุ่งพ่นพิษอุตฯก่อสร้างติดลบ หลังธุรกิจอสังหาฯซึม แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับมือวิกฤตพลังงาน ชี้ดัชนีอุตฯ เม.ย. โดยรวมยังขยายตัว จากปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ใช้พลังงานมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค มีการขยายตัวที่ติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ มีภาวะการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.4 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการจำหน่ายปูนซีเมนต์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะชะลอตัวจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดสูงขึ้น โดยราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนเมษายนปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.1 และเทียบในช่วง 4 เดือนแรกของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 14.9 ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งค่าจ้างแรงงานที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้รับเหมารายย่อยทิ้งงานไปหลายราย และการประมูลงานราชการก็เริ่มชะลอตัวลง เพราะผู้รับเหมาไม่กล้ารับงานโดยเฉพาะงานโครงสร้าง เพราะต้นทุนเหล็กสูงขึ้นมากกระทบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐก็ยังไม่ดำเนินการ เช่นเดียวกับโครงการการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยก็เริ่มชะลอตัว จากปัจจัยของต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศอยู่ในภาวะซบเซา
การผลิตกระเป๋าเดินทาง ดัชนีผลผลิตยังคงติดลบกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงมีสาเหตุจากบริษัทแม่จากต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูง อีกทั้งยอดการจำหน่ายลดลงอย่างต่อเนื่อง
การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ภาวะการผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.3 เนื่องจากราคาสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีราคาปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมเกือบ 2 เท่า จากการปิดตัวของโรงงานผลิตสารเคมีเกือบร้อยละ 90 ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสารเคมีรายใหญ่ของโลก ทำให้วัตถุดิบขาดตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะสารเคมีที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตยาปฏิชีวนะจำพวกเพนนิซิลิน ทั้งวัตถุดิบในประเทศบางตัวก็มีการปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน และคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ภาวะอุตสาหกรรมยายังไม่มีแนวโน้มสดใสเท่าใดนัก เนื่องจากต้องประสบปัญหาเรื่องต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทั้งผลิตภัณฑ์ยายังเป็นสินค้าควบคุม ทำให้ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายได้ และจากมาตรการ GMP ที่เข้มงวดมาก ทำให้โรงงานมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นมาก ทั้งยังประสบปัญหาเรื่องแรงงานที่หายาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไทย ผู้ประกอบการคงต้องปรับตัวหันมาใส่ใจการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง เพื่อลดต้นทุนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น” ดร. อรรชกา กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะซบเซา เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆที่มีรอบด้าน แต่ในภาพรวมของดัชนีอุตสาหกรรมไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 11.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีและการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมยานยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.72 จาก 151.15 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.48 จาก 151.11 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 169.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.35 จาก 149.22ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 175.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 จาก 171.76 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 199.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 จาก 172.94 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 จาก 106.07 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.06 จากระดับ 138.23 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.12
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ใช้พลังงานมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค มีการขยายตัวที่ติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ มีภาวะการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.4 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการจำหน่ายปูนซีเมนต์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะชะลอตัวจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดสูงขึ้น โดยราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนเมษายนปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.1 และเทียบในช่วง 4 เดือนแรกของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 14.9 ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งค่าจ้างแรงงานที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้รับเหมารายย่อยทิ้งงานไปหลายราย และการประมูลงานราชการก็เริ่มชะลอตัวลง เพราะผู้รับเหมาไม่กล้ารับงานโดยเฉพาะงานโครงสร้าง เพราะต้นทุนเหล็กสูงขึ้นมากกระทบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐก็ยังไม่ดำเนินการ เช่นเดียวกับโครงการการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยก็เริ่มชะลอตัว จากปัจจัยของต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศอยู่ในภาวะซบเซา
การผลิตกระเป๋าเดินทาง ดัชนีผลผลิตยังคงติดลบกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงมีสาเหตุจากบริษัทแม่จากต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูง อีกทั้งยอดการจำหน่ายลดลงอย่างต่อเนื่อง
การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ภาวะการผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.3 เนื่องจากราคาสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีราคาปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมเกือบ 2 เท่า จากการปิดตัวของโรงงานผลิตสารเคมีเกือบร้อยละ 90 ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสารเคมีรายใหญ่ของโลก ทำให้วัตถุดิบขาดตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะสารเคมีที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตยาปฏิชีวนะจำพวกเพนนิซิลิน ทั้งวัตถุดิบในประเทศบางตัวก็มีการปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน และคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ภาวะอุตสาหกรรมยายังไม่มีแนวโน้มสดใสเท่าใดนัก เนื่องจากต้องประสบปัญหาเรื่องต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทั้งผลิตภัณฑ์ยายังเป็นสินค้าควบคุม ทำให้ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายได้ และจากมาตรการ GMP ที่เข้มงวดมาก ทำให้โรงงานมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นมาก ทั้งยังประสบปัญหาเรื่องแรงงานที่หายาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไทย ผู้ประกอบการคงต้องปรับตัวหันมาใส่ใจการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง เพื่อลดต้นทุนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น” ดร. อรรชกา กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะซบเซา เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆที่มีรอบด้าน แต่ในภาพรวมของดัชนีอุตสาหกรรมไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 11.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีและการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมยานยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.72 จาก 151.15 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.48 จาก 151.11 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 169.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.35 จาก 149.22ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 175.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 จาก 171.76 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 199.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 จาก 172.94 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 จาก 106.07 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.06 จากระดับ 138.23 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.12
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-