แท็ก
อุตสาหกรรม
สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายน 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 168.86 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (193.57) ร้อยละ 12.8 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (151.15) ร้อยละ 11.7
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงานเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 61.12 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (68.33) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (60.40)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤษภาคม 2551
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เดือนพฤษภาคมปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดหลังจากที่มีวันหยุดเทศกาลในเดือนเมษายนค่อนข้างมาก
- แต่อย่างไรก็ตามสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐฯลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตในภาพรวมของจีนสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของจีนลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้สินค้าของไทยมีโอกาสในตลาดโลกมากขึ้น ทั้งนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี 2551
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
- สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤษภาคม จะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย จึงมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.78 และ 15.82 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงทรงตัวร้อยละ 0.10 ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก และฟุตบอลยูโร
- ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Hard Disk Drive ที่ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาดสหรัฐฯ ขณะที่แผงวงจรไฟฟ้า โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.64 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของแผงวงจรที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ถึงแม้จะมีการชะลอตัวในการผลิต Monolithic IC
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
มี.ค. 51 = 193.57
เม.ย. 51 = 168.86
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive)
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตน้ำตาล
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
มี.ค. 51 = 68.33
เม.ย. 51 = 61.12
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนพฤษภาคมจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นตามระดับราคาที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกสำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอม
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.3 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋อง สินค้าทูน่าและกุ้ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 47.6 15.9 และ 1.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการผลิตของทั้งอุตสาหกรรมกลับชะลอตัวลงจากจำนวนวันทำงานที่ลดลง ยกเว้นสับปะรด ซึ่งเป็นช่วงที่มีวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.6 และ 10.3 เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการบริโภคที่ปรับตัวลดลงจากการขึ้นราคาน้ำมันพืช และยังมีสต็อกวัตถุดิบอยู่จำนวนมาก
สำหรับสินค้าน้ำตาลเป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อย ซึ่งจะปิดหีบในต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 56.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนเมษายนสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.8 และ 8.5 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายลงนอกจากนี้ข่าวการปรับราคาน้ำตาล ทำให้ผู้บริโภคซื้อน้ำตาลเพื่อสำรองไว้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 122.5
2) ตลาดต่างประเทศ ในเดือนเมษายนมูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลงตามฤดูกาลในสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 24.2 6.7 5.1 และ 13.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกสับปะรดกระป๋อง มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 3.4 และ 55.7 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
คาดว่าเดือนพฤษภาคมการผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอม ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวตามระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนเมษายนมีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และผ้าทอ ลดลงร้อยละ 6.6, 11.8 และ 4.3 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4, 8.7 และ 12.4 ตามลำดับ
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.5 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 4.8 แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังขยายตัวเพิ่มขึ้นการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนเมษายน ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+11.6%) ผ้าผืน(+16.8%) ด้าย และเส้นใยประดิษฐ์(+11.5%) เคหะสิ่งทอ(+12.0%) และเส้นใยประดิษฐ์(+29.0%) ซึ่งเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด ได้แก่ตลาดอาเซียน(+33.1%) ญี่ปุ่น(+26.7%) สหรัฐอเมริกา(+12.3%)และสหภาพยุโรป (+6.6%)
3. แนวโน้ม
เดือนพฤษภาคมคาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดหลังจากที่มีวันหยุดเทศกาลในเดือนเมษายนค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตในภาพรวมของจีนสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของจีนลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้สินค้าของไทยมีโอกาสในตลาดโลกมากขึ้น ทั้งนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี 2551
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนได้มีมติให้เปิดไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีแหล่งกำเนิดจาก 14 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ รัสเซีย คาซัคสถาน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวเนซูเอลา อาร์เจนตินายูเครน แอลจีเรีย อินโดนีเซีย สโลวักและโรมาเนีย หลังจากที่มาตรการดังกล่าวได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.2551 ตามคำร้องขอของผู้ผลิตเหล็กในประเทศ
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 139.30 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ลวดเหล็ก มีการผลิตที่ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 30.10 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อยและเหล็กลวด ที่ลดลง ร้อยละ 11.82 และ 10.15 ตามลำดับ เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนที่มีวันหยุดมาก จำนวนวันทำงานจึงน้อยกว่าเดือนก่อน ส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงทรงตัวอยู่ ผู้ผลิตจึงผลิตในปริมาณตามคำสั่งซื้อเท่านั้น โดยจะไม่เก็บไว้เป็นสต๊อกมาก
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตที่ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 21.57 เนื่องจากปัญหาราคาวัตถุดิบ คือ เหล็กแท่งแบน ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากและจากการที่ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญลดการส่งออกลงเนื่องจากจะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค รัฐบาลจึงได้มีนโยบายให้โรงงานที่อยู่ใกล้เคียงหยุดการผลิตเพื่อลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีผลทำให้ประเทศจีนลดการส่งออกลง นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ เช่น รัสเซีย ก็ลดปริมาณการส่งออกลงด้วย ในขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงมีอยู่ จึงมีผลทำให้ราคาเหล็กปรับตัวสูงและหาซื้อได้ยากผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงรองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมและเหล็กแผ่นรีดเย็น ที่ลดลง ร้อยละ 18.90 และ 17.62 ตามลำ ดับขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.74 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึนมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.46 และ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.41 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 5.26 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 26.90 และ 11.33 เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 940 เป็น 1,077 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.52 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 883 เป็น 993 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.46 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 790 เป็น 877 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.01 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 1,080 เป็น 1,086 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 แต่เหล็กแผ่นรีดร้อน มีราคาทรงตัว คือ 970 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลอินเดียได้ประกาศการเก็บภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปส่งออกสูงสุดถึง 15% จึงมีผลทำให้สินค้าจากประเทศอินเดียลดน้อยลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกของประเทศจีนเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคของประเทศด้วย
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน พ.ค. 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย จึงมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน อย่างไรก็ดี มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 97,453 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 82,980 คัน ร้อยละ 17.44 การผลิตรถยนต์นั่งมีการขยายตัวสูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 27.24
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,479 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 49,658 คัน ร้อยละ 9.71 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 17.57
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 52,900 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 43,115 คัน ร้อยละ 22.70 การส่งออกรถยนต์นั่งไปยังประเทศแถบเอเชีย และโอเชียเนียมีการขยายตัวสูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 27.51
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอันเนื่องมาจากกลุ่มลูกค้าหลักมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 147,401 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 108,217 คัน ร้อยละ 36.21 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 7.06
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 130,795 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 121,600 คัน ร้อยละ 7.56 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 9.65
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 11,632 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 12,723 คัน ร้อยละ 8.58 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 25.01
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนพฤษภาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 92 และส่งออกร้อยละ 8
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัว รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน สำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดในประเทศแถบอาเซียนยังคงขยายตัวได้ดี
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำ หน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนเมษายน 2551 ลดลงร้อยละ 19.68 และ 20.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันทำงานลดลงเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 13.55 แต่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนเมษายน 2551 มีมูลค่า1,484.36 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 74.68 และ2.08 ตามลำดับ
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าชะลอตัวลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างประกอบกับการลงทุนในภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มว่าจะขยายได้ดี โดยจะหันมาเน้นตลาดเอเชียแทน เพื่อลดปัญหาต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดการส่งออกที่สำคัญคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.78 และ 15.82 %YoY ตามลำดับ
- ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ที่ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน เม.ย. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,399.17 -9.85 30.36
IC 524.27 -21.25 -17.78
เครื่องปรับอากาศ 301.73 -20.65 21.24
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 147.80 -3.84 47.65
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3,773.25 -13.11 15.69
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนเมษายน 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 300.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.42 เป็นผลเนื่องจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากชิ้นส่วน HDD และ Other IC เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 33.20โดยมีดัชนีอยู่ที่ระดับ 417.86 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกตัวชิ้นส่วน ยกเว้น Monolithic IC ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.49 เนื่องจากภาวะตลาดโดยรวมของ IC ปรับตัวลดลงจากการลูกค้ามี Project Transfer ไปที่อื่นทำให้คำสั่งซื้อจากไทยลดลง ประกอบกับการซื้อขายในช่วงปลายปีที่แล้วค่อนข้างสูง ยังคงมีสินค้าคงคลังอยู่บ้าง
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 13.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.69 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,773.25 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน มีมูลค่า 301.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่า 1,399.17 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน เมษายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 12.82 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.82 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,454.93 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2551 มีมูลค่า 2,318.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.14 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 13.29 โดยตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ตลาด จีน จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ตลาดอียู จากการส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นต้น
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.78 และ 15.82 %YoY ตามลำดับ ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงทรงตัวร้อยละ 0.10 ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก และฟุตบอลยูโร
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.64 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ชะลอตัวในการผลิต Monolithic IC
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนเมษายน 2551 มีค่า 168.86 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (193.57) ร้อยละ 12.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (151.15) ร้อยละ 11.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมเป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเมษายน 2551 มีค่า 61.12 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (68.33) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (60.40)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 320 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 350 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -8.57 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13,867.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 8,186.47 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.40 และในส่วนของการจ้างงานรวม มีจำนวน 7,676 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,851 คน หรือลดลงร้อยละ 12.04
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 298 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 7.38 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 12,944.86 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 แต่การจ้างงานลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,567 คน ร้อยละ -10.40
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 24 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดดิน ตักดิน จำนวน 23 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนเงินลงทุน 6,888.48 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินลงทุน 941.19 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 1,113 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,062 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 211 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 216 ราย คิดเป็นร้อยละ -2.31และในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,524.37 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,828.67 ล้านบาท แต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,159 คน มากกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,771 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 รายคิดเป็นร้อยละ 67.46 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 609.35 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,076 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินทุน 454 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำยางแผ่นในขั้นต้นจากน้ำยางธรรมชาติ เงินทุน 134.33 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 796 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คนงาน 567 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 99 โครงการ น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่มีจำนวน 101 โครงการ ร้อยละ -1.98 แต่มีเงินลงทุน 93,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 6,000 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 1,456.67
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวน 77 โครงการ ร้อยละ 28.57 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 22,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 322.62
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-เมษายน 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 109 16,300
2.โครงการต่างชาติ 100% 164 54,400
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 99 66,300
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-เมษายน 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 51,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 31,000 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายน 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 168.86 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (193.57) ร้อยละ 12.8 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (151.15) ร้อยละ 11.7
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงานเครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 61.12 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (68.33) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (60.40)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤษภาคม 2551
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เดือนพฤษภาคมปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดหลังจากที่มีวันหยุดเทศกาลในเดือนเมษายนค่อนข้างมาก
- แต่อย่างไรก็ตามสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐฯลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตในภาพรวมของจีนสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของจีนลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้สินค้าของไทยมีโอกาสในตลาดโลกมากขึ้น ทั้งนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี 2551
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
- สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤษภาคม จะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย จึงมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.78 และ 15.82 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงทรงตัวร้อยละ 0.10 ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก และฟุตบอลยูโร
- ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Hard Disk Drive ที่ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาดสหรัฐฯ ขณะที่แผงวงจรไฟฟ้า โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.64 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของแผงวงจรที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ถึงแม้จะมีการชะลอตัวในการผลิต Monolithic IC
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
มี.ค. 51 = 193.57
เม.ย. 51 = 168.86
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive)
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตน้ำตาล
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
มี.ค. 51 = 68.33
เม.ย. 51 = 61.12
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนพฤษภาคมจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นตามระดับราคาที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกสำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอม
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.3 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋อง สินค้าทูน่าและกุ้ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 47.6 15.9 และ 1.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการผลิตของทั้งอุตสาหกรรมกลับชะลอตัวลงจากจำนวนวันทำงานที่ลดลง ยกเว้นสับปะรด ซึ่งเป็นช่วงที่มีวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.6 และ 10.3 เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการบริโภคที่ปรับตัวลดลงจากการขึ้นราคาน้ำมันพืช และยังมีสต็อกวัตถุดิบอยู่จำนวนมาก
สำหรับสินค้าน้ำตาลเป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อย ซึ่งจะปิดหีบในต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 56.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนเมษายนสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.8 และ 8.5 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายลงนอกจากนี้ข่าวการปรับราคาน้ำตาล ทำให้ผู้บริโภคซื้อน้ำตาลเพื่อสำรองไว้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 122.5
2) ตลาดต่างประเทศ ในเดือนเมษายนมูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลงตามฤดูกาลในสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 24.2 6.7 5.1 และ 13.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกสับปะรดกระป๋อง มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 3.4 และ 55.7 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
คาดว่าเดือนพฤษภาคมการผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอม ส่วนมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวตามระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนเมษายนมีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และผ้าทอ ลดลงร้อยละ 6.6, 11.8 และ 4.3 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4, 8.7 และ 12.4 ตามลำดับ
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.5 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 4.8 แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังขยายตัวเพิ่มขึ้นการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนเมษายน ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+11.6%) ผ้าผืน(+16.8%) ด้าย และเส้นใยประดิษฐ์(+11.5%) เคหะสิ่งทอ(+12.0%) และเส้นใยประดิษฐ์(+29.0%) ซึ่งเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด ได้แก่ตลาดอาเซียน(+33.1%) ญี่ปุ่น(+26.7%) สหรัฐอเมริกา(+12.3%)และสหภาพยุโรป (+6.6%)
3. แนวโน้ม
เดือนพฤษภาคมคาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดหลังจากที่มีวันหยุดเทศกาลในเดือนเมษายนค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะความต้องการเครื่องนุ่งห่มจีนในตลาดสหรัฐลดลง รวมทั้งต้นทุนการผลิตในภาพรวมของจีนสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ปรับราคาขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของจีนลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้สินค้าของไทยมีโอกาสในตลาดโลกมากขึ้น ทั้งนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของจีนได้ชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี 2551
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนได้มีมติให้เปิดไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีแหล่งกำเนิดจาก 14 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ รัสเซีย คาซัคสถาน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวเนซูเอลา อาร์เจนตินายูเครน แอลจีเรีย อินโดนีเซีย สโลวักและโรมาเนีย หลังจากที่มาตรการดังกล่าวได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.2551 ตามคำร้องขอของผู้ผลิตเหล็กในประเทศ
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 139.30 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ลวดเหล็ก มีการผลิตที่ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 30.10 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อยและเหล็กลวด ที่ลดลง ร้อยละ 11.82 และ 10.15 ตามลำดับ เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนที่มีวันหยุดมาก จำนวนวันทำงานจึงน้อยกว่าเดือนก่อน ส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงทรงตัวอยู่ ผู้ผลิตจึงผลิตในปริมาณตามคำสั่งซื้อเท่านั้น โดยจะไม่เก็บไว้เป็นสต๊อกมาก
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตที่ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 21.57 เนื่องจากปัญหาราคาวัตถุดิบ คือ เหล็กแท่งแบน ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากและจากการที่ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญลดการส่งออกลงเนื่องจากจะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค รัฐบาลจึงได้มีนโยบายให้โรงงานที่อยู่ใกล้เคียงหยุดการผลิตเพื่อลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีผลทำให้ประเทศจีนลดการส่งออกลง นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ เช่น รัสเซีย ก็ลดปริมาณการส่งออกลงด้วย ในขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงมีอยู่ จึงมีผลทำให้ราคาเหล็กปรับตัวสูงและหาซื้อได้ยากผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงรองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมและเหล็กแผ่นรีดเย็น ที่ลดลง ร้อยละ 18.90 และ 17.62 ตามลำ ดับขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.74 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึนมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.46 และ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.41 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 5.26 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 26.90 และ 11.33 เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 940 เป็น 1,077 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.52 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 883 เป็น 993 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.46 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 790 เป็น 877 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.01 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 1,080 เป็น 1,086 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 แต่เหล็กแผ่นรีดร้อน มีราคาทรงตัว คือ 970 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลอินเดียได้ประกาศการเก็บภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปส่งออกสูงสุดถึง 15% จึงมีผลทำให้สินค้าจากประเทศอินเดียลดน้อยลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกของประเทศจีนเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคของประเทศด้วย
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน พ.ค. 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย จึงมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน อย่างไรก็ดี มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 97,453 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 82,980 คัน ร้อยละ 17.44 การผลิตรถยนต์นั่งมีการขยายตัวสูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 27.24
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,479 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 49,658 คัน ร้อยละ 9.71 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 17.57
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 52,900 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 43,115 คัน ร้อยละ 22.70 การส่งออกรถยนต์นั่งไปยังประเทศแถบเอเชีย และโอเชียเนียมีการขยายตัวสูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 27.51
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอันเนื่องมาจากกลุ่มลูกค้าหลักมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 147,401 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 108,217 คัน ร้อยละ 36.21 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 7.06
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 130,795 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 121,600 คัน ร้อยละ 7.56 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 9.65
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 11,632 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 12,723 คัน ร้อยละ 8.58 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ร้อยละ 25.01
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนพฤษภาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 92 และส่งออกร้อยละ 8
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัว รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน สำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดในประเทศแถบอาเซียนยังคงขยายตัวได้ดี
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำ หน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนเมษายน 2551 ลดลงร้อยละ 19.68 และ 20.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันทำงานลดลงเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 13.55 แต่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนเมษายน 2551 มีมูลค่า1,484.36 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 74.68 และ2.08 ตามลำดับ
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าชะลอตัวลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างประกอบกับการลงทุนในภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มว่าจะขยายได้ดี โดยจะหันมาเน้นตลาดเอเชียแทน เพื่อลดปัญหาต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดการส่งออกที่สำคัญคือ เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.78 และ 15.82 %YoY ตามลำดับ
- ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ที่ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน เม.ย. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,399.17 -9.85 30.36
IC 524.27 -21.25 -17.78
เครื่องปรับอากาศ 301.73 -20.65 21.24
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 147.80 -3.84 47.65
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3,773.25 -13.11 15.69
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนเมษายน 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 300.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.42 เป็นผลเนื่องจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากชิ้นส่วน HDD และ Other IC เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 33.20โดยมีดัชนีอยู่ที่ระดับ 417.86 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกตัวชิ้นส่วน ยกเว้น Monolithic IC ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.49 เนื่องจากภาวะตลาดโดยรวมของ IC ปรับตัวลดลงจากการลูกค้ามี Project Transfer ไปที่อื่นทำให้คำสั่งซื้อจากไทยลดลง ประกอบกับการซื้อขายในช่วงปลายปีที่แล้วค่อนข้างสูง ยังคงมีสินค้าคงคลังอยู่บ้าง
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 13.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.69 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,773.25 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน มีมูลค่า 301.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่า 1,399.17 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน เมษายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 12.82 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.82 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,454.93 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2551 มีมูลค่า 2,318.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.14 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 13.29 โดยตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ตลาด จีน จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ตลาดอียู จากการส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นต้น
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.78 และ 15.82 %YoY ตามลำดับ ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงทรงตัวร้อยละ 0.10 ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก และฟุตบอลยูโร
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.25 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.61 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.64 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ชะลอตัวในการผลิต Monolithic IC
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนเมษายน 2551 มีค่า 168.86 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (193.57) ร้อยละ 12.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (151.15) ร้อยละ 11.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมเป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเมษายน 2551 มีค่า 61.12 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 (68.33) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (60.40)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 320 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 350 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -8.57 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13,867.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 8,186.47 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.40 และในส่วนของการจ้างงานรวม มีจำนวน 7,676 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,851 คน หรือลดลงร้อยละ 12.04
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 298 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 7.38 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 12,944.86 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 แต่การจ้างงานลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,567 คน ร้อยละ -10.40
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 24 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดดิน ตักดิน จำนวน 23 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนเงินลงทุน 6,888.48 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินลงทุน 941.19 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 1,113 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,062 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 211 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 216 ราย คิดเป็นร้อยละ -2.31และในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,524.37 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,828.67 ล้านบาท แต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,159 คน มากกว่าเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,771 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 รายคิดเป็นร้อยละ 67.46 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 609.35 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,076 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เงินทุน 454 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำยางแผ่นในขั้นต้นจากน้ำยางธรรมชาติ เงินทุน 134.33 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 796 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คนงาน 567 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 99 โครงการ น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่มีจำนวน 101 โครงการ ร้อยละ -1.98 แต่มีเงินลงทุน 93,400 ล้านบาท มากกว่าเดือนมีนาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 6,000 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 1,456.67
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนเมษายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวน 77 โครงการ ร้อยละ 28.57 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 22,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 322.62
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-เมษายน 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 109 16,300
2.โครงการต่างชาติ 100% 164 54,400
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 99 66,300
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-เมษายน 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 51,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 31,000 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-