สศอ.ระบุดัชนีอุตฯ กลุ่มอัญมณีติดลบ 29.3% ชี้ปัญหาราคาน้ำมันแพง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตพุ่ง ผู้บริโภคเมินสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ปัจจัยส่งออกขยายตัวต่อเนื่องหนุนดัชนีอุตฯ พ.ค. เพิ่มขึ้น 8.04% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาน้ำมันดิบที่ตลาด NYMEX ทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ราคาทะลุ 140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แม้ภาพรวมจะยังคงขยายตัว 8.04% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังมีอุตสาหกรรมในกลุ่มอัญมณีที่ตัวเลขดัชนีผลผลิตออกมาติดลบ 29.3% โดยสาเหตุ ที่สำคัญมาจากราคาทองคำและวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การผลิตรถยนต์
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง 29.3 % และ 30.9 % โดยปรับลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ เช่น กำไล ต่างหู สร้อย แหวน และจี้ เนื่องจากราคาทองคำและวัตถุดิบอื่นๆ มีราคาสูงขึ้นกว่าปีก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตต้องจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ชะลอลง เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ผู้บริโภคมองสินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือยจึงชะลอการซื้อลง ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ก็ประสบปัญหาการชะลอการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะ ซับไพร์ม ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่คึกคักเช่นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามถึงแม้การผลิตและการจำหน่ายอุตฯ กลุ่มอัญมณีในประเทศเดือนนี้จะลดลง แต่มูลค่าการส่งออกก็ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากราคาจำหน่ายต่อหน่วยมีมูลค่าสูงขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและการผลิตรถยนต์
โดย การผลิตฮาดร์ดดิสก์ไดร์ฟ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มของ Hard disk ยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 35.2 % และ 33.5 % และภายในปี 2551 มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้อีก โดยเฉพาะอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นมัลติมีเดียขนาดพกพา
การผลิตยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.5% และ 6.9% ส่วนการส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 30.34% เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นจากปีก่อน เช่น เดียวกับตลาดในประเทศเร่งตัวขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกกว่า เช่น น้ำมัน E20 และผู้ผลิตมีการออกรถรุ่นใหม่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยใน 5 เดือนแรกของปีนี้มียอดขายรถที่ใช้น้ำมัน E20 ไปแล้วกว่า 84,000 คัน แต่พบว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในด้านของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปและมีแนวโน้มที่ตลาดในประเทศอาจชะลอตัวจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากราคาน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมัน เงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการขยายตัวของดัชนีภาคอุตสาหกรรมบ้าง แต่การส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตและกลุ่มที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 181.51 เพิ่มขึ้น 8.04% จาก 168.00 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 189.71 เพิ่มขึ้น 9.85% จาก 172.70 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 186.80 เพิ่มขึ้น 10.12% จาก 169.63 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 196.41 เพิ่มขึ้น 30.44% จาก 150.58 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 149.84 เพิ่มขึ้น 7.20% จากระดับ 139.77 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 180.19 ลดลง 3.43% จาก 186.60 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.21 เพิ่มขึ้น 1.66% จาก 116.14 และส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 65.92
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาน้ำมันดิบที่ตลาด NYMEX ทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ราคาทะลุ 140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แม้ภาพรวมจะยังคงขยายตัว 8.04% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังมีอุตสาหกรรมในกลุ่มอัญมณีที่ตัวเลขดัชนีผลผลิตออกมาติดลบ 29.3% โดยสาเหตุ ที่สำคัญมาจากราคาทองคำและวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การผลิตรถยนต์
การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง 29.3 % และ 30.9 % โดยปรับลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ เช่น กำไล ต่างหู สร้อย แหวน และจี้ เนื่องจากราคาทองคำและวัตถุดิบอื่นๆ มีราคาสูงขึ้นกว่าปีก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตต้องจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ชะลอลง เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ผู้บริโภคมองสินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือยจึงชะลอการซื้อลง ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ก็ประสบปัญหาการชะลอการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะ ซับไพร์ม ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่คึกคักเช่นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามถึงแม้การผลิตและการจำหน่ายอุตฯ กลุ่มอัญมณีในประเทศเดือนนี้จะลดลง แต่มูลค่าการส่งออกก็ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากราคาจำหน่ายต่อหน่วยมีมูลค่าสูงขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและการผลิตรถยนต์
โดย การผลิตฮาดร์ดดิสก์ไดร์ฟ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในกลุ่มของ Hard disk ยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 35.2 % และ 33.5 % และภายในปี 2551 มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้อีก โดยเฉพาะอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นมัลติมีเดียขนาดพกพา
การผลิตยานยนต์ ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.5% และ 6.9% ส่วนการส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 30.34% เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นจากปีก่อน เช่น เดียวกับตลาดในประเทศเร่งตัวขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกกว่า เช่น น้ำมัน E20 และผู้ผลิตมีการออกรถรุ่นใหม่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยใน 5 เดือนแรกของปีนี้มียอดขายรถที่ใช้น้ำมัน E20 ไปแล้วกว่า 84,000 คัน แต่พบว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในด้านของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปและมีแนวโน้มที่ตลาดในประเทศอาจชะลอตัวจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากราคาน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมัน เงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการขยายตัวของดัชนีภาคอุตสาหกรรมบ้าง แต่การส่งออกยังเป็นปัจจัยหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตและกลุ่มที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 181.51 เพิ่มขึ้น 8.04% จาก 168.00 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 189.71 เพิ่มขึ้น 9.85% จาก 172.70 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 186.80 เพิ่มขึ้น 10.12% จาก 169.63 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 196.41 เพิ่มขึ้น 30.44% จาก 150.58 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 149.84 เพิ่มขึ้น 7.20% จากระดับ 139.77 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 180.19 ลดลง 3.43% จาก 186.60 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.21 เพิ่มขึ้น 1.66% จาก 116.14 และส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 65.92
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-