สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 181.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (168.3) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (168.0)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 65.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (60.9) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.5)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนมิถุนายน 2551
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องเนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง โดยรัฐบาลจีนประกาศลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการสิ่งทอของจีนเริ่มหันทำตลาดในประเทศมากขึ้น และลดการส่งออก
- ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวกัมพูชา และเวียดนาม เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานที่ถูกกว่า ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังขาดสิ่งทอต้นน้ำ ทำให้ต้องนำเข้าผ้าผืนจากไทย ส่งผลให้ผ้าผืนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
- สถานการณ์เหล็กในเดือนมิถุนายน คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาซื้อขายตามสัญญาระยะยาว ของวัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านหิน ที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย มีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
เม.ย. 51 = 168.3
พ.ค. 51 = 181.5
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 51 = 60.9
พ.ค. 51 = 65.9
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน จะชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะทรงตัว แม้ว่าระดับราคาจะเพิ่มขึ้นในตลาดโลก สำ หรับการจำ หน่ายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นและผู้บริโภคมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอม
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.7 และ 9.1 ตามลำดับแบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋องทูน่ากระป๋องและกุ้งแช่เย็นแช่แข็งมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ปีก่อนร้อยละ 82.2 9.1 และ 2.2 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีวันทำงานมากกว่าเดือนก่อน ประกอบกับเป็นช่วงที่มีวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากในสินค้ากุ้งและสับปะรด
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 44.7 และ 24.4 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากสำหรับสินค้าน้ำตาลเป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อย ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่ได้ทยอยปิดหีบแล้ว
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤษภาคมสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋องและผลิตภัณฑ์ข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 21.6 21.7 และ 35.5 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 12.1 และ 5.4 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว
3. แนวโน้ม
เดือนมิถุนายนการผลิตจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอม ส่วนมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนก่อน แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...การส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤษภาคมมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ (+6.0%) ผ้าทอ (+1.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก(+25.2%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (+5.2%) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอยังหดตัว ยกเว้นเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำและปลายน้ำ ยังขยายตัวได้และคาดว่าจะขยายตัวจนถึงสิ้นปีการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ12.4 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+20.8%)ผ้าผืนและด้าย (+2.1%) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (+6.6%) เคหะสิ่งทอ(+16.2%) และผ้าอื่นๆ (+23.1%) ซึ่งเพิ่มขึ้นในตลาดหลักสำคัญๆ ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น(+49.4%) สหรัฐอเมริกา(+10.1%)และสหภาพยุโรป (+29.1%) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.3
3. แนวโน้ม
คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง โดยรัฐบาลจีนประกาศลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการสิ่งทอของจีนเริ่มหันทำตลาดในประเทศมากขึ้น และลดการส่งออก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานที่ถูกกว่าซึ่งประเทศเหล่านี้ยังขาดสิ่งทอต้นน้ำ ทำให้ต้องนำเข้าผ้าผืนจากไทย ส่งผลให้ผ้าผืนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ความต้องการเหล็กที่เพิ่มขึ้นของตลาดโลก ทำให้รัฐบาลหลายประเทศของโลกได้ปรับขึ้นภาษีส่งออกสินค้าเหล็กโดยประเทศเวียดนามได้ปรับขึ้นภาษีส่งออกเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตจาก ร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 10 ประเทศอินเดียได้ประกาศขึ้นภาษีส่งออกสินค้าเหล็กทรงยาวจาก ร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 15 และได้มีการกำหนดภาษีส่งออกแร่เหล็กร้อยละ 15 ด้วยเช่นเดียวกับประเทศซาอุดิอาระเบียที่กำหนดมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าเหล็ก
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.99 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 160.35 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ลวดเหล็กแรงดึงสูง มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 12.82 รองลงมาคือ ลวดเหล็กและเหล็กเส้นข้ออ้อย ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.57 และ 4.48 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศปรับเพิ่มราคาแนะนำสำหรับเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยขึ้น จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตซึ่งช่วงหนึ่งได้ชะลอการผลิตลง (เนื่องจากราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นแต่ราคาสินค้าสำเร็จรูปกลับไม่สามารถปรับราคาตามราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้ จึงมีผลให้ผู้ผลิตผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น) กลับมาผลิตเพิ่มขึ้น
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า เหล็กแผ่นรีดเย็น มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 27.93 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.99 และ 16.65 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และ บรรจุภัณฑ์โลหะ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.97 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.51 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.11 และ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.10 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.26 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยมและเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 7.74 และ 3.77
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 993 เป็น 1,165 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.38 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 1,077 เป็น 1,240 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.19 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 970 เป็น 1,053 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.56 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 877 เป็น 945 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.75 เหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้นจาก 1,086 เป็น 1,110เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.21 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าขณะนี้ราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งเป็นวัตถุดิบของเหล็กเส้นกลับมีราคาสูงกว่าเหล็กแผ่นรีดเย็น (โดยปกติแล้วราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาเหล็กแท่งแบน) ซึ่งการปรับขึ้นราคาดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างเนื่องจากมีต้นทุนการก่อสร้าง(เหล็ก) ที่สูง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญเช่น ประเทศในกลุ่ม CIS ได้แก่ ประเทศรัสเซียและยูเครน จำกัด ปริมาณการส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ขยายตัวจึงมีผลให้ผู้ผลิตเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตผลิตเพื่อป้อนให้โรงงานตัวเองหรือขายให้โรงรีดภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากผู้ผลิตเหล็กหลายประเทศของโลกได้ประกาศขึ้นภาษีส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มิ.ย. 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาซื้อขายตามสัญญาระยะยาว ของวัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านหิน ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดียมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อันเนื่องมาจากการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 125,564 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 111,585 คัน ร้อยละ 12.53 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 28.85
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,910 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 51,364 คัน ร้อยละ 6.90 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 0.79
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 69,930 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 54,035 คัน ร้อยละ 29.42 การส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 32.19
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมิถุนายนประมาณการว่าจะมี การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อันเนื่องเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับราคาสูงขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคมดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 182,137 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 158,293 คัน ร้อยละ 15.06 และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 23.57
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 150,126 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 147,692 คัน ร้อยละ 1.65 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือน เมษายน 2551 ร้อยละ 14.78
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 11,530 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 9,968 คัน ร้อยละ 15.67 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 0.88
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนมิถุนายนประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัว รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่ชัดเจนสำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่โดยเฉพาะบังคลาเทศยังคงขยายตัวได้ดี
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนพฤษภาคม 2551 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.65 และ 15.35 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีจำนวนวันทำงานที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 4.35 แต่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90
เมื่อพิจารณาภาพรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลัง ซื้อของผู้บริโภคลดลงในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัวนอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.21 และ 5.02 ตามลำดับ แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลางยุโรป และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับการลงทุนในภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศ ในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการปรับตัวลดลงเกือบทุกรายการยกเว้นหม้อหุงข้าว ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์สี < 20 นิ้ว
- ตลาดส่งออกของอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงได้แก่ ตลาดจีน และ ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดอาเซียน เป็นต้น
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ค. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,480.35 5.80 21.97
IC 600.40 14.52 -21.00
เครื่องปรับอากาศ 299.53 -0.73 -7.96
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 151.53 2.52 22.27
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,089.66 8.39 7.57
ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 321.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.32 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD/Other IC เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงเกือบ สินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์สี <= 20 นิ้ว ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.99 สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ทรทัศน์สี CRT โดย TV ปรับตัวลดลงมากโดยเฉพาะโทรทัศน์สีขนาดน้อยกว่า 20 นิ้วเนื่องจากภาวะตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวปรับตัวลดลงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เช่น ในตลาดสหรัฐ และยุโรป ขณะที่ตลาดส่งออกที่ยังคงมีความต้องการ เช่น ตลาดอินเดีย การเข้าถึงตลาดยังคงเป็นไปได้ยากนอกจากนี้ไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบในประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 8.39 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.57 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,089.66 ล้านเหรียญสหรัฐโดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน พฤษภาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 6.68 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.44 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,552.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดอาเซียน เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือน พฤษภาคม 2551 มีมูลค่า 2,537.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46 ตลาดส่งออกของอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงได้แก่ ตลาดจีน
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนมิถุนายน 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.35 และ 16.26 %YoY ตามลำดับ
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.09 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.88 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.40 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนพฤษภาคม 2551 มีค่า 181.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (168.3) ร้อยละ 7.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (168.0) ร้อยละ 8.0
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2551 มีค่า 65.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (60.9) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.5)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรม การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 387 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 320 รายหรือมากกว่าร้อยละ 20.94 และมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 15,767.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีการลงทุน 13,867.85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.70 ในส่วนของการจ้างงานรวมมีจำนวน 12,515 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,676 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.04
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 357 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 8.40 และมียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 8,621.30 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.89 ในส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,806 คน ร้อยละ 27.63
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ จากไม้ จำนวน 42 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 24 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ จำนวนเงินลงทุน 2,000 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรม ผลิตนมเพาะเชื้อ จำนวนเงินลงทุน 1,960 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,373 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องกรองน้ำอุตสาหกรรม และผลิตโครงสร้างเหล็ก ถังความดันหม้อไอน้ำ จำนวนคนงาน 961 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 176 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 211 ราย คิดเป็นร้อยละ -16.59 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,490.59 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,524.37 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,813 คน น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 5,159 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 163 รายคิดเป็นร้อยละ 7.98 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 10,135.82 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 7,145 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 23 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ จำนวน 18 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมการพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 318 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์เงินทุน 175 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 589 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น คนงาน 570 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 94 โครงการ น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่มีจำนวน 99 โครงการร้อยละ -5.05 และมีเงินลงทุน 26,500 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่มีเงินลงทุน 93,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ -71.63
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวน 96 โครงการ ร้อยละ -2.08 แต่มีเงินลงทุนมากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 53.18
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 132 19,700
2.โครงการต่างชาติ 100% 205 68,800
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 129 75,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 55,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 34,200 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 181.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (168.3) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (168.0)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 65.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (60.9) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.5)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนมิถุนายน 2551
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องเนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง โดยรัฐบาลจีนประกาศลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการสิ่งทอของจีนเริ่มหันทำตลาดในประเทศมากขึ้น และลดการส่งออก
- ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวกัมพูชา และเวียดนาม เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานที่ถูกกว่า ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังขาดสิ่งทอต้นน้ำ ทำให้ต้องนำเข้าผ้าผืนจากไทย ส่งผลให้ผ้าผืนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
- สถานการณ์เหล็กในเดือนมิถุนายน คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาซื้อขายตามสัญญาระยะยาว ของวัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านหิน ที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดีย มีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
เม.ย. 51 = 168.3
พ.ค. 51 = 181.5
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 51 = 60.9
พ.ค. 51 = 65.9
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายน จะชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะทรงตัว แม้ว่าระดับราคาจะเพิ่มขึ้นในตลาดโลก สำ หรับการจำ หน่ายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นและผู้บริโภคมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอม
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.7 และ 9.1 ตามลำดับแบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋องทูน่ากระป๋องและกุ้งแช่เย็นแช่แข็งมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ปีก่อนร้อยละ 82.2 9.1 และ 2.2 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน มีการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีวันทำงานมากกว่าเดือนก่อน ประกอบกับเป็นช่วงที่มีวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากในสินค้ากุ้งและสับปะรด
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 44.7 และ 24.4 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากสำหรับสินค้าน้ำตาลเป็นช่วงปลายฤดูกาลหีบอ้อย ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่ได้ทยอยปิดหีบแล้ว
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤษภาคมสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.8 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋องและผลิตภัณฑ์ข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 21.6 21.7 และ 35.5 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 12.1 และ 5.4 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว
3. แนวโน้ม
เดือนมิถุนายนการผลิตจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงเปิดเทอม ส่วนมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนก่อน แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...การส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤษภาคมมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ (+6.0%) ผ้าทอ (+1.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก(+25.2%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (+5.2%) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอยังหดตัว ยกเว้นเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำและปลายน้ำ ยังขยายตัวได้และคาดว่าจะขยายตัวจนถึงสิ้นปีการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ12.4 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+20.8%)ผ้าผืนและด้าย (+2.1%) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (+6.6%) เคหะสิ่งทอ(+16.2%) และผ้าอื่นๆ (+23.1%) ซึ่งเพิ่มขึ้นในตลาดหลักสำคัญๆ ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น(+49.4%) สหรัฐอเมริกา(+10.1%)และสหภาพยุโรป (+29.1%) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.3
3. แนวโน้ม
คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืนของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งและเริ่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง โดยรัฐบาลจีนประกาศลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการสิ่งทอของจีนเริ่มหันทำตลาดในประเทศมากขึ้น และลดการส่งออก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงานที่ถูกกว่าซึ่งประเทศเหล่านี้ยังขาดสิ่งทอต้นน้ำ ทำให้ต้องนำเข้าผ้าผืนจากไทย ส่งผลให้ผ้าผืนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ความต้องการเหล็กที่เพิ่มขึ้นของตลาดโลก ทำให้รัฐบาลหลายประเทศของโลกได้ปรับขึ้นภาษีส่งออกสินค้าเหล็กโดยประเทศเวียดนามได้ปรับขึ้นภาษีส่งออกเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตจาก ร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 10 ประเทศอินเดียได้ประกาศขึ้นภาษีส่งออกสินค้าเหล็กทรงยาวจาก ร้อยละ 10 เป็น ร้อยละ 15 และได้มีการกำหนดภาษีส่งออกแร่เหล็กร้อยละ 15 ด้วยเช่นเดียวกับประเทศซาอุดิอาระเบียที่กำหนดมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าเหล็ก
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.99 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 160.35 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ลวดเหล็กแรงดึงสูง มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 12.82 รองลงมาคือ ลวดเหล็กและเหล็กเส้นข้ออ้อย ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.57 และ 4.48 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศปรับเพิ่มราคาแนะนำสำหรับเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยขึ้น จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตซึ่งช่วงหนึ่งได้ชะลอการผลิตลง (เนื่องจากราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นแต่ราคาสินค้าสำเร็จรูปกลับไม่สามารถปรับราคาตามราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้ จึงมีผลให้ผู้ผลิตผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น) กลับมาผลิตเพิ่มขึ้น
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า เหล็กแผ่นรีดเย็น มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 27.93 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.99 และ 16.65 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และ บรรจุภัณฑ์โลหะ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.97 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.51 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.11 และ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.10 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.26 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยมและเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 7.74 และ 3.77
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 993 เป็น 1,165 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.38 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 1,077 เป็น 1,240 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.19 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 970 เป็น 1,053 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.56 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 877 เป็น 945 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.75 เหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้นจาก 1,086 เป็น 1,110เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.21 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าขณะนี้ราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งเป็นวัตถุดิบของเหล็กเส้นกลับมีราคาสูงกว่าเหล็กแผ่นรีดเย็น (โดยปกติแล้วราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาเหล็กแท่งแบน) ซึ่งการปรับขึ้นราคาดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างเนื่องจากมีต้นทุนการก่อสร้าง(เหล็ก) ที่สูง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญเช่น ประเทศในกลุ่ม CIS ได้แก่ ประเทศรัสเซียและยูเครน จำกัด ปริมาณการส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ขยายตัวจึงมีผลให้ผู้ผลิตเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตผลิตเพื่อป้อนให้โรงงานตัวเองหรือขายให้โรงรีดภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากผู้ผลิตเหล็กหลายประเทศของโลกได้ประกาศขึ้นภาษีส่งออกเนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มิ.ย. 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาซื้อขายตามสัญญาระยะยาว ของวัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านหิน ที่ยังอยู่ในระดับสูง ความต้องการใช้ในประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ประกอบกับการเก็บภาษีส่งออกของประเทศอินเดียมีผลทำให้สินค้าส่งออกจากประเทศที่สำคัญเหล่านั้นลดลงและส่งผลให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อันเนื่องมาจากการส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 125,564 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 111,585 คัน ร้อยละ 12.53 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 28.85
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,910 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 51,364 คัน ร้อยละ 6.90 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 0.79
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 69,930 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 54,035 คัน ร้อยละ 29.42 การส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 32.19
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมิถุนายนประมาณการว่าจะมี การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อันเนื่องเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับราคาสูงขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคมดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 182,137 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 158,293 คัน ร้อยละ 15.06 และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 23.57
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 150,126 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 147,692 คัน ร้อยละ 1.65 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือน เมษายน 2551 ร้อยละ 14.78
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 11,530 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 9,968 คัน ร้อยละ 15.67 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2551 ร้อยละ 0.88
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนมิถุนายนประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัว รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่ชัดเจนสำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่โดยเฉพาะบังคลาเทศยังคงขยายตัวได้ดี
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนพฤษภาคม 2551 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.65 และ 15.35 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีจำนวนวันทำงานที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 4.35 แต่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90
เมื่อพิจารณาภาพรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลัง ซื้อของผู้บริโภคลดลงในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัวนอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.21 และ 5.02 ตามลำดับ แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลางยุโรป และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับการลงทุนในภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศ ในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการปรับตัวลดลงเกือบทุกรายการยกเว้นหม้อหุงข้าว ตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์สี < 20 นิ้ว
- ตลาดส่งออกของอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงได้แก่ ตลาดจีน และ ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดอาเซียน เป็นต้น
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ค. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,480.35 5.80 21.97
IC 600.40 14.52 -21.00
เครื่องปรับอากาศ 299.53 -0.73 -7.96
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 151.53 2.52 22.27
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,089.66 8.39 7.57
ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 321.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.32 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD/Other IC เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงเกือบ สินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์สี <= 20 นิ้ว ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.99 สำหรับสินค้าที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ทรทัศน์สี CRT โดย TV ปรับตัวลดลงมากโดยเฉพาะโทรทัศน์สีขนาดน้อยกว่า 20 นิ้วเนื่องจากภาวะตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวปรับตัวลดลงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เช่น ในตลาดสหรัฐ และยุโรป ขณะที่ตลาดส่งออกที่ยังคงมีความต้องการ เช่น ตลาดอินเดีย การเข้าถึงตลาดยังคงเป็นไปได้ยากนอกจากนี้ไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบในประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 8.39 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.57 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,089.66 ล้านเหรียญสหรัฐโดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน พฤษภาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 6.68 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.44 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,552.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดอาเซียน เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือน พฤษภาคม 2551 มีมูลค่า 2,537.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46 ตลาดส่งออกของอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าส่งออกสูงได้แก่ ตลาดจีน
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนมิถุนายน 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.35 และ 16.26 %YoY ตามลำดับ
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.09 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.88 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.40 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนพฤษภาคม 2551 มีค่า 181.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (168.3) ร้อยละ 7.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (168.0) ร้อยละ 8.0
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2551 มีค่า 65.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 (60.9) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.5)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรม การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 387 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 320 รายหรือมากกว่าร้อยละ 20.94 และมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 15,767.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีการลงทุน 13,867.85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.70 ในส่วนของการจ้างงานรวมมีจำนวน 12,515 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,676 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.04
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 357 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 8.40 และมียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 8,621.30 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.89 ในส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,806 คน ร้อยละ 27.63
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ จากไม้ จำนวน 42 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 24 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ จำนวนเงินลงทุน 2,000 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรม ผลิตนมเพาะเชื้อ จำนวนเงินลงทุน 1,960 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,373 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องกรองน้ำอุตสาหกรรม และผลิตโครงสร้างเหล็ก ถังความดันหม้อไอน้ำ จำนวนคนงาน 961 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 176 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 211 ราย คิดเป็นร้อยละ -16.59 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,490.59 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,524.37 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,813 คน น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 5,159 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 163 รายคิดเป็นร้อยละ 7.98 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 10,135.82 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 7,145 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 23 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ จำนวน 18 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คืออุตสาหกรรมการพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 318 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์เงินทุน 175 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 589 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น คนงาน 570 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 94 โครงการ น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่มีจำนวน 99 โครงการร้อยละ -5.05 และมีเงินลงทุน 26,500 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2551 ที่มีเงินลงทุน 93,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ -71.63
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวน 96 โครงการ ร้อยละ -2.08 แต่มีเงินลงทุนมากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 53.18
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 132 19,700
2.โครงการต่างชาติ 100% 205 68,800
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 129 75,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 55,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 34,200 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-