ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2551 ยังคงชะลอตัว จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก นอกจากนี้ปัญหา sub-prime ยังคงยือเยื้อและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่วนเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกซึ่งถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีน เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 115.45 USD/Barrel เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากการเก็งกำไร อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกำลังอ่อนตัวลงอยู่ในระดับ 118 USD/Barrel (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2551) สาเหตุมาจากกลุ่มโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันโลกลดลง ถึงแม้ว่าจะเกิดพายุในอ่าวเม็กซิโก ที่อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม ซึ่งราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงไปถึง 100 USD/Barrel หากความต้องการใช้น้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 6.0 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 (ร้อยละ 5.7) และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 (ร้อยละ 4.2) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5
สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ตัวชี้วัดต่างๆ ส่วนใหญ่มีการชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกของปี เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 เช่นเดียวกันกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 63.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 67.5 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมซึ่งปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เมื่อพิจารณาด้านสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 90,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 45,496.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 45,381.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 และเมื่อพิจารณาในด้านดุลการค้าแล้ว ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดุลการค้าเกินดุล 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจัยสำคัญมาจากมูลค่าของการส่งออกที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวดีจากราคาเป็นสำคัญ สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อรวมในทุกกลุ่มสินค้าแล้วจึงทำให้ในไตรมาสที่ 2 ดุลการค้ากลับมาเกินดุลอีกครั้ง แม้ว่าการนำเข้าจะมีการเร่งตัวขึ้นมากกว่าการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนก็ตาม
ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 29,276.46 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.85 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในปี 2551 เดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,605.94 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 15,670.52 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 282 โครงการ ลดลงร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 142,100 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 19.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 118 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 45,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 82 โครงการ เป็นเงินลงทุน 79,500 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 61,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 23,300 ล้านบาท และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 21,000 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
การประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68 และ 10.67 %YoY ตามลำดับ สำหรับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากปัจจัยของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในปัจจุบันแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อการผลิตปิโตรเคมีซึ่งใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยควรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการยกระดับไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ Specialty ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด นอกจากนั้น การมองหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง
เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.71 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.76 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.05 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.77 แต่เหล็กแผ่นรีดเย็นกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 12.39
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดการณ์ว่าการผลิตของเหล็กทรงยาวจะลดลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวลง จึงเป็นโอกาสที่โรงงานผู้ผลิตเหล็กทรงยาวส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการนำสินค้าคงคลังที่พ่อค้าคนกลางได้สต๊อกไว้ล่วงหน้า จึงเป็นผลทำให้การผลิตเหล็กทรงยาวในช่วงนี้ลดลง สำหรับการผลิตของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การผลิตรถยนต์เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.50 และ 10.13 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.41 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 2 กับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.22 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.26, 1.18 และ 0.66 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เนื่องจากจะยังได้รับผลดีจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดในประเทศมีปัจจัยด้านราคาพลังงานเชื้อเพลิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 42 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 58
พลาสติก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 นี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 2.41 โดยแผ่นฟิล์มพลาสติกมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เพียงผลิตภัณฑ์เดียว ส่วนที่เหลือลดลงทั้งหมด เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาววันสงกรานต์
ผลิตภัณฑ์พลาสติกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องภาวะค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ ที่ชะลอตัว อันจะทำให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกเทียบกับไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ส่วนประกอบรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.6 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ รองเท้าหนังและรองเท้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1, 4.2, 41.8 และ 2.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า ลดลงร้อยละ 6.7, 17.7 และ 13.8 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ รองเท้าแตะ และรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และ 42.8 ตามลำดับ
ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราที่ลดลงสำหรับตลาดของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤตตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกหนี้คุณภาพต่ำ แต่โดยรวมคาดว่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าประเภทรองเท้าหนัง รองเท้าแตะ รองเท้าอื่นๆ กระเป๋าถือ และหนัง ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เนื่องจากมีการขยายตลาดอื่นๆ โดยการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ อีกทั้งการที่ EU ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีน และเตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากยิ่งขึ้น
อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.7 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 41.2 และ 21.2 ตามลำดับ เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต
แนวโน้มการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต และส่งออกที่ขยายตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ราคาน้ำมันยังคงผันผวนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง นอกจากนี้สินค้าอาหารมักถูกกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551
มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.38 และ 46.30 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าแรง ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินบาทที่ยังไม่นิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการลดการลงทุนและกำลังการผลิตลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง และการใช้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ความไม่นิ่งของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและการบริโภคของประชาชน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การผลิตยางพาราลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะและถุงมือยางลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกยางลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.14 แต่ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.74 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 30.46 และ 23.97 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 3 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท เป็นสถิติที่สูงที่สุด สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนสต๊อกยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มลดลง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูง การเข้ามาเก็งกำไรราคายางในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของกองทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้ราคายางพาราสูงขึ้น นอกจากนี้ความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 142.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 1.6 เพื่อเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียน ของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง ๆ และเตรียมรองรับการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะทรงตัว เนื่องจากต้นทุนการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษขนาดใหญ่ ทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาวะอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากคุณภาพงานพิมพ์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ทำให้ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน ร้อยละ 11.8 และ 13.9 ตามลำดับ และในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5 ปริมาณการผลิตที่ลดลงดังกล่าว มาจากปัจจัยสำคัญ คือ การผลิตยาน้ำ ยาครีม และยาผง ลดลง โดยในส่วนของยาน้ำนั้น ผู้ผลิตบางรายได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง และลดปริมาณการผลิตลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศอินโดนีเซีย และในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึงชะลอการสั่งซื้อ
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า ยังขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรเป็นหลัก
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 3.6 และ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการนำเข้าเส้นใยฯ และเส้นด้ายมากขึ้น ผลจากต้นทุนนำเข้าที่มีแนวโน้มลดลงตามปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และจะเป็นปัจจัยหนุนต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผลิตจากผ้าทอ ในไตรมาสที่ 2 การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 8.7 และ 3.0 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญปัญหาราคาสินค้าที่ทยอยปรับสูงขึ้นตามปัจจัยราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งภาคการบริโภคของประชาชน ล้วนกระทบต่อการค้าและการลงทุน แต่อย่างไรก็ตามการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกในตลาดอาเซียนและตลาดสหภาพยุโรปในไตรมาสนี้ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวทั้งภาคการผลิต การนำเข้า และการส่งออก แม้ว่าไทยจะประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ยังมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปราคาถูกจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำอย่างจีน ลาว และกัมพูชา เพื่อรองรับกลุ่มผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อจำกัด แต่ในระยะยาวมูลค่าการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลเสียต่อผู้ประกอบการในประเทศ ที่ไม่สามารถแข่งขันได้และต้องเลิกกิจการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับแฟชั่นและความนิยมของผู้บริโภค อีกทั้งปรับลดต้นทุนการผลิตเพื่อการลดความสูญเสียของวัตถุดิบจากกระบวนการผลิต
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดและ การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 10.43 และ 12.83 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 อยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 4.20 และ 6.45 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐด้วย
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง อีกทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของต้นทุนพลังงาน และปัญหาค่าครองชีพที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 และ 10.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 4.11 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.77 ซึ่งการผลิตเซรามิก ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอาเซียน และการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญ ดังนั้น ผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นต้องรักษาตลาดเดิมไว้มิให้ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งไป และขยายตลาดใหม่เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 31.03 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 28.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการหดตัวลงเล็กน้อยคือ ลดลงร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะเห็นว่าการผลิตและการจำหน่ายหดตัวอย่างมาก แต่การส่งออกหดตัวไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 หากผู้ประกอบการยังสามารถทำราคาสินค้าต่อหน่วยให้ได้ในระดับสูงใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาได้ และจากแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มลดลงซึ่งจะเป็นผลดีให้เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศหันกลับมาบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 นี้มีแนวโน้มสดใส
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 115.45 USD/Barrel เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากการเก็งกำไร อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกำลังอ่อนตัวลงอยู่ในระดับ 118 USD/Barrel (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2551) สาเหตุมาจากกลุ่มโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันโลกลดลง ถึงแม้ว่าจะเกิดพายุในอ่าวเม็กซิโก ที่อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม ซึ่งราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงไปถึง 100 USD/Barrel หากความต้องการใช้น้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 6.0 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 (ร้อยละ 5.7) และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 (ร้อยละ 4.2) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5
สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ตัวชี้วัดต่างๆ ส่วนใหญ่มีการชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกของปี เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 เช่นเดียวกันกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 63.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 67.5 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมซึ่งปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เมื่อพิจารณาด้านสถานการณ์การค้าต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 90,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 45,496.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 45,381.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 และเมื่อพิจารณาในด้านดุลการค้าแล้ว ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดุลการค้าเกินดุล 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจัยสำคัญมาจากมูลค่าของการส่งออกที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวดีจากราคาเป็นสำคัญ สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อรวมในทุกกลุ่มสินค้าแล้วจึงทำให้ในไตรมาสที่ 2 ดุลการค้ากลับมาเกินดุลอีกครั้ง แม้ว่าการนำเข้าจะมีการเร่งตัวขึ้นมากกว่าการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนก็ตาม
ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 29,276.46 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.85 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในปี 2551 เดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,605.94 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 15,670.52 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 282 โครงการ ลดลงร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 142,100 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 19.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 118 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 45,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 82 โครงการ เป็นเงินลงทุน 79,500 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 61,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 23,300 ล้านบาท และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 21,000 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
การประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68 และ 10.67 %YoY ตามลำดับ สำหรับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
เคมีภัณฑ์ ในไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากปัจจัยของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในปัจจุบันแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อการผลิตปิโตรเคมีซึ่งใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยควรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการยกระดับไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ Specialty ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด นอกจากนั้น การมองหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง
เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.71 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.76 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.05 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.77 แต่เหล็กแผ่นรีดเย็นกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 12.39
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2551 คาดการณ์ว่าการผลิตของเหล็กทรงยาวจะลดลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวลง จึงเป็นโอกาสที่โรงงานผู้ผลิตเหล็กทรงยาวส่วนใหญ่จะหยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการนำสินค้าคงคลังที่พ่อค้าคนกลางได้สต๊อกไว้ล่วงหน้า จึงเป็นผลทำให้การผลิตเหล็กทรงยาวในช่วงนี้ลดลง สำหรับการผลิตของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การผลิตรถยนต์เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.50 และ 10.13 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.41 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 2 กับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.22 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.26, 1.18 และ 0.66 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เนื่องจากจะยังได้รับผลดีจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดในประเทศมีปัจจัยด้านราคาพลังงานเชื้อเพลิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 42 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 58
พลาสติก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 นี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 2.41 โดยแผ่นฟิล์มพลาสติกมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เพียงผลิตภัณฑ์เดียว ส่วนที่เหลือลดลงทั้งหมด เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาววันสงกรานต์
ผลิตภัณฑ์พลาสติกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องภาวะค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ ที่ชะลอตัว อันจะทำให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกเทียบกับไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ส่วนประกอบรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.6 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ รองเท้าหนังและรองเท้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1, 4.2, 41.8 และ 2.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า ลดลงร้อยละ 6.7, 17.7 และ 13.8 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ รองเท้าแตะ และรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และ 42.8 ตามลำดับ
ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราที่ลดลงสำหรับตลาดของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤตตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกหนี้คุณภาพต่ำ แต่โดยรวมคาดว่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าประเภทรองเท้าหนัง รองเท้าแตะ รองเท้าอื่นๆ กระเป๋าถือ และหนัง ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เนื่องจากมีการขยายตลาดอื่นๆ โดยการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ อีกทั้งการที่ EU ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีน และเตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากยิ่งขึ้น
อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.7 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 41.2 และ 21.2 ตามลำดับ เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต
แนวโน้มการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต และส่งออกที่ขยายตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ราคาน้ำมันยังคงผันผวนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง นอกจากนี้สินค้าอาหารมักถูกกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551
มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.38 และ 46.30 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าแรง ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินบาทที่ยังไม่นิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการลดการลงทุนและกำลังการผลิตลง
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง และการใช้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงกับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ความไม่นิ่งของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและการบริโภคของประชาชน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การผลิตยางพาราลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะและถุงมือยางลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกยางลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.14 แต่ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.74 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 30.46 และ 23.97 ตามลำดับ
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 3 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท เป็นสถิติที่สูงที่สุด สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนสต๊อกยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มลดลง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูง การเข้ามาเก็งกำไรราคายางในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของกองทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้ราคายางพาราสูงขึ้น นอกจากนี้ความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้องการใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 142.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 1.6 เพื่อเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียน ของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง ๆ และเตรียมรองรับการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะทรงตัว เนื่องจากต้นทุนการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษขนาดใหญ่ ทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาวะอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากคุณภาพงานพิมพ์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ทำให้ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน ร้อยละ 11.8 และ 13.9 ตามลำดับ และในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5 ปริมาณการผลิตที่ลดลงดังกล่าว มาจากปัจจัยสำคัญ คือ การผลิตยาน้ำ ยาครีม และยาผง ลดลง โดยในส่วนของยาน้ำนั้น ผู้ผลิตบางรายได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง และลดปริมาณการผลิตลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศอินโดนีเซีย และในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึงชะลอการสั่งซื้อ
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า ยังขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรเป็นหลัก
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 3.6 และ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการนำเข้าเส้นใยฯ และเส้นด้ายมากขึ้น ผลจากต้นทุนนำเข้าที่มีแนวโน้มลดลงตามปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และจะเป็นปัจจัยหนุนต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผลิตจากผ้าทอ ในไตรมาสที่ 2 การผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 8.7 และ 3.0 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญปัญหาราคาสินค้าที่ทยอยปรับสูงขึ้นตามปัจจัยราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งภาคการบริโภคของประชาชน ล้วนกระทบต่อการค้าและการลงทุน แต่อย่างไรก็ตามการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกในตลาดอาเซียนและตลาดสหภาพยุโรปในไตรมาสนี้ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะขยายตัวทั้งภาคการผลิต การนำเข้า และการส่งออก แม้ว่าไทยจะประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ยังมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปราคาถูกจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำอย่างจีน ลาว และกัมพูชา เพื่อรองรับกลุ่มผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อจำกัด แต่ในระยะยาวมูลค่าการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลเสียต่อผู้ประกอบการในประเทศ ที่ไม่สามารถแข่งขันได้และต้องเลิกกิจการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับแฟชั่นและความนิยมของผู้บริโภค อีกทั้งปรับลดต้นทุนการผลิตเพื่อการลดความสูญเสียของวัตถุดิบจากกระบวนการผลิต
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดและ การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 10.43 และ 12.83 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 อยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 4.20 และ 6.45 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐด้วย
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง อีกทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของต้นทุนพลังงาน และปัญหาค่าครองชีพที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 และ 10.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 4.11 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.77 ซึ่งการผลิตเซรามิก ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอาเซียน และการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญ ดังนั้น ผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นต้องรักษาตลาดเดิมไว้มิให้ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งไป และขยายตลาดใหม่เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 31.03 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 28.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการหดตัวลงเล็กน้อยคือ ลดลงร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะเห็นว่าการผลิตและการจำหน่ายหดตัวอย่างมาก แต่การส่งออกหดตัวไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 หากผู้ประกอบการยังสามารถทำราคาสินค้าต่อหน่วยให้ได้ในระดับสูงใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาได้ และจากแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มลดลงซึ่งจะเป็นผลดีให้เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศหันกลับมาบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 นี้มีแนวโน้มสดใส
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-