เศรษฐกิจโลก(1)
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2551 ยังคงชะลอตัว จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก นอกจากนี้ปัญหา sub-prime ยังคงยือเยื้อและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกซึ่งถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีน เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 115.45 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาน้ำมันดิบ (Nymax) ได้เพิ่มสูงถึง 147.27 USD/Barrel (ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2551) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากการเก็งกำไร อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกำลังอ่อนตัวลงอยู่ในระดับ 118 USD/Barrel (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2551) สาเหตุมาจากกลุ่มโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันโลกลดลง ถึงแม้ว่าจะเกิดพายุในอ่าวเม็กซิโก ที่อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงไปถึง 100 USD/Barrel หากความต้องการใช้น้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และจากมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินของภาครัฐ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 การลงทุน (Fixed investment) ในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -2.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 58.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 11.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 อัตราการว่างงานเดือนกรกฎาคมปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.7
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 สูงกว่าไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากราคาพลังงาน และอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) (เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551) ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 เพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน การดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย ร่วมกับมาตรการในการรักษาสภาพคล่องของตลาดการเงินจะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2 ปี 2551 ยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาในภาคการเงินยังไม่สิ้นสุด และ Fed ยังคงเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.7 เนื่องจากการส่งออกที่ชะลดตัวลงเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.4 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 2 ปี 2551ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 28 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 23.7
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.3
การส่งออกในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 22.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 24.4 อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 7.47 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.3 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -16.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 สาเหตุสำคัญที่ทำให้การลงทุนภายในประเทศลดลงเนื่องจากราคาพลังงานและวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น ทำให้อำนาจซื้อของภาคครัวเรือนลดน้อยลง อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ร้อยละ 3.9
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2551 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวในอัตราเดียวกับไตรมาส 1ปี 2551 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศขยายตัวชะลอลง และยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2251 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และ 3.0 ตามลำดับ ดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายนและพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 97.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.1
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 2 ปี 2551 ร้อยละ 3.7เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานและอาหารในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.25% (เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหาร
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตขึ้นร้อยละ 7.9 ซึ่งถือว่าลดลงจากร้อยละ 9.5 ในไตรมาที่ 4 ของปี 2551 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน ของปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 5.7
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.49 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.55 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 92,171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 38,256 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งไปยังประเทศจีน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเยอรมัน ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 100,165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.98
เกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งขยายตัวน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่มี GDP ขยายตัวร้อยละ 5.8 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายส่วนบุคคลลดลงอันเนื่องมาจากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลง ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างหดตัวลงร้อยละ 1.4 หลังจากไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 0.4 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ทางด้านภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 8.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.3
ทางด้านการเงินการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมิถุนายน 2551 เกินดุล 1.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน หลังจากเดือนพฤษภาคมขาดดุล 377.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเกินดุลเป็นผลมาจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยการใช้จ่ายในต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นและชดเชยการนำเข้าที่ขยายตัว สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 5.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่ขาดดุลทั้งสิ้น 1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 อยู่ที่ 86.0 จุด ซึ่งลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2543 โดยลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 105.0 จุด
การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.23 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 17.38 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 114,536 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 26,065 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Vehicles, Not Railway และ Machinery; Reactors, Boilers ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังประเทศจีนกว่า 26,293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 30.23 โดยมีมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ทั้งสิ้น 114,410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์(8)
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 2 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมทางด้านเคมีชีวภาพ โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวประมาณร้อยละ 5.6 ถือว่าขยายตัวลดลงจากร้อยละ 12.7 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551โดยมีการลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการที่อ่อนตัวลงของประเทศคู่ค้า แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีอุตสาหกรรมที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมทางด้านวิศวกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมด้านเคมีภัณฑ์ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 15.2 ในส่วนของอุตสาหกรรมด้านการบริการ ขยายตัวประมาณร้อยละ 6.9 ซึ่งขยายตัวลดลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการบริการทางด้านการเงิน และ การบริการทางด้ารธุรกิจ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน ปี 2551 อยู่ที่ 109.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นผลมาจากราคาค่าบ้าน ค่าขนส่งและการสื่อสาร รวมทั้งราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาค่าบ้านซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของดัชนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ส่วนราคาอาหารซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของดัชนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคใน 6 เดือนแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 26.41 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.26 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 91,342 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 28,064 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Mineral Fuel, Oil และ Machinery; Reactors, Boilers ที่มีมูลค่าการส่งออก 19,683 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 14,719 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกงและจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 35.41 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 86,681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อินโดนีเซีย(9)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 1 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.28 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งภาคการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เทียบต่อปี โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 สูงสุดในรอบ 19 เดือน และสูงกว่าเป้าที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียตั้งไว้สำหรับปี 2551 ที่เฉลี่ย ร้อยละ 4-6 เนื่องจากราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นหลัก โดยในเดือนพฤษภาคม 2551 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 8.25 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และคาดว่ามีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก ตามระดับอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนจะปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงในประเทศอีกราวร้อยละ 20-30 ภายในปีนี้ เพื่อลดรายจ่ายในการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาล ภายหลังจากที่คาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้อินโดนีเซียขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP (จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขาดดุลเพียงร้อยละ 1.7 ของ GDP) นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังพิจารณาว่าอาจถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันในประเทศลดลง และไม่เพียงพอที่จะใช้บริโภคในประเทศ
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31.91 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.90 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 33,746 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่เป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม Mineral Fuel, Oil , Fats and Oils, Rubber และ Electrical Machinery, Etc. โดยมีมูลค่าการส่งออก 9,351 , 4,495, 1,865 และ 1,840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น จีน สิงค์โปร์และ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่การนำเข้ามีการขยายตัวถึงร้อยละ 90.64 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 29,728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มาเลเซีย(10)
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียใน ไตรมาส 1 ปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.3 ในไตรมาส 4 ปี 2550 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศและการขยายตัวทางด้านการส่งออก
ทางด้านการเงินการคลังในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 23.8 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้น 4.2 พันล้านริงกิต หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 แต่ลดลง 2.5 พันล้านริงกิต หรือลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่เกินดุล 26.3 พันล้านริงกิต
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 19.21 ขายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.06 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 47,087 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มของ Electrical Machinery, Etc. , Mineral Fuel, Oil และ Machinery; Reactors, Boilers โดยมีมูลค่าการส่งออก 10,919 , 8,695 และ 8,316 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ จีน ส่วนการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 15.82 และมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 38,772 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.7 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 26 ปี (เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ร้อยละ 3.8) เป็นผลมาจากราคาสินค้าประเภทน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มสูงขึ้น จากการที่รัฐบาลปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินร้อยละ 41 และน้ำมันดีเซลร้อยละ 63 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 19.6 นอกจากนี้ค่าราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ทำให้ธนาคารกลางมาเลเซียเตรียมจะพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.50 (เท่ากับไทย) โดยมาเลเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เมษายน 2549 โดยคณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งชาติมาเลเซีย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของมาเลเซียในปี 2551 จะอยู่ที่ร้อยละ 4 — 5 เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นมาก และระบุว่านโยบายการเงินอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แม้ว่าธนาคารกลางมาเลเซียพร้อมจะปรับนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือภาวะเงินเฟ้อ
ฟิลิปปินส์(11)
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเป็นผลมาจากต้นทุนทางด้านพลังงานและอาหารที่เพิ่มสูง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไตรมาสที่ 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.3
ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 หลังจากเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 6.1 เป็นผลมาจากสินค้าประเภทรองเท้า เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลผลิตจากแร่อโลหะ ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก ยาสูบ อาหารและโลหะพื้นฐาน เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้มูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เป็นผลมาจากราคาสินค้าปรับสูงขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.5 เฉพาะราคาข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.0 ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และหมวดพลังงานและไฟฟ้า รวมทั้งประปา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 โดยในเดือนเมษายน 2551 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 8.3 สูงสุดในรอบ 3 ปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.4 ในเดือนมีนาคม และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของฟิลิปปินส์ที่ร้อยละ 3-5 เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้คาดว่าธนาคารกลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ด้านการเงินการคลัง ภาระการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ต่างประเทศใน 6 เดือนแรกของปี 2551 มีจำนวน 351.7 พันล้านเปโซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีมี่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินเปโซอ่อนค่าลง
ทางด้านการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 2.91 และมีมูลค่าการส่งออก 12,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.07 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.78 โดยสินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่ Special Classification Provisions, Nesoi, Electrical Machinery, Etc. และ Machinery; Reactors, Boilers โดยการส่งออก Special Classification Provisions, Nesoi หดตัวลงร้อยละ 16.02 และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 22.01 และมีมูลค่าการนำเข้า 14,606 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้า 5 เดือนแรก ของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 3.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ขาดดุลทั้งสิ้น 188 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หมายเหตุ
(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.eia.gov www.thaioil.co.th
(2) - ข้อมูลบางส่วน ล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.bot.or.th
(3) - ข้อมูลบางส่วน ข้อมูลล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.bot.or.th
(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.bot.or.th
(6) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/
(7) - ที่มา http://global.kita.net/
(8) - ที่มา http://web.worldbank.org
(9) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
(10)- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
(11)- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2551 ยังคงชะลอตัว จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก นอกจากนี้ปัญหา sub-prime ยังคงยือเยื้อและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เศรษฐกิจของกลุ่ม Euro Zone มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากราคาพลังงานโลกและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกซึ่งถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีน เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกของจีนขยายตัวชะลอลง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 115.45 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาน้ำมันดิบ (Nymax) ได้เพิ่มสูงถึง 147.27 USD/Barrel (ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2551) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นและจากการเก็งกำไร อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกำลังอ่อนตัวลงอยู่ในระดับ 118 USD/Barrel (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2551) สาเหตุมาจากกลุ่มโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันโลกลดลง ถึงแม้ว่าจะเกิดพายุในอ่าวเม็กซิโก ที่อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงไปถึง 100 USD/Barrel หากความต้องการใช้น้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.8 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และจากมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินของภาครัฐ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 การลงทุน (Fixed investment) ในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -2.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 58.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 11.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 อัตราการว่างงานเดือนกรกฎาคมปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.7
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 สูงกว่าไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากราคาพลังงาน และอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) (เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551) ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 เพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน การดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย ร่วมกับมาตรการในการรักษาสภาพคล่องของตลาดการเงินจะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2 ปี 2551 ยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาในภาคการเงินยังไม่สิ้นสุด และ Fed ยังคงเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.7 เนื่องจากการส่งออกที่ชะลดตัวลงเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.4 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 2 ปี 2551ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 28 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 23.7
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.3
การส่งออกในไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 22.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 24.4 อันเป็นผลมาจากการส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลดลง
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 7.47 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.3 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ -16.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 สาเหตุสำคัญที่ทำให้การลงทุนภายในประเทศลดลงเนื่องจากราคาพลังงานและวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น ทำให้อำนาจซื้อของภาคครัวเรือนลดน้อยลง อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ร้อยละ 3.9
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2551 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหารที่เพิ่มขึ้น
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวในอัตราเดียวกับไตรมาส 1ปี 2551 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศขยายตัวชะลอลง และยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2251 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และ 3.0 ตามลำดับ ดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายนและพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 97.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.1
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรป ไตรมาส 2 ปี 2551 ร้อยละ 3.7เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมีสาเหตุมาจากราคาพลังงานและอาหารในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.25% (เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหาร
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตขึ้นร้อยละ 7.9 ซึ่งถือว่าลดลงจากร้อยละ 9.5 ในไตรมาที่ 4 ของปี 2551 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน ของปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 5.7
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.49 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.55 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 92,171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 38,256 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือส่วนประกอบสำเร็จ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งไปยังประเทศจีน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเยอรมัน ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 100,165 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.98
เกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งขยายตัวน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่มี GDP ขยายตัวร้อยละ 5.8 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายส่วนบุคคลลดลงอันเนื่องมาจากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนลง ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างหดตัวลงร้อยละ 1.4 หลังจากไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 0.4 ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 3.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ทางด้านภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 8.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.3
ทางด้านการเงินการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมิถุนายน 2551 เกินดุล 1.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน หลังจากเดือนพฤษภาคมขาดดุล 377.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเกินดุลเป็นผลมาจากการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยการใช้จ่ายในต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นและชดเชยการนำเข้าที่ขยายตัว สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 5.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่ขาดดุลทั้งสิ้น 1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 อยู่ที่ 86.0 จุด ซึ่งลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2543 โดยลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 105.0 จุด
การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.23 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 17.38 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 114,536 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 26,065 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Vehicles, Not Railway และ Machinery; Reactors, Boilers ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังประเทศจีนกว่า 26,293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 30.23 โดยมีมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ทั้งสิ้น 114,410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เศรษฐกิจอาเซียน
สิงค์โปร์(8)
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 2 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการหดตัวของอุตสาหกรรมทางด้านเคมีชีวภาพ โดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวประมาณร้อยละ 5.6 ถือว่าขยายตัวลดลงจากร้อยละ 12.7 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551โดยมีการลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการที่อ่อนตัวลงของประเทศคู่ค้า แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีอุตสาหกรรมที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมทางด้านวิศวกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมด้านเคมีภัณฑ์ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 15.2 ในส่วนของอุตสาหกรรมด้านการบริการ ขยายตัวประมาณร้อยละ 6.9 ซึ่งขยายตัวลดลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการบริการทางด้านการเงิน และ การบริการทางด้ารธุรกิจ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน ปี 2551 อยู่ที่ 109.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นผลมาจากราคาค่าบ้าน ค่าขนส่งและการสื่อสาร รวมทั้งราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาค่าบ้านซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของดัชนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ส่วนราคาอาหารซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของดัชนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคใน 6 เดือนแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 26.41 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.26 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 91,342 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 28,064 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Mineral Fuel, Oil และ Machinery; Reactors, Boilers ที่มีมูลค่าการส่งออก 19,683 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 14,719 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกงและจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 35.41 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 86,681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อินโดนีเซีย(9)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 1 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.28 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งภาคการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เทียบต่อปี โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 สูงสุดในรอบ 19 เดือน และสูงกว่าเป้าที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียตั้งไว้สำหรับปี 2551 ที่เฉลี่ย ร้อยละ 4-6 เนื่องจากราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นหลัก โดยในเดือนพฤษภาคม 2551 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 8.25 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และคาดว่ามีแนวโน้มจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก ตามระดับอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนจะปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงในประเทศอีกราวร้อยละ 20-30 ภายในปีนี้ เพื่อลดรายจ่ายในการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาล ภายหลังจากที่คาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้อินโดนีเซียขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP (จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขาดดุลเพียงร้อยละ 1.7 ของ GDP) นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังพิจารณาว่าอาจถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันในประเทศลดลง และไม่เพียงพอที่จะใช้บริโภคในประเทศ
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31.91 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 21.90 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 33,746 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่เป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม Mineral Fuel, Oil , Fats and Oils, Rubber และ Electrical Machinery, Etc. โดยมีมูลค่าการส่งออก 9,351 , 4,495, 1,865 และ 1,840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น จีน สิงค์โปร์และ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่การนำเข้ามีการขยายตัวถึงร้อยละ 90.64 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 29,728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มาเลเซีย(10)
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียใน ไตรมาส 1 ปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.3 ในไตรมาส 4 ปี 2550 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศและการขยายตัวทางด้านการส่งออก
ทางด้านการเงินการคลังในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 23.8 พันล้านริงกิต เพิ่มขึ้น 4.2 พันล้านริงกิต หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 แต่ลดลง 2.5 พันล้านริงกิต หรือลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่เกินดุล 26.3 พันล้านริงกิต
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 19.21 ขายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.06 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 47,087 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มของ Electrical Machinery, Etc. , Mineral Fuel, Oil และ Machinery; Reactors, Boilers โดยมีมูลค่าการส่งออก 10,919 , 8,695 และ 8,316 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ จีน ส่วนการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 15.82 และมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 38,772 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ร้อยละ 7.7 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 26 ปี (เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ร้อยละ 3.8) เป็นผลมาจากราคาสินค้าประเภทน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มสูงขึ้น จากการที่รัฐบาลปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินร้อยละ 41 และน้ำมันดีเซลร้อยละ 63 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 19.6 นอกจากนี้ค่าราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ทำให้ธนาคารกลางมาเลเซียเตรียมจะพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.50 (เท่ากับไทย) โดยมาเลเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เมษายน 2549 โดยคณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งชาติมาเลเซีย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของมาเลเซียในปี 2551 จะอยู่ที่ร้อยละ 4 — 5 เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นมาก และระบุว่านโยบายการเงินอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แม้ว่าธนาคารกลางมาเลเซียพร้อมจะปรับนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือภาวะเงินเฟ้อ
ฟิลิปปินส์(11)
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 มีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเป็นผลมาจากต้นทุนทางด้านพลังงานและอาหารที่เพิ่มสูง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไตรมาสที่ 1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.3
ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 หลังจากเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 6.1 เป็นผลมาจากสินค้าประเภทรองเท้า เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลผลิตจากแร่อโลหะ ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก ยาสูบ อาหารและโลหะพื้นฐาน เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้มูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3
ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ร้อยละ 11.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2537 สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เป็นผลมาจากราคาสินค้าปรับสูงขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.5 เฉพาะราคาข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.0 ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และหมวดพลังงานและไฟฟ้า รวมทั้งประปา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 โดยในเดือนเมษายน 2551 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 8.3 สูงสุดในรอบ 3 ปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.4 ในเดือนมีนาคม และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของฟิลิปปินส์ที่ร้อยละ 3-5 เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้คาดว่าธนาคารกลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ด้านการเงินการคลัง ภาระการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ต่างประเทศใน 6 เดือนแรกของปี 2551 มีจำนวน 351.7 พันล้านเปโซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีมี่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินเปโซอ่อนค่าลง
ทางด้านการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 2.91 และมีมูลค่าการส่งออก 12,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.07 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.78 โดยสินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่ Special Classification Provisions, Nesoi, Electrical Machinery, Etc. และ Machinery; Reactors, Boilers โดยการส่งออก Special Classification Provisions, Nesoi หดตัวลงร้อยละ 16.02 และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 22.01 และมีมูลค่าการนำเข้า 14,606 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้า 5 เดือนแรก ของปี 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 3.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ขาดดุลทั้งสิ้น 188 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หมายเหตุ
(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.eia.gov www.thaioil.co.th
(2) - ข้อมูลบางส่วน ล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.bot.or.th
(3) - ข้อมูลบางส่วน ข้อมูลล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2551
- ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.bot.or.th
(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.bot.or.th
(6) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/
(7) - ที่มา http://global.kita.net/
(8) - ที่มา http://web.worldbank.org
(9) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
(10)- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
(11)- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2551
- ที่มา www.bsp.gov.ph/
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-