เศรษฐกิจไทย
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 5.7 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น แม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงกว่า ทำให้ดุลการค้าขาดดุลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.0 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยี อุตสาหกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมเบาขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 แม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวสูง และรัฐบาลมีมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนให้ต่อเนื่องในระยะต่อไป
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยจะเห็นจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.1 (ม.ค. - มิ.ย.51) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
ในส่วนของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ตามเครื่องชี้ที่สำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (187.4) ร้อยละ 5.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (162.3) ร้อยละ 9.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 10.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 182.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (184.9) ร้อยละ 1.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (163.7) ร้อยละ 11.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 11.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรวจสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 174.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (177.1) ร้อยละ 1.6 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (181.0) ร้อยละ 3.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 2.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 63.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.5) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (64.8)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 78.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (79.4) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (77.1) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนีได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 การที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมมีค่าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรายได้ในอนาคตที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในสถานะการณ์ที่ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลในเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ((sub-prime) ในสหรัฐอเมริกา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 73.0, 71.8 และ 70.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 72.7, 71.8 และ 71.1 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 94.0,92.8 และ 92.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมดการลงทุน และการผลิตของบริษัท
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 74.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (84.1) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (81.3) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน 2551 ดัชนีมีค่า 73.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (71.4) เนื่องจากได้รับผลดีจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ผลประกอบการปรับเพิ่มขึ้นตาม ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2551 คือ การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลก โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ผู้ประกอบการมองว่ามีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาล ดังนี้ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร็ว และออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เร่งแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันและหามาตรการช่วยเหลือด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการสนับสนุนพลังงานทดแทน แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจัง ควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อย่าให้สูงเกินไปอันจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เร่งแก้ไขปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 112.9 ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.1 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 114.2 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 114.7
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 117.1 ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 117.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 117.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่า 118.2
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 139.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.9) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (130.9) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
2550 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 175.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (178.4) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (167.1)
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2551
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ตามการเพิ่มขึ้นของประมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ข้าว ไข่และผลิตภัณฑ์นม และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาค่าขนส่ง การศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สองของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.83 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.36 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.44 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.16)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สองของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) มีจำนวน 5.39 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.43 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 90,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 45,496.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 45,381.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดุลการค้าเกินดุล 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2551 มีมูลค่าการส่งออกถึง 16,268.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 6 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 65,402.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 74.99) สินค้าเกษตรกรรม 10,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.63) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5,663.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.49) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 6,008.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.89) และสินค้าอื่นๆ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.0004)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกหมวดมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 92.68 สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.38 สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.17 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.46
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 9,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6,680.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 4,029.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 3,668.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 3,355 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าว 3,347.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 3,343.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 2,958.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2,469.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์ยาง 2,211.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 41,220.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 47.26 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
การส่งออกไปยังตลาดหลักในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.06 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.41 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 12.96 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 10 และตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.65
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะครึ่งปีแรก ของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 37,781.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.8) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 21,823.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 24.72) สินค้าเชื้อเพลิง 18,509 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 20.97) สินค้าอุปโภคบริโภค 7,431.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.42) สินค้าหมวดยานพาหนะ 2,698.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.06) และสินค้าอื่นๆ 35.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.04)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าการนำเข้าสินค้าอื่นๆ มีการขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 94.79 สำหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.46 สินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 37.5 สินค้าหมวดยานพาหนะร้อยละ 33.15 สินค้าวัตถุดิบ 30.24 และสินค้าทุนร้อยละ 26.33
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ อาเซียน, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.05 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่าการนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยการนำเข้าจากกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.35 กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.31
- แนวโน้มการส่งออก
กรมส่งเสริมการส่งออกคาดการณ์ว่า แนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลังหากพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก แต่ยังเชื่อมั่นว่า เป้าหมายการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ในปีนี้เชื่อว่าจะบรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะครึ่งปีแรกตัวเลขการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.9 ของของเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ ขณะที่ครึ่งปีหลังโดยปกติการส่งออกจะขยายตัวมากกว่าครึ่งปีแรก ดังนั้นแม้ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัจจัยลบอย่างหนักหน่วงทั้งปัจจัยภายนอกประเทศคือราคาน้ำมัน และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงปัจจัยภายในประเทศ อาทิ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกระทบต่อต้นทุนผู้ส่งออก แต่จากสัญญาณในช่วงครึ่งหลังยังมีปัจจัยบวกหลายประการที่จะช่วยประคับประคองภาคการส่งออกให้ไปถึงฝั่งฝันได้ เช่น ราคาและแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทยยังขยายตัวได้ดีทั้งข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอื่นๆ
นอกจากนี้จากเงินบาทที่อ่อนค่าลงช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และผลพวงจากการทุ่มเทการเจาะตลาดใหม่ๆ ของภาครัฐและเอกชน ซึ่งล่าสุดในครึ่งปีแรกสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่(แอฟริกา ตะวันออกกลาง อินโดจีน ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ และอื่นๆ) เทียบกับการส่งออกไปตลาดหลัก(สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน)มีสัดส่วนร้อยละ 48 ต่อ 52 คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถทำได้ในสัดส่วนร้อยละ 48.8 ต่อ 51.2 ตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ไทยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดหลักลงได้ระดับหนึ่ง
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 29,276.46 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.85 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในปี 2551 เดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,605.94 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 15,670.52 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 21,179.72 ล้านบาท โดยหมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดโดยเป็นเงินลงทุน 8,098.45 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เงินลงทุน 5,248.36 ล้านบาท และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งเงินลงทุน 4,408.58 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 12,048.6 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์และฝรั่งเศสมีเงินลงทุนสุทธิ 5,818.99 ล้านบาท และ 4,267.9 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 282 โครงการ ลดลงร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 142,100 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 19.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 118 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 45,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 82 โครงการ เป็นเงินลงทุน 79,500 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 61,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 23,300 ล้านบาท และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 21,000 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 79 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 23,561 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 10 โครงการ 15,586 ล้านบาท ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 8 โครงการ เป็นเงินลงทุน 10,941 ล้านบาท ประเทศอินเดีย 4 โครงการ เป็นเงินลงทุน 7,498 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 5.7 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น แม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงกว่า ทำให้ดุลการค้าขาดดุลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.0 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยี อุตสาหกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมเบาขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2551 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 แม้ว่าราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ขยายตัวสูง และรัฐบาลมีมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนให้ต่อเนื่องในระยะต่อไป
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พบว่า มีการขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยจะเห็นจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.1 (ม.ค. - มิ.ย.51) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
ในส่วนของการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ตามเครื่องชี้ที่สำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (187.4) ร้อยละ 5.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (162.3) ร้อยละ 9.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 10.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 182.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (184.9) ร้อยละ 1.4 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (163.7) ร้อยละ 11.3
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 11.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรวจสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 174.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (177.1) ร้อยละ 1.6 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (181.0) ร้อยละ 3.7
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 2.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 63.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.5) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (64.8)
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย มีค่า 78.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (79.4) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (77.1) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนีได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 การที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมมีค่าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรายได้ในอนาคตที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในสถานะการณ์ที่ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลในเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ ((sub-prime) ในสหรัฐอเมริกา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 73.0, 71.8 และ 70.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 72.7, 71.8 และ 71.1 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 94.0,92.8 และ 92.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ค่าดัชนีปรับตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของตนเอง
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีโดยรวมยังคงมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมดการลงทุน และการผลิตของบริษัท
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของบริษัท
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 74.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (84.1) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (81.3) การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน 2551 ดัชนีมีค่า 73.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (71.4) เนื่องจากได้รับผลดีจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ผลประกอบการปรับเพิ่มขึ้นตาม ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการในเดือนมิถุนายน 2551 คือ การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลก โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ผู้ประกอบการมองว่ามีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาล ดังนี้ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร็ว และออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เร่งแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันและหามาตรการช่วยเหลือด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการสนับสนุนพลังงานทดแทน แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจัง ควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อย่าให้สูงเกินไปอันจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เร่งแก้ไขปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ดัชนีปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LET) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 112.9 ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.1 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 114.2 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 114.7
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2551 อยู่ที่ระดับ 117.1 ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 117.8 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่าเฉลี่ย 117.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่า 118.2
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 139.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.9) และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (130.9) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
2550 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีค่า 175.0 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (178.4) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (167.1)
หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2551
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ตามการเพิ่มขึ้นของประมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ข้าว ไข่และผลิตภัณฑ์นม และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาค่าขนส่ง การศึกษา
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สองของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 37.83 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.36 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.44 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.16)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สองของปี 2551 (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) มีจำนวน 5.39 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.43 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 90,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 45,496.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 45,381.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.2 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดุลการค้าเกินดุล 115.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2551 มีมูลค่าการส่งออกถึง 16,268.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 6 เดือนแรกของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 65,402.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 74.99) สินค้าเกษตรกรรม 10,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.63) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5,663.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.49) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 6,008.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.89) และสินค้าอื่นๆ 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.0004)
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกหมวดมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 92.68 สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.38 สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.17 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.46
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2551 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 9,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 6,680.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 4,029.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 3,668.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 3,355 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าว 3,347.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 3,343.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 2,958.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2,469.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์ยาง 2,211.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 41,220.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 47.26 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
การส่งออกไปยังตลาดหลักในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 58.06 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.41 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 12.96 ตลาดสหภาพยุโรปร้อยละ 10 และตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.65
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในระยะครึ่งปีแรก ของปี 2551 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 37,781.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.8) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 21,823.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 24.72) สินค้าเชื้อเพลิง 18,509 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 20.97) สินค้าอุปโภคบริโภค 7,431.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.42) สินค้าหมวดยานพาหนะ 2,698.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.06) และสินค้าอื่นๆ 35.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.04)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าการนำเข้าสินค้าอื่นๆ มีการขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 94.79 สำหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.46 สินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 37.5 สินค้าหมวดยานพาหนะร้อยละ 33.15 สินค้าวัตถุดิบ 30.24 และสินค้าทุนร้อยละ 26.33
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ อาเซียน, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 53.05 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 พบว่าการนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยการนำเข้าจากกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.35 กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.31
- แนวโน้มการส่งออก
กรมส่งเสริมการส่งออกคาดการณ์ว่า แนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลังหากพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก แต่ยังเชื่อมั่นว่า เป้าหมายการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ในปีนี้เชื่อว่าจะบรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน เพราะครึ่งปีแรกตัวเลขการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.9 ของของเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ ขณะที่ครึ่งปีหลังโดยปกติการส่งออกจะขยายตัวมากกว่าครึ่งปีแรก ดังนั้นแม้ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัจจัยลบอย่างหนักหน่วงทั้งปัจจัยภายนอกประเทศคือราคาน้ำมัน และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงปัจจัยภายในประเทศ อาทิ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกระทบต่อต้นทุนผู้ส่งออก แต่จากสัญญาณในช่วงครึ่งหลังยังมีปัจจัยบวกหลายประการที่จะช่วยประคับประคองภาคการส่งออกให้ไปถึงฝั่งฝันได้ เช่น ราคาและแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทยยังขยายตัวได้ดีทั้งข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอื่นๆ
นอกจากนี้จากเงินบาทที่อ่อนค่าลงช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และผลพวงจากการทุ่มเทการเจาะตลาดใหม่ๆ ของภาครัฐและเอกชน ซึ่งล่าสุดในครึ่งปีแรกสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่(แอฟริกา ตะวันออกกลาง อินโดจีน ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ และอื่นๆ) เทียบกับการส่งออกไปตลาดหลัก(สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน)มีสัดส่วนร้อยละ 48 ต่อ 52 คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถทำได้ในสัดส่วนร้อยละ 48.8 ต่อ 51.2 ตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ไทยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดหลักลงได้ระดับหนึ่ง
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 29,276.46 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.85 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในปี 2551 เดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,605.94 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 15,670.52 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 21,179.72 ล้านบาท โดยหมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ มีการลงทุนสุทธิมากที่สุดโดยเป็นเงินลงทุน 8,098.45 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เงินลงทุน 5,248.36 ล้านบาท และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งเงินลงทุน 4,408.58 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม คือ ประเทศญี่ปุ่นมีเงินลงทุนสุทธิ 12,048.6 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์และฝรั่งเศสมีเงินลงทุนสุทธิ 5,818.99 ล้านบาท และ 4,267.9 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 282 โครงการ ลดลงร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 142,100 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 19.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 118 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 45,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 82 โครงการ เป็นเงินลงทุน 79,500 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุน 61,500 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 23,300 ล้านบาท และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 21,000 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 79 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 23,561 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 10 โครงการ 15,586 ล้านบาท ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 8 โครงการ เป็นเงินลงทุน 10,941 ล้านบาท ประเทศอินเดีย 4 โครงการ เป็นเงินลงทุน 7,498 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-